โรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะและลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมายแต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
เชื่อโรค Helicobacter pylori
เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี
สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
การกินอาหารไม่เป็นเวลา
ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามากจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง
Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร
เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
อาการของโรคกระเพาะ
1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบๆหรือร้อนๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้
2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
อาการของโรคกระเพาะอาหารจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพราะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้
อาการอื่นที่พบได้
น้ำหนักลด
เบื่ออาหาร
แน่นท้อง ท้องเฟ้อ
คลื่นไส้ อาเจียน
ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์
ปวดท้องทันที ปวดเหมือนถูกมีดบาด ขยับตัวหรือหายใจแรงๆจะทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และปวดไม่หาย ซึ่งอาจจะเกิดจากกระเพาะอาหารทะลุ
อุจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด เนื่องจากเลือดออกทางเดินอาหาร
แน่นท้องอาเจียนบ่อย เป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจจะเกิดจากลำไส้อุดตัน
การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร
หากอาการปวดท้องเหมือนกับโรคกระเพาะอาหารแพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยโรคกระเพาะดังนี้
จะตรวจกลืนแป้งแล้ว x-ray เป็นวิธีที่ทำง่าย ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องให้ยานอนหลับ ตรวจเสร็จแล้วกลับบ้านได้ ข้อเสียของการตรวจวิธีนี้คือไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง แลไม่สามารถนำเนื้อเยื่อไปตรวจ
endoscope เป็นวิธีการที่สำคัญในการตรวจและรักษา ข้อดีของการตรวจคือเห็นด้วยตา สามารถถ่ายรูป และนำเนื้อเยื่อไปตรวจ ข้อเสียต้องใส่ท่อเข้าในกระเพาะ อาจจะต้องใช้ยานอนหลับเพื่อดูว่ามีแผลหรือไม่
การวินิจฉัย H. pylori
หลังจากแพทย์พบว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหารแพทย์จะส่งตรวจว่าเป็น H. pylori ได้หลายวิธี
โดยการเจาะเลือดหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ H. pylori
Breath tests วิธีนี้โดยมากใช้ติดตามหลังการรักษา โดยการให้ผู้ป่วยดื่มสาร urea ซึ่งมี atom ของ carbon ที่อาบรังสี ถ้าผู้ป่วยมีเชื้อในกระเพาะจะตรวจพบ atom ของ carbon จากลมหายใจ
จากการตัดเนื้อเยื่อโดยการส่องกล้องซึ่งตรวจได้ 3 วิธี
นำเนื้อเยื่อทำปฏิกิริยา urease test ถ้ามีเชื้อจะให้ผลบวก
นำเนื้อเยื่อส่องกล้องหาตัวเชื้อ
นำเนื้อเยื่อไปเพาะเชื้อ
วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารทำอย่างไร
1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่
ก. กินอาหารให้เป็นเวลา
ข. งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
ค. งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
ง. งดดื่มน้ำชา กาแฟ
จ. งดสูบบุหรี่
ฉ. งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
ช. พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด
2. การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้
3.การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่
ก. เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
ข. แผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
ค. กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
ยาลดกรด [ antacid] รับประทานครั้งละ 1-2 ชต.ควรรับประทานหลังอาหาร 1 ชม. หรือก่อนอาหาร 2 ชม. และมื้อสุดท้ายก่อนนอน แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้วในระยะแรก อาจจะให้ยาทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อดีขึ้นอาจให้ยาทุก 1-2 ชั่วโมง
ยาลดการหลั่งกรด acid-suppressing drugs มีสองชนิด คือ
Histamine-2 receptor antagonists [H2-blockers] เช่น cimetidine, ranitidine, famotidine, nizatidine.ช่วยลดอาการปวดหลังได้ยาไปประมาณ หนึ่งสัปดาห์ อาจจะรับประทานวันละครั้ง เช่นก่อนนอนได้แก่ famotidine, nizatidine วันละสองครั้งได้แก่ ranitidine วันละสี่ครั้งไก้แก่ cimetidine ชื่อยา
