Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การนอนไม่หลับ

การนอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามในการนอน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนอนเท่าใด คนเราจะมีช่วงที่ง่วงนอน 2ช่วงคือกลางคืน และตอนเที่ยงวันจึงไม่แปลกใจกับคำว่าท้องตึงหนังตาหย่อนในตอนเที่ยง
กลไกการนอนหลับ
เมื่อความมืดมาเยือนเซลล์ที่จอภาพ[retina] จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin สาร melatonin สร้างจาก tryptophan ทำให้อุณหภูมิลดลงและเกิดอาการง่วง การนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้
  1. การนอนช่วง  Non-rapid eye movement {non- (REM) sleep} การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการและมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่1ไปจน REMและกลับมาระยะ1ใหม่
  • Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
  • Stage 2 (so-called true sleep).ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles
  • Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ Stage 4ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย
  1. การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที หลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพขจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้
เราจะใช้เวลานอนร้อยละ50ใน Stage 2 ร้อยละ 20ในระยะ REM ร้อยละ30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน
อาการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะหลับไม่พอทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น บางคนอาจจะหลับยากใช้เวลามากว่า 30นาทียังไม่หลับ บางคนตื่นบ่อยหลังจากตื่นแล้วหลับยาก บางคนตื่นเช้าเกินไป ทำให้ตื่นแล้วไม่สดชื่น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นชั่วคราวเมื่อภาวะกระตุ้นหายก็จะกลับเป็นปกติแต่ถ้าหากมีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการเรื้อรัง
การวินิจฉัย
แพทย์จะถามคำถาม 4คำถามได้แก่
  • ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร
  • นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
  • เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
  • สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่
แพทย์จะค้นหาว่าอาหารนอนไม่หลับนั้นเกิดจากโรค จากยา หรือจากจิตใจ
คนเราต้องการนอนวันละเท่าใด
ความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น
เราอาจจะทราบว่านอนไม่พอโดยดูจาก
  • เวลาทำงานคุณมีอาการง่วงหรือซึมตลอดวัน
  • อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
  • หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
  • บางคนอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัว
ทั้งหมดเป็นการแสดงว่าคุณนอนไม่พอคุณต้องเพิ่มเวลานอนหรือเพิ่มคุณภาพของการนอน

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเฝือกสบฟัน (เฝือกฟัน)

การทำเฝือกฟันนั้นเพื่อป้องกันอาการนอนกัดฟันนั้นไม่ยาก เพียงไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบและทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬา ราคาการทำเฝือกฟันโดยประมาณ 300-400 บาท หรืออาจมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเฝือกฟัน
 
     การใส่เฝือกฟันบนหรือฟันล่าง หรือทั้งสอง ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ใส่นอนตอนกลางคืนชั่วระยะเวลาหนึ่งอาการจะดีขึ้น การทำเฝือกฟันไม่ยาก เพียงแค่ไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบ และทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬานั่นเอง
 
     ถ้าฟันสึกมากๆ อาจจะทำให้ใบหน้าสั้นกว่าปกติอีกด้วย
 
     อาการ นอนกัดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากยาที่รับประทานก็ได้ เช่น ยาที่เคยมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้_คือ_แอมเฟตามีนที่ใช้ร่วมกับ_L-dopa,_ยา_fenfluramine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน และมีรายงานว่า พบการนอนกัดฟันในผู้ป่วยที่เป็นโรค_Tardive_Dyskinesia_ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการใช้ยา phenothiazine เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ จะสามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เป็นโรคกัดฟันและยังไปอบายด้วย (bangkokhealth.com)
 
หมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก และหมั่นนั่งสมาธิทุกวันแก้ไขปัญหานอนกัดฟันได้
การป้องกันอาการนอนกัดฟัน

1. หมั่นรักษาสภาพช่องให้อยู่ในสภาพปกติ โดยหมั่นไปพบมันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2. ส่วนสภาพจิตใจนั้น ก่อนนอนให้หลับตานั่งสมาธิ(Meditation) แผ่เมตตาหลับในอู่ทะเลบุญ ทำตามการบ้าน 10 ข้อของคุณครูไม่ใหญ่ ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เท่านี้เราก็จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการนอนกัดฟันได้ 

การนอนกัดฟัน..เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไร ยังไงดี ??

อารมณ์เครียดกับอารมณ์สบายส่งผลต่อสุขภาพต่างกันอย่างไร ท่านผู้ชม DMC ที่ต้องเผชิญกับปัญหาอยู่บ่อยๆ คงทราบกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ ปัญหาในการทำงานทำให้เรารู้สึกเครียด และความเครียดมีผลต่อสุขภาพช่องปากด้วย
     

     การนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว หรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร นอกจากจะมีปัญหากับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้ว การนอนกัดฟัน ยังก่อให้เกิดปัญหากับตัวเองด้วย ปัญหาดังกล่าวได้แก่ อาการฟันสึก ในบางรายมีอาการฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน เห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้ม และมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น

    นอกจากอาการฟันสึกแล้วยังมีอาการปวดที่บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกร ซึ่งอยู่หน้ารูหู ในเวลาที่ตื่นนอนตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่บดเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้
 

สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Bruxism)

น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
1. จากสภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟัน ที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับ ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว
 
2. สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอน โดยเราไม่รู้สึกตัวได้
วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

     ไปพบทัตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน ได้แก่ การกรอปรับสบฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วทัตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ Spint หรือเฝือกสบฟัน เพื่อลดการสึกของฟัน Spint นั้น มีลักษณะเป็น อะครีลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้น และในเวลาที่เราใส่ Spint หรือเฝือกสบฟันนั้น ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหารกับอารมณ์

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ ที่รู้สึกว่าหลังตื่นนอนตอนเช้า อารมณ์ไม่แจ่มใสอย่างที่ควรเป็น (ไม่นับอาการเบื่อเรียนหรือเบื่องาน) ทั้งๆ ที่นอนหลับเต็มอิ่ม ไม่เครียดหรือมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ บางครั้งรับประทานอาหารเช้าแล้วกลับทำให้ยิ่งหิวเร็ว หนำซ้ำช่วงสายก่อนเที่ยงมีอาการมือสั่น อ่อนเพลีย หรือบ่ายๆ หลังรับประทานอาหารกลางวัน ยิ่งอ่อนเพลีย ง่วงนอน เฉื่อยชายิ่งกว่าเดิม อาการแบบนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานอาหาร ซึ่งอาหารกับอารมณ์นั้น เกี่ยวข้องกันชนิดที่คุณคาดไม่ถึงทีเดียว

ในต่างประเทศมีงานวิจัยและบทความทางวิชาการศึกษา เกี่ยวกับบทบาทสารอาหารกับอารมณ์อยู่มากมายหลายชิ้น แต่บทความที่ได้รับรองอย่างเป็นทางการยังมีเพียงเล็กน้อย แต่ที่แน่ๆ ปัจจัยในร่างกายที่มีผลต่ออารมณ์ มาจาก 2 แหล่ง คือ อาหารและสารเคมีในสมอง เริ่มจากอาหาร ที่ปกติเรารับประทาน 3 มื้อต่อวัน แต่ละมื้อประกอบด้วยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต คือ แป้งและน้ำตาลเป็นหลัก เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย หลังจากรับประทานแล้ว ร่างกายจะค่อยๆ ย่อย เปลี่ยนให้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เล็กลง และกลายเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และนำไปใช้ตามอวัยวะต่างๆ ทั้งนี้ปริมาณและชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่ต่างกัน ย่อมส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงต่างกัน เช่นเดียวกับระดับน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากอาหารแต่ละชนิด หรือที่เราเรียกว่า “ดัชนีน้ำตาล” ค่าดัชนีน้ำตาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คืออาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง และอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง

การรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมากเท่าไรคาร์โบไฮเดรตก็จะย่อยเป็นกลูโคส และถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ที่นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่างๆ เพื่อ
เผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หลังจากรับประทานไปได้ 2-4 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกาย
อ่อนแรง อารมณ์เซื่องซึม ตัวอย่างอาหารดัชนีน้ำตาลสูง ได้แก่ ไอศกรีม ข้าวขาว ข้าวเหนียว มันฝรั่งบด ฯลฯ นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือดอาจแปรปรวน ลดและเพิ่มอย่างรวดเร็วจากกรณีอื่นๆ อีก เช่น
 
รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารประเภททอด ขนมขบเคี้ยวต่างๆ น้ำอัดลม เป็นต้น เพราะหลังจากรับประทานร่างกายจะรู้สึกหนัก อ่อนเพลียและง่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอาหารเช้าและอาหารกลางวัน ที่คนทำงานหลายคนมีอาการตาหนัก ลืมไม่ขึ้นเป็นประจำ
 
เว้นระยะเวลาการรับประทานอาหารระหว่างมื้อนานเกินไป หรือออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดสัญญาณเตือน เช่น อาการปวดหัวหรือเหนื่อยล้า มือสั่น เหงื่อแตก
 
ไม่รับประทานอาหารเช้า หรือใช้วิธีลดความอ้วนด้วยการงดอาหารบางมื้อ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายต้องการพลังงานชดเชยมากขึ้นจากมื้อที่หายไป ส่งผลให้มื้อต่อๆ ไปรับประทานมากเกินได้ง่าย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออารมณ์

ส่วนหนึ่งมาจากสารเคมีในสมอง ยกตัวอย่างเช่น
 
เซอร์โรโทนิน (serotonin) ถ้าระดับเซอร์โรโทนินต่ำจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ และมีการศึกษาพบว่า หากได้รับอาหารที่ไม่มีกรดอะมิโนทริบโทเฟน (Tryptophan) โดยอาหารที่มีทริบโทเฟน เช่น นม กล้วย โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ เซอร์โรโทนินในสมอง จะทำให้การสร้างเซอร์โรโทนินลดลง ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ในบางคน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ข้าวเหนียว ข้าวโพด กรอย เผือกหรือมัน จะเพิ่มการสร้างเซอร์โรโทนินทำให้อารมณ์ดีขึ้น ซึ่งจะพบว่าคนบางคนเมื่อมีอาการซึมเศร้า จะอยากรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น (เศร้าแล้วก็เลยอ้วน)
 
การขาดกรดโฟลิก จากการศึกษาในหนูทดลอง เมื่อขาดกรดโฟลิก ทำให้ระดับเซอร์โรโทนินในสมองลดลง ซึ่งคาดว่าถ้ามนุษย์ขาดสารโฟลิกก็จะมีอารมณ์ซึมเศร้า ไม่กระตือรือร้น อาหารที่มีกรดโฟลิก ได้แก่ บร็อกโคลี ถั่วลิสง ข้าวซ้อมมือ
 
การขาดไทอะมิน (วิตามินบี1) ทำให้ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เนื่องจากวิตามินบี1 มีบทบาท สำคัญในการเผาผลาญกลูโคสให้เป็นพลังงาน และสมองจำเป็นต้องใช้พลังงานจากกลูโคส ถ้าขาดวิตามินบี1 ก็จะมีผลเหมือนการขาดคาร์โบไฮเดรต อาหารที่มีไทอะมิน ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ปีก
 
การขาดไนอะซิน ซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ก็มีผลต่ออารมณ์เช่นกัน คนที่ขาดวิตามินไนอะซินจะหงุดหงิด อารมณ์เสีย ถ้าขาดมากๆ ก็อาจจะถึงขั้นความจำเสื่อม ไนอะซินเป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกลูโคสเช่นกัน การขาดไนอะซินนี้จะพบมากในกลุ่มคนที่รับประทานข้าวโพดเป็นอาหารหลัก ซึ่งในประเทศไทย ยังไม่พบการขาดวิตามินชนิดนี้ อาหารที่มีไนอะซิน ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ปีก ปลา ธัญพืชที่ไม่ขัดสี นม

รับประทานอาหารอย่างไรจึงทำให้อารมณ์ดีขึ้น

การปรับเปลี่ยนประเภทของอาหารเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพียงแค่คุณ...
 
