Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคกระดูกพรุน

กระดูกของมนุษย์ จะเริ่มเสื่อมและบางลง เมื่อมนุษย์มีอายุสูงกว่า 45 ปีขึ้นไป กระดูกของสตรี จะเสื่อมและบางมากกว่าบุรุษ เนื่องจากสตรีโดยธรรมชาติ ขณะมีประจำเดือน รังไข่จะผลิตฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) ออกมา ขณะไข่สุก ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) นอกจากส่งผลต่อสรีระ ทางการสืบพันธุ์โดยตรงของสตรีหลายประการแล้ว ยังมีผลต่อการสะสมน้ำและเกลือแร่ (salts and water retention) เอาไว้ในร่างกายด้วย ทำให้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca&P) ซึ่งเป็นองค์ประกอบ อันสำคัญยิ่งของกระดูก ไม่ถูกขับออกจากร่างกายได้โดยง่าย เมื่อสตรีมีอายุประมาณอายุ 45-50 ปี ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ และอาจหมดไป ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เคยมี และถูกผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอหมดไป เกลือแร่ซึ่งมีแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca&P) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก และน้ำ จะถูกขับออกจากร่างกายของสตรีวัยทอง ได้มากกว่าในบุรุษวัยทอง เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคกระดูกพรุน ในระยะแรกๆ แพทย์ได้ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ร่างกายผลิตได้น้อยลง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนแก่สตรี ที่ย่างเข้าสู่วัยทอง แต่ภายหลังต่อมาพบว่า การใช้ฮอร์โมนนี้ติดต่อกันยาวนาน อาจทำให้เกิดมะเร็ง ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีได ้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งที่พบในเต้านม (breast cancer) ในปีปัจจุบัน (ค.ศ.2002) จึงพบฮอร์โมนอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถใช้ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ เพื่อการนี้อย่างปลอดภัยกว่า ฮอร์โมนดังกล่าวเรียกว่า ฮอร์โมนดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอร์โลน (Dehydroepiandrosterone, DHEA) ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าว ร่างกายของมนุษย์จะผลิตขึ้น โดยต่อมหมวกไต (adrenal gtand) มนุษย์ในวัยเจริญพันธุ์ ทั้งสตรีและบุรุษ จะมีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนชนิดนี้ ในกระแสเลือด ประมาณ 300 ug/dL และประมาณ 0.1% ของฮอร์โมนชนิดนี้ อยู่ในรูปอนุพันธุ์ซัลเฟต ในสตรีวัยทอง (หมดประจำเดือน) ฮอร์โมนนี้จะลดระดับลงเหลือเพียง 90 ug/dL

ฮอร์โมนนี้ เมื่ออยู่ในร่างกายมนุษย์ จะสามารถเปลี่ยนให้เป็นฮอร์โมนเพศชาย (tetosterone) และฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen) ได้ ซึ่งจะเป็นฮอร์โมนเพศที่จะถูกสร้างขึ้นมา ทดแทนฮอร์โมนเพศ ที่ร่างกายของสตรีและบุรุษวัยทองที่อวัยวะสืบพันธุ์ (รังไข่ และอัณฑะ) เสื่อมสภาพลงตามอายุขัยได้ด้วย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ความต้องการทางเพศ และกิจกรรมทางเพศในผู้สูงอายุที่ได้รับ ฮอร์โมนดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอร์โลน (DHEA) เสริมเข้าไปทดแทนฮอร์โมนชนิดนี้ที่ขาดหายไป จากระบบการหมุนเวียน ของโลหิต ตามปกติของคนในวัยหนุ่มสาว ทำให้ผู้สูงอายุสตรีและบุรุษวัยทอง อาจมีความต้องการทางเพศ และ กิจกรรมทางเพศฟื้นกลับคืนมา ได้อีกด้วย
โรคกระดูกพรุน และโรคอันเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางเพศ ของสตรีและบุรุษวัยทอง เช่นโรคเสื่อมสมรรนะทางเพศ จึงสามารถป้องกันได้ในผู้สูงอายุ โดยการรับประทานอาหาร ที่อุดมด้วยเกลือแร่ และไวตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีแร่ธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca, P) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมจากอาหาร และนำไปใช้ประโยชน์ได้ สำหรับเสริมสร้างเซลล์กระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ เช่น นมพร่องมันเนยเสริมด้วยไวตามินดี การออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ (เดินเร็ว วิ่ง ขี่จักรยาน ฯลฯ) วันละอย่างน้อยประมาณ 30 นาทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นคำแนะนำที่แพทย์ และนักโภชนาการ มักจะแนะนำให้ผู้สูงอายุ สตรีและบุรุษวัยทองต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ แต่มักจะช่วยให้ภาวะโรคกระดูกพรุน ชลอตัวลงได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

ท้ายสุด ผู้สูงอายุโดยทั่วไป จะมีอาการกระดูกพรุน จนต้องได้รับการบำบัด โดยการที่แพทย์จะแนะนำ ให้ใช้ฮอร์โมนดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอร์โลน (Dehydroepiandrosterone, DHEA) เสริมเข้าไปในร่างกาย เพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไปตามธรรมชาติ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ ภายหลังการตรวจวัด ระดับฮอร์โมน ดังกล่าวว่า ได้ลดลงมาก จนอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน และโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเมื่อเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ พบว่า อัตราเสี่ยงที่จะเกิดการแตกหักของกระดูก ในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีค่อนข้างสูงมาก โดยเฉพาะกระดูก บริเวณส่วนแขนท่อนระหว่างข้อศอกจนถึงข้อมือ (distal forearm) กระดูกสันหลังและกระดูกสโพก เมื่อเกิดการแตกหักของกระดูกบริเวณดังกล่าว จะต้องได้รับการรักษาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลอย่างมหาศาล และมีรายงานทางการแพทย์ว่า อัตราการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ของการแตกหักของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ มีสูงถึง 12-20% ของผู้ป่วย และประมาณ 50% ของผู้สูงอายุที่รอดตายจากการป่วยดังกล่าว ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมหาศาล ซึ่งจะต้องเป็นภาระทางการเงินแก่ตนเอง และครอบครัวที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ลักษณะอาการของผู้สูงอายุสตรี และบุรุษวัยทอง ที่แสดงออกว่ากำลังเกิด ภาวะโรคกระดูกพรุนในร่างกาย ที่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าผู้ป่วยที่ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดข้อมือทุกราย มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน

