Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ถั่วเหลืองและความดันโลหิตและไขมันในเลือด


จากแนวทางการรักษาและป้องกันโรคหัวใจปี2003กล่าวไว้ว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะเริ่มที่ระดับความดัน 115/75 มิลิเมตรปรอท และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อความดันเพิ่ม 20/10 มิลิเมตรปรอท ส่วนผู้ที่มีความดันระดับ 120-139/80-89 จัดอยู่ในภาวะ prehypertension ซึ่งจะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

การศึกษานี้เป็นการศึกษาโดยใช้โปรตีนจาดถั่วเหลืองมาแทนโปรตีนจากสัตว์ ์และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูผลต่อความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือดโดยศึกษาผู้หญิงวัยทอง 60 คน โดยความดันปกติ48 คนความดันโลหิตสูง 12 คนทั้งสองกลุ่มได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พลังงานที่ได้รับเท่ากันแต่โปรตีนมาจากสัตว์กลุ่มหนึ่งและมาจากถั่วเหลืองอีกกลุ่มหนึ่ง โดยทั้งสองกลุ่มจะต้องไม่มีข้อห้ามดังต่อไปนี้

ไม่สูบบุหรี่หรือเลิกไปแล้วมากกว่า 1 ปี
ไม่เป็นโรคหัวใจ
ไม่เป็นเบาหวาน
ไม่เป็นมะเร็งเต้านม
ความดันโลหิตมากว่า165/100
ดื่มสุราน้อยกว่า21หน่วยสุราต่อสัปดาห์
ไม่ได้ใช้ยาลดไขมัน
ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหมือนกันคือ

พลังงานจากไขมันประมาณ30%(? 7% saturated, 12% monounsaturated, 11% polyunsaturated);
พลังงานจาดโปรตีน15%
พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต์ 55 %
ปริมาณไขมัน cholesterolน้อยกว่า 200 มิลิกรัมต่อวัน
แคลเซียม 1200 มิลิกรัมต่อวัน
รับประทานปลาสัปดาห์ละ 2 มื้อ
เกลือน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน
ผลการศึกษาพบว่า

โปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถลดระดับความดันโลหิตทั้งคนที่ความดันโลหิตสูงและความดันปกติ
ระดับความดันที่ลดลงประมาณ 15 มิลิเมตรปรอท(30%)สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และ 6 มิลิเมตรสำหรับผู้ที่มีความดันปกติ
ค่าความดันเฉลี่ยลดลง 6,2,มิลิเมตรในความดันสูงและความดันปกติ
ดัชนีมวลกายทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน
ระดับไขมันที่ไม่ดีลดลงร้อยละ11
จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวเอเซียจะมีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าประเทศตะวันตก เพราะชาวเอเซียจะรับประทานถั่วเหลืองมากกว่าตะวันตก จากข้อมูลสถิติพบว่า

ระดับความดันโลหิตที่เพิ่ม20/10จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด 2 เท่า
ลดความดัน systolic 12 มิลิเมตรจะป้องกันการเสียชีวิต 1 คนทุก 11 คน
ลดความดัน diastolic 2 มิลิเมตรปรอทจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจลงร้อยละ6 โรคหลอดเลือดสมองลงร้อยละ 15

ความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้งความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่

เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย

สาเหตุของความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้

Primary hypertension

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

Secondary hypertension

เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
ผู้ที่นอนป่วยนานไป
ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด
เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง

ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
รับประทานอาหารไขมันต่ำ
งดการสูบบุหรี่
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
ไปตามแพทย์นัด
ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต




ความดันโลหิตสูงในเด็ก

เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูงการค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรกจะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

ทำไมต้องรักษาความดันโลหิตสูง

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ แต่โรคความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่นทำให้หัวใจต้องทำงานหนักอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูงจะมีผลดังนี้

มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3 เท่า
มีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 6 เท่า
มีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า
ความดันโลหิตคืออะไรและถ้าสูงจะทำให้เกิดปัญหาอะไร

Business

  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
    7 ปีที่ผ่านมา

Blog M