รับประทานอาหารให้ครบมื้อ ถ้าไม่มีเวลารับประทานอาหารเป็นมื้อแบบกิจลักษณะ ควรเลือกของว่างเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขนมปังโฮลวีทสักแผ่นหรือ ขนมปังกรอบธัญพืชสัก 2-3 แผ่น อย่าปล่อยให้ท้องว่างเด็ดขาด หรือว่าจะแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ แต่รับประทานบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดตก
 
รับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ผักและผลไม้ที่มีเส้นใยมาก และมีรสไม่หวาน เป็นต้น เพราะร่างกายจะค่อยๆ ย่อยและดูดซึมช้าๆ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ สม่ำเสมอ และหลังรับประทานอาหารได้ 4-6 ชั่วโมง ร่างกายจะหลั่งสารฮอร์โมนบางชนิดเพื่อสลายไกลโคเจน ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในร่างกาย และเพิ่มการสร้างกลูโคสจากแหล่งอาหารอื่น เช่น ไขมัน
 
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หันมาดื่มน้ำผลไม้คั้นสดหรือน้ำเปล่าธรรมดาแทน
 
หมั่นออกกำลังกาย เนื่องจากหลังออกกำลังกายต่อเนื่องสัก 20 นาที ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแอนโดรฟีนออกมาตามธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้ปกระเปร่าและมีความสุข ลดความกังวลและเครียดลงได้

สารบ่งชี้โรคมะเร็ง (Tumor markers)

โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายของประชากรไทยเป็นอันดับ 3 เนื่องจากโรคมะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สารก่อมะเร็งในอาหาร การสูบบุหรี่ การสัมผัสถูกกับสารก่อมะเร็ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะมลภาวะของสิ่งแวดล้อมซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนมากมักมาพบแพทย์ เมื่อปรากฏอาการชัดหรือมีการลุกลามของโรคมากแล้ว ทำให้การป้องกันรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากถ้าได้มีการตรวจพบโรคมะเร็ง ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจากการตรวจหาสารที่จะช่วยบ่งชี้หรือมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง (tumor markers) ในเลือด จะช่วยทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันการณ์ ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งได้มากยิ่งขึ้น

การตรวจหา Tumor markers เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก หรือช่วยในการติดตามผลของการรักษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยที่จะมีโอกาสหายจากมะเร็งได้มากขึ้น

Tumor markers คืออะไร ?


คือตัวบ่งชี้ ทางชีวเคมีที่จะบอกว่ามีมะเร็งหรือไม่ อาจเป็นสารที่ไม่พบในภาวะปกติ หรือเป็นสารปรกติในร่างกายเรา แต่มีปริมาณเพิ่มสูงมากผิดไปจากปกติ สามารถตรวจพบได้ทั้งในเลือด หรือสารคัดหลั่ง (biological fluid)
 
สารที่ไม่พบในภาวะปกติ และเป็นสารที่ผลิตมาจากเซ,มะเร็งโดยตรง เช่น CEA , AFP,PSA, CA 19-9 เป็นต้น
 
สารที่มีอยู่แล้วในร่างกายซึ่งผลิตโดยเซลปกติ แต่กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อ เซลนั้นกลายเป็นเซลมะเร็ง สารดังกล่าวได้แก่ฮอร์โมนต่างๆ เช่น HCG, Calcitonin, ACTH เป็นต้น หรือเอนไซม์เช่น PAP, ALP, LDH, GGT เป็นต้น

การจัดตารางเวลาสำหรับการตรวจ Tumor markers
สำหรับผู้ที่เริ่มตรวจพบแล้วหรือผู้ที่เริ่มต้นจะทำการรักษา ควรตรวจวัด tumor markers ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้
 
ก่อนการผ่าตัด หรือก่อนเริ่มต้นให้การรักษาใดๆ เพื่อเก็บเป็นค่าเริ่มต้นของผู้ป่วยแต่ละราย
 
ภายหลังการผ่าตัด

ปีที่ 1 และ 2
 ควรตรวจทุกเดือนในระยะต้น จนกระทั่งค่าลดลงมามากแล้ว จึงเปลี่ยนมาตรวจทุก 3 เดือน
ปีที่ 3 - 5   
 ควรตรวจปีละ 1 - 2 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป 
 ตรวจทุกปี ปีละครั้ง

ตารางเวลาข้างต้นเป็นเพียงข้อแนะนำทั่วๆ ไป เนื่องจากระยะเวลาของการเกิดโรคมะเร็งแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่การหมั่นตรวจเป็นระยะก็จะช่วยติดตามผลการรักษา และการตรวจพบการกลับมาเป็นใหม่ได้รวดเร็ว ช่วยให้การป้องกัน รักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
 
ซึ่งถ้าตรวจได้ค่าเริ่มต้นมีค่าสูง แล้วเริ่มมีระดับลดลงอย่างรวดเร็วหลังการรักษา จะช่วยในการบ่งชี้ว่าการผ่าตัดได้ผล
 
ถ้าค่าลดลงเพียงเล็กน้อยตามด้วยค่าที่กลับสูงขึ้นมาใหม่ในภายหลัง แสดงว่า การผ่าตัดรักษาไม่ได้ผลการที่มีค่า tumor markers สูงเพิ่มขึ้นใหม่หลังการให้เคมีบำบัดรอบแรกๆ เป็นสัญญาณบอกให้หยุดยา ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนวิธีการรักษา

เทคนิคการตรวจ tumor markers
ควรใช้วิธีการทดสอบที่มีความไวสูง ซึ่งจะช่วยสามารถตรวจปริมาณ tumor markers ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ ชุดทดสอบควรมีความจำเพาะต่อ tumor markers ให้มากที่สุด วิธีที่เหมาะสมในปัจจุบันจึงเป็น Immunoassay โดยอาจเป็นวิธี RIA / EIA /CICA

การรบกวนผลการทดสอบ ในปฏิกริยา immunoassay ตามทฤษฏีแล้วจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรบกวนของผลทดสอบได้ ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงคือ
 
High dose Hook Effect
  เมื่อใช้ตรวจหาแอนติเจนที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินไป จะเกิดผลต่ำปลอม ซึ่งกรณีนี้ปฏิกริยาการจับกันระหว่าง แอนติเจน-แอนติบอดีย์ถูกกีดขวาง โดยแอนติเจนที่มีปริมาณสูงมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ไขโดยการเจือจางตัวอย่างที่มีแอนติเจนสูง ก่อนทำการทดสอบ
 
Heterophile antibodies
  ในตัวอย่างทดสอบบางรายมี heterophile antibodies อยู่ในน้ำเหลือง โดยเฉพาะ human anti mouse antibodies ซึ่งวิธีการทดสอบส่วนใหญ่จะใช้ monoclonal antibodies จากหนูซึ่งจะทำให้เหมือนเกิดปฏิกริยาขึ้น ถึวแม้ จะไม่มีแอนติเจนในน้ำเหลืองเลย ทำให้ได้ค่าผลบวกปลอมได้

มะเร็ง...ตัวร้าย

มะเร็ง คือ เซลล์ทีเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อร้าย เติบโตและขยายตัวในหลอดเลือด และน้ำเหลือง กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งหากเป็นส่วนที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ สมอง ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วโดยมีสารเคมีที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้โครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ผิดปกติไปจนกลายเป็นมะเร็งที่มีการแบ่งตัวขยายออกไปเรื่อยๆ
อาการที่ส่อเค้า
 
1.
ก้อนเนื้อ ตุ่มบนหรือใต้ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
 
2.
หูด ปาน ที่ผิดปกติ
 
3.
แผลเรื้อรัง
 
4.
ตกขาว โลหิต หรือเมือกผิดปกติที่ออกทางช่องคลอดมาก
 
5.
ไอ เสียงแหบ โดยที่ไม่ได้เป็นหวัด และหาสาเหตุไม่ได้
 
6.
เบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ
 
7.
ระบบการขับถ่ายผิดปกติเป็นเวลานาน

การบำบัดรักษา
  • ระยะเริ่มแรก แพทย์อาจใช้การผ่าตัด ฉายแสง ใส่แร่เรเดียมซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้กว่า 30 %
  • ระยะที่เป็นมานานแล้ว มักใช้สารเคมีเข้าบำบัด (Chemotherapy) บางรายต้องใช้การฉายแสงรังสี เพื่อประคองชีวิต
มะเร็งสามารถเกิดได้ที่อวัยวะใดบ้าง เซลล์ร้ายตัวนี้ สามารถเกิดได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบมากได้แก
  • มะเร็งเต้านม พบมากที่สุดอันดับหนึ่งของผู้หญิง สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ความอ้วน อาหารที่รับประทานมีไขมันสูง การลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะอื่นมายังเต้านม ป้องกันได้ด้วยการตรวจเป็นประจำด้วยแพทย์หรือตนเอง
  • มะเร็งปากมดลูก เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Viruses) การตรวจหามะเร็งชนิดนี้ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์ และควรงดการมีพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ
  • มะเร็งผิวหนัง มักพบในผู้สูงอายุในวัย 40-50 ปีขึ้นไป ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด หรือแสงอุลตร้าไวโอเลต บริเวณของผิวหนังจะเกิดความผิดปกติ เช่น ก้อนตุ่มเล็ก ที่เริ่มขยายวงกว้างออกไป หรือโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหากเป็นแผลที่ผิวหนัง และไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาด
  • มะเร็งปอด เกิดจากความสกปรกของอากาศ รังสี สารเคมีที่ปนเปื้อนในบรรยากาศ การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน แผลเรื้อรังในปอด สังเกตได้จากอาการไอเป็นระยะเวลานาน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เจ็บคอเจ็บหน้าอก เสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนอาหารลำบาก เหล่านี้ล้วนส่ออาการเริ่มต้นของมะเร็งปอดทั้งสิ้น การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการเอ๊กซเรย์ปอด และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดได้ด้วยการงดสูบบุหรี่
  • มะเร็งช่องปาก เกิดได้กับกระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดานปาก พื้นปาก และริมฝีปาก สาเหตุจากอวัยวะดังกล่าวมีสิ่งมาทำให้ระคายเคืองซ้ำ ๆ นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในช่องปากเอง ฟันที่แหลมคม เหงือกอักเสบ หรืออาหารที่รับประทาน อาการที่สังเกตได้ เช่น มีแผลในช่องปากนานเกิน 3 สัปดาห์ มีฝ้าขาว ตุ่มนูน มีก้อนในช่องปาก และแตกเป็นแผล ลิ้นเป็นแผลเรื้อรัง เป็นต้น
  • มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ชาย ที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ไต อวัยวะเพศชาย แต่ก็สามารถเกิดได้กับลูกอัณฑะ ถุงอัณฑะ ได้เช่นกัน อาการที่บ่งบอกความเสี่ยง คือ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด กระปิดประปรอย แผลเรื้อรังที่มีเลือดออกร่วมกับกลิ่นเหม็นของอวัยวะเพศชาย อาการคันหรือเม็ดตุ่มต่าง ๆ ก้อนที่คลำได้บริเวณสีข้าง ท้องน้อย
  • มะเร็งตับ ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่ลุกลามขยายผลได้จากไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในรายที่เป็นพาหะในระยะเริ่มต้นของมะเร็งชนิดนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจนกระทั่งก้อนมะเร็งเริ่มโตจนผู้ป่วยเริ่มอึดอัด ท้องบวม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สามารถตรวจพบได้ด้วยการอุลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งจะพบได้ต่อเมื่อก้อนมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม.ขึ้นไป
ข้อแนะนำป้องกันมะเร็ง
 