ถ้าปรากฏอาการดังกล่าว ต่อตัวท่าน ผู้เขียนขอแนะนำ ให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านกระดูกและฟัน (ทันตแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกระดูก) ณ คลีนิกวัยทอง ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ของรัฐบาล หรือเอกชน ก่อนที่อาการของโรคกระดูกพรุน จะลุกลามต่อไป จนเป็นปัญหาใหญ่หลวง ต่อสุขภาพของท่านดังได้กล่าวมา คือ การต้องสูญฟันของท่านไปอย่างถาวร และเกิดการแตกหักของกระดูก ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ท่านต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในเรื่องกระดูกพรุนของผู้สูงอายุเท่านั้น

เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร

คนที่มีข้อต่ออักเสบ อากาศเย็นอาจจะไปกระตุ้นให้มีอาการเจ็บและปวดมากขึ้นได้ อาการของข้ออักเสบ (Arthritis) ที่พบได้บ่อยในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกอ่อนบริเวณนั้นเสื่อมและถูกทำลายลง ทำให้ปวด เกิดการยึดติดของข้อต่อทำให้เคลื่อนไหวลำบาก และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า หรือที่ข้อมือก็ได้ ส่วนอีกกลุ่มเรียกว่า ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ซึ่งเป็นโรคที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ สามารถเป็นพร้อมๆ กันได้หลายข้อ และส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง แต่ที่สำคัญ คือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้ข้อต่อผิดรูปไปจากเดิม รวมถึงอาจมีการอักเสบและติดเชื้อไปที่อวัยวะที่สำคัญอื่นๆ เช่น ปอด และหัวใจ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้คนที่มีอาการของข้อเสื่อมและอักเสบจะได้รับคำแนะนำให้พักมากๆ ลดกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้น้อยลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวน้อย ขาดความยืดหยุ่น เกิดการยึดติดของข้อต่อและมีอาการปวดมากขึ้น กล้ามเนื้อก็แข็งแรงทนทานลดลง ในบางคนกล้ามเนื้อบริเวณนั้นถึงกับฝ่อลีบ และไม่มีแรงไปเลย รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของ ระบบหัวใจและปอดก็จะลดลง ทำให้เหนื่อยง่าย กังวลและเครียดตามมา แต่ในปัจจุบันนี้ จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่ความหนักตั้งแต่ระดับต่ำ (Low-intensity) ไปจนถึงระดับปานกลาง (moderate-intensity) จะช่วยให้อาการต่างๆ ของคนที่เป็นโรคข้ออักเสบดีขึ้น รวมถึงได้ความมั่นใจคืนกลับมามากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดและป้องกันปัจจัยเสี่ยง ต่อพยาธิสภาพของโรคที่ตามมาด้วย


ข้อแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic Training)

จุดประสงค์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เพื่อให้ระบบการทำงานของหัวใจ และปอดแข็งแรงขึ้น สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ โดยไม่เหนื่อยง่ายและปวดที่ข้อต่อ ช่วยลดความเครียด ความกังวล และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

• ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• เน้นการออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนักที่ขา (non-weight-bearing) เช่น
การปั่นจักรยาน กรรเชียงบก (rower machine) เครื่อง elliptical trainer ว่ายน้ำ
รวมถึงการเดินหรือออกกำลังกายในน้ำ (aquatic exercise) เป็นต้น
• ถ้าเป็นไปได้ควรออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์หลายๆ รูปแบบ
เพื่อป้องกันการเสื่อมหรืออักเสบของข้อต่อจากการใช้งานซ้ำๆ ตลอดเวลา
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทกสูง (high-impact) เช่น จ๊อกกิ้ง วิ่งขึ้น-ลงบันได และการเต้นแอโรบิค (บางรูปแบบ) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ข้อต่อเสื่อมหรืออักเสบมากขึ้น
• สามารถเริ่มออกกำลังกายได้ตั้งแต่ 5 นาทีไปจนถึง 30 นาที ขึ้นอยู่กับความฟิตสมบูรณ์ของร่างกาย และลักษณะอาการของโรค
• ความหนักของการออกกำลังกายควรอยู่ในช่วง 60% - 80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
• สามารถออกกำลังกายได้บ่อยประมาณ 3–5 ครั้ง ต่อสัปดาห์
• เมื่อกล้ามเนื้อต่างๆ แข็งแรงมากขึ้นแล้ว และต้องการเพิ่มความยากของการออกกำลังกาย ควรปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มระยะเวลา ก่อนที่จะเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายต่อไป
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่ข้อต่ออักเสบและปวดมาก

ข้อแนะนำการออกกำลังกายแบบยกน้ำหนัก (Resistance Training)

การออกกำลังกายในลักษณะนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อที่เสื่อมหรืออักเสบมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น ช่วยให้ข้อต่อสามารถรับน้ำหนักตัวหรือแรงกระแทกที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น

• ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• ควรทำการอบอุ่นร่างกายก่อนอย่างน้อย 5–10 นาที
• หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่จะทำให้เจ็บมากขึ้น และไม่ควรออกกำลังกายเกินกว่าหรือถึงจุดที่มีอาการเจ็บ
• เริ่มจากยกน้ำหนักประมาณ 2–3 ครั้ง (reps) ในแต่ละเซต แล้วค่อยๆ เพิ่มไปจนถึง 10–12 ครั้ง (reps) ในแต่ละเซต
• หลีกเลี่ยงการยกน้ำหนักซ้ำๆ มากครั้ง และน้ำหนักที่หนักมากเกิน เพราะจะทำให้ข้อต่อเกิดการอักเสบได้ง่าย
• สามารถออกกำลังกายได้บ่อย 2–3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แต่จะต้องมีระยะเวลาพักระหว่างการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มครั้งต่อไป
• การออกกำลังกายในลักษณะนี้สามารถใช้ได้ทั้ง weight-machine, free-weight, elastic bands หรือน้ำหนักตัว (body weight) ก็ได้ รวมถึงการออกแรงในลักษณะเกร็งกล้ามเนื้อค้างเอาไว้ ถ้ารู้สึกเจ็บข้อต่อจากการเคลื่อนไหว
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่ข้อต่อมีการอักเสบและมีอาการปวดมากๆ