ขนาดยาที่ให้
ผลขางเคียง
cimetidine
400 mg วันละ 2 ครั้ง
800mg ก่อนนอนวันละครั้ง
คลื่นไส้อาเจียน เต้านมโต ตับอักเสบ เม็ดเลือดขาวต่ำ
ทำให้ยาบางชนิดถูกทำลายลดลงเกิดการคั่งของยา
Ranitidine
150 mg วันละ 2 ครั้ง
300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง
ผลข้างเคียงน้อย
Famotidine
20 mg วันละ 2 ครั้ง
40 mg ก่อนนอนวันละครั้ง
ผลข้างเคียงน้อย
Nizatidine
150 mg วันละ 2 ครั้ง
300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง
ผลข้างเคียงน้อย
Proton pump inhibitors เช่น omeprazole, lansoprazole.ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการปวดท้อง และช่วยให้แผลหายเร็วกว่ายากลุ่มอื่นมักจะรับประทานวันละครั้งหลังอาหาร
ยาปฏิชีวนะเช่น metronidazole, tetracycline, clarithromycin, amoxicillin ใช้รักษาโรคกระเพาะที่เกิดจาก H.pylori ขนาดยาที่ให้ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง, amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง, metronidazole 400 mg วันละ 2 ครั้ง, tetracyclin 500 mg วันละ 2 ครั้ง ยาที่นิยมรักษาแผลกระเพาะอาหารจากเชื้อโรคได้แก่การใช้ยา amoxicillin และ clarithromycin และomeprazole
ยาเคลือบกระเพาะ Stomach-lining protector เช่น bismuth subsalicylate.sucralfate ใช้เคลือบแผลกระเพาะ
ปัจจุบันการรักษา H.pylori ที่ดีที่สุดประกอบด้วยยา 3 ชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกับ ยาลดการหลั่งกรด หรือยาเคลือบกระเพาะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ90 เช่น omeprazole 20 mg วันละ 2 ครั้งร่วมกับ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง และ amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง
แนวทางการรับประทานอาหารในการรักษาแผล Peptic ulcer
หลังการรักษาแพทย์อาจนัดส่องกล้องดูกระเพาะอีกครั้งว่าแผลหายหรือยัง
เคล็ดลับโรคกระเพาะ
โรคกระเพาะเกิดจากมีแผลที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น
สาเหตุที่สำคัญเกิดจากเชื้อ H. pylori มิใช่เกิดจากอาหารเผ็ดหรือความเครียด
H. pylori สามารถติดต่อโดยผ่านทางอาหารและน้ำดื่ม
ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่สำคัญที่สุดในการรักษา H. pylori
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
1. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู
3. งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
4. งดการสูบบุหรี่
5. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาsteroid ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ
6. ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย
7. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก
8. ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
9. อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
เลือดออกทางเดินอาหาร เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารกินลึกถึงหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดสด หรือสีดำเหมือนน้ำโค้ก อุจาระจะมีสีดำเหนียว บางคนหากออกมากจะมีสีแดงอิฐ หากเลือดออกมากผู้ป่วยอาจจะมีความดันโลหิตต่ำและช้อคหมดสติ
กระเพาะทะลุ เนื่องจากแผลจะกินลึกจนทะลุเข้าช่องท้อง ผู้ป่วยจะปวดท้องอย่างเฉียบพลันปวดมาก หน้าท้องแข็ง เป็นภาวะรีบด่วนต้องรีบพบแพทย์
ลำไส้อุดตัน เนื่องจากเป็นแผลเรื้อรังจะทำให้เกิดผังพืดทำให้รูของลำไส้เล็กลงอาหารไม่สามารถผ่านไปได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาเจียน ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจาระ อาเจียนเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป
อาการเตือนที่ทำให้ต้องระวังว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่
ปวดท้องจนต้องตื่นนอนตอนกลางคืน
น้ำหนักลดลงมากกว่า ร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
อายุมากกว่า 40 ปี
ถ่ายเป็นเลือด
อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
กลืนลำบาก
มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
ซีด
ตัวเหลืองตาเหลือง
ตับม้ามโต
มีก้อนในท้อง
ท้องโตขึ้น
มีการเปลี่ยนของระบบขับถ่าย
หากพบอาการเหล่านี้ควรส่องกล้อง หรือกลืนแป้งตรวจก่อน แต่หากไม่มีอาการอาจลองให้รักษาก่อน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น