Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ

กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในทุกกลุ่มผู้สูงอายุ อายุเฉลี่ยที่พบประมาณ 54 ปี และใน ผู้หญิงจะพบมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า 
ภายในบริเวณข้อมือจะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ โดยมี แผ่นเอ็นขวาง และ กระดูกข้อมือ เป็นผนังของอุโมงค์ ภายในอุโมงค์ประกอบด้วย เส้นเอ็นนิ้วมือ และ เส้นประสาท เมื่อมีการเพิ่มความกดดันภายในอุโมงค์นี้ เส้นประสาทก็จะถูกกด ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงต่าง ๆ ตามมา


สาเหตุ 

1. การใช้งานของมือ และ ตำแหน่งของข้อมือ 
ส่วนใหญ่เกิดจาก การใช้มือท่าเดียวนาน ๆ เช่น การกำมือ การบีบ การกด เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่กระดกขึ้นหรืองอลงมาก ๆ เช่น การพิมพ์ดีด ใช้มือเย็บผ้า เล่นเครื่องดนตรี การใส่เฝือกที่ข้อมือ ถือหนังสือ ถือพวงมาลัยรถยนต์ การจับแฮนของรถจักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น

2. ภาวะผิดปกติหรือโรคที่เป็นอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง รูมาตอยด์ เกาต์ กระดูกข้อมือหักหรือกระดูกข้อมือที่ติดผิดรูป เส้นเอ็นอักเสบ การติดเชื้อ

3. สภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น อ้วน ตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตรหรือ ได้รับยาคุมกำเนิด







อาการปวดส้นเท้าพบบ่อยในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีอาการปวดบวมที่ส้นเท้า และอาจลามขึ้นไปที่น่อง ทำให้ต้องเดินกะโผลกกะเผลก สำหรับผู้ที่มีอาการปวดส้นเท้าเรื้อรัง มักจะพบกระดูกงอกในส้นเท้าด้วย อาการปวดส้นเท้าจะเป็นหนักขึ้นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะพายุเข้าหรือฝนตก เวลาตื่นนอนหรือลุกจากที่นั่งใหม่ ๆ และอาการอาจทุเลาลงบ้าง เมื่อมีการเดินไปเดินมาสักพัก

          สาเหตุของอาการปวดส้นเท้ามีด้วยกันหลายอย่าง เช่น น้ำหนักเกิน เดินมาก ๆ หรือยืนนาน ๆ เป็นประจำ ได้รับบาดเจ็บที่ส้นเท้า เบาหวานหรือเกิดจากความเสื่อมสภาพของร่างกายตามอายุ เป็นต้นอาการปวดส้นเท้าจัดเป็นการอักเสบเฉพาะที่ ซึ่งมิได้เกิดจากการติดเชื้อแต่อย่างใด หากแต่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดลมบริเวณส้นเท้า มีการติดขัดและสะดุด ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก จึงเกิดอาการปวดขึ้นมา ดังเช่นหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน "ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด" 

          การเดินในกิจวัตรประจำวันก็จะทำให้ส้นเท้าอักเสบมากขึ้น และเรื้อรังเป็นเวลานาน หากไม่มีการรักษาอย่างถูกวิธี อาการอักเสบนี้ก็จะไประคายข้อต่อและเยื่อหุ้มกระดูกในส้นเท้า ทำให้ส้นเท้าเกิดกระดูกงอกขึ้นมาได้ ดังนั้น กระดูกงอกในส้นเท้าจึงมิได้เป็นสาเหตุของอาการปวดส้นเท้า หากเป็นผลที่เกิดจากการอักเสบของส้นเท้าต่างหาก

          สำหรับอาการปวดส้นเท้า การแพทย์จีนนิยมใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขจัดพิษร้อน ที่สะสมอยู่ในส้นเท้า ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้การไหลเวียนของเลือดลมในบริเวณนี้สะดุด และติดขัดจนเกิดอาการปวด เพื่อลดอาการอักเสบของส้นเท้า ส่วนสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการฟื้นฟู และกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า ก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาอาการปวดส้นเท้าเช่นกัน
 แต่สำหรับผู้ที่ปวดส้นเท้าแบบจี๊ด ๆ พร้อมมีอาการหายใจไม่สะดวก ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย ขึ้นบันไดชั้นสองชั้นหรือทำอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็รู้สึกเหนื่อยหรือลิ้นสีม่วงแดงนั้น ผู้ป่วยควรตระหนักว่าเลือดลมในร่างกาย ไม่ได้ติดขัดและสะดุดเฉพาะที่บริเวณส้นเท้าเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลาย ๆ จุดเกิดการติดขัดและสะดุดจนเลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก โดยเฉพาะบริเวณหัวใจ จึงควรรักษาอาการปวดส้นเท้า ควบคู่กับการทำความสะอาดหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกาย

          ส่วนผู้ป่วยปวดส้นเท้าที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ตาลาย แขนขาอ่อนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขี้หลงขี้ลืม ขี้หนาว ปัสสาวะบ่อย ฯลฯ แสดงว่าไตของผู้ป่วยนั้นอ่อนแอ ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร จึงควรทำการบำรุงไตไปพร้อม ๆ กัน

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังอีกโรคหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย พบโรคนี้ได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันและปัจจัยกระตุ้นภายนอก ทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วผิดปกติ  โรคสะเก็ดเงินพบได้ทั้งเพศชายและหญิง พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ปัจจุบัน โรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะทางผิวหนัง แต่อาจพบมีสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ ได้แก่ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และกลุ่ม metabolic syndrome ได้แก่ โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นต้น

ลักษณะทางคลินิก
โรคสะเก็ดเงินจำแนกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะทางคลินิกดังต่อไปนี้ 

ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis)
เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด รอยโรคเป็นผื่นแดงหนา ขอบเขตชัด ขุยหนาสีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า "โรคสะเก็ดเงิน"  พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขา โดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่าซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเสียดสี 
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis)
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอาจพบมีความผิดปกติการอักเสบของข้อร่วมด้วย ซึ่งพบได้ทั้งข้อใหญ่ ข้อเล็ก อาจเป็นข้อเดียว หรือหลายข้อ  ส่วนใหญ่การอักเสบของมือจะเกิดที่ข้อนิ้วมือ  ซึ่งหากเป็นเรื้อรังและทำให้เกิดการผิดรูปได้


การรักษาโรคสะเก็ดเงิน 
แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคดังนี้
• สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย หมายถึง ผื่นน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย (ผื่นขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเท่ากับพื้นที่ประมาณ 1%) ให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
• สะเก็ดเงินความรุนแรงมาก หมายถึง ผื่นมากกว่า 10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย พิจารณาให้การรักษาโดยใช้ยารับประทาน หรือฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานและฉายแสงอาทิตย์เทียม

ยาทาภายนอก 
ยาทารักษาโรคสะเก็ดเงิน มีหลายชนิด ได้แก่
1. ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ (topical corticosteroids) ส่วนใหญ่นิยมใช้ เนื่องจากเป็นครีมขาวใช้ง่าย และตอบสนองต่อการรักษาดี แต่หากใช้ยาที่แรงเกินไปร่วมกับทาเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดผิวหนังบาง และเกิดรอยแตกของผิวหนังได้ รวมถึงอาจเกิดการดื้อยา  และอาจกดการทำงานของต่อมหมวกไตได้
2. น้ำมันดิน (tar) มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลผิวหนังที่ผิดปกติ ประสิทธิภาพดี แต่น้ำมันดิน มีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็น เวลาทาอาจทำให้เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า อาจพบผลข้างเคียงคือเกิดรูขุมขนอักเสบ หรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ทายาได้
3. แอนทราลิน (anthralin, dithranol) มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลผิวหนังที่ผิดปกติ แต่อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง รวมถึงผิวหนังบริเวณที่ทายามีสีคล้ำขึ้นได้
4. อนุพันธ์วิตามินดี (calipotriol) มีฤทธิ์ทำให้การแบ่งตัวของเซลผิวหนังกลับสู่ปกติ ข้อเสียของยานี้คือหากทาบริเวณผิวหนังที่บาง อาจมีการระคายเคืองได้ และยามีราคาแพง ปัจจุบันมียาทาที่ผสมระหว่างอนุพันธ์วิตามินดีและยาทาคอติโคสเตียรอยด์เข้า ด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลข้างเคียง
5. ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus, pimecrolimus) เป็นยากลุ่มใหม่ แพทย์บางรายนำมาใช้ในการรักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินบริเวณหน้า หรือตามซอกพับเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาทาคอติโคสเตียรอยด์ แต่ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากยามีราคาแพง

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาการของโรคเข่าเสื่อม

  • อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญ เริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงด้านหน้า และด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากจะปวดเข่าเมื่อเคลื่อนไหว ลุกนั่ง หรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
  • อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
  • การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า
แพทย์จะวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร หากท่านมีอาการปวดเข่าเรื้องรัง เมื่อไปพบแพทย์หากสงสัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแพทย์ก็จะมีขั้นตอนการวินิจฉัยดังนี้
  1. ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเน้นทีการตรวจข้อเข่า ซึ่งอาจจะพบลักษณะที่สำคัญคือ ข้อบวม หรือขนาดข้อใหญ่และมีการงอของข้อเข่า
  2. การถ่ายภาพรังสี ก็จะพบว่าช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลงซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ หากสึกมากก็ไม่พบช่องว่างดังกล่าว
  3. การเจาะเลือด การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคปวดเข่าเรื้อรังเช่น โรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์
  4. การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า ในกรณีที่เข่าบวมแพทย์จะเยาะเอาน้ำหล่อเลี้ยงเข่าออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์
  5. การตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นการตรวจหาโรคกระดูกพรุน

โรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis of the knee

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้
โครงสร้างของข้อเข่า
ข้อเข่าของคนประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ
  1. กระดูกต้นขา Femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็ง Tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของเข่า
  3. กระดูกสะบ้า Patella ซึ่งอยู่ส่วนหน้าของเข่า
ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน cartilage รูปครึ่งวงกลมหุ้ม ทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยง synovial fluid เปรียบเสมือนน้ำหล่อลื่น เป็นการป้องกันการสึกของข่อเข่า เมื่อเราเดินหรือวิ่ง ข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าใดข้อต้องรับน้ำหนักมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเอ็นและกล้ามเนื้อที่ทำให้ข้อเข่าแข็งแรง
ข้อเข่าเสื่อมหมายถึงการที่กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ก็จะเกิดการเสียดสี และเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ไม่เรียบ เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหวจะเกิดเสียงดังในข้อ เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่ามีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดการบวม ตึง และปวดข้อเข่า
เมื่อมีการเสื่อมมากขึ้น ข้อเข่าก็จะมีการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของจ้อเข่าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน บางท่านไม่เดินทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบและไม่มีกำลัง ข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเท้าจะเหยียดไม่สุด
เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น กระดูกอ่อนจะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาเรียกว่า osteophyte เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อจะสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่ม ทำให้ข้อมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกันเวลาขยับข้อจะเกิดการเสียดสีในข้อ

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคเบาหวาน กับ ภาวะไตวาย

โรคเบาหวาน เป็นที่รู้จักกันในหมู่คนทั่วไป โรคนี้เกิดจากความผิดปกติ ในการควบคุมน้ำตาลของร่างกาย ซึ่งเกิดได้จากกลไกหลายอย่าง ขึ้นกับสาเหตุและชนิดของโรค เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ทางตา หัวใจ และไต เป็นต้น สำหรับโรคไตในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เกิดได้ทั้งจากโรคเบาหวานเองโดยตรง และจากภาวะอื่นที่พบในโรคเบาหวาน เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง โดยมุ่งเน้นการป้องกัน และการรักษาเป็นสำคัญ เพื่อประโยชน์สำหรับ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและญาติ เพราะความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและวิธีการปฏิบัติ จะช่วยให้การรักษาได้ผล และอาจป้องกัน หรือชลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

ปัจจุบันพบว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของภาวะไตวาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น พบผู้ป่วยไตวาย ที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ความชุกของโรคไตชนิดอื่นลดลง ประกอบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีชีวิตยืนยาวขึ้น สำหรับในประเทศไทยนั้น แพทย์ด้านโรคไต ก็พบผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวาย จากโรคเบาหวาน ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนทางไตจะเกิดขึ้นเมื่อใด
ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง มักเกิดขึ้นหลังเป็นโรคอย่างน้อย 5 ปี แต่ส่วนใหญ่มักเกิดหลัง 15-25 ปี โดยในระยะแรก จะไม่มีอาการใดปรากฏให้ทราบ แม้จากการตรวจเลือด แต่จะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ พบโปรตีนซึ่งมีปริมาณไม่มากในระยะต้น ต่อมาปริมาณโปรตีนจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนอาจมีการสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะมาก ทำให้โปรตีนในเลือดลดต่ำลง และผู้ป่วยมีอาการบวมเกิดขึ้น ในช่วงเวลานี้การทำงานของไต อาจยังดีอยู่หรือลดลงเพียงเล็กน้อย ต่อจากนั้นจากทำงานของไต จะลดลงเป็นลำดับจนเกิดภาวะไตวาย ระยะเวลาตั้งแต่พบโปรตีนในปัสสาวะ จนเกิดภาวะไตวายไม่แน่นอน เฉลี่ย 4-5 ปี ข้อที่น่าสังเกต คือ เมื่อโรคดำเนินมาถึงขั้นที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากแล้ว ไม่ว่าจะให้การรักษาด้วยวิธีใด ก็ไม่สามารถยับยั้งการเกิดภาวะไตวายได้ ดังนั้น การป้องกันจึงต้องทำตั้งแต่ระยะต้น ก่อนจะมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตขึ้นแล้ว 
ดังได้กล่าวแล้ว่า ในระยะแรกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต มักไม่มีอาการ ฉะนั้น จึงรู้ได้จากการตรวจปัสสาวะพบโปรตีนเท่านั้น
ในระยะหลังของโรค จะมีอาการบวม ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ โดยที่ไตยังทำงานได้ หรือ มีการคั่งของเกลือจากภาวะไตวายก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการบวม จึงมิได้แสดงว่าไตวายเสมอไป อาการบวมมักเริ่มที่เท้าก่อน โดยอาจบวมไม่มากในตอนแรกแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนบวมทั่วตัวได้

สำหรับอาการที่พบ เมื่อเกิดภาวะไตวายแล้วมีดังนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ขาดสมาธิในการทำงาน ซีด อ่อนเพลีย หายใจหอบลึก ชาตามปลายมือปลายเท้า ตะคริว คันตามตัว ซึม ชัก และหมดสติในที่สุด นอกจากนั้น ในระยะหลังของภาวะไตวาย ปริมาณปัสสาวะจะลดลง และอาจลดลงจนไม่มีปัสสาวะในระยะท้ายสุด
ทำไมจึงเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต

ภาวะแทรกซ้อนทางไตในโรคเบาหวาน เป็นผลจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดที่ไต และยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เนื้อไตโดยตรงด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งสองอย่างนี้ ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ใด ซึ่งนำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะ และภาวะไตวายที่สุด นอกจากนั้น ปัจจัยด้านพันธุกรรม ก็มีบทบาทเสริมให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตด้วย
ภาวะแทรกซ้อนทางไตมีแนวโน้มจะเกิดในผู้ใดบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนทางไต มิได้เกิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทุกคน พบประมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น ผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้แก่
1.
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
 
2.
มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว
 
3.
มีพี่น้องเป็นโรคไตจากโรคเบาหวาน
 
4.
มีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าเดิม หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง

สาเหตุของโรคเบาหวาน

สาเหตุของโรคเบาหวาน  ที่ทราบกันคือกรรมพันธุ์ และปัจจัยอื่นๆ กรรมพันธุ์หมายถึง ถ้ามีพี่น้อง พ่อแม่ (ญาติสายตรง) เป็น ก็จะมีโอกาสหรือความเสี่ยง ในการเกิดโรคเบาหวาน ได้มากกว่าคนที่ไม่มีประวัติครอบครัว แต่ไม่ใช่เป็นหมดทุกคน 100 % และในทางกลับกัน คนที่ไม่มีพ่อแม่พี่น้องเป็น ก็อาจจะเป็นคนแรกเลยก็ได้ คือ ถือเป็นต้นตระกูลเบาหวานก็ได้ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ก็สำคัญ เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย  กินอาหารแป้ง, น้ำตาลมากเกินไป ส่วนสาเหตุหนึ่งที่พบคือ เบาหวานจากการตั้งครรภ์, เบาหวานจากยา เช่น ยาสเตียรอยด์  ที่ชอบใช้แบบผิดๆ รักษา โรคปวดข้อ, ปวดกระดูก, ตับอ่อนอักเสบ โดยเฉพาะที่ชอบดื่มเหล้ามากๆ จนเป็นตับอ่อนอักเสบ สุดท้ายก็เบาหวาน จากการขาดสารอาหาร (ทุพโภชนาการ)
การวินิจฉัย การดูแลรักษาด้วยยา การออกกำลังกาย และอื่นๆ ที่เป็นโรคแทรกซ้อน ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน  นอกจากจะจำเป็นต่อผู้ป่วยเองแล้ว ยังจำเป็นต่อคนรอบข้าง, เช่นคนในครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน (ในกรณีที่เด็กป่วย  ควรจะมีความรู้บ้าง) เพราะโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน อาจจะมีอาการเฉียบพลันซึ่งต้องการ  การรักษาอย่างเร่งดวน  มิฉะนั้น อาจจะมีอันตรายถึงชีวิต โรคแทรกซ้อนที่ว่า ยกตัวอย่างเช่น น้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำเกินไป การติดเชื้อรุนแรงเป็นต้น
เบาหวาน แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบพึ่งอินซูลิน คือต้องใช้อินซูลินในกาฉีดรักษา (ตั้งแต่แรก) ซึ่งมักจะพบในคนอายุน้อย ต่างกับประเภทที่ 2 ซึ่งมักพบในคนอายุมาก ประเภทนี้ใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลแบบกินเข้าปากได้ จนถึงปัจจุบันเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า การรักษาเบาหวานที่สมบูรณ์แบบที่สุด คือ การควบคุมน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ก่อนอื่น  เมื่อเราสงสัยว่าเป็นเบาหวาน คือ มีอาการที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ กินน้ำบ่อย (เพราะคอแห้ง) ปัสสาวะบ่อยและครั้งละมากๆ หิวบ่อย (ส่วนน้อยจะเบื่ออาหาร ยกเว้นตอนที่โทรมมากๆ แล้ว) ผอมลงเรื่อยๆ เพลีย โหย หรืออาการอื่นๆ เช่น ตามัน มึนตามปลายมือปลายขา, กล้ามเนื้ออ่อนแรง แผลหายช้า  ซึ่งถ้ามีอาการที่กล่าวหลังๆ นี้ มักจะเป็นเบาหวานมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อนแล้ว  บางคนจะเจอเบาหวาน เมื่อมารักษาโรคอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ. โรคอัมพาตจากสมองตีบ, เส้นเลือดที่ขาตีบ, ตามองไม่เห็น จากเบาหวานขึ้นตา หรือต้อกระจก, หรือติดเชื้อโรคบางอย่าง เช่น วัณโรค ปอด เป็นต้น และคนไข้บางส่วน มักเจอว่าตนเองเป็นเบาหวาน เมื่อเตรียมตัวผ่าตัด, ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัย
เมื่อไปพบแพทย์  แพทย์ก็จะซักประวัติ  ตรวจร่างกายอย่างละเอียด  แล้วก็จะขอเจาะเลือด  เป็นอย่างน้อย หรือตรวจเพิ่มอื่นๆ ก็แล้วแต่อาการจะพาไป  การตรวจของแพทย์เพื่อจะทราบว่า
 