ข้อแนะนำการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility)

• การยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และช่วยลดปัญหาการยึดติดของข้อต่อ ซึ่งรวมถึงช่วยลดอาการปวดที่จะเกิดขึ้นในขณะเคลื่อนไหว
• ควรอบอุ่นร่างกายแบบแอโรบิคก่อนอย่างน้อย 5 – 10 นาที ก่อนที่จะยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
• สามารถยืดกล้ามเนื้อได้ทุกวันโดยการยืดค้างไว้ อย่างน้อย 10 – 30 วินาที ในแต่ละครั้ง
• การยืดกล้ามเนื้อสามารถทำได้ 1 – 4 ครั้งในแต่ละท่า หรือกลุ่มของกล้ามเนื้อ
• กล้ามเนื้อมัดหลักๆ ที่มักจะยืดหยุ่นน้อยที่ควรเน้น ได้แก่ กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง (lower back) ต้นขาด้านหลัง (ham-strings) บริเวณข้อสะโพก (hip flexor) น่อง (calf) และหัวไหล่ (deltoid)

การออกกำลังกายให้ได้ผลดีและปลอดภัยนั้น ควรปรึกษาแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกกำลังกายก่อนเสมอ จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง

โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบที่รู้จักกันมานาน ถือได้ว่าเป็นโรคที่เก่าแก่ที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ และก็ยังพบว่าเป็นปัญหาโรคข้อที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์ที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรฐานความเป็นอยู่ อาหาร สภาวะทางโภชนาการที่ดีขึ้นในยุคปัจจุบัน

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์จะเป็นผู้ชายที่มีอายุเกิน 40 ปี แต่ก็อาจเกิดขึ้นในวัยใดก็ได้ และสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเก๊าท์ มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว

โรคเก๊าท์พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยโรคเก๊าท์ประมาณ 2.4 ล้านคน ทั่วโลกเฉลี่ยพบผู้ป่วยโรคเก๊าท์ 300 รายต่อประชากร 100,000 คน


ลักษณะของโรคเก๊าท์ จะเป็นการอักเสบของข้อที่เกิดขึ้นเฉียบพลันทันทีทันใด อาการเป็นอยู่ประมาณ 5-10 วัน แล้วก็หายไป ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรัง เกิดการอักเสบของข้อเป็นๆ หายๆ และโรคจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โรคเก๊าท์ - สาเหตุของโรค
1. ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า โรคเก๊าท์เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริกสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
2. กรดยูริคเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน
3. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทั้งหมด เกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือดกลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์
4. ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริคมากเกินไป พบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10
5. พบว่าร้อยละ 18 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์เช่นกัน และโรคพันธุกรรมที่พบน้อยบางชนิด ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคออกมาในปริมาณที่มากเกิน ได้แก่ hypoxanthine-guanine phosphoribosyl transferase deficiency (Lesch-Nyhan syndrome),glucose-6-phosphatase deficiency (von Gierke disease), fructose1-phosphate aldolase deficiency, และ PP-ribose-P synthetase variants
6. โรคเก๊าท์มักเป็นกับผู้ชายวัยสูงอายุ เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะมีผลทำให้กรดยูริคในเลือดไม่สูง
7. ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น ได้แก่ โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ,ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว, โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดชนิด sickle cell anemia, myeloproliferative disease
8. การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้มาก
9. ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเก๊าท์ ได้แก่ แอสไพริน aspirin, ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide, ยารักษาโรคพาร์กินสัน levodopa, ยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporine

ภาวะไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง :

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ การเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพาตได้อย่างมาก

การปฏิบัติตนเพื่อลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด

1. การควบคุมอาหาร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
• อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์
• ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันและหนังสัตว์
• กะทิ
• อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันและการทอดเจียว
• ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ และเครื่องดื่มประเภทเบียร์จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์

อาหารที่ควรรับประทาน
• เนื้อปลา
• น้ำมันของปลาทะเล
• ผักใบต่างๆ และผลไม้ที่ให้กาก เช่น คะน้า ฝรั่ง ผักกาด ส้ม เม็ดแมงลัก ฯลฯ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมันสู่ร่างกาย
• ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด

คำแนะนำสำหรับวิธีปรุงอาหาร

ควรปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม ยำ อบ ในกรณีที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันและการทอดเจียว ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน

2. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล แต่จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำต่อเนื่องครั้งละ 10-30 นาที วันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

การออกกำลังกายที่ดีที่สุด

กิจกรรมการออกกำลังกายที่จะเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ได้แก่ การเดิน จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค รำมวยจีน รำกระบอง


ถ้าท่านมีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 200 มก./100กรัม ควรรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มก./วัน
• สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันปกติ ควรทำการตรวจเลือดและวัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง

อาหารในแต่ละชนิด จะมีปริมาณโคเลสเตอรอลแตกต่างกันปริมาณโคเลสเตอรอล (มิลลิกรัม) ต่ออาหาร 100 กรัม