1.
 หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และอย่าลืมบอกสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การวินิจฉัยที่จะบ่งชี้การเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น
 
2.
 หากบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง โอกาสเสี่ยงย่อมมากกว่าคนอื่น ดังนั้น ควรใส่ใจดูแลสุขภาพให้มาก หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เร่งการก่อมะเร็ง
 
3.
 เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี อี และเบต้าแคโรทีน พร้อมทั้งลดอาหารจำพวกหมัก ดองต่าง ๆ ลงด้วย
 
4.
 งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
 
5.
 กรณีที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็น
 
6.
 หยุดสูบบุหรี่ ตัวการของโรคหลายชนิด
 
7.
 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
8.
 หลีกเลี่ยงแสงแดด ถ้าจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดที่มีสาร SPF 25 ขึ้นไป
 
9.
 หลีกเลี่ยงมลภาวะเป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
 
10.
 สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดกับร่างกายหรือตุ่มเนื้อ สิว ไฝ ปาน ว่าลุกลาม ขยายขนาดอย่างต่อเนื่องหรือไม่

Osteoporosis โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กะดูกมีเนื้อกรดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย
ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกนหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1
ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน
กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเแพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ
  • ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
  • เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว
  • กระดูกพรุนคืออะไร
    โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้

    โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

    เป็นโรคทมักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ โรค HFMD ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 1-7 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirusA16 และ EV71 ผู้ป่วยจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยเล็กๆ ในลำคอบริเวณเพดาน ลิ้นไก่ ทอนซิล มีอาการเจ็บคอมากร่วมกับมีน้ำลายมาก ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต และอาจมีอาการกลืนลำบากปวดท้องและอาเจียน โรคจะเป็นอยู่ 3 - 6 วัน และมักจะหายเอง 
    โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
    สาเหตุของโรคมือเท้าปาก
    เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ encephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด
    อาการของโรคมือเท้าปาก
    ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น จะปรากฏอาการดังกล่าว 3-5 วัน แล้วหายได้เอง สำหรับผู้ที่มีอาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
    • ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน
    • เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร
    • พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน
    • ปวดศีรษะ
    •  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 
    • เบื่ออาหาร
    • เด็กจะหงุดหงิด
    • ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต 
    ระยะฝักตัวของโรคมือเท้าปาก
    หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
    การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
    โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจาก
    • จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
    • และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)
    ระยะที่แพร่เชื้อของโรคมือเท้าปาก
    ประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ 

    วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

    กล้ามเนื้อ

    กล้ามเนื้อ (Muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก"  เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) , กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) , และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ] ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา
    ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง่าย

    กล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
    1. กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) สามารถควบคุมได้ ยึดติดกับกระดูก (bone) โดยเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) ทำหน้าที่เคลื่อนไหวโครงกระดูกเพื่อการเคลื่อนที่ของร่างกายและเพื่อรักษาท่าทาง (posture) ของร่างกาย การควบคุมการคงท่าทางของร่างกายอาศัยรีเฟล็กซ์ (reflex) ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เมื่อขยายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลายดูจะพบว่า มีลักษณะเป็นลาย โดยทั่วไปร่างกายผู้ชายประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 40-50% ส่วนผู้หญิงจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 30-40%
    2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary) ไม่สามารถควบคุมได้ พบดาดอยู่ที่ผนังของอวัยวะภายใน (Viseral Organ) เช่น หลอดอาหาร (esophagus) , กระเพาะอาหาร (stomach) , ลำไส้ (intestine) , หลอดลม (bronchi) , มดลูก (uterus) , ท่อปัสสาวะ (urethra) , กระเพาะปัสสาวะ (bladder) , และหลอดเลือด (blood vessel)
    3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นกัน แต่เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่พบเฉพาะในหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่บีบตัวให้หัวใจเต้น
    กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อโครงร่างจัดเป็นกล้ามเนื้อลาย (striated muscle) เพราะว่ามีซาร์โคเมียร์ (sarcomere) และเส้นใยจัดเรียงอยู่ในมัดกล้ามเนื้อ (bundle) อย่างเป็นระเบียบซึ่งไม่พบในกล้ามเนื้อเรียบ ใยกล้ามเนื้อโครงร่างจะเรียงตัวขนานกันอย่างเป็นระเบียบอยู่ในมัดกล้ามเนื้อ แต่กล้ามเนื้อหัวใจมีการแตกสาขา (branching) ในมุมที่แตกต่างกัน กล้ามเนื้อลายสามารถหดตัวและคลายตัวได้รวดเร็ว (contracts and relaxes in short, intense bursts) ในขณะที่กล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้น้อยและช้า (sustains longer or even near-permanent contractions)
    กล้ามเนื้อโครงร่างแบ่งออกได้เป็นประเภทย่อยๆ หลายประเภท
    • Type I, slow oxidative, slow twitch, หรือ "red" muscle มีหลอดเลือดฝอย (capillary) จำนวนมาก ภายในเซลล์ประกอบด้วยไมโทคอนเดรีย (mitochondria) และไมโอโกลบิน (myoglobin) ทำให้กล้ามเนื้อมีสีแดง กล้ามเนื้อนี้สามารถขนส่งออกซิเจนได้มากและมีเมตาบอลิซึมแบบใช้ออกซิเจน (aerobic metabolism)
    • Type II หรือ fast twitch muscle แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามความเร็วในการหดตัว:[3]
      • Type IIa คล้ายกับกล้ามเนื้อ slow twitch คือมีการหายใจแบบใช้ออกซิเจน มีไมโทคอนเดรียจำนวนมากและหลอดเลือดฝอย ทำให้มีสีแดง
      • Type IIx (หรือเรียกอีกอย่างว่า type IId) มีไมโทคอนเดรียและไมโอโกลบินอยู่หนาแน่นน้อยกว่า เป็นกล้ามเนื้อที่หดตัวเร็วที่สุด (the fastest muscle) ในร่างกายมนุษย์ สามารถหดตัวได้รวดเร็วกว่าและแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่หายใจแบบใช้ออกซิเจน (oxidative muscle) แต่หดตัวได้ไม่นาน มีการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนอย่างรวดเร็ว (anaerobic burst) ก่อนที่กล้ามเนื้อจะหดตัว ซึ่งทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากการเกิดกรดแลกติก (lactic acid) ในตำราบางเล่มอาจเรียกกล้ามเนื้อชนิดนี้ในมนุษย์ว่า type IIB[4]
      • Type IIb เป็นกล้ามเนื้อที่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic) ใช้พลังงานจากกระบวนการไกลโคไลซิส (glycolysis) เรียกอีกอย่างว่า "white" muscle มีไมโทคอนเดรียและไมโอโกลบินเบาบางกว่า กล้ามเนื้อประเภทนี้พบเป็นกล้ามเนื้อ fast twitch ในสัตว์ขนาดเล็กเช่นสัตว์ฟันแทะ (rodent) ทำให้กล้ามเนื้อของสัตว์เหล่านั้นมีสีค่อนข้างซีดจาง

    เกลือแร่

    เกลือแร่ (อังกฤษ: Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท[1] เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม
    ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้
    • แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และหัวใจ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือด มีอยู่มากในนม และเนื้อสัตว์ประเภทที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และทารกที่กำลังเจริญเติบโตไปจนถึงวัยรุ่นควรกินแคลเซียมมากกว่าปกติ
    • เหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ ในประเทศร้อน เมื่อเหงื่อออกมาก อาจมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปกับเหงื่อได้ อาหารที่มีเหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ด ผักใบเขียวบางชนิด
    • ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่คอส่วนล่าง ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง
    • แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว(หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้
    ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง
    การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ
    ผู้ใหญ่จะต้องการแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน
    • ซีลีเนียม เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมาก หากได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตราย อาหารที่มีซีลีเนียมมาก ได้แก่ ข้าวสาลี ตับ ไต ปลาทูน่า ประโยชน์ของซีลีเนียมมีดังนี้
    มีการทำงานสัมพันธ์กันกับวิตามินอี ซึ่งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจ
    เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ชนิดหนึ่งชื่อว่า ซีลีโนโปรตีน เอนไซม์นี้ป้องกันไม่ให้สารพิษชื่อว่า ฟรีแรดิกัล เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์
    ช่วยลดการแพ้เคมีภัณฑ์ต่างๆได้
    ช่วยลดการแพ้มลพิษจากอากาศ
    ช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร
    • สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม ประโยชน์ของสังกะสีมีดังนี้
    หากกินอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณต่ำมาก จะทำให้เจริญเติบโตช้า ขนร่วง
    มีความสำคัญในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
    เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลที่เรากินเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะมีสังกะสีต่ำกว่าคนปกติ
    หากขาดจะเป็นโรคตาบอดสี (เรตินาในตาของคนจะมีสังกะสีอยู่ในปริมาณสูง)
    ช่วยเพิ่มให้รู้สึกว่าอาหารหวานยิ่งขึ้น ทำให้คนกินหวานน้อยลง
    บำรุงรักษาผิวหนัง และสิวฝ้า
    • โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้า ประโยชน์ของโครเมียมมีดังนี้
    ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาล
    ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน[2]

    วิตามินซี

    วิตามินซี (อังกฤษ: vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษ: L-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษ: L-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้
    วิตามินซี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัย ศตวรรษที่ 18 มีการสังเกตว่าพวกทหารเรือที่มีการรอนแรมออกเดินเรือไปในทะเลเป็นเวลานานๆ ซึ่งมักจะขาดแคลนพวกผักสดผลไม้สด จะป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิด และสุขภาพไม่ค่อยดี มีอาการอ่อนเพลีย อยู่บ่อยๆ แต่ก็มีคนสังเกตเห็นว่าจะไม่พบอาการดังกล่าวในทหารเรือที่รับประทานมะนาว เป็นประจำ
    และเมื่อต่อมาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้น ในปี ค.ศ. 1982 ก็สามารถหาสารอาหารสำคัญ ที่เป็นต้นเหตุของโรคดังกล่าวได้ว่าสารที่พวกทหารเรือขาดไปคือ “กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid)” ซึ่งมันมีฤทธิ์สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ในปัจจุบัน กรดแอสคอร์บิค ก็ถูกรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “วิตามินซี” และมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลถึง 2ครั้ง และมีอายุยืนยาวมากกว่า 90 ปีแม้จะป่วยเป็นโรค มะเร็ง มายาวนานถึง 20 ปีก็ตามคือ Dr.Linus Pauling ชาวเมืองพอรต์แลนด์ ได้เคยพูดไว้ว่า เหตุที่เขาสามารถมีสุขภาพดีและสามารถชะลอการลุกลามของโรคมะเร็ง ในตัวได้นานกว่า 20 ปี ก็เนื่องจาก วิตามิน และ เกลือแร่ ที่เขารับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินซี ซึ่งหลังจากที่เขารับประทานขนาดสูงทุกวัน เขาก็ไม่เคยเป็นหวัดอีกเลย Dr.Linus Pauling เริ่มรับประทาน วิตามินซี ชนิดเม็ดตั้งแต่อายุ 40 ปี และเพิ่มขนาดสูงถึง 18,000 มิลลิกรัม เมื่อรู้ว่าตนเองเป็น มะเร็ง ตั้งแต่อายุได้ 64 ปี เขายืนยันว่ามันช่วยให้ มะเร็ง ในร่างกายสงบลง