1.
เป็นเบาหวานหรือไม่ รุนแรงขนาดไหน
 
2.
มีโรคแทรกซ้อนหรือโรคที่เกิดร่วมกันหรือไม่ เช่น ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, ไตวาย, ความเสื่อมของระบบประสาท, เส้นหัวใจ หรือเส้นเลือดขาตีบ, มีแผลที่เท้าหรือไม่, สมรรถภาพการมองเห็น เป็นต้น
การตรวจเลือด ส่วนใหญ่จะเจาะหลังอาหาร อย่างน้อย 6 ชม. ดังนั้น ถ้าท่านต้องการตรวจเลือดเบาหวาน, ไขมัน ดีที่สุดคือ ตอนเช้า อย่าเพิ่งทานข้าวเช้า ห้ามกินอาหารหลัง 6 ทุ่ม จิบน้ำบริสุทธิ์แก้คอแห้งได้บ้างเล็กน้อย ความจริงถ้าจะดูไขมันให้ละเอียด อด 12 ชม. ได้จะดีมาก คือกินอาหาสัก 5 – 6 โมงเย็น จากนั้นอด (ลูกเดียว) จนถึงเช้า
เมื่อแพทย์แจ้งท่านว่าเป็นเบาหวานแล้ว (บางครั้งถ้าไม่มีอาการอะไร แพทย์จะขอตรวจเลือดซ้ำ) อย่างแรกสุด แพทย์จะอธิบายให้ท่านทราบว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง เป็นแล้วไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมให้ใกล้เคียงกับปกติได้ ถ้าท่านปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำได้ดี ผลบุญก็จะเกิดแก่ท่าน ก็จะสามารถดำรงชีวิตได้ปกติสุข เฉกเช่นคนที่ไม่เป็นเบาหวานทั่วไป เมื่อได้ฟังดังนั้น ท่านควร (ต้อง) ยอมรับว่า อะไรมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด และเมื่อเกิดแล้วก็ต้องยอมรับ สามารถอยู่ร่วมกับ โรคเบาหวานอย่างมีความสุข

โรคเบาหวาน

ตามจริงโรคเบาหวาน เป็นโรคที่คุ้นหูกันพอควร โรคนี้พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเป็นเพราะผู้คนสนใจสุขภาพกันมากขึ้น  หมั่นตรวจสุขภาพ และเทคโนโลยีทางการตรวจเบาหวานดีขึ้นมาก แต่ถึงอย่างไร แม้เราจะมีแพทย์ผู้เชี่ยยวชาญมากมาย  หรือเทคโนโลยีทันสมัยปานใด ปัจจุบันเราก็ยังพบ โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อยอยู่ เช่น ไตวาย ตาบอด แผลติดเชื้อ  ทำให้ต้องตัดขาพิการไป ซึ้งยังไม่รวมอย่างอื่นๆ เช่น อัมพาต หัวใจตีบ
จะว่าไปแล้ว เบาหวานก็คล้ายๆ กับโรคอีกหลายโรค มักจะพูดถึงว่าเป็นเพื่อนกัน มักมาด้วยกัน คือ ความดันโลหิตสูง, ไขมันสูง, เก๊าท์  และถ้าเป็นพร้อมๆ กัน ทำให้การดำเนินโรค การรักษา มีภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น รุนแรงขึ้น โรคที่กล่าวมาส่วนใหญ่  ไม่มีอาการระยะเริ่มแรก เมื่อโรคเป็นมากแล้ว ถึงค่อยแสดงอาการ  บางครั้ง เมื่อเราไม่ค่อยสนใจสุขภาพเท่าที่ควร ก็จะทำให้วินิจฉัยและรักษาล่าช้า จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต จริงๆ แล้ว ก็ไม่อยากให้ตกใจ หรือตื่นกลัว, กังวลมากเกินไป เกี่ยวกับโรคที่เป็น เพราะเมื่อเป็นแล้วต้องทำใจ และยอมรับ เพราะของมันเป็นกันได้ (สังขารไม่เที่ยง) ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตัวดี เหมาะสม ก็จะมาสารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่นคนที่ไม่เป็นโรคทั่วไป
ปัจจุบัน วิถีชีวิตคน (ไทย) เปลี่ยนไปมาก ทั้งในด้านสังคม ซึ่งนับวันจะมีความเครียดสูง, ทำงานแข่งกับเวลา หรือแข่งกันทุกๆ อย่าง  ขาดกาออกกำลังกาย และพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม คือกินมากไปและไม่มีคุณภาพ ไม่รวมถึงสารพิษ ที่เต็มใจบริโภคกันเข้าไปอีก เช่น บุหรี่และแอลกอฮอล์ จึงก่อให้เกิดการเกินพอดี เนื่องจากกินมามากและสะสมานาน ขาดการออกกำลังกาย  

พออายุเลย 40 ปีไปแล้ว ชีวิตก็เหมือนดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงพอดี จากนั้นก็เริ่มบ่ายคล้อยลงเรื่อยๆ อาหาร  พลังงาน จะเริ่มต้องการน้อยลง ดังนั้น ถ้าเรากินเท่าเดิมก็ยังเกินเลยนะ  ดังนั้น ควรบริโภคให้น้อยลงบ้าง และเน้นคุณภาพ  เรื่องกินนี้เรื่องใหญ่ พอเกินจนล้น ก็เกิดโรคเบาหวาน ไขมันสูง เก๊าท์ น้ำหนักมากเกินไป กลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ ไขข้อ ตามมาอีกพรวน