กุนเชียง 150 ตับไก่ 685-750
กุ้งเล็ก 125-150 เนื้อวัวเนื้อล้วน 60
กุ้งใหญ่ 250-300 ไตวัว 400
ไข่ขาว 0 กระเพาะวัว 150
ไข่ทั้งฟอง 550 ตับวัว 400
ไข่แดง (เป็ด) 1120 ลูกวัว 140
ไข่แดง (ไก่) 2000 ผ้าขี้ริ้ว 610
ไข่นกกระทา 3640 หัวใจวัว 145
ไข่ปลา 7300 ปลาแซลมอน 86
ครีม 300 ปลาจาระเม็ด 126
นกพิราบ 110 ปลาดุก 60
นมสด 24 ปลาทูน่า 186
เนยแข็ง 90-113 ปลาลิ้นหมา 87
เนยเหลว 250 ปลาไหลทะเล 186
มาการีน 0 ปลาหมึกเล็ก 384
น้ำมันตับปลา 500 ปลาหมึกใหญ่ 1170
เนื้อกระต่าย 60 ปลิงทะเล 0
เนื้อแพะ 60 เป็ด 70-90
เนื้อแกะล้วน 60 ปู 101-164
ตับแกะ 610 แมงกะพรุน 24
กระเพาะแกะ 41 หอยกาบ 180
เนื้อหมูเนื้อแดง 89 หอยแครง 50
เนื้อปนมัน 126 หอยนางรม 230-470
น้ำมันหมู 95 หอยอื่นๆ 150
ตับหมู 400 เบคอน 215
ไตหมู 350 สมองสัตว์ต่างๆ 3160
กระเพาะหมู 150 ไส้กรอก 100
หัวใจหมู 400 แฮม 100
ซี่โครงหมู 110 ไอศกรีม 40
เนื้อไก่เนื้อล้วน 60

กรดไขมันในอาหารมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

กรดไขมันในอาหารมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด มีการศึกษาวิจัยจำนวนมาก ในเรื่องผลของกรดไขมันในอาหาร ต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ปัจจุบันพบเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กรดไขมันอิ่มตัวในอาหาร จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด และเพิ่มระดับ LDL cholesterol ซึ่งถือว่าเป็น bad cholesterol ในขณะที่การเพิ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด polyunsaturated fatty acids (PUFA) ในอาหาร สามารถลดระดับของคอเลสเตอรอลรวมในเลือด และยังลดระดับของ LDL cholesterol ได้อีกด้วย ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของกรดไขมัน จึงเป็นประโยชน์ในการพิจารณาบริโภคอาหาร เพื่อลดความเสี่ยง และช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันได้เป็นอย่างดี

กรดไขมันเป็นการเรียงตัวของธาตุคาร์บ่อน โดยที่ปลายด้านหนึ่งเป็น methyl group อีกด้านหนึ่งเป็น carboxyl group ความยาวของคาร์บอนมีได้หลายตัว หากมีความยาวน้อยกว่า 6 เรียกว่า กรดไขมันสายสั้น หากมีคาร์บอนมากกว่า 12 เรียกว่ากรดไขมันสายยาว กรดไขมันเป็นสารอาหารสำคัญ ของกล้ามเนื้อหัวใจและอวัยวะภายในร่างกาย กรดไขมันส่วนที่เหลือใช้ จะถูกสะสมในรูปไตรกลีเซอไรด์ซึ่งจะสะสมเป็นไขมันในร่างกาย กรดไขมันอิ่มตัว หมายถึง กรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะเดี่ยวเท่านั้น การรับประทานอาหารไขมันชนิดอิ่มตัว จะทำให้ไขมันในเลือดสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดตีบ แหล่งอาหารของไขมันอิ่มตัวได้แก่ น้ำมันปาล์ม กะทิ เนย นม เนื้อแดง ช้อกโกแลต

กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เรียกว่า monounsaturated fatty acid (MUFA) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะคู่เพียงหนึ่งตำแหน่ง การรับประทานอาหารไขมันประเภทนี้ ทดแทนไขมันอิ่มตัวจะช่วยลดระดับ LDL Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ อาหารที่มีกรดไขมันชนิด MUFA ได้แก่ อะโวคาโด ถั่ว น้ำมันมะกอก ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เรียกว่า polyunsaturated fatty acid (PUFA) หมายถึง กรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะคู่อยู่หลายตำแหน่ง หากรับประทานแทนไขมันอิ่มตัว จะไม่เพิ่มระดับไขมันในร่างกาย อาหารที่มีไขมันชนิด PUFA ได้แก่ น้ำมันพืชทั้งหลาย เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง

อาหารประเภทไขมันมีส่วนสำคัญ ที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น อันจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มีผลทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาหารการกินที่พึงระวัง และปฏิบัติตามมีดังต่อไปนี้ ประเภทอาหารเนื้อสัตว์ ควรรับประทานปลาทุกชนิด เนื้อสัตว์ที่ควรรับประทานแต่น้อย ได้แก่ เนื้อวัว ลิ้นวัว ไข่เป็ด ไข่ไก่ หรือเนื้อไก่ และชนิดที่ไม่ควรรับประทาน ได้แก่ หมูติดมัน ไส้กรอกแฮม ห่าน เป็ด ไก่ เครื่องใน เช่น สมอง และตับ

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ควรรับประทาน ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี สปาเกตตี้ ขนมปัง อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่อาจรับประทานแต่น้อย ได้แก่ บะหมี่ แคร็กเก้อร์ ข้าวโพดคั่ว ประเภทถั่วและนม ควรรับประทาน ถั่วเขียว ถั่วดำ เต้าหูขาว เต้าหูเหลือง ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา นมถั่วเหลือง ลูกเดือย อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ควรรับประทานแต่น้อย ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสงต้ม นมวัว และนมแพะ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ควรรับประทาน ได้แก่ ถั่วลิสงคั่ว และมะม่วงหิมพานต์ ส่วนอาหารประเภทไขมัน รับประทานแต่น้อย ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันรา นมถั่วเหลือง ไม่ควรรับประทาน ได้แก่ น้ำมันหมู ไขมันสัตว์ น้ำกะทิ และเนยสด สำหรับพวกผักผลไม้ มีไขมันน้อยกว่าร้อยละหนึ่ง จึงรับประทานมากๆ ได้แต่ต้องระวังผลไม้ที่มีรสหวานจัด ส่วนวิธีการปรุงอาหาร สมควรที่จะเปลี่ยนเป็น อบ ย่าง หรือ นึ่ง เพื่อลดปริมาณของไขมันที่จะบริโภค

การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ดังนั้น ทุกท่านควรเข้าใจถึง แนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคร้ายต่างๆ ซึ่งมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญ เพื่อป้องกัน และลดระดับคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ประการแรกคือ รับประทานคอเลสเตอรอล ไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม คอเลสเตอรอลมีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น มีมากในอาหารบางชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ ในปริมาณมาก รับประทานอาหารในแต่ละวัน ซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอ ต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง

หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมากๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น การรับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันไลโนเลอิก (linoleic acid) โดยสม่ำเสมอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับ เช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิกประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ เพราะมีการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลที่ตับเพิ่มขึ้น

CHOLESTEROL –TRIGLYCERIDES AND HEALTHY HEART

Cholesterol คืออะไร ?

