Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคภูมิแพ้ Allergy

โรคทางเดินหายใจเป็นโรคที่พบมากของประเทศไทย โดยเฉพาะประชาชนในเขตเมืองเนื่องจากมลภาวะและภูมิแพ้ บทความนี้จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิแพ้ในหลายแง่มุมที่คุณควรจะรู้

โรคภูมิแพ้คืออะไร
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ที่จะจดจำสิ่งแปลกปลอมที่จะทำร้ายร่างกายเรา เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรค โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิของร่างกายมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ allergen จากสิ่งแวดล้อมซึ่งปกติจะไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่แพ้ ปฏิกิริยานี้เริ่มเมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดการสร้างภูมิที่เรียกว่า IgE antibody ตัว antibody นี้จะกระตุ้น Mast cell ให้มีการหลั่งสาร Histamin ขึ้นที่เนื้อเยื่อต่าง เช่น ผิวหนัง ปอด จมูก ลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการแสดงจะเกิดตามอวัยวะต่างๆ เช่นลมพิษที่ผิวหนัง คัดจมูก แน่นหน้าอกเนื่องจากหอบหืด บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ Anaphylaxis shock

คนเราเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร
เนื่องจากเกิดโรคภูมิแพ้เป็นจำนวนมากจึงได้มีการวิจัยหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้

•กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่นพ่อแม่ พี่น้อง ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย เด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงหากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้เด็กจะเป็นภูมิแพ้ได้ร้อยละ 30 แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้เด็กจะมีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ 50-60
•สิ่งแวดล้อมของเด็กในขวบปีแรกสำคัญมาก การสัมผัสควันบุหรี่ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สะเก็ดรังแคสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรับประทานอาหารสำเร็จรูป เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้•การติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก การที่มีเชื้อ lactobacillus ในลำไส้หรือการอาศัยใกล้ฟาร์มสัตว์จะลดอุบัติการณ์ของภูมิแพ้การหลีกเลี่ยงหรือนำสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ออกจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะทำให้ลดอาการของโรคภูมิแพ้และลดปริมาณการใช้ยา

พบว่าปัจจัยที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง

•คนในเมืองอยู่บ้านมาก ติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
•เด็กกินนมแม่น้อยลง คนรับประธานอาหารจานด่วนมาก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก เช่น สี สารกันบูด
•คนนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านเพิ่ม
•การตกแต่งบ้าน ติดตั้งพรมและติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อไรฝุ่นเจริญได้ดี
•มลภาวะจากอุตสาหกรรม และการจราจร
•การสูบบุหรี่
สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในบ้าน
สารก่อโรคภูมิแพ้ในบ้านจะพบได้ตลอดปีและเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรค ภูมิแพ้คัดจมูก โรคหอบหืด ผื่นแพ้ eczema สารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญได้แก่

•ไรฝุ่นพบมากบนที่นอน โซฟา
•สะเก็ดรังแคสัตว์ น้ำลาย และเหงื่อของสัตว์เลี้ยง•ขนนก ของเสียแมลงสาบ ราวิธีป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน
•เปิดหน้าต่างให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ โดยเฉพาะห้องครัว ห้องน้ำโดยเปิดหน้าต่างอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมงเปิดวันละสองครั้งหากแพ้เกสรควรปิดหน้าต่างโดยเฉพาะช่วงที่มีเกสรดอกไม้มาก•ไม่ควรตากผ้าในห้องนอนและห้องนั่งแล่น•ถ้าห้องมีความชื้นมากให้เปิดให้อาการถ่ายเทให้มากการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
•ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน
•ไม่ควรตกแต่งห้องนอนด้วยพรม หรือมีตุกตา มั่นเช็ดฝุ่นบ่อยๆ
•ห้องนอนไม่ควรจะมีชั้น หรือหนังสือ
•เครื่องนอนควรจะซักและต้มสัปดาห์ละครั้ง
•งดบุหรี่ หรือทาสีในบ้าน
•หมั่นทำความสะอาด และดูดฝุ่นบ้านและม่านกันแดด
•กำจัดเศษอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ



Antihistamine
ยาแก้แพ้เป็นยาหลักสำหรับการรักษาโรคภูมิแพ้ ยาแก้แพ้ในระยเริ่มแรกจะมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงปราถนา เช่นอาการปากแห้ง ทำให้เกิดการง่วงซึมซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงาน การทำงานของยาแก้แพ้จะออกฤทธิ์ที่ H1-receptor คุณสมบัติของยาแก้แพ้มีดังนี้