    อันตรายจากการขาดวิตามินซี

  • ผู้ที่ขาดวิตามินซีมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก
  • แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ
  • เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติของวิตามินซี คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลงและทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย
  • เป็นโรคลักปิดลักเปิด ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้
  • สาเหตุไข้หวัด และลักษณะของโรค

    เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงชนิดเดียว เมื่อเป็นแล้วคนเราก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดนั้น ในการเจ็บป่วยครั้งใหม่ก็จะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือหายใจรดกัน นอกจากนี้ เชื้อหวัดยังอาจติดต่อได้โดยการสัมผัสมือ กล่าวคือ เชื้อหวัดติดที่มือผู้ป่วยเมื่อสัมผัสถูกมือของคนอื่นเชื้อหวัดก็จะติดมือของคนๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายของคนๆ นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้
    โรคหวัดอาจเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิดด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza viruses) ได้แก่ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ที่พบมากที่สุด เชื้อไวรัสยังรวมไปถึงเอคโคไวรัส (Echovirus), อะดิโนไวรัส (Adenovirus), พาราไมโซไวรัส (Paramixovirus), คอกซ์แซกคีไวรัส (Coxsackievirus) รวมถึงไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดอีกหลายร้อยประเภทที่ถูกค้นพบ จะทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยไวรัสเหล่านี้สามารถกลายพันธุ์เพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ (ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า วิธีการรักษาโรคนี้ยังไม่น่าจะถูกค้นพบในเร็ววัน) โดยที่บริเวณกล่องเสียง (คอหอย) จะเป็นเป็นศูนย์รวมของเชื้อไวรัส โดยสาเหตุที่เชื้อไวรัสชอบไปสะสมตัวกันที่กล่องเสียงก็เนื่องมาจากอุณหภูมิของกล่องเสียงที่ต่ำกว่าบริเวณลำคอ และเป็นส่วนที่มีเซลล์ตัวกระตุ้นมาก ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไวรัสชอบ

    โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านทางละอองน้ำมูกและน้ำลายที่มาจากการไอหรือจามของผู้ป่วย โดยละอองเหล่านี้สามารถทำให้คนเป็นหวัดได้ผ่านจากการสูดละอองเหล่านี้เข้าไปโดยบังเอิญ หรือผ่านการสัมผัสจากมือต่อมือกับผู้ป่วย และจากการสัมผัสวัตถุที่ผู้ป่วยเคยสัมผัสมาก่อน ซึ่งจะติดต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคได้ผ่านทางส่วนตาและจมูก เมื่อมือที่เปื้อนเชื้ออยู่สัมผัสไปโดน
    ไวรัสนี้อาศัยการไอและจามของผู้ป่วยเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยไปยังผู้อื่น ก่อนที่มันจะถูกระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยสกัดกั้นไว้ได้ โดยการจามจะขับไวรัสที่เกาะตัวกันอยู่หนาแน่นในละอองน้ำลายหรือน้ำมูกมากกว่าการไอ โดยละอองเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ ยกเว้นที่ร่มที่แสงแดดส่องถึง และมีอัตราการตกสู่พื้นที่ช้ามาก ซึ่งกินเวลาเป็นชั่วโมงๆ กว่าที่ละอองจะตกถึงพื้น รวมถึงการแพร่กระจายของเชื้อเมื่อนิวเคลียสของละอองระเหย และทิ้งเชื้อที่เล็กกว่ามากและไม่สามารถมองเห็นได้เลย นั่นก็คือนิวเคลียสของละอองเองไว้ในอากาศ กลุ่มละอองน้ำลายหรือน้ำมูกจากการจามหรือไออย่างรุนแรง หรือจากการสัมผัสมือที่เปื้อนเชื้อ เชื้อไวรัสจะเกาะตัวแน่นบนพื้นผิวใดๆ ที่มันอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ กระนั้น ไวรัสเกาะติดอยู่ได้น้อยกว่าบนพื้นผิวที่มีรูโปร่งเช่นแผ่นไม้หรือกระดาษชำระ ซึ่งต่างจากวัตถุทึบตันเช่นราวเหล็กที่เชื้อสามารถเกาะติดได้นานกว่า โดยผู้ป่วยนั้นจะมีโอกาสเป็นพาหะได้มากที่สุดในช่วงสามวันแรกของการเป็นโรค แต่การติดต่อของโรคนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากผู้ที่แสดงอาการ เนื่องจากมีไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดอยู่หลายชนิดเหมือนกัน ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ยังคงมีไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดอยู่ได้ในน้ำมูก อาจเป็นเพราะว่าไวรัสมีจำนวนน้อยเกินไปกว่าที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการได้

    ไวรัสเชื้อหวัดสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยการเข้าไปในเซลล์ที่หุ้มกล่องเสียงอยู่ จากนั้นมันจะทำการแพร่พันธุ์ตนเองแบบทวีคูณ ทางเข้าหลักของไวรัสเหล่านี้คือผ่านทางตาและจมูก ผ่านทางท่อนาโซไครมัล (Nasocrymal duct) แล้วจึงเข้าไปในกล่องเสียง โดยปากนั้นไม่ใช่ทางเข้าหลักของเชื้อ และเชื้อมักจะไม่ติดต่อผ่านการจูบกัน...

    โรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน

    โรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis / Common cold / Upper respiatory tract infection / URI) เรียกโดยทั่วไปว่าโรคหวัด หรือไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดต่อจากการติดเชื้อไวรัส ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (ได้แก่ จมูกและคอ) อาการของโรคประกอบด้วยการจาม, อาการคัดจมูก, เยื่อจมูกที่จะบวมและแดง, และยังมีการหลั่งน้ำมูกมากกว่าปกติจนไหลออกทางจมูก ถ้าเชื้อไวรัสติดเชื้อไปที่จมูก แต่ถ้าติดเชื้อที่คอ จะมีอาการเจ็บคอ คอแหบแห้ง หรือมีเสมหะสะสมอยู่บริเวณลำคอ โดยการติดเชื้ออาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งสองบริเวณ นอกจากนี้ผู้เป็นโรคจะมีอาการไอ, ปวดศีรษะ และเหนื่อยง่าย ไข้หวัดมักจะมีระยะโรคอยู่ที่ประมาณสามถึงห้าวัน อาจร่วมด้วยอาการไอที่สามารถต่อเนื่องไปได้ถึงสามสัปดาห์
    โรคหวัดเป็นที่พบบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง (โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนในปีแรกๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณเดือนละครั้ง) โรคหวัดเป็นโรคที่พบได้ง่ายที่สุดในบรรดาโรคที่มนุษย์เคยประสบมาทั้งหลาย โดยเฉลี่ยแล้วทุกคนจะติดเชื้อหนึ่งครั้งต่อปี ทำให้ต้องสูญเสียแรงงาน เวลาเรียนและสิ้นเปลืองเงินทองไปปีละมากๆ
    เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่างๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้นและมีอาการรุนแรงน้อยลง โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายดายการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบมากในโรงเรียน โรงงาน และที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ โอกาสที่เชื้อไวรัสจะแพร่ไปได้มีมากที่สุดคือระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ซึ่งอาจเกิดได้จากความหนาแน่นของผู้คนในโรงเรียน และการที่เชื้อไวรัสจะมีประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อไปยังสมาชิกในครอบครัวมากเป็นพิเศษ
    โรคหวัดเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝนฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนฤดูร้อนจะน้อย
    ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด (เชื้อหวัด) มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการอักเสบทางเดินหายใจส่วนต้น (จมูกและคอ) ครั้งละชนิด กระนั้น ผู้ที่ติดโรคนี้มากกว่าสามครั้งต่อปีก็ไม่ได้น่าแปลกอะไรในกลุ่มประชากรบางกลุ่ม
    โรคหวัดอยู่โรคประเภทติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ในขณะเดียวกัน แม้ว่าโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) จะเป็นโรคประเภทเดียวกัยโรคหวัด แต่ความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสนี้ รวมถึงอาการที่เพิ่มขึ้นได้แก่การที่เกิดไข้ขึ้นสูง และการปวดเมื่อยเนื้อตัวและกล้ามเนื้อนั้นรุนแรงกว่ามาก ในขณะที่โรคหวัดมีอัตราความเสี่ยงต่อชีวิตต่ำ แต่อาการแทรกซ้อนอย่างเช่นปอดบวมก็อาจทำให้เกิดการเสี่ยงชีวิตขึ้นได้

    วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    ปวด ๆ หาย ๆ


    ปวด ๆ หาย ๆ ตามสายฝนโปรย (Twenty Four-Seven)

    ความเย็นฉ่ำเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นสำคัญ ที่ทำให้ร่างกายของใครหลายคนเจ็บออด ๆ แอด ๆ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย สาเหตุที่อาการปวดข้อมักจะกลับมาในหน้าฝน ก็เพราะภาวะเกินของธาตุต่าง ๆ คือธาตุลมและความชื้นที่มาพร้อมกัน เข้าสู่ร่างกายและจะค้างอยู่ตามช่องว่างของกล้ามเนื้อ เรียกอีกอย่างว่า "โรคลมในเส้น" ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก เกิดภาวะเลือดลมอุดตันสะสมนาน ๆ จะทำให้เกิดภาวะพร่องพลังของไตและตับ ถ้ายิ่งสะสมในอวัยวะสำคัญทั้งอาการปวดข้อจะเรื้อรัง และแก้ยากมากขึ้น

    และนี่คืออีกหนึ่งสาระสุขภาพ ที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจเมื่อมีอาการเฉียบพลันแบบ ปวด ๆ หาย ๆ ตามสายฝนโปรย ที่เรานำมาฝาก

    อาการปวดข้อทั้งชนิดที่เรื้อรังและไม่เรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เมื่อร่างกายกระทบอุณหภูมิเย็น ชื้น เราจึงควรรู้จักวิธีป้องกันในแบบต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยง และรับมือกับอาการที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน และนี่คือ 7 วิธีดี ๆ ที่น่าอ่านน่าจดจำ

    7 เคล็ดลับป้องกัน และบรรเทาอาการปวดข้อในหน้าฝน

    1.กินป้องกันปวด

    การได้รับอาหารที่มีสารต้านออกซิเดชั่นในปริมาณเล็กน้อย ได้แก่ ธาตุซีลีเนียม วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ ดังนั้นอาหารประจำวันควรมีผัก และผลไม้สดในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้ได้รับวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช ถั่วเปลือกแข็ง ผลอะโวคาโด และเมล็ดทานตะวัน อาหารที่มีซีลีเนียม ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมาก ธัญพืชและไข่ นอกจากนี้ปลาที่มีไขมันมากหรือน้ำมันปลา ยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อาจช่วยลดการ
    อักเสบภายในร่างกายด้วย

    2.บรรเทาด้วยอุณหภูมิประคบ

    การใช้อุณหภูมิช่วย โดยใช้ความร้อน อาจจะเป็นกระเป๋าน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน หรือวิธีบ้าน ๆ โบราณ ๆ อย่างใช้ใบพลับพลึงอังไฟ จากนั้นประคบข้อต่อที่เจ็บ 20 นาที ประมาณวันละ 3 ครั้ง ทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้นและช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อ แต่ถ้าใช้ความเย็น ก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้เฉียบพลัน