Cholesterol เป็นกลุ่มไขมันที่เป็นสาร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ละลายน้ำ

Cholesterol เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เนื่องจากร่างกายต้องใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของผนังเซลล์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ฮอร์โมน เช่น estrogen progesterone , testosterone , aldosterone และ cortisol นอกจากนั้น cholesterol ยังใช้ในการสร้างวิตามินดี และน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหาร เป็นต้น

ในระบบหมุนเวียนโลหิต cholesterol จะถูกหุ้มด้วยสาร lipoproteins ซึ่งจะทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปตามกระแสโลหิต เพื่อส่งไปยังเซลล์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้งาน lipoproteins ที่หุ้ม cholesterol มี 2 ชนิดคือ

1. Low-density lipoproteins (LDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปเก็บไว้ตามเซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปผลิตฮอร์โมน หรือไปสร้างผนังเซลล์ สำหรับ cholesterol ส่วนที่เกินความต้องการ LDLs จะนำไปเกาะไว้ตามผนังเส้นเลือดแดง และเมื่อมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เส้นเลือดแดงตีบลง ในที่สุดจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดง ทำให้เซลล์บริเวณนั้นขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ตาย จึงเรียก LDLs ว่า cholesterol ชนิด "ร้าย"

2. High-density lipoproteins (HDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปยังตับ และขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี เนื่องจาก HDLs ทำหน้าที่กำจัด cholesterol ส่วนเกิน จึงเรียกว่า cholesterol ชนิด " ดี"

Cholesterol มาจากไหน

เนื่องจาก cholesterol มีความสำคัญต่อร่างกายมากจนกระทั่งร่างกายจำเป็นต้องมีขบวนการสร้าง cholesterol ขึ้นเอง ทั้งนี้เพื่อประกันว่าจะมี cholesterol อยู่เสมอ ขณะที่ cholesterol อีกส่วนหนึ่ง ร่างกายจะได้จากอาหาร จำพวก นม เนย ไข่ และเนื้อสัตว์ แต่เนื่องจากพืชไม่สร้าง cholesterol ดังนั้นอาหารจำพวกพืชจึงปราศจาก cholesterol

ปกติร่างกายจะรักษาความสมดุลย์ของ cholesterol ให้คงที่เสมอ กล่าวคือ ถ้ากินอาหารพวกเนื้อสัตว์มาก ร่างกายก็จะลดการสร้าง cholesterol ลง ในทางตรงข้ามถ้ากินอาหารที่เป็นพืชมากร่างกายก็จะสร้าง cholesterol เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย โดย cholesterol ส่วนเกินจะถูกส่งไปที่ตับในน้ำดี และถูกกำจัดออกทางอุจจาระ

การสูงขึ้นของระดับ cholesterol ที่ผิดปกติ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ จากพันธุกรรม และพฤติกรรมการกินอาหารของแต่ละบุคคล และอาจรวมถึงสาเหตุอื่นด้วย เช่น การขาดการออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่เป็นต้น

Cholesterol มีผลต่อหัวใจอย่างไร

เซลล์ต่างๆ เมื่อได้รับ cholesterol เพียงพอแล้ว ก็จะหยุดการรับ cholesterol ทำให้ LDLs จึงต้องนำ cholesterol ส่วนที่เกินไปเกาะอยู่ตามผนังของเส้นเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงเรื่อยๆ ส่งผลให้การไหลของเลือดไปเลี้ยงเซลล์บริเวณนั้นลดลง และถ้าหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจตีบลง เหลือเพียง 30% ของขนาดหลอดเลือดปกติ ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเรียกว่า " angina" ซึ่งมักแสดงอาการเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย กรณีที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจบางส่วนถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตาย และอาการหัวใจล้มเหลว ( hart attack) อาจปรากฎขึ้น และถ้าเซลล์ของหัวใจถูกทำลายมาก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

การตรวจ Cholesterol จะทำอย่างไร

การตรวจหาระดับ cholesterol ในเลือดเป็นด่านแรกในการควบคุมระดับ cholesterol ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจหาระดับ cholesterol อย่างน้อยทุก 5 ปี เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับ cholesterol อย่างน้อยปีละครั้ง ระดับ cholesterol ที่วัดได้ จะรายงานเป็นจำนวนมิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ( mg/dl)

ระดับ total cholesterol

ต่ำกว่า 200 mg/dl = ระดับที่เหมาะสม
200-239 mg/dl = คาบเส้น
สูงกว่า 240 mg/dl = สูงผิดปกติ

ระดับ cholesterol ที่อยู่ในช่วงคาบเส้น ควรทำการตรวจซ้ำ 2-3 ครั้ง แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ถ้ายังคงอยู่ในระดับเดิมควรเริ่มต้นควบคุม โดยการลดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ลง ขณะที่ระดับ cholesterol ที่สูงกว่า 240 mg/dl ควรใช้วิธีควบคุมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ รวมทั้งอาจต้องใช้ยาร่วมด้วย

ระดับ HDL cholesterol

สูงกว่า 35 mg/dl = ระดับที่เหมาะสม
สูงกว่า 60 mg/dl = ไม่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ

ระดับ LDL cholesterol

ต่ำกว่า 130 mg/dl = ระดับที่เหมาะสม
130-159 mg/dl = คาบเส้น
สูงกว่า 160 mg/dl = มีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง

Cholesterol Ratios

การคำนวณ cholesterol ratios จะช่วยบอกภาวะของความเสี่ยงโรคหัวใจได้อีกอย่างหนึ่ง โดยมีหลักว่า total cholesterol / HDL ratio สูงกว่า 6 และ ratio ของ LDL / HDL สูงกว่า 4 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง

Cholesterol และความเสี่ยงโรคหัวใจ

จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับ cholesterol สูงกว่า 240 mg/dl จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

1. ชาย อายุ 45 และหญิง อายุ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะสตรีที่รอบเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี และไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน
2. ความดันโลหิตสูง (สูงกว่า 140/90)
3. สูบบุหรี่
4. HDL ต่ำกว่า 35 mg/dl
5. โรคเบาหวาน
6. ครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ
7. ความอ้วน

ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเหล่านี้ ควรควบคุม cholesterol ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยาช่วย

Triglycerides สำคัญอย่างไร

สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตรวมทั้งพืช สามารถสังเคราะห์กรดไขมันได้เอง และสามารถนำมาสร้างเป็นไขมันเพื่อสะสมไว้เป็นพลังงานสำรองได้ โดยทั่วไปสัตว์จะสังเคราะห์ไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) ขณะที่พืชส่วนใหญ่สังเคราะห์ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ยกเว้นน้ำมัน
จากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น จะมีไขมันชนิดอิ่มตัวอยู่มาก

อย่างไรก็ตามไขมันไม่อิ่มตัว อาจถูกเปลี่ยนเป็นไขมันอิ่มตัวได้ด้วยขบวนการทางเคมี เช่น เนยเทียมและน้ำมันพืชบางชนิด โดยทั่วไปเนื้อปลา และเนื้อไก่ จะมีไขมันไม่อิ่มตัวมาก แต่ไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแพะ เนื้อแกะ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ขณะที่เนื้อหอย กุ้ง ปู จะมี cholesterol สูง แต่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ

ข้อเสียของไขมันอิ่มตัว คือ มันจะเข้าไปขัดขวางการใช้ cholesterol ของเซลล์ ทำให้ cholesterol ไม่ถูกนำไปใช้ จึงคงอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง แต่ในทางตรงข้ามไขมันไม่อิ่มตัวจะช่วยเสริมให้เซลล์นำ cholesterol จากเลือดไปใช้ ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดลดลง ดังนั้น การบริโภคเนื้อแดง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดสูง การตรวจสุขภาพโดยการวิเคราะห์ระดับ triglycerides ร่วมกับ cholesterol และ HDL จึงช่วยในการวิเคราะห์ปริมาณไขมันในร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ระดับ triglycerides

ต่ำกว่า 150 mg/dl = เหมาะสม

แม้ว่าระดับ triglycerides ในเลือดจะไม่เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของโรคหัวใจ เนื่องจาก triglycerides ไม่ได้เป็นสาเหตุของการตีบของหลอดเลือดแดง แต่ระดับ triglycerides ที่สูงในเลือด อาจเป็นการแสดงว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะกรณีที่มีระดับ HDLs ในเลือดต่ำ หรือ LDLs ในเลือดสูงอยู่แล้ว

ยำสตรอเบอรี่กุ้งสด


ส่วนผสม
กุ้งกุลาดำ (แกะเปลือกเหลือส่วนหาง และผ่าหลัง) 16 ตัว
สตรอเบอรี่สด (ผ่า 4 ชิ้น / ลูก) 20 ลูก
ก้านคะน้า (ลอกเปลือก หั่นความยาวประมาณ 1 ซม.) 2 ขีด
กระเทียม (ซอยบาง) 2 ช้อนโต๊ะ
หัวหอมแดง (ซอยบาง) 1/2 ถ้วย
ใบคึ่นช่าย 30 กรัม
น้ำปลา 1/2 ถ้วย
น้ำมะนาว 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสวน (ตำหยาบ) 5 เม็ด


วิธีทำ
- ลวกก้านคะน้าให้พอสุกในน้ำเดือดจัด จากนั้นนำไปแช่ไว้ในน้ำเย็นทันทีแล้วจึงตักขึ้นพักไว้
- กุ้งกุลาดำลวกพอสุกในน้ำเดือดจัด แล้วทำเช่นเดียวกับก้านคะน้า คือนำไปแช่ในน้ำเย็นทันทีก่อนตักขึ้นพักไว้
- ทำน้ำยำ ด้วยการนำกระเทียม น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย พริกขี้หนู ผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามใจชอบ
- นำกุ้ง ก้านคะน้า สตรอเบอรี่ หัวหอมแดง และใบคึ่นช่าย ใส่ลงไปแล้วคลุกเคล้ากับน้ำยำให้เข้ากัน ชิมรสอีกครั้ง

เมนูสุขภาพ - สลัดผัก ราดครีมมัสตาร์ดน้ำผึ้ง


การปรุงสลัดผักให้อร่อยขึ้นอยู่กับ 2 ส่วน คือ การเลือกชนิดผักสดต่างๆ ที่เข้ากันได้ ซึ่งไม่ควรเลือกผักที่ใบหนาหรือกลิ่นรสฉุน
เกินไป ส่วนที่สองสำคัญไม่ยิ่งหย่อนคือ น้ำสลัด ฉบับนี้เรามีสูตรใหม่ๆ มานำเสนอชวนให้คุณทำชิมลิ้มลองดู รับรองอร่อยค่ะ


ส่วนผสม
ผงมัสตาร์ด 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชู 8 ช้อนโต๊ะ
ไข่ 4 ฟอง
น้ำผึ้ง 160 มล.
ช็อกโกแลตขาว 60 กรัม
เกลือและพริกไทยดำตามชอบ
ผักสดต่างๆ ตามชอบ