•ลดอาการที่เกิดจากการหลั่ง histamine เช่น อาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล
•แต่ไม่ลดอาการของคัดจมูก
•สามารถลดอาการคันตา และคันหู
•ยาแก้แพ้ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์เร็ว
เนื่องจากผลข้างเคียงของยาแก้แพ้มีมากจึงได้มีการพัฒนายาแก้แพ้รุ่นใหม่ที่มีผลข้างเคียงต่ำ ขณะเดียวกันก็ยังคงมีประสิทธิภาพ ยารุ่นใหม่ต้องมีประสิทธิภาพในการรักษาดังนี้



1.เยื่อบุจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ทั้งชนิดเป็นทั้งปี Perrenial allergic rhinitis และเป็นเฉพาะฤดู seasonal allergic rhinitis
2.เยื่อบุตาอักเสบจากโรคภูมิแพ้
3.ลมพิษ ยาที่จัดว่าได้ผลดีสำหรับลมพิษคือ cetiricine,terfenadine ซึ่งออกฤทธิ์เร็วและลดอาการคันได้เป็นอย่างดี
4.ผิวหนังอักเสบแบบ Atopic dermatitis ยาที่ใช้ได้ผลดีคือ cetirizine,loratadine,ketotifen
5.โรคหืด asthma โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการภูมิแพ้มีอาการคัดจมูก และน้ำมูกไหล
ผลข้างเคียงของยา

1.อาจจะทำให้ง่วง ซึม และน้ำหนักตัวเพิ่ม แต่อาการน้อยกว่ายาแก้แพ้รุ่นแรกๆ
2.พิษต่อหัวใจ astemazole,terfenadine จะมีผลต่อการเต้นของหัวใจ แต่ยาตัวอื่นไม่มีผลต่อการเต้นของหัวใจ
ข้อระวังในการใช้ยา

1.ควรจะต้องระวังการใช้ยาอื่น เพราะอาจจะเกิดปฏิกิริยา ยาที่ต้องระวังได้แก่ erythromycin,ketoconazole,itraconazole
2.ไม่ควรใช้ยานี้ในคนตั้งครรภ์
3.ไม่ควรใช้ยานี้ในคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
4.ควรจะระมัดระวังในคนที่เป็นโรคไต และโรคตับ

"โรคไส้เลื่อน" เป็นได้ทั้งผู้ชาย-ผู้หญิง

หากเอ่ยนิยามของคำว่า "โรคไส้เลื่อน" หมายถึง การยื่นของอวัยวะภายในภายในช่องท้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลำไส้ ออกมานอกช่องของตัว ซึ่งช่องที่ออกไปนั้นอ่อนแอผิดปกติ ไส้เลื่อนที่พบได้มากที่สุดคือ ไส้เลื่อนขาหนีบ นอกจากนี้มี ไส้เลื่อนที่สะดือ ไส้เลื่อนแผลผ่าตัดด้วย

สาเหตุของโรคคือ เริ่มแรกอาจมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้ช่องทางปกติที่มีผนังที่แข็งแรงกันอยู่แล้วนั้น เริ่มอ่อนแอมากขึ้น จนเกิดช่องว่างขึ้น ทำให้ลำไส้หลุดออกไปนอกช่องได้ หรือในกรณีคนที่มีการเบ่ง หรือเพิ่มความดันในช่องท้องเรื้อรัง เช่น ยกของหนัก หรือต้องเบ่งท้องผูกเป็นประจำ หรือมีอาการไอเรื้อรัง หรือในผู้สูงอายุที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต ก็มีโอกาสที่จะเป็นไส้เลื่อนขาหนีบได้ สังเกตอาการได้จากการเริ่มปวดตุงๆ บริเวณขาหนีบ เริ่มมีก้อนเข้าๆ ออกที่ขาหนีบ และเลื่อนมาที่ลูกอัณฑะในผู้ชาย

ส่วนกรณีผู้หญิง ก้อนที่ว่านี้จะเลื่อนมาข้างๆ อวัยวะเพศ ควรให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยเมื่อพบก่อนจะได้รีบทำการรักษา ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดได้วิธีเดียว ไม่มียารับประทาน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อน เพราะเมื่อลำไส้ออกมานอกร่างกายแล้ว บริเวณช่องที่ลำไส้ออกมานั้นแคบ บางครั้งอาจเกิดการรัดของลำไส้ขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ลำไส้ขาดเลือด และเน่าในที่สุด

ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไส้เลื่อน 1 ข้าง จะมีโอกาสเป็นอีก 1 ข้างประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์มากกว่าคนปกติ เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังมาก นอกจากนี้ในภาวะอ้วนของคนที่อ้วนลงพุง จะทำให้เนื้อเยื่อ หรือเยื่อที่กันลำไส้อ่อนแอมากกว่าคนที่ไม่อ้วน โดยเฉพาะไส้เลื่อนที่สะดือมักพบในคนที่อ้วนลงพุงทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทั้งคนสูงอายุและอายุน้อย เนื่องจากว่าบริเวณสะดือเป็นจุดที่อ่อนแอจุดหนึ่ง ถ้ามีการยืดของผนังหน้าท้อง คือลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆ จุดที่อ่อนแอนี้ก็จะค่อยๆ ยืดๆ ทำให้ลำไส้โผล่ตามมา ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีรูสะดือเล็กประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลำไส้ที่ออกมาอาจมีลักษณะบิดขั้ว ทำให้ขาดเลือด จนต้องทำการผ่าตัดฉุกเฉิน

ปัจจุบันการผ่าตัดโรครักษาไส้เลื่อนมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดเปิด และการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งการผ่าตัดเปิด แพทย์จะเลือกกรณีที่ไส้เลื่อนลงขาหนีบที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ถ้ามีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยเฉพาะที่เป็น 2 ข้าง หรือกรณีที่ไส้เลื่อนกลับเป็นซ้ำ ซึ่ง 2 กรณีนี้เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญในการผ่าตัดส่องกล้อง มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บตัวน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน ก็สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ โดยทั่วไปการผ่าตัดทั้ง 2 วิธีนั้น แพทย์จะใช้ตาข่ายสังเคราะห์เพื่อช่วยให้แผลหายรวดเร็ว ไม่ตึง เจ็บน้อย แต่ตาข่ายพิเศษนี้ กว่าที่จะสมานกับร่างกายจนแข็งแรง ต้องใช้เวลา 3 เดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหลังผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ควรยกของหนักเลย ไม่ควรเพิ่มความดันในช่องท้อง ไม่เช่นนั้นอาจเกิดเป็นซ้ำ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรดีกว่าการป้องกัน และดูแลสุขภาพให้ดี พบแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปีก่อนที่โรคไส้เลื่อนจะถามหา

ไส้เลื่อน

ไส้เลื่อน หมายถึงภาวะที่มีลำไส้บางส่วนไหลเลื่อนออกมาตุงอยู่ที่ผนังหน้าท้อง ทำให้เห็นเป็นก้อนบวมตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของผนังหน้าท้อง

ไส้เลื่อน มีอยู่หลายชนิด ซึ่งจะมีอาการแสดงภาวะแทรกซ้อน และการรักษาแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น

ไส้เลื่อน ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นก้อนตุงตรงผนังหน้าท้องหรือขาหนีบ ซึ่งจะบวมๆ ยุบๆ (โผล่ๆ ผลุบๆ) มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่ถ้าปล่อยให้เกิดการติดคา ไม่ยุบก็อาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้

ชื่อภาษาไทย : ไส้เลื่อน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Hernia

สาเหตุของ ไส้เลื่อน

ไส้เลื่อน เกิดจากผนังหน้าท้องบางจุดมีความอ่อนแอ (หย่อน) ผิดปกติ ส่วนมากเป็นความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด ทำให้ลำไส้ที่อยู่ข้างใต้ไหลเลื่อนทะลักเข้าไปในบริเวณนั้น เห็นเป็นก้อนตุง ส่วนน้อยที่เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง (เช่น แผลผ่าตัดที่หน้าท้อง)

ไส้เลื่อนมี อยู่หลายชนิด ที่พบบ่อยได้แก่

ไส้เลื่อน ที่สะดือ (inguinal hernia) ผู้ป่วยจะมีหน้าท้องที่บริเวณขาหนีบอ่อนแอผิดปกติมาแต่กำเนิด แต่จะปรากฏอาการไส้เลื่อนเมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หรือวัยกลางคน หรือเมื่อเป็นโรคไอเรื้อรัง เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมปอดโป่งพอง ไส้เลื่อน ชนิดนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้