    3.นวดพร้อมสมุนไพร

    การนวด ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ ส่วนการใช้ยาทาถูนวดต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น ยาหม่อง จะช่วยให้หายปวดได้ชั่วคราวเช่นเดียวกับการใช้ยาแก้อักเสบในรูปครีม นวดบริเวณรอบ ๆ ข้อที่มีการอักเสบก็จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ชั่วคราวเช่นกัน การประคบด้วยสมุนไพรคือหัวไพลสด ขมิ้นชันสด การบูร เกลือ ซึ่งมักจะเพิ่มผิวมะกรูด ตะไคร้ ใบมะขามใบส้มป่อย ร่วมกับการนวดรักษาโรค หรือการใช้ยาแผนปัจจุบัน ยังสามารถบรรเทาอาการปวดข้อ ข้อฝืด ได้มากขึ้นกว่าการนวดหรือใช้ยาเพียงอย่างเดียว

    4.กินสมุนไพรเผ็ด

    การรับประทานสมุนไพร เน้นที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิงและอบเชย โดยเฉพาะขิงสด เพียงฝานกินวันละ 2-3 แว่น ก็ลดอาการปวดข้อได้ดีมาก เพราะขิงมีโครงสร้างโมเลกุบางอย่าง คล้ายกับยาที่ใช้รักษาโรคปวดข้อรุ่นใหม่ที่ไม่กัดกระเพาะ

    5.รับประทานน้ำมันตับปลาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ

    ไอส์ลา บอสเวิร์ธ นักวิจัยจากประเทศอังกฤษ พบว่าการรับประทานน้ำมันตับปลาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ช่วยลดอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยิ่งเป็นอาการปวดจากโรคข้อต่ออักเสบยิ่งได้ผล และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการใช้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรแฟน หรือแม้แต่พาราเซตามอล ซึ่งหากรับประทานเป็นประจำอาจเสี่ยงต่อโรคความดันสูงและโรคหัวใจ ถึงแม้น้ำมันตับปลาจะไม่สามารถรักษาโรคข้ออักเสบได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หาง่าย ราคาถูก และไม่เป็นอันตรายอีกด้วย

    6.บำบัดด้วยเถาวัลย์เปรียง

    จากการทดลองวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นานกว่า 10 ปี พบว่า "เถาวัลย์เปรียง" มีสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบสามารถใช้แทนยาแก้อักเสบประเภท สเตียรอยด์ ที่เป็นยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคปวดหลังและปวดตามข้อได้ และได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกกับคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ผลดี พบว่าร่างกายสามารถดูดซึมยาตัวนี้ได้ดี ไม่มีพิษหรือผลข้างเคียงต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกด้วย ที่สำคัญ ยาสมุนไพรไม่มีผลข้างเคียง เพราะไม่มีสารเคมี

    7.ออกกำลังบริหารข้อบ่อย ๆ

    เคลื่อนไหวข้อ และฝึกกายบริหารเป็นประจำทุกวัน อย่าอยู่นิ่ง ๆ เพราะยิ่งอยู่นิ่ง ข้อยิ่งแข็งฝืดและขยับยากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรฝึกกายบริหารในท่าต่างๆ ท่าละ 10 ครั้ง ทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยทำให้ข้อลดความฝืดและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น การออกกำลังกายในสภาพไร้น้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ที่สำคัญควรรู้สมดุลร่างกายของตัวเองว่าเมื่อใดควรพักข้อที่อักเสบ และเมื่อใดควรให้ข้อนั้นออกกำลังกาย จะช่วยให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้น เช่น เมื่อข้อเกิดการอักเสบรุนแรงขึ้น ให้หยุดการออกกำลังบริเวณข้อทันที และเริ่มออกกำลังใหม่เมื่อการอักเสบลดลงแล้ว

    5 วิธีง่าย ๆ ป้องกันเชื้อราที่มากับหน้าฝน

    5 วิธีง่าย ๆ ป้องกันเชื้อราที่มากับหน้าฝน (Woman's Story)

    เมื่อมีฝน สิ่งที่ตามมาก็คือความเปียกชื้นแล้วก็เชื้อรานะคะ เพราะฉะนั้น หากไม่อยากให้เชื้อรารุกล้ำเข้ามาทำร้ายก็ต้องดูแลตัวเองดี ๆ หลังจากไปโดนฝนมาค่ะ ซึ่งวันนี้ก็มีเกร็ดความรู้ในเรื่องนี้มาแนะนำให้เอาไปใช้กันค่ะ


    1.ยกเท้าสูงเข้าไว้

    เวลาเดินลุยน้ำขัง ไม่ควรเดินให้เท้าอยู่ใต้น้ำ เพราะอาจไปเดินไปเตะโดนของมีคม หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดแผลได้ ซึ่งเมื่อเกิดแผลก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

    2.ทำความสะอาดทันที

    เมื่อกลับถึงบ้านควรรีบถอดรองเท้า ถุงเท้าออก และทำความสะอาดโดยใช้สบู่ฟอกให้ทั่วตรงบริเวณที่โดนน้ำ โดยเฉพาะซอกนิ้ว ซอกเล็บ ล้างให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง และทาแป้งบนหลังเท้าจะช่วยทำให้เท้ารู้สึกสบายไม่อับชื้น

    3.อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า

    เพื่อไม่ให้เป็นการหมักหมมของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มากับน้ำ ให้รีบอาบน้ำชำระล้างร่างกายทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน แต่ถ้าไม่สามารถอาบน้ำได้ ก็ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่แทนได้ จะได้ไม่เป็นหวัด

    4.สระผมให้สะอาด

    เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรคที่มากับฝนก็ควรสระผมให้สะอาด และควรรอให้แห้งก่อนเข้านอน ไม่อย่างนั้นอาจเป็นรังแคหรือเชื้อราได้

    5.เตรียมพร้อมรับมือเสมอ

    เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝนควรพกร่มติดตัวไว้เสมอ พร้อมทั้งดูแลตัวเองให้อับชื้นน้อยที่สุด จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อราได้มากขึ้น

    วิธีดูแลตัวเองเมื่อต้องเดินตากฝน

    1. เริ่มต้นจากการทำเสื้อผ้าให้แห้งสนิท โดยเร็ว

    2. เมื่อกลับถึงบ้านให้คุณรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที เหตุผลก็คือการใส่เสื้อผ้าเปียกๆ ก่อให้เกิดการหมักหมม และอาจกลายเป็นแหล่งเชื้อราโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ และอาจทำให้คุณไม่สบายเป็นหวัด รวมไปถึงเป็นปอดบวมได้อีกด้วย

    3. แน่นอนที่ถุงเท้ากับรองเท้าย่อมเปียกฝน เพราะฉะนั้นให้คุณถอดออกทันที และควรเร่งทำให้แห้งแต่โดยเร็ว

    4. เราควรเรียนรู้ว่าการปล่อยให้เท้าเปียกชื้นนานๆ ส่งผลให้เท้าซีด และอาจลอกเป็นขุยได้

    5. คุณต้องเข้าใจว่าหากปล่อยให้เท้าชื้นนานๆ อาจจะทำให้ติดเชื้อราได้ง่าย ทั้งนี้ โรคเชื้อราที่พบบ่อยคือ ฮ่องกงฟุต โดยเฉพาะที่บริเวณซอกนิ้วเท้า

    6. เมื่อกลับมาถึงบ้าน และเท้ายังเปียกชื้น อันเป็นผลมาจากการย่ำน้ำในซอยของหมู่บ้าน ให้คุณเร่งทำความสะอาดที่เท้าด้วยการฟอกสบู่ จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำสะอาด ต่อมาก็เช็ดเท้าให้แห้ง

    7. การใช้แป้งฝุ่นทาที่เท้าหลังทำความสะอาดจะช่วยให้เท้าสบายมากขึ้น


    วิธีการดูแลเส้นผม

    1. เมื่อกลับมาถึงบ้านให้คุณเร่งทำความสะอาดเส้นผม ด้วยการสระผมด้วยแชมพูสระผมหรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมไปเลย

    2. จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณอาจจะต้องใช้แชมพูสระผมที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา นั่นเป็นเพราะว่าการที่คุณเดินตากฝนนั้น อาจจะมีเชื้อโรคปะปนมา และการที่คุณไม่ยอมสระผมในค่ำคืนนั้นเลยเส้นผมของคุณอาจเกิดอาการได้รับเชื้อราและรังแคได้ เพราะฉะนั้นให้สระผมหลังจากที่คุณเพิ่งเดินตากฝน

    3. ที่สำคัญก็คือคุณไม่ควรนอน ในขณะที่เส้นผมยังเปียกน้ำฝนอยู่

    เคล็ดลับที่ทำให้คุณตื่นมาพร้อมความสดชื่น

    แค่ลืมตาตื่นก็ยากอยู่แล้ว แถมยังต้องมาทนกับเสียงนาฬิกาปลุกตอนเช้าอีก เมื่อคิดถึงเรื่องเอกสารที่กองอยู่บนโต๊ะแล้ว ไม่อยากจะพลิกตัวลุกขึ้นไปอาบน้ำเลยจริง ๆ หลังจากอาบน้ำเสร็จ ก็ต้องมาแต่งหน้าแต่งตัวอีก จะส่งกระจกทีไรก็เห็นขอบตาคล้ำ ๆ ทุกที เห็นแล้วปวดใจจริง ๆ ซึ่งกว่าจะได้ออกจากบ้านก็เหลือเวลาไม่เท่าไหร่แล้ว ไปจะทำงานก็ต้องปวดหัวกับเรื่องรถติดอีก แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว ชีวิตของคนธรรมดานี่ ไม่ธรรมดาจริง ๆ เลยนะ

    วันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยนำเรื่องราวดี ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณเตรียมตัวตั้งรับกับเช้าวันใหม่ที่แสนจะยุ่งยากมาบอกกัน ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ
    1. เตรียมชุดที่จะใส่ในวันพรุ่งนี้ไว้ทุกครั้ง

    สิ่งที่ทำให้คุณเสียเวลามากที่สุด และต้องมาตอกบัตรที่บริษัทแบบฉิวเฉียด กึ่ง ๆ สาย ทุกครั้ง นั่นก็เป็นเพราะคุณมัวแต่เสียเวลาไปกับการค้นตู้เสื้อผ้านะสิ และคิดว่าวันนี้จะใส่ชุดสีอะไรดีนะ (ยังไม่รวมเวลาแต่งหน้านะ) กว่าจะตัดสินใจได้ก็ปาเข้าไปเป็นชั่วโมงแล้ว ถ้าไม่อยากเป็นแบบนี้อีก ก็ลองเปลี่ยนวิธีใหม่นะคะ โดยคิดไว้ซะตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยว่าพรุ่งนี้คุณจะใส่อะไรไปทำงาน ทั้งเสื้อผ้า ทั้งกระโปรง ลายไหนสีไหนก็คิดให้เสร็จ แล้วเอามาแขวนไว้หน้าตู้ ครั้งต่อไปก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลายืนปวดหัวเลือกเสื้อผ้าทุกเช้าอีก