วิธีทำ
- ผสมผงมัสตาร์ดและน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ทิ้งไว้ข้ามคืนในตู้เย็น
- ใส่น้ำในหม้อนิดหน่อย ตั้งไฟเบา แล้วนำไข่และมัสตาร์ดใส่ชามสแตนเลสไปตั้งบนหม้อ
- ตีไปเรื่อยๆ จนไข่สุกแล้วใส่น้ำผึ้งและน้ำส้มสายชูที่เหลือ คนให้เข้ากัน
- จากนั้นยกลงจากเตาทิ้งไว้ให้พออุ่น ใส่ช็อกโกแลตขาว คนให้ละลายเข้กัน แล้วปรุงด้วยเกลือ พริกไทยตามชอบ





ขอขอบคุณ : สูตรโดยคุณพลัง นพทีปกังวาล ร้าน Chocoholic ชั้น 3 สยามเซ็นเตอร์ โทร. 0-2658-1164

กล้วย กล้วย


กล้วย เป็นผลไม้ราคาถูก ที่หากินได้ง่าย แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อย่างกล้วยหอมลูกโตสีเหลืองๆ นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่มีถึง 3 ชนิด คือ ซุคโคส ฟรุคโตส และ กลูโคส ที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย แถมยังมีเส้นใยและกากอาหาร ช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกให้ขับถ่ายได้สะดวก และยังมีวิตามินบีอยู่มาก ช่วยลดความเครียด และความอ่อนล้าได้ด้วย

เห็นไหมว่าการกินกล้วยนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายมากเพียงไหน ดังนั้น เลยอยากจะชวนทุกคนไปกินกล้วยเพื่อสุขภาพที่ดีกัน โดยเราจะพาไปกินกล้วยกันที่ร้านขนมแห่งหนึ่ง ที่มีชื่อร้านเก๋ๆ ว่าร้าน กล้วย กล้วย (Banana Banana) ซึ่งเป็นร้านขายขนมที่ไม่เหมือนใคร เพราะเมนูขนมทั้งหมดของที่ร้านนี้ ล้วนมีแต่เมนูกล้วยๆ ที่ทำมาจากกล้วยหอมทองลูกโต ที่สั่งมาเป็นพิเศษจากเพชรบุรี อีกทั้งยังตั้งชื่อเมนูกล้วยซะเก๋ไก๋ ดึงดูดใจให้ชวนกินเสียเหลือเกิน

ว่าแล้วก็ตามมาดูกันดีกว่า ว่ามีเมนูกล้วยๆ อะไรที่ชวนกินกันบ้าง เริ่มจากเมนูนี้ที่มีชื่อเก๋ไก๋เสียไม่มีว่า กล้วยพองโต (40 บาท) ที่จริงแล้วก็คือกล้วยหอมทองทั้งลูก ที่ทางร้านนำไปชุบกับแป้งปรุงรส แล้วทอดจนกล้วยพองโตสุกกรอบ สีเหลืองทองน่ากิน แถมยังมีท็อปปิ้งอีก 4 อย่างให้เลือกราดหน้าตามใจชอบ คือ ช็อคโกแลต สตรอเบอร์รี่ นมข้น และน้ำผึ้ง กินคู่กันกับกล้วยหอมที่ทอดมาร้อนๆ กรอบนอกเนื้อในนุ่มได้รสชาติกล้วยที่หวานละมุนนุ่มปาก

ต่อด้วยอีกหนึ่งเมนูกล้วยทอดๆ อย่างกล้วยมัมมี่ (35 บาท) ที่เห็นชื่อแล้วอาจจะดูน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วกลับน่ากิน เป็นแผ่นแป้งปอเปี๊ยะที่ห่อด้วยไส้กล้วยหอมทอง ทอดมาจนเหลืองกรอบ โรยด้วยน้ำตาไอซิ่งชวนกิน ส่งชิ้นกล้วยเข้าปากเคี้ยวกรอบกรุบ ได้รสชาติหวานหอมของกล้วยที่สอดไส้อยู่ข้างใน หรือถ้าใครจะเพิ่มรสชาติด้วยการราดหน้าท็อปปิ้งก็ได้เหมือนกัน

ส่วนอีกเมนูกล้วยที่สาวๆ เห็นแล้วต้องแอบอมยิ้มกับเมนูที่มีชื่อว่า กล้วยสำอาง (35 บาท) เป็นกล้วยหอมทองที่ทางร้านนำไปอบกับเนย แล้วก็ราดมาด้วยนมสดจนท่วมชิ้นกล้วย (เหมือนกล้วยแช่น้ำนมเลย) กินแล้วสัมผัสได้ถึงรสชาติของกล้วยอบเนยที่หอมหวาน เนื้อเนียนนุ่มจนเหมือนจะละลายในปาก หวานมันเข้ากันกับนมสด

และถ้าใครเกิดรู้สึกฝืดคอขึ้นมา แนะนำว่าให้สั่งเมนูเครื่องดื่ม อย่างมิลค์เชคกล้วย (33 บาท) มาดื่มกัน ซึ่งดื่มแล้วจะรู้สึกหอมหวานสดชื่น ชุ่มชื่นคอเป็นอย่างมาก ได้รสชาติกล้วยหอมทองล้วนๆ ที่นำมาปั่นใส่นมสด ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็งจนละเอียด และยังมีกล้วยฝานเป็นชิ้นๆ ใส่มาให้ด้วย

นอกจากเมนูกล้วยๆ ที่เราได้ลองลิ้มจนติดใจแล้ว ขอบอกว่ายังมีเมนูกล้วยๆ ชื่อแปลกๆ อย่างอื่นอีกมากมาย ที่คนชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด อาทิ กล้วยสังข์ทอง (14 บาท) กล้วยห่อ (35 บาท) กล้วยกำแพง (35 บาท) กล้วยฮาวายเอี้ยน (25 บาท) กล้วยขั้วโลก (23 บาท) กล้วยดุ๊กดิ๊ก (23 บาท) มิลค์เชคโอริโอ้กล้วย (38 บาท) มิลค์เชคช็อคโกแลตกล้วย (38 บาท) มิลค์เชคน้ำผึ้งกล้วย (38 บาท) บอกได้คำเดียวเลยว่าที่ร้าน กล้วย กล้วย แห่งนี้มีแต่ของ (กิน) กล้วยๆ ที่ชวนลิ้มลองทั้งนั้นเลย