โรคเบาหวาน ดังที่ทราบกัน เป็นโรคที่มีความผิดปกติ เกี่ยวกับขบวนการเคมีของร่างกาย (Metabolism) ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการขึ้น คือ น้ำตาลที่สูงมากกว่าปกตินั้น เมื่อกรองผ่านไปที่ไต ไตไม่สามารถดูดน้ำตาลกลับได้หมด  จึงทำให้ความเข้มข้นของน้ำตาล ในท่อไตมากกว่าปกติ ทำให้น้ำ (จากเลือด) ไหลย้อน จากเนื้อไตเข้าไปยังท่อไต ซึ่งมีความเข้มข้นสูง แล้วก็ปัสสาวะออกมา ทำให้ปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกมา มากกว่าปกติ  อาการเริ่มแรกที่เห็น  คือ ปัสสาวะบ่อยและมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน อาจจะมากกว่า 3 – 4 ครั้ง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค  พอปัสสาวะมาก ก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงทำให้คนที่เป็นเบาหวาน  ต้องกินน้ำมากๆ เพื่อแก้กระหาย และทดแทนน้ำที่เสียไป  และเนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาล จากการกินเข้าไปแล้ว เอาไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้น้ำหนัก ลดค่อนข้างรวดเร็ว และหิวบ่อย เพราะกินแล้ว มันรั่วหายหมดไปทางปัสสาวะ  ดังนั้น อาการเริ่มแรกทั้งหมดของเบาหวาน จึงเป็นปัสสาวะบ่อยมาก ดื่มน้ำมาก กินเก่ง หิวบ่อย น้ำหนักลด
ถ้าจะเอาให้ลึกลงไปเล็กน้อย เกี่ยวกับกลไกการเกิดน้ำตาลสูง ตามปกติน้ำตาล (แป้ง) เป็นแหล่งพลังงานของเราเป็นอันดับแรก ต่อไปก็ไขมัน, โปรตีน ตามลำดับ เมื่อเรากินแป้งเข้าไปโดยธรรมชาติ เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำตาล เผือก มัน  การที่จะเอาน้ำตาลไปเผาผลาญ ให้เกิดพลังงานต้องใช้อินซูลิน ที่สร้างโดยตับอ่อน ความผิดปกติที่พบมี 2 อย่าง คือ ขาดอินซูลิน เพราะตับอ่อนไม่สร้าง หรือว่ามีอินซูลินผิดปกติ แต่เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนอง คือ ดื้อ อินซูลินนั่นเอง  โรคเบาหวาน ที่พบในคนอายุน้อย (ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี) จะเป็นพวกขาดอินซูลิน ส่วนพวกที่พบในผู้ใหญ่ หรือคนสูงอายุ (โรคเฉพาะคนอ้วน) จะเป็นพวกดื้ออินซูลินนอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอาการอื่นๆ ที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง ตามัว คอแห้ง หรือแม้แต่สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
การที่คนโบราณเรียก โรคเบาหวาน คงจะมาจากสมมติฐานที่ว่า ปัสสาวะ ซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์ การลองชิมปัสสาวะ หรือสังเกตเห็นมาตอม  แต่อาการมดตอมปัสสาวะ ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะปัสสาวะมีสารประกอบอื่นๆ อีกที่มดชอบ  ดังนั้น คงต้องพิจารณาอาการอื่นๆ ด้วย

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อไหล่ยึดหรือข้อไหล่ติด

สำหรับผู้ที่อายุยังน้อยหรือไม่ได้ผ่านการทำงานหนักอาจจะไม่รู้จักโรคนี้ แต่สำหรับวัยกลางคนขึ้นไปและผ่านงานหนักจะประสบปัญหาเรื่องการยกไหล่ไม่ขึ้น หรือไม่สามารถถูหลังเราเรียกภาวะนี้ว่า Frozen shoulder ข้อไหล่ติด ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้คือ
  • เป็นในหญิงมากกว่าชาย
  • มักจะเริ่มเป็นอายุ 40-50 ปี
  • ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการป่วยด้วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 20-30%
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ได้แก่ การที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ การได้รับอุบัติเหตุที่ไหล่ การใช้งานมากไป คอพอกเป็นพิษ
สาเหตุของการเกิดข้อติด
สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากการอักเสบของเยื่อ หุ้มข้อและมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ ทำให้ข้อเกิดการเคลื่อนไหวน้อยลง
การดำเนินของโรค
  1. ในระยะแรกจะมีอาการปวดข้อไหล่โดยเฉพาะปวดเวลากลางคืน อาการจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-9 เดือน
  2. ระยะที่สองอาการปวดจะน้อยลง แต่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงระยะนี้ใช้เวลา 4-12 เดือน
  3. ระยะที่สามจะเริ่มฟื้นตัว การขยับของข้อดีขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 12-42 เดือนหากไม่ดีอาจจะพิจารณาผ่าตัด
การวินิจฉัยและการรักษา
การตรวจไม่ยาก แพทย์จะให้ยกแขนขึ้นพบว่ายกแขนได้น้อยลง อาจจะต้องx-ray เพื่อตรวจว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นหรือไม่
การรักษาประกอบไปด้วย

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การทำกายภาพ
  • การใช้น้ำร้อนหรือน้ำแข็งประคบ
  • การฉีดยา steroid เข้าข้อ
  • การบริหารเพื่อทำให้ไหล่เคลื่อนไหวได้มากขึ้น

โรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis of the knee

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมา เป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็น อย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้
โครงสร้างของข้อเข่า
ข้อเข่าของคนประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ
  1. กระดูกต้นขา Femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็ง Tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของเข่า
  3. กระดูกสะบ้า Patella ซึ่งอยู่ส่วนหน้าของเข่า
ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน cartilage รูปครึ่งวงกลมหุ้ม ทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยง synovial fluid เปรียบเสมือนน้ำหล่อลื่น เป็นการป้องกันการสึกของข่อเข่า เมื่อเราเดินหรือวิ่ง ข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าใดข้อต้องรับน้ำหนักมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเอ็นและกล้ามเนื้อที่ทำให้ข้อเข่าแข็งแรง
กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมหมายถึงการที่กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อม สภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ก็จะเกิดการเสียดสี และเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ไม่เรียบ เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหวจะเกิดเสียงดังในข้อ เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่ามีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดการบวม ตึง และปวดข้อเข่า
เมื่อมีการเสื่อมมากขึ้น ข้อเข่าก็จะมีการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของจ้อเข่าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน บางท่านไม่เดินทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบและไม่มีกำลัง ข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเท้าจะเหยียดไม่สุด
เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น กระดูกอ่อนจะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาเรียกว่า osteophyte เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อจะสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่ม ทำให้ข้อมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกันเวลาขยับข้อจะเกิดการเสียดสีในข้อ

โรคภูมิแพ้ Allergy

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ที่จะจดจำสิ่งแปลกปลอมที่จะทำร้ายร่างกายเรา เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรค โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิของร่างกายมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ allergen จากสิ่งแวดล้อมซึ่งปกติจะไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่แพ้ ปฏิกิริยานี้เริ่มเมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดการสร้างภูมิที่เรียกว่า IgE antibody ตัว antibody นี้จะกระตุ้น Mast cell ให้มีการหลั่งสาร Histamin ขึ้นที่เนื้อเยื่อต่าง เช่น ผิวหนัง ปอด จมูก ลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการแสดงจะเกิดตามอวัยวะต่างๆ เช่นลมพิษที่ผิวหนัง คัดจมูก แน่นหน้าอกเนื่องจากหอบหืด บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ Anaphylaxis shock
เนื่องจากเกิดโรคภูมิแพ้เป็นจำนวนมากจึงได้มีการวิจัยหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้
  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่นพ่อแม่ พี่น้อง ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย เด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงหากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้เด็กจะเป็นภูมิแพ้ได้ร้อยละ 30 แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้เด็กจะมีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ 50-60
  • สิ่งแวดล้อมของเด็กในขวบปีแรกสำคัญมาก การสัมผัสควันบุหรี่ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สะเก็ดรังแคสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรับประทานอาหารสำเร็จรูป เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้
  • การติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก การที่มีเชื้อ lactobacillus ในลำไส้หรือการอาศัยใกล้ฟาร์มสัตว์จะลดอุบัติการณ์ของภูมิแพ้
การหลีกเลี่ยงหรือนำสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ออกจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะทำให้ลดอาการของโรคภูมิแพ้และลดปริมาณการใช้ยา

พบว่าปัจจัยที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
  • คนในเมืองอยู่บ้านมาก ติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • เด็กกินนมแม่น้อยลง คนรับประธานอาหารจานด่วนมาก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก เช่น สี สารกันบูด
  • คนนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านเพิ่ม
  • การตกแต่งบ้าน ติดตั้งพรมและติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อไรฝุ่นเจริญได้ดี
  • มลภาวะจากอุตสาหกรรม และการจราจร
  • การสูบบุหรี่

สารก่อโรคภูมิแพ้ในบ้านจะพบได้ตลอดปีและเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรค ภูมิแพ้คัดจมูก โรคหอบหืด ผื่นแพ้ eczema สารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญได้แก่
  • ไรฝุ่นพบมากบนที่นอน โซฟา
  • สะเก็ดรังแคสัตว์ น้ำลาย และเหงื่อของสัตว์เลี้ยง
  • ขนนก ของเสียแมลงสาบ รา
วิธีป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน
  • เปิดหน้าต่างให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ โดยเฉพาะห้องครัว ห้องน้ำโดยเปิดหน้าต่างอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมงเปิดวันละสองครั้งหากแพ้เกสรควรปิดหน้าต่างโดยเฉพาะช่วงที่มีเกสรดอกไม้มาก
  • ไม่ควรตากผ้าในห้องนอนและห้องนั่งแล่น
  • ถ้าห้องมีความชื้นมากให้เปิดให้อาการถ่ายเทให้มาก
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
  • ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน
  • ไม่ควรตกแต่งห้องนอนด้วยพรม หรือมีตุกตา มั่นเช็ดฝุ่นบ่อยๆ
  • ห้องนอนไม่ควรจะมีชั้น หรือหนังสือ
  • เครื่องนอนควรจะซักและต้มสัปดาห์ละครั้ง
  • งดบุหรี่ หรือทาสีในบ้าน
  • หมั่นทำความสะอาด และดูดฝุ่นบ้านและม่านกันแดด
  • กำจัดเศษอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ

๑๖ ข้อสงสัย โรคพิษสุนัขบ้า

๑. โรคพิษสุนัขบ้า มีความเป็นมาอย่างไร
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล รูปในสมัยอียิปต์โบราณแสดงให้เห็นถึงคนถูกสุนัขกัด โรคนี้พบทั่วโลก มีชื่อเรียกต่างกันตามภาษาท้องถิ่น แต่หมายถึง โรคที่เกิดจากถูกหมาบ้ากัด

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่พบได้ในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมทั้งค้างคาว สัตว์ที่พบว่าเป็นโรคนี้บ่อยที่สุด คือ สุนัข ทั้งสุนัขบ้า สุนัขจิ้งจอก สุนัขบ้าน รองลงมาคือ แมว แร็กคูน สกังก์ และค้างคาว
ค้างคาวที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าพบได้ทั้งในค้างคาวดูดเลือด (vampire) ซึ่งมีอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ค้างคาวกินแมลงที่พบในอเมริกาเหนือและที่อื่นๆ ค้างคาวอาจมีการติดเชื้อและเป็นพาหะโดยไม่มีอาการป่วย สำหรับสัตว์อื่นๆ ยังถกเถียงว่า มีการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้วไม่ตายหรือไม่

ปัญหาสัตว์นำโรคพิษสุนัขบ้าแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยและในเอเชีย พบว่า สุนัขเลี้ยงและสุนัขจรจัดเป็นโรคและนำเชื้อมาสู่คนบ่อยที่สุด รองลงมาคือ แมว สำหรับหนูและค้างคาว เชื่อว่านำเชื้อโรคได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าเกือบทั้งหมดให้ประวัติว่าถูกสุนัขกัด ในยุโรปสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์นำโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญแต่ในระยะ ๔-๕ ปีที่ผ่านมาควบคุมได้ โดยการโปรยวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าชนิดกิน ให้สุนัขจิ้งจอกกิน

ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาพบปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น สัตว์นำโรคที่สำคัญ คือ แร็กคูน สกังก์ และค้างคาวกินแมลง การใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าผสมในอาหารที่ใช้เป็นเหยื่อล่อให้แร็กคูนกิน พบว่าให้ผลดี ในอเมริกาใต้ ปัญหาสัตว์นำเชื้อโรคนอกจากสุนัข แมว และสัตว์ป่าอื่นๆ ยังมีค้างคาวดูดเลือดแพร่เชื้อให้วัวควาย ทำความเสียหายแก่คอกปศุสัตว์

๒. โรคพิษสุนัขบ้า ติดต่ออย่างไร
การติดต่อส่วนใหญ่ติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือเลีย หรือข่วน แล้วปล่อยเชื้อที่อยู่ในน้ำลายเข้าทางบาดแผล ในธรรมชาติการติดต่อพบจากสัตว์ไปยังสัตว์ พบบ่อยในสุนัข พบได้ในสัตว์อื่นๆ การติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์มายังคนเป็นการบังเอิญ ในธรรมชาติไมพบการติดต่อจากคนไปคน ในผู้ที่พยาบาลใกล้ชิดผู้ป่วย ยังไม่พบว่ามีผู้ติดเชื้อแต่อย่างไรก็ดีสามารถแยกเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้จากน้ำลายผู้ป่วย ผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด มีแผลหรือรอยถลอกสัมผัสกับน้ำลายผู้ป่วยอาจติดเชื้อ การติดเชื้อจากคนไปสู่คนพบรายงานทางการแพทย์ เกิดจากการปลูกถ่ายกระจกตาที่ได้มาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และมีรายงานการติดต่อทางการหายใจ ในผู้ที่เข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาวจำนวนมากและการสูดดมเชื้อไวรัสที่นำมาปั่นศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ

๓. ทำไมชาวบ้านเรียกว่า “โรคกลัวน้ำ”
โรคพิษสุนัขบ้ามีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคกลัวน้ำหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ไฮโดรโฟเบีย (hydrophobia) เนื่องจากอาการเด่นชัดของโรคนี้ที่ต่างจากโรคอื่นๆ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งเจ็บปวดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนของเหลวทำให้ไม่กล้าดื่มน้ำ ไม่กล้ากลืนน้ำลาย แม้ว่าจะหิวน้ำ และจะแสดงอาการกลัวไม่กล้าดื่มน้ำ แต่อาจกินอาหารแข็งได้บ้าง ลักษณะอาการโรคที่สำคัญ คือ ระยะแรก จะเริ่มด้วยไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คันหรือเสียว บริเวณแผลที่เคยถูกสัตว์กัด อาการที่ชัดเจนในระยะต่อมา คือ น้ำลายและเหงื่อออกมาก กระวนกระวาย สะดุ้ง ตกใจ เมื่อมีสิ่งเร้า เช่น ลมพัด เสียงดัง มีอาการคลุ้มคลั่งสลับกับสติดีโต้ตอบได้เป็นระยะ ระยะสุดท้าย จะไม่รู้สึกตัว อาจชักหรือหมดสติ ส่วนใหญ่เสียชีวิตในเวลาไม่เกิน ๗ วันหลังจากแสดงอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการดุร้ายคลุ้มคลั่งชัดเจน แต่มีอาการซึม อัมพาต และเสียชีวิต อาการโรคพิษสุนัขบ้าที่พบในคนและสัตว์มี ๒ แบบ คือ แบบดุร้าย แสดงอาการชัดเจน และแบบซึม อาการไม่ชัด และเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว

๔. ทำไมโรคนี้ถึงระบาดในฤดูร้อน ในฤดูอื่นจะมีโอกาสได้รับเชื้อโรคนี้หรือไม่
โรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์ พบได้ตลอดปี แต่จะมีผู้ถูกสุนัขกัด ต้องมาฉีดวัคซีนมากในฤดูร้อน เนื่องจากเด็กปิดภาคเรียน เที่ยวเล่นและสุนัขผสมพันธุ์เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะคลอดลูกอ่อนราวเดือนมีนาคม-เมษายน ในหน้าผสมพันธุ์สุนัขจะกัดกันมากกว่าฤดูอื่นจึงได้รับเชื้อ เมื่อเข้าฤดูร้อนพอดีครบระยะฟักตัว จะแสดงอาการ ลูกสุนัขจะมีโอกาสเป็นพิษสุนัขบ้ามากกว่าสุนัขโต และแม่สุนัขจะหวงลูกอ่อนกัดคนมากขึ้น

๕. ผู้ป่วยโรคนี้จะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่
ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า แสดงอาการป่วยเมื่อเชื้อไวรัสเดินทางจากบริเวณบาดแผลเข้าไปตามแขนงประสาทเข้าไปยังเซลล์ประสาท เชื้อเพิ่มจำนวนทำลายเซลล์ประสาทเมื่อแสดงอาการโรค จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยเสียชีวิตทุกราย ยกเว้นในรายงานผู้ป่วย ๓ ราย ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน และได้รับการดูแลเต็มที่ แม้จะไม่เสียชีวิตแต่ก็พบความพิการเป็นอัมพาต

๖. โรคนี้สามารถป้องกันได้หรือไม่
โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ วิธีที่ได้ผลที่สุด แต่ยังทำไม่สำเร็จในขณะนี้ คือ ฉีดวัคซีนให้กับสุนัขเลี้ยงทุกปี ในผู้ที่มีโอกาสถูกสัตว์ที่เป็นโรคนี้กัด ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไว้ก่อน โดยฉีดเพียง ๓ เข็ม ฉีดวัคซีนสองเข็มแรกห่างกัน ๑ เดือน และเข็มที่ ๓ เมื่อครบ ๑ ปี ถ้าถูกสัตว์สงสัยว่ามีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ ๑ หรือ ๒ เข็มก็เพียงพอ ไม่ต้องฉีดเซรุ่ม

๗. ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าแสดงอาการหลังถูกสัตว์กัดนานเท่าใด
ระยะเวลาตั้งแต่ถูกสัตว์กัดจนกระทั่งแสดงอาการโรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า ระยะฟักตัว เร็วที่สุด คือ ๗ วัน ช้าที่สุดไม่เกิน ๑ ปี ส่วนใหญ่แสดงอาการในเวลา ๓ สัปดาห์ ถึง ๓ เดือนหลังถูกสัตว์กัด ถ้าถูกกัดบาด แผลฉกรรจ์ บริเวณใกล้ศีรษะ ใบหน้าหรือบริเวณที่มีเส้นประสาทมาก เช่น นิ้วมือ จะมีระยะฟักตัวสั้น ถ้าถูกกัดบาดแผลไม่รุนแรง บริเวณขาหรือร่างกายส่วนล่าง จะมีระยะฟักตัวยาว

๘. ถ้าโดนสุนัขหรือสัตว์อื่นกัด ควรทำอย่างไรเป็นอันดับแรก
ถ้ามีบาดแผลจากการถูกสัตว์กัด ให้บีบเลือดออกให้มากที่สุด ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟองสบู่หรือผงซักฟอก ล้างหลายๆ ครั้งเพื่อให้น้ำลายและเชื้อที่ได้รับเข้าไปออกให้มากที่สุด แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ถ้าแผลฉกรรจ์ หรือสงสัยว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า รีบไปพบแพทย์เร็วที่สุดเพื่อแพทย์จะได้ทำแผลและล้างแผลอย่างเหมาะสม และฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนและเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในรายที่มีข้อสงสัยว่าสัตว์อาจมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

