Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคเบาหวาน กับ ภาวะไตวาย

โรคเบาหวาน เป็นที่รู้จักกันในหมู่คนทั่วไป โรคนี้เกิดจากความผิดปกติ ในการควบคุมน้ำตาลของร่างกาย ซึ่งเกิดได้จากกลไกหลายอย่าง ขึ้นกับสาเหตุและชนิดของโรค เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ทางตา หัวใจ และไต เป็นต้น สำหรับโรคไตในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เกิดได้ทั้งจากโรคเบาหวานเองโดยตรง และจากภาวะอื่นที่พบในโรคเบาหวาน เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง โดยมุ่งเน้นการป้องกัน และการรักษาเป็นสำคัญ เพื่อประโยชน์สำหรับ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและญาติ เพราะความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและวิธีการปฏิบัติ จะช่วยให้การรักษาได้ผล และอาจป้องกัน หรือชลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

ปัจจุบันพบว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของภาวะไตวาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น พบผู้ป่วยไตวาย ที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ความชุกของโรคไตชนิดอื่นลดลง ประกอบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีชีวิตยืนยาวขึ้น สำหรับในประเทศไทยนั้น แพทย์ด้านโรคไต ก็พบผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวาย จากโรคเบาหวาน ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนทางไตจะเกิดขึ้นเมื่อใด
ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง มักเกิดขึ้นหลังเป็นโรคอย่างน้อย 5 ปี แต่ส่วนใหญ่มักเกิดหลัง 15-25 ปี โดยในระยะแรก จะไม่มีอาการใดปรากฏให้ทราบ แม้จากการตรวจเลือด แต่จะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ พบโปรตีนซึ่งมีปริมาณไม่มากในระยะต้น ต่อมาปริมาณโปรตีนจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนอาจมีการสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะมาก ทำให้โปรตีนในเลือดลดต่ำลง และผู้ป่วยมีอาการบวมเกิดขึ้น ในช่วงเวลานี้การทำงานของไต อาจยังดีอยู่หรือลดลงเพียงเล็กน้อย ต่อจากนั้นจากทำงานของไต จะลดลงเป็นลำดับจนเกิดภาวะไตวาย ระยะเวลาตั้งแต่พบโปรตีนในปัสสาวะ จนเกิดภาวะไตวายไม่แน่นอน เฉลี่ย 4-5 ปี ข้อที่น่าสังเกต คือ เมื่อโรคดำเนินมาถึงขั้นที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากแล้ว ไม่ว่าจะให้การรักษาด้วยวิธีใด ก็ไม่สามารถยับยั้งการเกิดภาวะไตวายได้ ดังนั้น การป้องกันจึงต้องทำตั้งแต่ระยะต้น ก่อนจะมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตขึ้นแล้ว 
ดังได้กล่าวแล้ว่า ในระยะแรกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต มักไม่มีอาการ ฉะนั้น จึงรู้ได้จากการตรวจปัสสาวะพบโปรตีนเท่านั้น
ในระยะหลังของโรค จะมีอาการบวม ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ โดยที่ไตยังทำงานได้ หรือ มีการคั่งของเกลือจากภาวะไตวายก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการบวม จึงมิได้แสดงว่าไตวายเสมอไป อาการบวมมักเริ่มที่เท้าก่อน โดยอาจบวมไม่มากในตอนแรกแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนบวมทั่วตัวได้

สำหรับอาการที่พบ เมื่อเกิดภาวะไตวายแล้วมีดังนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ขาดสมาธิในการทำงาน ซีด อ่อนเพลีย หายใจหอบลึก ชาตามปลายมือปลายเท้า ตะคริว คันตามตัว ซึม ชัก และหมดสติในที่สุด นอกจากนั้น ในระยะหลังของภาวะไตวาย ปริมาณปัสสาวะจะลดลง และอาจลดลงจนไม่มีปัสสาวะในระยะท้ายสุด
ทำไมจึงเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต

ภาวะแทรกซ้อนทางไตในโรคเบาหวาน เป็นผลจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดที่ไต และยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เนื้อไตโดยตรงด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งสองอย่างนี้ ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ใด ซึ่งนำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะ และภาวะไตวายที่สุด นอกจากนั้น ปัจจัยด้านพันธุกรรม ก็มีบทบาทเสริมให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตด้วย
ภาวะแทรกซ้อนทางไตมีแนวโน้มจะเกิดในผู้ใดบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนทางไต มิได้เกิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทุกคน พบประมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น ผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้แก่
1.
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
 