    2. เตรียมของใช้ให้พร้อม

    ทั้งกระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ สมุดจดตารางนัดหมาย ฯลฯ สิ่งสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ที่คุณจะต้องใช้ หยิบใส่กระเป๋าให้พร้อม และถ้าในคืนนั้นคุณต้องชาร์จแบตมือถือทิ้งไว้ทั้งคืนละก็ คุณก็ควรแปะโน้ตเตือนความจำไว้ที่กระเป๋าด้วยนะคะ และก่อนจะสะพายกระเป๋าออกจากบ้านก็ลองเช็คของในกระเป๋าดูอีกครั้งว่า คุณมีของครบแล้วหรือยัง ถ้าเช็คดูจนมั่นใจแล้วก็ออกไปทำงานได้เลย อ้อ! อย่าลืมกุญแจบ้าน หรือกุญแจรถนะคะ จะหาว่าเราไม่เตือน

    3. เตรียมอาหารให้ท้องอิ่ม

    เราไม่ได้ให้คุณทำอาหาร แล้วกินเตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนนะคะ แต่เราให้คุณเตรียมอาหารไว้สำหรับวันถัดไปต่างหาก คุณอาจจะแพ็คใส่กล่องข้าว หรือถุงแล้วนำไปแช่ตู้เย็น วันรุ่งขึ้นก็แค่นำอาหารไปเวฟ หรืออุ่นอาหารให้สุก แค่นี้ก็ประหยัดเวลาทำอาหารไปได้อีกเยอะเลย และที่สำคัญคุณก็ไม่ต้องตื่นเช้ามาทำอาหารในสภาพหลับ ๆ ตื่น ๆ อีกต่อไป
    4. แปะโน้ตสำคัญเอาไว้

    ถ้าวันนี้คุณติดประชุม หรือมีนัดทานข้าวกับลูกค้า หรือจะออกไปท่องราตรีกับเพื่อน ๆ ก็ควรติดข้อความบอกที่บ้านของคุณไว้หน่อยก็ดีนะคะ เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องมานั่งรอคุณกลับบ้านดึก ๆ อย่างเช่น คืนนี้กลับดึกนะ มีนัดกับลูกค้า หรือวันนี้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนไม่ต้องทานข้าว หรือสารพัดข้อความที่คุณอยากจะบอกกับคนในบ้าน ก็ติดเอาไว้ในที่ที่พวกเขาเห็นได้ง่าย ๆ อย่างเช่น ตู้เย็น หรือบนกระดาน เพียงแค่นี้พวกเขาก็จะรู้แล้วว่า วันนี้คุณจะไปทำอะไรที่ไหน ถ้าหากคุณกลับผิดเวลา พวกเขาก็จะได้ไม่ต้องเป็นห่วงยังไงล่ะคะ

    5. ทำอาหารเช้าได้ง่าย ๆ นิดเดียว

    บางคนอาจจะละเลยมื้อสำคัญ อย่างเช่นอาหารมื้อเช้าไป เพราะต้องรีบออกไปทำงาน เลยไม่อยากเสียเวลากินข้าวที่บ้าน ถ้าอย่างนั้นลองเปลี่ยนวิธีกินอาหารดีไหมคะ แค่เปลี่ยนไปทานอาหารกินง่ายให้พลังงานสูงอย่างเช่น กล้วย ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล กันดีกว่าไหม ทั้งประหยัดเวลา ทั้งได้คุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งคุณจะได้ไม่พลาดมื้อสำคัญของวันด้วย

    6. บันทึกรายรับ - รายจ่ายประจำวัน

    ถ้าไม่อยากจะเจออาการสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจละก็ คุณควรวางแผนไว้เลยว่า ในหนึ่งเดือนคุณมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และในแต่ละวันคุณจะใช้จ่ายเงินวันละเท่าไหร่ เมื่อถึงตอนเช้า คุณก็แค่ก็เตรียมเงินให้เท่ากับจำนวนที่คุณตั้งไว้ และสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ใช้เงินเกินงบ แค่นี้ก็คุณก็มีเงินเก็บได้ไม่ยาก และนี่ยังเป็นวิธีที่จะช่วยคุณควบคุมการใช้เงินได้ดีอีกด้วย ส่วนเงินที่เหลือในแต่ละวัน คุณจะเอาไปแฮงค์เอ้าท์กับเพื่อน ๆ หรือจะเก็บเข้าธนาคารสะสมดอกเบี้ยเล่น ๆ ก็ได้ (แต่แนะนำว่าวิธีหลังดีกว่านะคะ)

    โรคมือ เท้า ปาก Hand Foot and Mouth Disease

    โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand, Foot and Mouth Disease มักเรียกติดปากกันว่า โรคมือ เท้า ปาก เปื่อย สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้ หรือเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โดยพบการระบาดของ โรคมือ เท้า ปาก เมื่อปี พ.ศ.2500 กับเด็กในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้และยังมีตุ่มน้ำใสในช่องปาก มือ และเท้า

    ต่อมายังพบการระบาดกับกลุ่มเด็กในเมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อปี พ.ศ.2502 เช่นกัน จนได้มีการเรียกกลุ่มอาการที่พบนี้ว่า Hand-Foot-and Mouth Disease (HFMD) หลังจากนั้นก็มีรายงานการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

    ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก จะมีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หากเป็นประเทศเขตหนาวจะพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศเขตร้อนชื้นจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะระบาดมากในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศร้อนชื้น และมักพบในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
    โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อกันได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย สามารถติดต่อได้โดย

    การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ทั้งจากจมูก, ลำคอ และน้ำจากในตุ่มใส (Respiratory route) โดยเชื้อโรคอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือการไอจามรดกันก็ได้

    ทางอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) โดยช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์

    ทั้งนี้ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้
    โดยทั่วไป โรคมือ เท้า ปาก มักจะมีอาการไม่รุนแรง โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน และมีอาการเริ่มต้นคือ เป็นไข้ต่ำ ๆ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มเจ็บปาก ไม่ยอมทานอาหาร เพราะมีตุ่มแดงที่เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม โดยตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบแผลจะอักเสบแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น จากนั้นจะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้ ทั้งนี้อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น

    อย่างไรก็ตาม โรคมือ เท้า ปาก อาจแสดงอาการในหลายระบบ เช่น

    1.ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ

    2.ทางผิวหนัง

    3.ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ

    4.ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน

    5.ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ

    6.ทางหัวใจ เช่น สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

    ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเกิดผื่น ตุ่ม ที่มือ เท้า และปากนานเกิน 3 วัน แล้วยังมีอาการซึมตามมาด้วย ให้รีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการซึมเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เชื้อกำลังเข้าสู่สมองแล้ว และหากปล่อยไว้ไม่ยอมมารักษา เชื้อจะเข้าไปในสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ จนทำให้หัวใจล้มเหลว และเกิดน้ำท่วมปอดจนเสียชีวิตได้

    การรักษา โรคมือ เท้า ปาก

    ปกติแล้วโรคมือ เท้า ปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงต้องใช้ภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อสู้กับเชื้อโรค ทั้งนี้ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ทั้งนี้ ควรเช็ดตัวผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ให้อาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำและผลไม้ และนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจต้องป้อนนมแทนการให้ดูดจากขวดนม

    หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิดโรคมือ เท้า ปาก ซ้ำได้ จาก เอนเทอโรไวรัสตัวอื่น ๆ ดังนั้น หากผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกมีอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อย ๆ หอบ แขนขาอ่อนแรง ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ก็ควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์
    การป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก

    ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก แต่โดยปกติป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ได้ โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งใช้ช้อนกลาง และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน

    ที่สำคัญ คือ ต้องแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยไม่ให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ๆ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และต้องคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้า ที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน

    หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน

    วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

    โรคภูมิแพ้ Allergy

    โรคทางเดินหายใจเป็นโรคที่พบมากของประเทศไทย โดยเฉพาะประชาชนในเขตเมืองเนื่องจากมลภาวะและภูมิแพ้ บทความนี้จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิแพ้ในหลายแง่มุมที่คุณควรจะรู้

    โรคภูมิแพ้คืออะไร
    ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ที่จะจดจำสิ่งแปลกปลอมที่จะทำร้ายร่างกายเรา เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรค โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิของร่างกายมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ allergen จากสิ่งแวดล้อมซึ่งปกติจะไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่แพ้ ปฏิกิริยานี้เริ่มเมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดการสร้างภูมิที่เรียกว่า IgE antibody ตัว antibody นี้จะกระตุ้น Mast cell ให้มีการหลั่งสาร Histamin ขึ้นที่เนื้อเยื่อต่าง เช่น ผิวหนัง ปอด จมูก ลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการแสดงจะเกิดตามอวัยวะต่างๆ เช่นลมพิษที่ผิวหนัง คัดจมูก แน่นหน้าอกเนื่องจากหอบหืด บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ Anaphylaxis shock

    คนเราเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร
    เนื่องจากเกิดโรคภูมิแพ้เป็นจำนวนมากจึงได้มีการวิจัยหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้

    •กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่นพ่อแม่ พี่น้อง ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย เด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงหากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้เด็กจะเป็นภูมิแพ้ได้ร้อยละ 30 แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้เด็กจะมีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ 50-60
    •สิ่งแวดล้อมของเด็กในขวบปีแรกสำคัญมาก การสัมผัสควันบุหรี่ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สะเก็ดรังแคสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรับประทานอาหารสำเร็จรูป เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้•การติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก การที่มีเชื้อ lactobacillus ในลำไส้หรือการอาศัยใกล้ฟาร์มสัตว์จะลดอุบัติการณ์ของภูมิแพ้การหลีกเลี่ยงหรือนำสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ออกจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะทำให้ลดอาการของโรคภูมิแพ้และลดปริมาณการใช้ยา

    พบว่าปัจจัยที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง

    •คนในเมืองอยู่บ้านมาก ติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
    •เด็กกินนมแม่น้อยลง คนรับประธานอาหารจานด่วนมาก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก เช่น สี สารกันบูด
    •คนนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านเพิ่ม
    •การตกแต่งบ้าน ติดตั้งพรมและติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อไรฝุ่นเจริญได้ดี
    •มลภาวะจากอุตสาหกรรม และการจราจร
    •การสูบบุหรี่
    สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในบ้าน
    สารก่อโรคภูมิแพ้ในบ้านจะพบได้ตลอดปีและเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรค ภูมิแพ้คัดจมูก โรคหอบหืด ผื่นแพ้ eczema สารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญได้แก่

    •ไรฝุ่นพบมากบนที่นอน โซฟา
    •สะเก็ดรังแคสัตว์ น้ำลาย และเหงื่อของสัตว์เลี้ยง•ขนนก ของเสียแมลงสาบ ราวิธีป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน
    •เปิดหน้าต่างให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ โดยเฉพาะห้องครัว ห้องน้ำโดยเปิดหน้าต่างอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมงเปิดวันละสองครั้งหากแพ้เกสรควรปิดหน้าต่างโดยเฉพาะช่วงที่มีเกสรดอกไม้มาก•ไม่ควรตากผ้าในห้องนอนและห้องนั่งแล่น•ถ้าห้องมีความชื้นมากให้เปิดให้อาการถ่ายเทให้มากการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
    •ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน
    •ไม่ควรตกแต่งห้องนอนด้วยพรม หรือมีตุกตา มั่นเช็ดฝุ่นบ่อยๆ
    •ห้องนอนไม่ควรจะมีชั้น หรือหนังสือ
    •เครื่องนอนควรจะซักและต้มสัปดาห์ละครั้ง
    •งดบุหรี่ หรือทาสีในบ้าน
    •หมั่นทำความสะอาด และดูดฝุ่นบ้านและม่านกันแดด
    •กำจัดเศษอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ



    Antihistamine
    ยาแก้แพ้เป็นยาหลักสำหรับการรักษาโรคภูมิแพ้ ยาแก้แพ้ในระยเริ่มแรกจะมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงปราถนา เช่นอาการปากแห้ง ทำให้เกิดการง่วงซึมซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงาน การทำงานของยาแก้แพ้จะออกฤทธิ์ที่ H1-receptor คุณสมบัติของยาแก้แพ้มีดังนี้

    •ลดอาการที่เกิดจากการหลั่ง histamine เช่น อาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล
    •แต่ไม่ลดอาการของคัดจมูก
    •สามารถลดอาการคันตา และคันหู
    •ยาแก้แพ้ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์เร็ว
    เนื่องจากผลข้างเคียงของยาแก้แพ้มีมากจึงได้มีการพัฒนายาแก้แพ้รุ่นใหม่ที่มีผลข้างเคียงต่ำ ขณะเดียวกันก็ยังคงมีประสิทธิภาพ ยารุ่นใหม่ต้องมีประสิทธิภาพในการรักษาดังนี้



    1.เยื่อบุจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ทั้งชนิดเป็นทั้งปี Perrenial allergic rhinitis และเป็นเฉพาะฤดู seasonal allergic rhinitis
    2.เยื่อบุตาอักเสบจากโรคภูมิแพ้
    3.ลมพิษ ยาที่จัดว่าได้ผลดีสำหรับลมพิษคือ cetiricine,terfenadine ซึ่งออกฤทธิ์เร็วและลดอาการคันได้เป็นอย่างดี
    4.ผิวหนังอักเสบแบบ Atopic dermatitis ยาที่ใช้ได้ผลดีคือ cetirizine,loratadine,ketotifen
    5.โรคหืด asthma โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการภูมิแพ้มีอาการคัดจมูก และน้ำมูกไหล
    ผลข้างเคียงของยา

    1.อาจจะทำให้ง่วง ซึม และน้ำหนักตัวเพิ่ม แต่อาการน้อยกว่ายาแก้แพ้รุ่นแรกๆ
    2.พิษต่อหัวใจ astemazole,terfenadine จะมีผลต่อการเต้นของหัวใจ แต่ยาตัวอื่นไม่มีผลต่อการเต้นของหัวใจ
    ข้อระวังในการใช้ยา

    1.ควรจะต้องระวังการใช้ยาอื่น เพราะอาจจะเกิดปฏิกิริยา ยาที่ต้องระวังได้แก่ erythromycin,ketoconazole,itraconazole
    2.ไม่ควรใช้ยานี้ในคนตั้งครรภ์
    3.ไม่ควรใช้ยานี้ในคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    4.ควรจะระมัดระวังในคนที่เป็นโรคไต และโรคตับ

    "โรคไส้เลื่อน" เป็นได้ทั้งผู้ชาย-ผู้หญิง

    หากเอ่ยนิยามของคำว่า "โรคไส้เลื่อน" หมายถึง การยื่นของอวัยวะภายในภายในช่องท้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลำไส้ ออกมานอกช่องของตัว ซึ่งช่องที่ออกไปนั้นอ่อนแอผิดปกติ ไส้เลื่อนที่พบได้มากที่สุดคือ ไส้เลื่อนขาหนีบ นอกจากนี้มี ไส้เลื่อนที่สะดือ ไส้เลื่อนแผลผ่าตัดด้วย

    สาเหตุของโรคคือ เริ่มแรกอาจมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้ช่องทางปกติที่มีผนังที่แข็งแรงกันอยู่แล้วนั้น เริ่มอ่อนแอมากขึ้น จนเกิดช่องว่างขึ้น ทำให้ลำไส้หลุดออกไปนอกช่องได้ หรือในกรณีคนที่มีการเบ่ง หรือเพิ่มความดันในช่องท้องเรื้อรัง เช่น ยกของหนัก หรือต้องเบ่งท้องผูกเป็นประจำ หรือมีอาการไอเรื้อรัง หรือในผู้สูงอายุที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต ก็มีโอกาสที่จะเป็นไส้เลื่อนขาหนีบได้ สังเกตอาการได้จากการเริ่มปวดตุงๆ บริเวณขาหนีบ เริ่มมีก้อนเข้าๆ ออกที่ขาหนีบ และเลื่อนมาที่ลูกอัณฑะในผู้ชาย

    ส่วนกรณีผู้หญิง ก้อนที่ว่านี้จะเลื่อนมาข้างๆ อวัยวะเพศ ควรให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยเมื่อพบก่อนจะได้รีบทำการรักษา ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดได้วิธีเดียว ไม่มียารับประทาน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อน เพราะเมื่อลำไส้ออกมานอกร่างกายแล้ว บริเวณช่องที่ลำไส้ออกมานั้นแคบ บางครั้งอาจเกิดการรัดของลำไส้ขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ลำไส้ขาดเลือด และเน่าในที่สุด

    ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไส้เลื่อน 1 ข้าง จะมีโอกาสเป็นอีก 1 ข้างประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์มากกว่าคนปกติ เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังมาก นอกจากนี้ในภาวะอ้วนของคนที่อ้วนลงพุง จะทำให้เนื้อเยื่อ หรือเยื่อที่กันลำไส้อ่อนแอมากกว่าคนที่ไม่อ้วน โดยเฉพาะไส้เลื่อนที่สะดือมักพบในคนที่อ้วนลงพุงทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทั้งคนสูงอายุและอายุน้อย เนื่องจากว่าบริเวณสะดือเป็นจุดที่อ่อนแอจุดหนึ่ง ถ้ามีการยืดของผนังหน้าท้อง คือลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆ จุดที่อ่อนแอนี้ก็จะค่อยๆ ยืดๆ ทำให้ลำไส้โผล่ตามมา ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีรูสะดือเล็กประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลำไส้ที่ออกมาอาจมีลักษณะบิดขั้ว ทำให้ขาดเลือด จนต้องทำการผ่าตัดฉุกเฉิน

    ปัจจุบันการผ่าตัดโรครักษาไส้เลื่อนมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดเปิด และการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งการผ่าตัดเปิด แพทย์จะเลือกกรณีที่ไส้เลื่อนลงขาหนีบที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ถ้ามีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยเฉพาะที่เป็น 2 ข้าง หรือกรณีที่ไส้เลื่อนกลับเป็นซ้ำ ซึ่ง 2 กรณีนี้เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญในการผ่าตัดส่องกล้อง มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บตัวน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน ก็สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ โดยทั่วไปการผ่าตัดทั้ง 2 วิธีนั้น แพทย์จะใช้ตาข่ายสังเคราะห์เพื่อช่วยให้แผลหายรวดเร็ว ไม่ตึง เจ็บน้อย แต่ตาข่ายพิเศษนี้ กว่าที่จะสมานกับร่างกายจนแข็งแรง ต้องใช้เวลา 3 เดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหลังผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ควรยกของหนักเลย ไม่ควรเพิ่มความดันในช่องท้อง ไม่เช่นนั้นอาจเกิดเป็นซ้ำ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรดีกว่าการป้องกัน และดูแลสุขภาพให้ดี พบแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปีก่อนที่โรคไส้เลื่อนจะถามหา

    ไส้เลื่อน

    ไส้เลื่อน หมายถึงภาวะที่มีลำไส้บางส่วนไหลเลื่อนออกมาตุงอยู่ที่ผนังหน้าท้อง ทำให้เห็นเป็นก้อนบวมตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของผนังหน้าท้อง

    ไส้เลื่อน มีอยู่หลายชนิด ซึ่งจะมีอาการแสดงภาวะแทรกซ้อน และการรักษาแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น

    ไส้เลื่อน ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นก้อนตุงตรงผนังหน้าท้องหรือขาหนีบ ซึ่งจะบวมๆ ยุบๆ (โผล่ๆ ผลุบๆ) มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่ถ้าปล่อยให้เกิดการติดคา ไม่ยุบก็อาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้

    ชื่อภาษาไทย : ไส้เลื่อน
    ชื่อภาษาอังกฤษ : Hernia

    สาเหตุของ ไส้เลื่อน

    ไส้เลื่อน เกิดจากผนังหน้าท้องบางจุดมีความอ่อนแอ (หย่อน) ผิดปกติ ส่วนมากเป็นความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด ทำให้ลำไส้ที่อยู่ข้างใต้ไหลเลื่อนทะลักเข้าไปในบริเวณนั้น เห็นเป็นก้อนตุง ส่วนน้อยที่เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง (เช่น แผลผ่าตัดที่หน้าท้อง)

    ไส้เลื่อนมี อยู่หลายชนิด ที่พบบ่อยได้แก่

    ไส้เลื่อน ที่สะดือ (inguinal hernia) ผู้ป่วยจะมีหน้าท้องที่บริเวณขาหนีบอ่อนแอผิดปกติมาแต่กำเนิด แต่จะปรากฏอาการไส้เลื่อนเมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หรือวัยกลางคน หรือเมื่อเป็นโรคไอเรื้อรัง เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมปอดโป่งพอง ไส้เลื่อน ชนิดนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้

    ไส้เลื่อน ที่เกิดหลังผ่าตัด (incisional hernia) เป็น ไส้เลื่อน ที่เกิดหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้อง เมื่อแผลหายแล้ว ผนังหน้าท้องในบริเวณผ่าตัด เกิดหย่อนกว่าปกติ ทำให้ลำไส้ไหลทะลักเป็นก้อนโป่งที่บริเวณนั้น

    อาการของ ไส้เลื่อน

    สะดือจุ่น ทารกจะมีอาการสะดือจุ่น หรือสะดือโป่งเวลาร้องไห้ ซึ่งจะเป็นมาแต่แรกเกิด โดยไม่มีความผิดปกติอื่นๆ

    ไส้เลื่อน ที่ขาหนีบ ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นมีก้อนตุงที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ ซึ่งจะเห็นชัดขณะลุกขึ้นยืน หรือเวลายกของหนัก ไอ จาม หรือเบ่งถ่าย เวลานอนหงายก้อนจะยุบหายไป เมื่อคลำดูจะพบว่าก้อนมีลักษณะนุ่มๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

    อาการมีก้อนตุงโผล่ๆ ผลุบๆ แบบนี้มักจะเป็นอยู่นานเป็นแรมปี สิบๆ ปีหรือตลอดชีวิต แต่ถ้ามีภาวะ ไส้เลื่อน ติดคาอยู่ที่ผนังหน้าท้อง ก็จะกลายเป็นก้อนตุงไม่ยุบหาย และจะมีอาการเจ็บปวดที่ท้อง ปวดท้องอาเจียนตามมา ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อน

    ไส้เลื่อน ที่เกิดหลังผ่าตัด ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยไม่มีก้อนตุงที่หน้าท้อง แต่หลังผ่าตัด (อาจนานเป็นแรมเดือน หรือแรมปี ต่อมาก็พบว่าบริเวณใกล้ๆ รอบแผลผ่าตัด จะมีก้อนตุงขนาดใหญ่ ไม่มีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะจะเห็นชัดในท่ายืนหรือนั่ง แต่เวลานอนก้อนจะเล็กลงหรือยุบลง อาการจะเป็นเรื้อรังจนกว่าจะได้รับการผ่าตัดแก้ไข

    การแยกโรค ไส้เลื่อน

    ก้อนที่บริเวณหน้าท้อง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น

    ก้อนฝี ซึ่งจะมีอาการปวดบวมแดงร้อน แตะถูกเจ็บ และไม่ยุบหายเวลานอนหงาย

    ก้อนเนื้องอก มักจะเป็นก้อนแข็ง ไม่ยุบ แตะถูกไม่เจ็บ

    ส่วนก้อนที่ขาหนีบหรือถุงอัณฑะ นอกจากก้อนฝีและก้อนเนื้องอกแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น