๙. เคยได้ยินว่าการล้างแผลด้วยสบู่ทันทีที่ถูกสัตว์กัดจะฆ่าเชื้อนี้ได้ จริงหรือไม่
การล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ทันทีจะช่วยล้างน้ำลายและเชื้อต่าง ๆ ออกจากบาดแผลได้ แต่ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโดยตรงคงจะมีน้อยมาก เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเมื่ออยู่นอกร่างกายจะตายง่าย อย่างไรก็ดี ถ้าบาดแผลลึก แผลเหวอะหวะ ไม่สามารถล้างแผลได้เอง ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อล้างแผลด้วยน้ำเกลือและยาฆ่าเชื้อ

๑๐. หากโดนสัตว์กัด จำเป็นต้องนำสัตว์มาตรวจหรือไม่ และหากไม่สามารถนำสัตว์นั้นมาตรวจได้ ควรทำอย่างไร
การตรวจสัตว์ จะมีประโยชน์ในการที่ทราบว่าสัตว์เป็นโรคหรือไม่ เพื่อวางแผนในการให้วัคซีนและเซรุ่มแก่ผู้ถูกกัด ถ้าสัตว์เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนและป่วยตาย จะได้ตรวจสอบคุณภาพของวัคซีน ถ้านำสัตว์มาตรวจไม่ได้ แพทย์จะตัดสินใจให้วัคซีนโดยเร็วที่สุดในรายที่สงสัยว่าสัตว์อาจมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ถ้ามีบาดแผลฉกรรจ์จะให้เซรุ่มร่วมด้วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่จำเป็นเหมือนสมัยโบราณ สมัยก่อนใช้วัคซีนจากสมองสัตว์ ต้องฉีดติดต่อกัน ๑๗-๒๑ เข็ม ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นไม่ดี อาการแทรกซ้อนพบได้บ่อยและรุนแรง ถ้าไม่จำเป็น หรือสัตว์ที่กัดไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ก็จะไม่ฉีดวัคซีนให้ ในปัจจุบันวัคซีนปลอดภัย คุณภาพดี แต่มีราคาแพง ถ้าสงสัยว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะฉีดให้เร็วที่สุดทันที

๑๑. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของคน ขณะนี้เป็นวัคซีนบริสุทธิ์ที่ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงและไข่เป็ดฟัก มีคุณภาพสูงกว่าวัคซีนผลิตจากสมองสัตว์ที่เคยใช้ในสมัยก่อน วัคซีนจากสมองสัตว์เลิกใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๕

วัคซีนที่มีจำหน่ายขณะนี้มี ๔ ชนิด คือ

๑. วัคซีนฮิวแมน ดิพลอยด์ (human diploid rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปอดคน ราคาประมาณเข็มละ ๖๖๐ บาท ฉีดทั้งชุด ๕ เข็ม

๒. วัคซีนพีซีอีซี (PCEC) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลูกไก่

๓. วัคซีนเวโร (vero cell rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงต่อเนื่องที่ชื่อว่า เซลล์เวโร มีต้นกำเนิดจากไตลิง

๔. วัคซีนบริสุทธิ์ผลิตจากตัวอ่อนไข่เป็ดฟัก (purified duck emberyo rabies vaccine)
วัคซีนทั้ง ๓ ชนิดหลังนี้ราคาประมาณเข็มละ ๒๒๐ บาท ฉีดทั้งชุด ๔ เข็ม สำหรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ฉีดในสุนัข เตรียมจากเซลล์เพาะเลี้ยง แต่มีมาตรฐานการผลิตแตกต่างจากวัคซีนที่ใช้ในคน


๑๒. เมื่อไหร่ควรฉีดวัคซีน หรือเมื่อไหร่ควรฉีดเซรุ่ม วัคซีนและเซรุ่มใช้แทนกันได้หรือไม่
วัคซีนและเซรุ่มใช้แทนกันไม่ได้ แต่จะให้เซรุ่มเสริมร่วมกับฉีดวัคซีนโดยฉีดวันเดียวกับวัคซีน ในผู้ที่ถูกกัดบาดแผลฉกรรจ์ ระยะฟักตัวจะสั้น วัคซีนไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้องใช้เวลา ๗-๑๔ วัน จึงจะพบแอนติบอดีที่จะคุ้มกันได้ ในกรณีเช่นนี้ จะต้องฉีดเซรุ่มซึ่งมีแอนติบอดีอยู่แล้วให้เร็วที่สุด เซรุ่มที่ใช้มี ๒ ชนิด คือ เตรียมจากเลือดม้า เรียกว่า อีริก (ERIG, Equine rabies immune globulin) และเตรียมจากเลือดคน เรียกว่า เอชริก (HRIG, Human rabies immune globulin) เตรียมโดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ม้าหรือคนก่อนแล้วเจาะเลือดที่มีแอนติบดีมาเตรียมเซรุ่ม เพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาในรายที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้ว เมื่อฉีดวัคซีนซ้ำ จะพบแอนติบอดีได้เร็วจึงไม่จำเป็นต้องฉีดเซรุ่ม

๑๓. ถ้าหากเคยได้รับวัคซีนแล้วและถูกสัตว์กัดซ้ำอีก จำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นชุด ชุดละ ๕ เข็ม ในวันแรก , วันที่ ๓ , วันที ๗, วันที่ ๑๔ และวันที่ ๒๔ ถ้าถูกกัดในระหว่างฉีดวัคซีน ๕ เข็มนี้ ก็ไม่ต้องฉีดเพิ่มอีก แต่ถ้าถูกกัดภายใน ๖ เดือน หลังฉีดเข็มสุดท้าย ควรฉีดเพิ่มเร็วที่สุดหลังถูกกัดอีก ๑ เข็ม ถ้าเกิน ๖ เดือน ให้ฉีด ๒ เข็ม โดยฉีดเข็มแรกเร็วที่สุดถูกกัด และฉีดเพิ่มอีก ๑ เข็ม ในวันที ๓ หลังฉีดเข็มแรก ในกรณีที่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนไม่ต้องฉีดเซรุ่ม

๑๔. ถ้าสุนัขตัวที่กัดไม่ได้เป็นโรคนี่ แต่เราไปฉีดวัคซีนจะเป็นอะไรหรือเปล่า
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ใช้ในปัจจุบัน คุณภาพดี ปลอดภัยแม้ว่าสุนัขตัวที่กัดจะไม่เป็นโรคก็ไม่เป็นไร นอกจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า

๑๕. วัคซีนที่ฉีดจะคงอยู่ในร่างกายได้นานแค่ไหน
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เป็นวัคซีนเชื้อตาย เมื่อฉีดครบชุดแล้ว ภูมิคุ้มกันจะสูงอยู่ในระยะหลังฉีด ๒ สัปดาห์ – ๓ เดือน แล้วเริ่มลดระดับลงต้องฉีดกระตุ้นอีก ๑ – ๒ เข็ม จึงจะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงแล้วก็จะลดลดอีก ดังนั้น ถ้าถูกกัดบ่อย ๆ ก็ต้องฉีดทุกครั้งที่ถูกกัด แต่ลดจำนวนเหลือเพียง ๑ – ๒ เข็ม และไม่ต้องฉีดเซรุ่ม

๑๖. วัคซีนและเซรุ่มนี้มีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่ และมีข้อควรระวังอย่างไร
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดบริสุทธิ์ มีผลข้างเคียงน้องมาก เช่น เจ็บบริเวณฉีด รู้สึกไม่ใคร่สบายส่วนใหญ่หายเอง ถ้าถูกสุนัขหรือสัตว์สงสัยว่าเป็นโรคนี้กัด ก็ต้องฉีดวัคซีนเร็วที่สุด ไม่มีข้อห้ามใดๆ ทั้งสิ้น สตรีตั้งครรภ์ หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ก็ต้องฉีด โดยแพทย์ให้การดูแลเป็นพิเศษให้แน่ใจว่ามีภูมิคุ้มกันเพียงพอป้องกันโรค ส่วนเซรุ่มอาจมีอาการแพ้ได้แต่พบไม่บ่อยนัก สำหรับเซรุ่ม ชนิดที่เตรียมจากเลือดม้า แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการทดสอบก่อนฉีดว่ามีโอกาสแพ้หรือไม่ ส่วนเซรุ่มที่เตรียมจากเลือดคนจะใช้ได้ปลอดภัย ไม่จำเป็นทดสอบก่อนฉีด ผลข้างเคียงอาจพบได้บ้าง คือ อาการไข้ หรือเจ็บบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ซึ่งไม่พบอันตรายและจะหายไปได้เอง