2.
มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว
 
3.
มีพี่น้องเป็นโรคไตจากโรคเบาหวาน
 
4.
มีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าเดิม หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง

สาเหตุของโรคเบาหวาน

สาเหตุของโรคเบาหวาน  ที่ทราบกันคือกรรมพันธุ์ และปัจจัยอื่นๆ กรรมพันธุ์หมายถึง ถ้ามีพี่น้อง พ่อแม่ (ญาติสายตรง) เป็น ก็จะมีโอกาสหรือความเสี่ยง ในการเกิดโรคเบาหวาน ได้มากกว่าคนที่ไม่มีประวัติครอบครัว แต่ไม่ใช่เป็นหมดทุกคน 100 % และในทางกลับกัน คนที่ไม่มีพ่อแม่พี่น้องเป็น ก็อาจจะเป็นคนแรกเลยก็ได้ คือ ถือเป็นต้นตระกูลเบาหวานก็ได้ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ก็สำคัญ เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย  กินอาหารแป้ง, น้ำตาลมากเกินไป ส่วนสาเหตุหนึ่งที่พบคือ เบาหวานจากการตั้งครรภ์, เบาหวานจากยา เช่น ยาสเตียรอยด์  ที่ชอบใช้แบบผิดๆ รักษา โรคปวดข้อ, ปวดกระดูก, ตับอ่อนอักเสบ โดยเฉพาะที่ชอบดื่มเหล้ามากๆ จนเป็นตับอ่อนอักเสบ สุดท้ายก็เบาหวาน จากการขาดสารอาหาร (ทุพโภชนาการ)
การวินิจฉัย การดูแลรักษาด้วยยา การออกกำลังกาย และอื่นๆ ที่เป็นโรคแทรกซ้อน ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน  นอกจากจะจำเป็นต่อผู้ป่วยเองแล้ว ยังจำเป็นต่อคนรอบข้าง, เช่นคนในครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน (ในกรณีที่เด็กป่วย  ควรจะมีความรู้บ้าง) เพราะโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน อาจจะมีอาการเฉียบพลันซึ่งต้องการ  การรักษาอย่างเร่งดวน  มิฉะนั้น อาจจะมีอันตรายถึงชีวิต โรคแทรกซ้อนที่ว่า ยกตัวอย่างเช่น น้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำเกินไป การติดเชื้อรุนแรงเป็นต้น
เบาหวาน แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบพึ่งอินซูลิน คือต้องใช้อินซูลินในกาฉีดรักษา (ตั้งแต่แรก) ซึ่งมักจะพบในคนอายุน้อย ต่างกับประเภทที่ 2 ซึ่งมักพบในคนอายุมาก ประเภทนี้ใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลแบบกินเข้าปากได้ จนถึงปัจจุบันเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า การรักษาเบาหวานที่สมบูรณ์แบบที่สุด คือ การควบคุมน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ก่อนอื่น  เมื่อเราสงสัยว่าเป็นเบาหวาน คือ มีอาการที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ กินน้ำบ่อย (เพราะคอแห้ง) ปัสสาวะบ่อยและครั้งละมากๆ หิวบ่อย (ส่วนน้อยจะเบื่ออาหาร ยกเว้นตอนที่โทรมมากๆ แล้ว) ผอมลงเรื่อยๆ เพลีย โหย หรืออาการอื่นๆ เช่น ตามัน มึนตามปลายมือปลายขา, กล้ามเนื้ออ่อนแรง แผลหายช้า  ซึ่งถ้ามีอาการที่กล่าวหลังๆ นี้ มักจะเป็นเบาหวานมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อนแล้ว  บางคนจะเจอเบาหวาน เมื่อมารักษาโรคอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ. โรคอัมพาตจากสมองตีบ, เส้นเลือดที่ขาตีบ, ตามองไม่เห็น จากเบาหวานขึ้นตา หรือต้อกระจก, หรือติดเชื้อโรคบางอย่าง เช่น วัณโรค ปอด เป็นต้น และคนไข้บางส่วน มักเจอว่าตนเองเป็นเบาหวาน เมื่อเตรียมตัวผ่าตัด, ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัย
เมื่อไปพบแพทย์  แพทย์ก็จะซักประวัติ  ตรวจร่างกายอย่างละเอียด  แล้วก็จะขอเจาะเลือด  เป็นอย่างน้อย หรือตรวจเพิ่มอื่นๆ ก็แล้วแต่อาการจะพาไป  การตรวจของแพทย์เพื่อจะทราบว่า
 
