Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อีสุกอีใส


อีสุกอีใส เป็นโรคที่เราทุกคนรู้จักกันดีค่ะ เพราะมีมานานและเกิดขึ้นได้ทุกวัยเกิดจากเชื้อ ไวรัส varicella zoster โดยมักเป็นตอนเด็ก ๆ ซึ่งอาการจะไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ที่ยิ่ง อายุเยอะ อาการก็ยิ่ง รุนแรงกว่าอาการของโรค จะมีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้นมักเริ่มขึ้นที่เยื่อบุอ่อนในกระพุ้ง แก้มและในลำคอทำให้ ระคายคอและไอ จากนั้นตุ่มจะเริ่มขึ้นตามใบหน้า หนังศรีษะ หน้าอก แผ่นหลัง ส่วนแขนขาก็อาจพบ ได้บ้าง และมีอาการคัน บางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย โรคอีสุกอีไสเมื่อเป็นแล้วจะมี ภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เด็ก ๆ เป็นจะหายเร็วค่ะ ในต่างประเทศถึงกับจัดปาร์ตี้อีสุกอีใส (chicken pox party) ในวัย 5 ขวบ กันเลย เพื่อให้เด็กได้เป็นโรคนี้กันก่อน

เกิดจากเชื้ออีสุกอีใส ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเชลลา (varicella virus) หรือ human erpes virus type 3 เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง หรือสัมผัสถูกของใช้ (เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ที่นอน เป็นต้น) ที่เปื้อนถูกตุ่มน้ำของผู้ที่เป็น อีสุกอีใส หรืองูสวัด หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำผ่านเข้าทางเยื่อเมือก


เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูงและปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน
ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อมๆกันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้น เป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใสๆ อยู่ข้างใน และมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็น หนองหลังจากนั้น 2-4วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง จะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน บางรายมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางรายอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเริมได้เนื่องจากผื่นตุ่ม ของโรคนี้จะค่อย ๆ ออกทีละระลอก (ชุด) ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่าบางที่ขึ้น เป็นผื่น แดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ชาวบ้านจึง เรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส)
การแยกโรค : อีสุกอีใสมักจะมีอาการเด่นชัด คือมีตุ่มน้ำพุขึ้นพร้อม ๆ กับมีไข้ (ตัวร้อน) ในวัน แรกของโรค ตุ่มจะขึ้นที่ศีรษะ คอ แล้วกระจายตามลำตัว ส่วนแขน ขา จะมีประปราย



แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ถ้าพบว่ามีภาวะผิดปกติ อื่น ๆ จะให้การดูแลดังนี้
ถ้าพบว่าตุ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน (กลายเป็นตุ่มหนอง ฝี แผลพุพอง) แพทย์ จะให้ยาปฏิชีวนะเพิ่มเติม ถ้าเป็นเพียงไม่กี่จุดก็อาจให้ชนิดทา แต่ถ้าเป็นมากก็จะให้ชนิดกิน
ถ้ามีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น ปอดอักเสบ(ไข้สูง หอบ) สมองอัก เสบ (ไข้สูง ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก ซึม ชัก ไม่ค่อยรู้ตัว) ตับอักเสบ (ดีซ่าน) หรือมีภาวะ เลือดออกง่าย เป็นต้นก็จะรับตัวไปไว้รักษาในโรงพยาบาล
ในรายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เช่น เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เอดส์ กินยาสตี รอยด์อยู่ นาน ๆ เป็นต้น) หรือเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคผื่นแพ้ประจำ โรคปอดเรื้อรัง สูดพ่นยาสตีรอยด์ (สำหรับคนที่เป็นหืด) หรือกินยาแอสไพรินอยู่ นอกจากให้การรักษาตาม อาการแล้ว แพทย์อาจให้ยา ต้านไวรัสที่มีชื่อว่า อะไซโคลเวียร์ (acyclovir) เพื่อฆ่าเชื้ออีสุกอีใส ป้องกัน มิให้โรคลุกลามรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น ควรให้ยานี้รักษาภายใน 24 ชั่วโมง หลังแสดงอาการ จะได้ผลดีกว่าให้ช่วง หลัง ๆ ของโรค