กล้วย เป็นผลไม้ราคาถูก ที่หากินได้ง่าย แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อย่างกล้วยหอมลูกโตสีเหลืองๆ นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่มีถึง 3 ชนิด คือ ซุคโคส ฟรุคโตส และ กลูโคส ที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย แถมยังมีเส้นใยและกากอาหาร ช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกให้ขับถ่ายได้สะดวก และยังมีวิตามินบีอยู่มาก ช่วยลดความเครียด และความอ่อนล้าได้ด้วย

เห็นไหมว่าการกินกล้วยนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายมากเพียงไหน ดังนั้น เลยอยากจะชวนทุกคนไปกินกล้วยเพื่อสุขภาพที่ดีกัน โดยเราจะพาไปกินกล้วยกันที่ร้านขนมแห่งหนึ่ง ที่มีชื่อร้านเก๋ๆ ว่าร้าน กล้วย กล้วย (Banana Banana) ซึ่งเป็นร้านขายขนมที่ไม่เหมือนใคร เพราะเมนูขนมทั้งหมดของที่ร้านนี้ ล้วนมีแต่เมนูกล้วยๆ ที่ทำมาจากกล้วยหอมทองลูกโต ที่สั่งมาเป็นพิเศษจากเพชรบุรี อีกทั้งยังตั้งชื่อเมนูกล้วยซะเก๋ไก๋ ดึงดูดใจให้ชวนกินเสียเหลือเกิน

ว่าแล้วก็ตามมาดูกันดีกว่า ว่ามีเมนูกล้วยๆ อะไรที่ชวนกินกันบ้าง เริ่มจากเมนูนี้ที่มีชื่อเก๋ไก๋เสียไม่มีว่า กล้วยพองโต (40 บาท) ที่จริงแล้วก็คือกล้วยหอมทองทั้งลูก ที่ทางร้านนำไปชุบกับแป้งปรุงรส แล้วทอดจนกล้วยพองโตสุกกรอบ สีเหลืองทองน่ากิน แถมยังมีท็อปปิ้งอีก 4 อย่างให้เลือกราดหน้าตามใจชอบ คือ ช็อคโกแลต สตรอเบอร์รี่ นมข้น และน้ำผึ้ง กินคู่กันกับกล้วยหอมที่ทอดมาร้อนๆ กรอบนอกเนื้อในนุ่มได้รสชาติกล้วยที่หวานละมุนนุ่มปาก

ต่อด้วยอีกหนึ่งเมนูกล้วยทอดๆ อย่างกล้วยมัมมี่ (35 บาท) ที่เห็นชื่อแล้วอาจจะดูน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วกลับน่ากิน เป็นแผ่นแป้งปอเปี๊ยะที่ห่อด้วยไส้กล้วยหอมทอง ทอดมาจนเหลืองกรอบ โรยด้วยน้ำตาไอซิ่งชวนกิน ส่งชิ้นกล้วยเข้าปากเคี้ยวกรอบกรุบ ได้รสชาติหวานหอมของกล้วยที่สอดไส้อยู่ข้างใน หรือถ้าใครจะเพิ่มรสชาติด้วยการราดหน้าท็อปปิ้งก็ได้เหมือนกัน

ส่วนอีกเมนูกล้วยที่สาวๆ เห็นแล้วต้องแอบอมยิ้มกับเมนูที่มีชื่อว่า กล้วยสำอาง (35 บาท) เป็นกล้วยหอมทองที่ทางร้านนำไปอบกับเนย แล้วก็ราดมาด้วยนมสดจนท่วมชิ้นกล้วย (เหมือนกล้วยแช่น้ำนมเลย) กินแล้วสัมผัสได้ถึงรสชาติของกล้วยอบเนยที่หอมหวาน เนื้อเนียนนุ่มจนเหมือนจะละลายในปาก หวานมันเข้ากันกับนมสด

และถ้าใครเกิดรู้สึกฝืดคอขึ้นมา แนะนำว่าให้สั่งเมนูเครื่องดื่ม อย่างมิลค์เชคกล้วย (33 บาท) มาดื่มกัน ซึ่งดื่มแล้วจะรู้สึกหอมหวานสดชื่น ชุ่มชื่นคอเป็นอย่างมาก ได้รสชาติกล้วยหอมทองล้วนๆ ที่นำมาปั่นใส่นมสด ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็งจนละเอียด และยังมีกล้วยฝานเป็นชิ้นๆ ใส่มาให้ด้วย

นอกจากเมนูกล้วยๆ ที่เราได้ลองลิ้มจนติดใจแล้ว ขอบอกว่ายังมีเมนูกล้วยๆ ชื่อแปลกๆ อย่างอื่นอีกมากมาย ที่คนชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด อาทิ กล้วยสังข์ทอง (14 บาท) กล้วยห่อ (35 บาท) กล้วยกำแพง (35 บาท) กล้วยฮาวายเอี้ยน (25 บาท) กล้วยขั้วโลก (23 บาท) กล้วยดุ๊กดิ๊ก (23 บาท) มิลค์เชคโอริโอ้กล้วย (38 บาท) มิลค์เชคช็อคโกแลตกล้วย (38 บาท) มิลค์เชคน้ำผึ้งกล้วย (38 บาท) บอกได้คำเดียวเลยว่าที่ร้าน กล้วย กล้วย แห่งนี้มีแต่ของ (กิน) กล้วยๆ ที่ชวนลิ้มลองทั้งนั้นเลย



รายละเอียดเกี่ยวกับร้านกล้วย กล้วย

ที่ตั้ง : 256 โรงหนังลิโด้ 3 ชั้น 2 สยามสแควร์ แขวงปทุมวัน เขตวังใหม่ กทม.
การเดินทาง : นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสยาม แล้วก็เดินมาที่โรงหนังลิโด้ ขึ้นมาที่ชั้น 2 ก็จะเห็นร้านกล้วย กล้วย ตั้งอยู่มีป้ายร้านให้เห็นชัดเจน
เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-20.30 น.
สอบถามที่โทร. 0-2658-1934
แผนที่ร้าน

Business

  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
    7 ปีที่ผ่านมา

Blog M