1.
เป็นเบาหวานหรือไม่ รุนแรงขนาดไหน
 
2.
มีโรคแทรกซ้อนหรือโรคที่เกิดร่วมกันหรือไม่ เช่น ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, ไตวาย, ความเสื่อมของระบบประสาท, เส้นหัวใจ หรือเส้นเลือดขาตีบ, มีแผลที่เท้าหรือไม่, สมรรถภาพการมองเห็น เป็นต้น
การตรวจเลือด ส่วนใหญ่จะเจาะหลังอาหาร อย่างน้อย 6 ชม. ดังนั้น ถ้าท่านต้องการตรวจเลือดเบาหวาน, ไขมัน ดีที่สุดคือ ตอนเช้า อย่าเพิ่งทานข้าวเช้า ห้ามกินอาหารหลัง 6 ทุ่ม จิบน้ำบริสุทธิ์แก้คอแห้งได้บ้างเล็กน้อย ความจริงถ้าจะดูไขมันให้ละเอียด อด 12 ชม. ได้จะดีมาก คือกินอาหาสัก 5 – 6 โมงเย็น จากนั้นอด (ลูกเดียว) จนถึงเช้า
เมื่อแพทย์แจ้งท่านว่าเป็นเบาหวานแล้ว (บางครั้งถ้าไม่มีอาการอะไร แพทย์จะขอตรวจเลือดซ้ำ) อย่างแรกสุด แพทย์จะอธิบายให้ท่านทราบว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง เป็นแล้วไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมให้ใกล้เคียงกับปกติได้ ถ้าท่านปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำได้ดี ผลบุญก็จะเกิดแก่ท่าน ก็จะสามารถดำรงชีวิตได้ปกติสุข เฉกเช่นคนที่ไม่เป็นเบาหวานทั่วไป เมื่อได้ฟังดังนั้น ท่านควร (ต้อง) ยอมรับว่า อะไรมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด และเมื่อเกิดแล้วก็ต้องยอมรับ สามารถอยู่ร่วมกับ โรคเบาหวานอย่างมีความสุข

โรคเบาหวาน

ตามจริงโรคเบาหวาน เป็นโรคที่คุ้นหูกันพอควร โรคนี้พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเป็นเพราะผู้คนสนใจสุขภาพกันมากขึ้น  หมั่นตรวจสุขภาพ และเทคโนโลยีทางการตรวจเบาหวานดีขึ้นมาก แต่ถึงอย่างไร แม้เราจะมีแพทย์ผู้เชี่ยยวชาญมากมาย  หรือเทคโนโลยีทันสมัยปานใด ปัจจุบันเราก็ยังพบ โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อยอยู่ เช่น ไตวาย ตาบอด แผลติดเชื้อ  ทำให้ต้องตัดขาพิการไป ซึ้งยังไม่รวมอย่างอื่นๆ เช่น อัมพาต หัวใจตีบ
จะว่าไปแล้ว เบาหวานก็คล้ายๆ กับโรคอีกหลายโรค มักจะพูดถึงว่าเป็นเพื่อนกัน มักมาด้วยกัน คือ ความดันโลหิตสูง, ไขมันสูง, เก๊าท์  และถ้าเป็นพร้อมๆ กัน ทำให้การดำเนินโรค การรักษา มีภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น รุนแรงขึ้น โรคที่กล่าวมาส่วนใหญ่  ไม่มีอาการระยะเริ่มแรก เมื่อโรคเป็นมากแล้ว ถึงค่อยแสดงอาการ  บางครั้ง เมื่อเราไม่ค่อยสนใจสุขภาพเท่าที่ควร ก็จะทำให้วินิจฉัยและรักษาล่าช้า จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต จริงๆ แล้ว ก็ไม่อยากให้ตกใจ หรือตื่นกลัว, กังวลมากเกินไป เกี่ยวกับโรคที่เป็น เพราะเมื่อเป็นแล้วต้องทำใจ และยอมรับ เพราะของมันเป็นกันได้ (สังขารไม่เที่ยง) ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตัวดี เหมาะสม ก็จะมาสารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่นคนที่ไม่เป็นโรคทั่วไป
ปัจจุบัน วิถีชีวิตคน (ไทย) เปลี่ยนไปมาก ทั้งในด้านสังคม ซึ่งนับวันจะมีความเครียดสูง, ทำงานแข่งกับเวลา หรือแข่งกันทุกๆ อย่าง  ขาดกาออกกำลังกาย และพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม คือกินมากไปและไม่มีคุณภาพ ไม่รวมถึงสารพิษ ที่เต็มใจบริโภคกันเข้าไปอีก เช่น บุหรี่และแอลกอฮอล์ จึงก่อให้เกิดการเกินพอดี เนื่องจากกินมามากและสะสมานาน ขาดการออกกำลังกาย  