การป้องกันการเกิดโรค อีสุก อีใส

ปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งราคา ค่อนข้าง แพง (ประมาณเข็มละ 800 - 1,200 บาท)
ควรฉีดในเด็กอายุ 12 –18 เดือน ฉีดเพียง 1 เข็ม จะป้องกันโรค ได้ตลอดไป
ถ้าฉีดตอนโต หากอายุต่ำกว่า 13 ปี ก็ฉีดเพียง เข็มเดียว แต่ถ้าอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ควรฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 - 8 สัปดาห์ หลังฉีดวัคซีน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ยาแอสไพรินนาน 6 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคเรย์ซินโดรม
วัคซีนชนิดนี้ห้ามฉีดในหญิงตั้งครรภ์ คนที่มีภาวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ใช้ยาแอสไพริน อยู่ประจำ หรือใช้ยา สตีรอยด์ขนาดสูงมานาน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์(15-45ปี) หากไม่แน่ใจ ว่าเคยเป็นโรคนี้หรือยัง ควรปรึกษาแพทย์ตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้หรือยัง ถ้ายัง แพทย์อาจ แนะนำให้วัคซีนป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ และหลังฉีด วัคซีนนี้ควรคุมกำเนิดนาน 3 เดือน จึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ การฉีดวัคซีนอาจไม่ทันกาล ถ้าจำเป็นแพทย์ อาจแนะนำให้ฉีดเซรุ่ม ที่มีชื่อว่า varicella-zoster immune globulin (VZIG) เป็นการฉีดภูมิคุ้ม กันเข้าไปโดยตรง
มักจะฉีดให้กับผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว และทารกที่มีแม่เป็นอีสุกอีใสช่วง 5 วันก่อนคลอด ถึง 2 วัน หลังคลอด


ถ้าอาการชัดเจน ร่วมกับมีประวัติการระบาดของโรคนี้ ก็อาจให้การดูแลเบื้องต้น ดังนี้
ถ้ามีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น นอนพักให้มาก ๆ และให้ ยาพาราเซตามอล บรรเทาไข้ ไม่ควรให้ยาแอสไพรินลดไข้ เพราะยานี้อาจทำให้ เสี่ยงต่อการเกิดโรค เรย์ซินโดรม (Reye’s syndrome) ซึ่งจะมีภาวะสมองอักเสบ ร่วมกับ ตับอักเสบ จัดว่าเป็นโรคอันตราย ร้ายแรงชนิดหนึ่ง
ถ้ามีอาการคันให้ทาด้วยยาแก้ผดผื่นคัน (คาลาไมน์โลชั่น) ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ คลอเฟนิรามีนบรรเทา ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และพยายามอย่าแกะหรือเกาตุ่มคัน อาจทำให้เกิด การติดเชื้อ กลายเป็นตุ่มหนอง และเป็นแผลได้
ถ้าปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย ให้ใช้น้ำเกลือกลั้ว พยายามกินอาหารที่เป็นของเหลว หรือเป็นน้ำ แทน อาหารแข็ง
สำหรับอาหาร ไม่มีของแสลงต่อโรคนี้ ให้กินอาหารได้ตามปกติ โดยเฉพาะบำรุงด้วย อาหาร พวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ) ให้มากขึ้นเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
ควรหยุดเรียน หรือหยุดงาน พักผ่อนอยู่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้แพร่เชื้อให้คนอื่นระยะ แพร่เชื้อ ติดต่อให้คนอื่น คือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมง ก่อนมีตุ่มขึ้นจนกระทั่ง 6 วัน หลังตุ่มขึ้น
ควรเฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยทั่วไปอาการจะค่อยทุเลาได้เองภายใน 1 – 3 สัปดาห์ แต่ถ้าพบว่ามีอาการหายใจหอบ ซึม ชัก เดินเซ ตากระตุก ดีซ่าน (ตาเหลือง) มีเลือดออก ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก เจ็บหน้าอก หรือตุ่มกลายเป็นหนอง ฝีหรือพุพอง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Business

  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
    7 ปีที่ผ่านมา

Blog M