ไส้เลื่อน ที่เกิดหลังผ่าตัด (incisional hernia) เป็น ไส้เลื่อน ที่เกิดหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้อง เมื่อแผลหายแล้ว ผนังหน้าท้องในบริเวณผ่าตัด เกิดหย่อนกว่าปกติ ทำให้ลำไส้ไหลทะลักเป็นก้อนโป่งที่บริเวณนั้น

อาการของ ไส้เลื่อน

สะดือจุ่น ทารกจะมีอาการสะดือจุ่น หรือสะดือโป่งเวลาร้องไห้ ซึ่งจะเป็นมาแต่แรกเกิด โดยไม่มีความผิดปกติอื่นๆ

ไส้เลื่อน ที่ขาหนีบ ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นมีก้อนตุงที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ ซึ่งจะเห็นชัดขณะลุกขึ้นยืน หรือเวลายกของหนัก ไอ จาม หรือเบ่งถ่าย เวลานอนหงายก้อนจะยุบหายไป เมื่อคลำดูจะพบว่าก้อนมีลักษณะนุ่มๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

อาการมีก้อนตุงโผล่ๆ ผลุบๆ แบบนี้มักจะเป็นอยู่นานเป็นแรมปี สิบๆ ปีหรือตลอดชีวิต แต่ถ้ามีภาวะ ไส้เลื่อน ติดคาอยู่ที่ผนังหน้าท้อง ก็จะกลายเป็นก้อนตุงไม่ยุบหาย และจะมีอาการเจ็บปวดที่ท้อง ปวดท้องอาเจียนตามมา ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อน

ไส้เลื่อน ที่เกิดหลังผ่าตัด ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยไม่มีก้อนตุงที่หน้าท้อง แต่หลังผ่าตัด (อาจนานเป็นแรมเดือน หรือแรมปี ต่อมาก็พบว่าบริเวณใกล้ๆ รอบแผลผ่าตัด จะมีก้อนตุงขนาดใหญ่ ไม่มีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะจะเห็นชัดในท่ายืนหรือนั่ง แต่เวลานอนก้อนจะเล็กลงหรือยุบลง อาการจะเป็นเรื้อรังจนกว่าจะได้รับการผ่าตัดแก้ไข

การแยกโรค ไส้เลื่อน

ก้อนที่บริเวณหน้าท้อง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น

ก้อนฝี ซึ่งจะมีอาการปวดบวมแดงร้อน แตะถูกเจ็บ และไม่ยุบหายเวลานอนหงาย

ก้อนเนื้องอก มักจะเป็นก้อนแข็ง ไม่ยุบ แตะถูกไม่เจ็บ

ส่วนก้อนที่ขาหนีบหรือถุงอัณฑะ นอกจากก้อนฝีและก้อนเนื้องอกแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น

โรคฝีมะม่วง ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะบวมแดงร้อน

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ถ้าเป็นเฉียบพลันจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ปวด แดงร้อน ถ้าเป็นเรื้อรังมักจะเป็นก้อนแข็ง ไม่เจ็บ ไม่ยุบ

ถุงน้ำทุ่งอัณฑะหรือกล่อนน้ำ (hydrocele) มีลักษณะเป็นก้อนนุ่ม คล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ไม่เจ็บ ไม่ยุบเวลาใช้ไฟฉายส่องจะเห็นโปร่งใส มักพบในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด ส่วนน้อยอาจพบตอนโตแล้ว (ภายหลังได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบที่ถุงอัณฑะ)

อัณฑะบิดตัว (testicular torsion) เกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของสายรั้งอัณฑะ (spermatic cord) และเนื้อเยื่อที่ปกคลุมอัณฑะ ทำให้ถุงอัณฑะหลวมกว่าปกติ อัณฑะสามารถบิดหมุนรอบตัวเมื่ออายุมากขึ้นได้ มีอาการปวดอัณฑะรุนแรง ตรวจพบเป็นก้อนบวม แตะถูกเจ็บ ไม่ยุบ

การวินิจฉัยโรค ไส้เลื่อน

แพทย์จะวินิจฉัยโรค ไส้เลื่อน จากอาการแสดงและสิ่งตรวจพบ ได้แก่ อาการมีก้อนตุงโผล่ๆ ผลุบๆ ก้อนมีลักษณะนุ่มๆ หยุ่นๆ ไม่เจ็บ

ในรายที่ไม่แน่ใจว่าเป็น ไส้เลื่อน แพทย์อาจส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เป็นต้น