ลดคาร์โบไฮเดรตเร็วไปทำให้ต่อมไทรอยด์รวนฮอร์โมนผิดปกติ

หากใครได้ลองทานแบบ Paleo diet (Paleo diet คือหลักการทานอาหารหลากหลายหมู่แต่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำดังในสมัยมนุษย์ยุคหินซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันมากว่านอกจากสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและเบาหวานแล้วมีผลดีต่อสุขภาพในคนปกติหรือไม่- ผู้แปล) แล้วอาจพบว่าทำให้มีพลังมากขึ้น ย่อยง่ายขึ้น มีความสุขเพิ่มขึ้นและช่วยให้ผอมลงอีกด้วย แต่ก็มีบางท่านที่ได้ลองแล้วกลับยิ่งโหยหาจนต้องหวนกลับไปทานคาร์โบไฮเดรตมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก
อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้คล้ายกันกับอาการของโรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งแม้ว่าการตรวจจะไม่พบความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ใดๆก็ตามแต่ก็หายได้โดยการทานคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นถึงวันละ 300 กรัมซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่ามากไป
เกิดอะไรขึ้นหรือ ทำไมบางคนจึงไม่ได้ผล 
ผู้ที่นิยมทานคาร์โบไฮเดรตต่ำชื่อดัง ปัญหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เหล่านี้คือ
การลดคาร์โบไฮเดรตเร็วไปในทันทีอาจทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์รวนซึ่งแม้ว่าน้ำหนักตัวจะลดลงแต่ก็เหนื่อยง่าย ผมร่วง ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ซึ่งหายได้เองโดยการทานคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น แม้ว่าผลการตรวจสารของต่อมไทรอยด์ TSH and T4 จะปกติแต่การตรวจอย่างละเอียดพบว่าสาร rT3 เพิ่มมากขึ้นผิดปกติซึ่งเป็นสภาวะของการ”จำศีล”นั่นเอง นอกจากนี้เรายังพบว่ามีไขมันคลอเลสเตอรอลชนิดเลวคือ LDL เพิ่มมากขึ้นผิดปกติอีกด้วยซึ่งมักจะมีเกิน 200 หน่วย การค้นพบที่สำคัญนี้คือผลจากที่อาการเหล่านี้หายได้เองทั้งหมดเพียงเมื่อทานคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องได้รับสารของต่อมไทรอยด์ T3 ช่วยเสริมด้วยเลย ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อแบบเดิมที่เชื่อกันว่าคาร์โบไฮเดรตไปกระตุ้นการหลั่งสารอินซูลินซึ่งไปเพิ่มไขมัน LDL อย่างสิ้นเชิง
ถึงแม้ผู้เขียนจะได้ดูแลผู้ทานแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำมานับพันคนแต่ยังไม่เคยพบผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้มาก่อนเลยจนกระทั่งได้มาพบว่ามีผู้คนจำนวนหนึ่งซึ่งมีปัญหานี้
เหตุผลการทานคาร์โบไฮเดรตต่ำทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์รวน 
จากการค้นคว้าของผู้เขียนเกี่ยวกับสาร rT3 ได้พบว่าสาร thyronamines ซึ่งยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนี้อาจเป็นกุญแจไขปริศนาความสัมพันธ์ของคาร์โบไฮเดรตและต่อมไทรอยด์
สาร thyronamines สำคัญมากต่อระบบพลังงานในร่างกาย
งานวิจัยเมื่อปีคศ 2010 ซึ่งทำการทดลองฉีดสาร thyronamines เข้าในช่องท้องและสมองของสัตว์ทดลองได้พบว่ามีผลดังนี้คือ
ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลใช้เป็นพลังงานได้(ปกติคาร์โบไฮเดรตที่ทานเข้าไปจะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลเพื่อใช้เป็นพลังงาน- ผู้แปล)
ทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน
ทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำกว่าปกติ
ทำให้การบีบตัวของหัวใจอ่อนแรงลง
ทำให้ร่างกายอ่อนแรงลงจากการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ที่ลดลง
ซึ่งผลเหล่านี้จะมีผลภายหลังการฉีดสารเพียงไม่กี่นาทีและมีผลต่อไปนานถึง 8-12 ชั่วโมง
ผู้เขียนเชื่อว่าสาร thyronamines ถูกสร้างจากสาร rT3 ซึ่งอีกไม่นานนี้เมื่อมีการทดลองในมนุษย์ก็จะได้พบกับความสัมพันธ์นี้อย่างแน่นอน
สิ่งสำคัญคือเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร
การเปลี่ยนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตมาเป็นไขมันจำต้องเปลี่ยนระบบของการเผาผลาญ 
พฤติกรรมของหมีในป่าซึ่งเปลี่ยนจากการกินคาร์โบไฮเดรตที่ลดลงแบบกะทันหัน(ตามฤดูกาลในต่างประเทศ-ผู้แปล)ซึ่งจะไปเพิ่มสาร rT3 และสาร thyronamines ทำให้ร่างกายของมันเปลี่ยนไปสู่การ ”จำศีล” นั่นเอง
วิธีเปลี่ยนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตมาเป็นไขมันโดยไม่ต้อง”จำศีล”ทำได้โดยการค่อยๆลด
การเลี่ยงการ”จำศีล”เมื่อจะเปลี่ยนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตมาเป็นไขมันแทนนั้นทำได้โดยการค่อยๆลดคาร์โบไฮเดรตลงแบบไม่กะทันหัน
อย่าเพิ่งท้อ ลองทำใหม่โดยการค่อยๆลด
เหตุที่คนไข้ของผู้เขียนไม่มีอาการที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้อาจเป็นเพราะผู้เขียนได้แนะนำให้ค่อยๆลดคาร์โบไฮเดรตลงทีละมื้อโดยเริ่มจากอาหารมื้อเช้าก่อน

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

ถ้าถูกงูพิษกัดจริง ได้รับพิษมากหรือน้อย และเป็นงูพิษชนิดใด

การยืนยันว่าถูกงูพิษกัดจริงได้แก่ นำงูพิษนั้นมาด้วยหรือรู้จักงูพิษนั้นอย่างดี และหรือมีอาการและอาการแสดงของการถูกงูพิษกัดอย่างใดอย่างหนึ่ง การถูกงูพิษกัดไม่จำเป็นต้องเกิดอาการรุนรงเสมอไป ประมาณ 50%ของผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดไม่มีอาการอะไรเลย มีเพียง 25%ที่เกิดอาการพิษของงู โดยทั่วไปเราจำแนกพิษของงูได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
  1. พิษต่อระบบประสาท [Neurotoxin]ได้แก่พิษของงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม ผู้ที่ได้รับพิษจะทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก  และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจเสียชีวิตได้
  2. พิษต่อโลหิต [Hemotoxin ] ได้แก่พิษของงูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
  3. พิษต่อกล้ามเนื้อ [Myotoxin] ได้แกพิษงูทะเลทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลายเกิด myoglobinuria
  4. พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ [Cardiotoxin] ได้แก่พิษงูเห่า งูจงอาง
 การพิจารณาว่าได้รับพิษจากงูหรือไม่ เป็นพิษชนิดใด และรุนแรงแค่ไหน ต้องอาศัยอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย อาการที่บอกว่าได้รับพิษงูคือ มีรอยเขี้ยวงู ปวด และบวม
  • ถ้าถูกกัดแล้วเกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและเกิดทันที แผลบวมขึ้นรอบแผลมีสีเขียวและมีเลือดออกให้สงสัยว่าเกิดจากงูแมวเซา,งู กะปะ,งูเขียวหางไหม้
  • ถ้าอาการปวดไม่มาก อีก 2-3 ชั่วโมงจึงมีอาการบวมบริเวณแผล ตามด้วยหนังตาตก กลืนลำบากให้คิดถึงงูเห่า
  • ถ้าปวดกล้ามเนื้อมากและเป็นชาวประมง ให้สงสัยเป็นงูทะเล
  • หลังจากถูกกัด 2 ชั่วโมงถ้าแผลไม่บวมและไม่มีอาการอื่นแสดงว่าพิษของงูไม่ได้เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย 
แนวทางการรักษา

ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จาก case series และเป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน
ผู้ป่วยที่ถูกงูกัดเกือบทั้งหมดจะมาตรวจที่ห้องฉุกเฉิน เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ให้การ
ดูแลรักษาเบื้องต้น ดังนี้
1. ประเมิน ABC และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น : A (Airway), B (Breathing), C
(Circulation)
2. ถ้าผู้ป่วยเอาเชือกรัดเหนือแผลมา ควรคลายเชือกหรือที่รัดออกก่อน
3. อธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติคลายความกังวล
4. ทํ าความสะอาดบริเวณแผลที่ถูกงูกัด ด้วยแอลกอฮอล์หรือ povidine iodine
การป้องกันไม่ให้ถูกงูกัด
เนื่องจากประเทศเรามีงูชุกชุม เราควรเรียนรู้นิสัยบางอย่างของงูเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น วิธีหลีกเลี่ยงมีดังนี้
  1. งูมีพิษไว้ล่าสัตว์ไว้เป็นอาหาร และกลัวคนมากกว่าคนกลัวงูเสียอีก ถ้าไม่บังเอิญไปเหยียบ หรือเข้าใกล้ตัวมัน มันมักจะเลี้ยวหนีไปเอง
  2. พยายามอย่าเดินทางในที่รกมีหญ้าสูงถ้าจำเป็นต้องเดินผ่านควรใส่รองเท้าหุ้ม ข้อเท้า ใส่กางเกงขายาวและควรมีไม้ตีหญ้าข้างหน้าไว้ด้วย
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางในป่าหรือทุ่งนาเวลากลางคืน หากจำเป็นต้องเตรียมไฟฉายไปด้วย
  4. งูมักจะซ่อนตามซอกแคบๆ ในถ้ำหรือโพรงไม้ เราควรระวังบริเวณเหล่านี้เป็นพิเศษ
  5. อย่าเดินในซอกหินแคบ เพราะงูไม่มีทางหนี
  6. ถ้าต้องพักแรมในป่าอย่านอนกับพื้น
  7. อย่ายกหิน กองเสื้อผ้าเก่าๆ หรือกองหญ้า เพราะเป็นที่ๆงูชอบ

ถูกงูพิษกัดจริงหรือไม่

การจะพิจารณาว่าถูกงูกัดหรือไม่จะแบ่งพิจารณาเป็น3หัวข้อ
รอยเขี้ยวงูและรอยเลือดออก
  1. ไม่เห็นสัตว์ที่กัด
  2. เห็นว่าเป็นงูแต่ไม่ทราบชนิดงู
  3. สามารถตีงูได้
กรณีไม่เห็นสัตว์ที่กัด
กรณีเช่นนี้จะเป็นปัญหาในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา การพิจารณาคงต้องอาศัยประวัติช่วย เช่นถ้าถูกกัดบริเวณกิ่งไม้ให้สงสัยว่าจะเป็นงูเขียวหางไหม้ ถ้าถูกกัดตามทุ่งนาให้สงสัยว่าเป็นงูเห่า ถูกกัดบริเวณซอกไม้อาจเป็นงูหรือตะขาบ แมงป่อง ถ้าถูกกัดตามพงหญ้าโดยมากเป็นงูกัด นอกจากนั้นยังต้องดูแผลที่ถูกกัดด้วย ถ้าถูกงูพิษกัดจะต้องมีรอยเขี้ยว 1-2 แผลเสมอมีเลือดออกซึมๆ ถ้าดูแผลแล้วไม่พบรอยเขี้ยวแสดงว่าไม่ใช่งูพิษ
เห็นว่าเป็นงูแต่ไม่ทราบชนิดงู
กรณีนี้ต้องแยกว่าเป็นงูพิษหรืองูไม่มีพิษ โดยอาศัยรอยเขี้ยวถ้ามีรอยเขี้ยวแสดงว่าเป็นงูพิษ แต่ถ้าไม่มีรอยเขี้ยวเป็นงูไม่มีพิษ ต้องถามรายละเอียดลายและสีของงูเพื่อแยกชนิดงู
สามารถตีงูได้
การตีงูให้ตีบริเวณต้นคอแรงๆ จะได้เก็บส่านหัวงูไว้ตรวจว่าเป็นงูชนิดใด การพิจารณาว่าเป็นงูชนิดใดให้ดูจากลายและสีของงู ถ้าเป็นงูพิษจะต้องมีเขี้ยว งูไม่มีพิษจะมีแต่ฟัน
เพื่อความปลอดภัยควรรีบไปพบแพทย์

อาการของคนที่เป็นโรคเบาหวาน

อาการของคนที่เป็นโรคเบาหวานเกิดจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด หิวเก่ง อ่อนเพลีย
อาการของโรคเบาหวาน
คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย
  • คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึก หรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
  • ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาล จึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
  • ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่ง แต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
  • อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน
  • คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
  • เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง
  • ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
  • อาเจียน
น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อน ที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา  หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

ผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นเบาหวาน อ้วน ไม่ออกกำลังกาย เป็นความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน กลุ่มที่เสี่ยงจะต้องเจาะเลือดตรวจหาโรคเบาหวาน
สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้
ใครที่ควรจะต้องเจาเลือดหาโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ
ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวานโดยที่ไม่มีอาการ คือ
  1. ผู้ที่อ้วนหรือน้ำหนักเกินโดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 Kg/m2 (อยากทราบว่าดัชนีมวลกายเท่าไร และมีอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงได้แก่
  • ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ
  • ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT หรือมีค่า HA1C 5.7-6.4
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
  • ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
  • ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม
  • ผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค polycystic ovary syndrome
  • ประวัติเป็นโรคหลอดเลือด
  • มีลักษณะว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่นภาวะหนังช้าง
  1. หากไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวก็ให้เริ่มตรวจหาโรคเบาหวานเมื่ออายุ 45 ปี
  2. หากผลการตรวจเลือดปกติก็ให้ตรวจซ้ำทุก 3 ปี ความถี่ของการตรวจขึ้นกับระดับน้ำตาลที่เจาะและความเสี่ยง
หากคุณเป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวการป้องกันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การคุมน้ำหนัก สำหรับรายละเอียดอย่างอื่นให้ดูหัวข้อบนเมนูด้านขวา

โรคเบาหวานคืออะไร

อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแส เลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วโรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี น้อง เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น หากมีทั้งพ่อ และแม่เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานร้อยละ 50 นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อเบาหวานได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือว่าอ้วน ไม่ออกกำลังกาย เป็นไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับชนิดที่ 1 ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเท่าๆกัน

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เท้าเหม็นแก้ได้ง่ายนิดเดียว

เท้าเหม็นแก้ได้ง่ายนิดเดียว (Health Plus)

          หลายคนอาจเคยมีปัญหาเท้าเหม็น แต่ถ้าเท้าของคุณเป็นต้นเหตุของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ทุกวันติดต่อกัน ไม่ต้องตกใจ เรามีสารพัดวิธีที่จะช่วยดับกลิ่นเท้าของคุณ
เท้ามีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่า 250,000 ต่อม หรือเท่ากับ 3,000 ต่อมต่อตารางนิ้ว ซึ่งเมื่อเทียบต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งนิ้วพบว่า มีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่าต่อมอื่น ๆ เหงื่อที่ถูกผลิตออกมามากมายทำให้ผิวที่เท้าอ่อนนุ่ม ถ้าไม่มีเหงื่อ ผิวก็จะแห้งแตก ทำให้เจ็บเวลาเดิน

          ต่อมเหงื่อที่เท้าต่างจากต่อมเหงื่อบริเวณอื่นของร่างกาย ต่อมเหงื่อที่เท้าผลิตเหงื่อตลอดเวลา ไม่ว่าจะในช่วงอากาศร้อน หรือระหว่างออกกำลังกาย และเมื่อเท้าสามารถผลิตเหงื่ออกมาได้ถึงสัปดาห์ละ 4.5 ลิตร ทำให้เกิดความขึ้นมากมายกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อยู่ในจุดซ่อนเร้น และนี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหา

          เหงื่อไม่ได้มีกลิ่นเหม็น แต่แบคทีเรียที่อยู่บนผิวต่างหากที่เป็นต้นตอของกลิ่นอับชื้น เท้าซุกซ่อนอยู่ในรองเท้าตลอดวัน นั่นอาจทำให้อุณหภูมิที่เท้าพุ่งสูงขึ้น ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยกินของเสียที่อยู่ในเหงื่อและอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ในถุงเท้าและรองเท้า ยิ่งแบคทีเรียขยายพันธ์มากเท่าไร กลิ่นก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
ล้างเท้าให้สะอาด ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ห้ามใช้น้ำร้อน เด็ดขาด ใช้หินพัมมิซขัดผิวหนังเท้าที่หยาบกร้านออก เพราะผิวที่ตายแล้วเหล่านี้จะเป็นจุดอับชื้น ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นการเช็ดเท้าให้แห้งสนิทจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรโรยแป้งทาตัวให้ทั่วเท้าและซอกเท้า
พักเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าที่คับเกินไป เพราะจะทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ดังนั้นควรสวมรองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้า และหาโอกาสให้เท้าได้พักบ้าง

ปลดปล่อยเท้า เพื่อให้เท้าได้หายใจ ระบายเหงื่อและกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างปลอดโปร่ง ควรถอดรองเท้าและถุงเท้าออก หัดเดินเท้าเปล่าบ้าง
สวมถุงเท้าผ้าฝ้าย ถุงเท้าควรดูดซับน้ำได้ดี ถุงเท้าผ้าฝ้ายเหมาะที่สุด ถุงเท้าที่ทำจากขนสัตว์อุ่นเกินไป ไม่เหมาะกับเท้าที่มีเหงื่อออกมาก หลีกเลี่ยงถุงเท้าในลอน เปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน อย่าสวมถุงเท้าที่สกปรกซ้ำ ๆ
ซักถุงเท้าอย่างถูกวิธี นำถุงเท้าไปแช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยซักกับผงซักฟอก จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซักเสร็จตากให้แห้ง




Business

Blog M