    โรคฝีมะม่วง ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะบวมแดงร้อน

    ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ถ้าเป็นเฉียบพลันจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ปวด แดงร้อน ถ้าเป็นเรื้อรังมักจะเป็นก้อนแข็ง ไม่เจ็บ ไม่ยุบ

    ถุงน้ำทุ่งอัณฑะหรือกล่อนน้ำ (hydrocele) มีลักษณะเป็นก้อนนุ่ม คล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ไม่เจ็บ ไม่ยุบเวลาใช้ไฟฉายส่องจะเห็นโปร่งใส มักพบในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด ส่วนน้อยอาจพบตอนโตแล้ว (ภายหลังได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบที่ถุงอัณฑะ)

    อัณฑะบิดตัว (testicular torsion) เกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของสายรั้งอัณฑะ (spermatic cord) และเนื้อเยื่อที่ปกคลุมอัณฑะ ทำให้ถุงอัณฑะหลวมกว่าปกติ อัณฑะสามารถบิดหมุนรอบตัวเมื่ออายุมากขึ้นได้ มีอาการปวดอัณฑะรุนแรง ตรวจพบเป็นก้อนบวม แตะถูกเจ็บ ไม่ยุบ

    การวินิจฉัยโรค ไส้เลื่อน

    แพทย์จะวินิจฉัยโรค ไส้เลื่อน จากอาการแสดงและสิ่งตรวจพบ ได้แก่ อาการมีก้อนตุงโผล่ๆ ผลุบๆ ก้อนมีลักษณะนุ่มๆ หยุ่นๆ ไม่เจ็บ

    ในรายที่ไม่แน่ใจว่าเป็น ไส้เลื่อน แพทย์อาจส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เป็นต้น

    การดูแลตนเอง

    ถ้าพบว่ามีก้อนตุงที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของผนังหน้าท้อง รวมทั้งบริเวณขาหนีบและอัณฑะ ก็ควรจะไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

    แต่ถ้าก้อนนั้นมีลักษณะแข็ง โตขึ้น แดงร้อนหรือเจ็บปวด หรือมีอาการปวดท้อง หรืออาเจียนร่วมด้วย ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

    ในกรณีที่เป็น ไส้เลื่อน แพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นไส้เลื่อนขนาดใหญ่ หรือขึ้นตรงบริเวณขาหนีบถุงอัณฑะ หลังจากแผลผ่าตัดหายดีแล้ว ก็สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เช่นคนปกติทั่วไป

    10 คำถามเกี่ยวกับปัญหาการนอนกรน

    1.การนอนกรนเกิดจากอะไร การนอนกรนเกิดจากการที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้อากาศที่เราหายใจขณะหลับ ผ่านลงไปสู่ปอดไม่สะดวก เกิดการสั่นของเพดานอ่อน และลิ้นไก่ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรน
    2.การอนอนกรนมีผลเสียอย่างไรต่อสุขภาพ นอกจากเสียงกรนที่ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่า สามารถสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้าง หรือคนที่นอนในบริเวณเดียวกัน ในบางรายถึงกับทำให้มีปัญหาด้านครอบครัวเกิดขึ้น การอุดกั้นทางเดินหายใจในผู้ที่นอนกรน อาจมากถึงระดับที่ทำให้หยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้ ถ้าเกิดขึ้นบ่อย และถี่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพดังต่อไปนี้
    ◦ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ไม่แจ่มใส แม้ว่าจะนอนจำนวนชั่วโมงเพียงพอแล้ว
    ◦มีอาการปวดหัว หรือเวียนหัวในตอนเช้าหลังตื่นนอน
    ◦อาการง่วงหงาวหาวนอนมากกว่าปกติในช่วงตอนกลางวัน
    ◦มีอาการหลับใน ขณะนั่งทำงานหรือขับรถ
    ◦ความจำหรือสติปัญญาแย่ลงกว่าวัยอันสมควร
    ◦อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย โกรธง่าย
    ◦เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
    ◦ในเด็กอาจมีปัญหาเรื่องการเรียนที่แย่ลง หรือปัสสาวะรดที่นอนในเด็กโต เป็นต้น
    3.พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราก็นอนกรมกันมานาน ทำไมไม่เห็นเป็นโรคอะไรกันมากมาย คนส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการนอนกรน และทำให้เกิดปัญหาเรื่องเสียงรบกวนแต่เพียงอย่างเดียว เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย คนกลุ่มหลังนี้เท่านั้นที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพตามมา
    4.จะทราบได้อย่างไรว่าอาการนอนกรนที่เป็นอยู่เป็นแบบกรนอย่างเดียว หรือมีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เราสามารถทราบจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งทำ การทดสอบขณะนอนหลับ ก็จะสามารถบอกได้ว่าการนอนกรนของท่านเป็นแบบใด
    5.การทดสอบขณะนอนหลับ คืออะไร เป็นการทดสอบโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการวินิจฉัยว่าท่านมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ ถ้ามี มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยเป็นเครื่องมือวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการไหลของอากาศทางจมูก เสียงกรน ขณะทำการทดสอบ ท่านเพียงแต่เข้านอนตามปกติ และติดอุปกรณ์เหล่านี้ โดยไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ
    6.ถ้าผลการทดสอบมีเพียงอาการนอนกรนอย่างเดียว จะมีวิธีรักษาอย่างไร ผู้ที่มีอาการอาจจะเลือกรักษา หรือไม่รักษาก็ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีปัญหากับคู่นอนหรือการเข้าสัมคมมากน้อยเพียงใด วิธีการรักษาเริ่มตั้งแต่วิธีง่าย ๆ ที่ท่านสามารทำได้ด้วยตัวเอง เช่น
    ◦นอนตะแคง
    ◦หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน
    ◦ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ◦รักษาโรคอื่น ๆ ที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้
    7.ถ้าใช้วิธีดังกล่าวแล้ว อาการนอนกรนยังไม่ดีขึ้นจะทำอย่างไร วิธีการรักษาในขั้นต่อไป คือ การใช้เครื่องเพิ่มความดันในทางเดินหายใจ (CPAP) โดยจะเพิ่มความดันในทางเดินหายใจของท่าน และทำให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่ตลอดเวลา หรืออาจใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งสามารถใช้การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อน การผ่าตัดด้วยลำแสงเลเซอร์ การผ่าตัดด้วยคลื่นวิทยุเพื่อทำให้อาการนอนกรนดีขึ้น
    8.ถ้ามีอาการนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย จะมีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้ สามควรอย่างยิ่งที่จะทำการรักษา เนื่องจากการปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา วิธีการรักษาจะคล้ายคลึงกับอาการนอนอกรนธรรมดา แตกต่างกันที่ควรจะให้การรักษาหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการใช้เครื่อง CPAP หรือการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมไปด้วยการรักษาด้วยการผ่าตัดอาจต้องทำมากกว่าการรักษาอาการนอนกรนธรรมดา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจที่มีอยู่
    9.การรักษาด้วยการผ่าตัดได้ผลเป็นอย่างไร มีอันตรายหรือไม่ โดยทั่วไปการผ่าตัดจะได้ผลในระดับค่อนข้างดี (ประมาณ 75-80%) อัตราเสี่ยงสำหรับการผ่าตัดรักษาอาการนอนกรนไม่แตกต่างจากการผ่าตัดอื่น ๆ
    10.เมื่อมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลจะได้รับการตรวจรักษาอย่างไร แพทย์จะทำการซักประวัติตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก โดยละเอียด รวมทั้งให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินอาการนอนกรน เพื่อใช้ในการติดตามผลการรักษา แพทย์จะทำการตรวจหาตำแหน่งการอุดกั้นของทางเดินหายใจด้วยการส่องกล้างตรวจรวมทั้งส่งการตรวจเอกซเรย์ด้านข้างของกระโหลกศีรษะ เพื่อประเมินช่องทางเดินหายใจของผู้ป่วย ถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (รพ. กรุงเทพมีบริการทำการทดสอบนี้ให้ถึงบ้านในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) เมื่อได้ผลแล้วจะให้คำแนะนำวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเลือกใช้การรักษาด้วยเครื่อง CPAP จะมีบริการให้ผู้ป่วยได้ทดลองใช้เครื่อง 1 อาทิตย์ฟรี และให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษาอีกครั้ง ถ้าเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลฯ สามารถบอกค่าใช้จ่ายที่แน่นอนในการรักษาด้วยโปรแกรมการผ่าตัดแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการนอนกรนที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ด้วย

    รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไทรอยด์

    ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่หน้าต่อหลอดคอใต้ลูกกระเดือก มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคล้ายปีกผีเสื้ออยู่สองข้างทั้งซ้ายและขวา เชื่อมต่อด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสท์มัส (Isthmus) ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ตัวเรียกง่ายๆว่า T4 และ T3 ซึ่งมีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การเผาผลาญอาหารในร่างกาย, การควบคุมอุณหภูมิ, การใช้ออกซิเจน, การทำงานของระบบประสาท, การสังเคราะห์โปรทีน, การเจริญเติบโต, เป็นต้น

    โรคต่อมไทรอยด์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย ในรายที่รุนแรงมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นโรคของต่อมไทรอยด์

    1.มีก้อนที่คอ หรือคอโต หรือที่เรียกว่าคอพอก อาจจะโตทั่วๆทั้งต่อม หรือโตเป็นก้อนเดียวโดดๆ หรือโตเป็นก้อนหลายก้อน โตได้ทั้งซ้ายหรือขวา อาจไม่มีอาการอะไร มีแต่คอโตอย่างเดียว หรืออาจเจ็บที่ก้อนก็ได้

    2.อาการผิดปกติจากหน้าที่ของต่อมผิดปกติ

    ◦สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ที่เรียกว่า ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีอาการหลายอย่าง เข่น ใจสั่น มือสั่น ตื่นเต้นตกใจง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย หุนหันพลันแล่น เปลี่ยนความสนใจเร็ว หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักลดลง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ อุจจาระบ่อยขึ้นแต่ไม่เป็นแบบท้องเสีย ประจำเดือนน้อยลงหรือขาดหายไป บางรายตาโปนขึ้น เป็นต้น
    ◦ฮอร์โมนต่ำเกินไป มีอาการตรงกันข้ามกับต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เช่น เฉื่อยชา เบื่อ ขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร ความสนใจลดลง ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ผมร่วง น้ำหนักขึ้น อ้วนแบบบวมฉุๆ เหนื่อยง่าย ทำอะไรไม่ค่อยไหว ท้องผูก บางรายประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นต้น

    อันตรายของโรคต่อมไทรอยด์คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว, วิกฤตต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นภาวะเป็นพิษอย่างรุนแรง และภาวะโคม่าจากต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน

    รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคต่อมไทรอยด์ ลองสังเกตดูว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ หรือมีก้อนที่คอหรือไม่ ท่านไม่จำเป็นต้องรอให้มีครบทุกอย่าง อาจมีอาการเด่นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือน้ำหนักลดลงผิดปกติ ถ้าสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ รีบมาตรวจ และเช็คเลือดหรือทำอุลตร้าซาวนด์ดูว่า ท่านมีความผิดปกติจริงหรือไม่

    Business

    • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
      3 ปีที่ผ่านมา
    • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
      7 ปีที่ผ่านมา

    Blog M