พออายุเลย 40 ปีไปแล้ว ชีวิตก็เหมือนดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงพอดี จากนั้นก็เริ่มบ่ายคล้อยลงเรื่อยๆ อาหาร  พลังงาน จะเริ่มต้องการน้อยลง ดังนั้น ถ้าเรากินเท่าเดิมก็ยังเกินเลยนะ  ดังนั้น ควรบริโภคให้น้อยลงบ้าง และเน้นคุณภาพ  เรื่องกินนี้เรื่องใหญ่ พอเกินจนล้น ก็เกิดโรคเบาหวาน ไขมันสูง เก๊าท์ น้ำหนักมากเกินไป กลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ ไขข้อ ตามมาอีกพรวน

โรคเบาหวาน ดังที่ทราบกัน เป็นโรคที่มีความผิดปกติ เกี่ยวกับขบวนการเคมีของร่างกาย (Metabolism) ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการขึ้น คือ น้ำตาลที่สูงมากกว่าปกตินั้น เมื่อกรองผ่านไปที่ไต ไตไม่สามารถดูดน้ำตาลกลับได้หมด  จึงทำให้ความเข้มข้นของน้ำตาล ในท่อไตมากกว่าปกติ ทำให้น้ำ (จากเลือด) ไหลย้อน จากเนื้อไตเข้าไปยังท่อไต ซึ่งมีความเข้มข้นสูง แล้วก็ปัสสาวะออกมา ทำให้ปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกมา มากกว่าปกติ  อาการเริ่มแรกที่เห็น  คือ ปัสสาวะบ่อยและมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน อาจจะมากกว่า 3 – 4 ครั้ง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค  พอปัสสาวะมาก ก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงทำให้คนที่เป็นเบาหวาน  ต้องกินน้ำมากๆ เพื่อแก้กระหาย และทดแทนน้ำที่เสียไป  และเนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาล จากการกินเข้าไปแล้ว เอาไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้น้ำหนัก ลดค่อนข้างรวดเร็ว และหิวบ่อย เพราะกินแล้ว มันรั่วหายหมดไปทางปัสสาวะ  ดังนั้น อาการเริ่มแรกทั้งหมดของเบาหวาน จึงเป็นปัสสาวะบ่อยมาก ดื่มน้ำมาก กินเก่ง หิวบ่อย น้ำหนักลด
ถ้าจะเอาให้ลึกลงไปเล็กน้อย เกี่ยวกับกลไกการเกิดน้ำตาลสูง ตามปกติน้ำตาล (แป้ง) เป็นแหล่งพลังงานของเราเป็นอันดับแรก ต่อไปก็ไขมัน, โปรตีน ตามลำดับ เมื่อเรากินแป้งเข้าไปโดยธรรมชาติ เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำตาล เผือก มัน  การที่จะเอาน้ำตาลไปเผาผลาญ ให้เกิดพลังงานต้องใช้อินซูลิน ที่สร้างโดยตับอ่อน ความผิดปกติที่พบมี 2 อย่าง คือ ขาดอินซูลิน เพราะตับอ่อนไม่สร้าง หรือว่ามีอินซูลินผิดปกติ แต่เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนอง คือ ดื้อ อินซูลินนั่นเอง  โรคเบาหวาน ที่พบในคนอายุน้อย (ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี) จะเป็นพวกขาดอินซูลิน ส่วนพวกที่พบในผู้ใหญ่ หรือคนสูงอายุ (โรคเฉพาะคนอ้วน) จะเป็นพวกดื้ออินซูลินนอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอาการอื่นๆ ที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง ตามัว คอแห้ง หรือแม้แต่สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
การที่คนโบราณเรียก โรคเบาหวาน คงจะมาจากสมมติฐานที่ว่า ปัสสาวะ ซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์ การลองชิมปัสสาวะ หรือสังเกตเห็นมาตอม  แต่อาการมดตอมปัสสาวะ ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะปัสสาวะมีสารประกอบอื่นๆ อีกที่มดชอบ  ดังนั้น คงต้องพิจารณาอาการอื่นๆ ด้วย

Business

Blog M