การดูแลตนเอง

ถ้าพบว่ามีก้อนตุงที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของผนังหน้าท้อง รวมทั้งบริเวณขาหนีบและอัณฑะ ก็ควรจะไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

แต่ถ้าก้อนนั้นมีลักษณะแข็ง โตขึ้น แดงร้อนหรือเจ็บปวด หรือมีอาการปวดท้อง หรืออาเจียนร่วมด้วย ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

ในกรณีที่เป็น ไส้เลื่อน แพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นไส้เลื่อนขนาดใหญ่ หรือขึ้นตรงบริเวณขาหนีบถุงอัณฑะ หลังจากแผลผ่าตัดหายดีแล้ว ก็สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เช่นคนปกติทั่วไป

10 คำถามเกี่ยวกับปัญหาการนอนกรน

1.การนอนกรนเกิดจากอะไร การนอนกรนเกิดจากการที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้อากาศที่เราหายใจขณะหลับ ผ่านลงไปสู่ปอดไม่สะดวก เกิดการสั่นของเพดานอ่อน และลิ้นไก่ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรน
2.การอนอนกรนมีผลเสียอย่างไรต่อสุขภาพ นอกจากเสียงกรนที่ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่า สามารถสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้าง หรือคนที่นอนในบริเวณเดียวกัน ในบางรายถึงกับทำให้มีปัญหาด้านครอบครัวเกิดขึ้น การอุดกั้นทางเดินหายใจในผู้ที่นอนกรน อาจมากถึงระดับที่ทำให้หยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้ ถ้าเกิดขึ้นบ่อย และถี่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพดังต่อไปนี้
◦ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ไม่แจ่มใส แม้ว่าจะนอนจำนวนชั่วโมงเพียงพอแล้ว
◦มีอาการปวดหัว หรือเวียนหัวในตอนเช้าหลังตื่นนอน
◦อาการง่วงหงาวหาวนอนมากกว่าปกติในช่วงตอนกลางวัน
◦มีอาการหลับใน ขณะนั่งทำงานหรือขับรถ
◦ความจำหรือสติปัญญาแย่ลงกว่าวัยอันสมควร
◦อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย โกรธง่าย
◦เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
◦ในเด็กอาจมีปัญหาเรื่องการเรียนที่แย่ลง หรือปัสสาวะรดที่นอนในเด็กโต เป็นต้น
3.พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราก็นอนกรมกันมานาน ทำไมไม่เห็นเป็นโรคอะไรกันมากมาย คนส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการนอนกรน และทำให้เกิดปัญหาเรื่องเสียงรบกวนแต่เพียงอย่างเดียว เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย คนกลุ่มหลังนี้เท่านั้นที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพตามมา
4.จะทราบได้อย่างไรว่าอาการนอนกรนที่เป็นอยู่เป็นแบบกรนอย่างเดียว หรือมีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เราสามารถทราบจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งทำ การทดสอบขณะนอนหลับ ก็จะสามารถบอกได้ว่าการนอนกรนของท่านเป็นแบบใด
5.การทดสอบขณะนอนหลับ คืออะไร เป็นการทดสอบโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการวินิจฉัยว่าท่านมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ ถ้ามี มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยเป็นเครื่องมือวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการไหลของอากาศทางจมูก เสียงกรน ขณะทำการทดสอบ ท่านเพียงแต่เข้านอนตามปกติ และติดอุปกรณ์เหล่านี้ โดยไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ
6.ถ้าผลการทดสอบมีเพียงอาการนอนกรนอย่างเดียว จะมีวิธีรักษาอย่างไร ผู้ที่มีอาการอาจจะเลือกรักษา หรือไม่รักษาก็ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีปัญหากับคู่นอนหรือการเข้าสัมคมมากน้อยเพียงใด วิธีการรักษาเริ่มตั้งแต่วิธีง่าย ๆ ที่ท่านสามารทำได้ด้วยตัวเอง เช่น
◦นอนตะแคง
◦หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน
◦ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
◦รักษาโรคอื่น ๆ ที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้
7.ถ้าใช้วิธีดังกล่าวแล้ว อาการนอนกรนยังไม่ดีขึ้นจะทำอย่างไร วิธีการรักษาในขั้นต่อไป คือ การใช้เครื่องเพิ่มความดันในทางเดินหายใจ (CPAP) โดยจะเพิ่มความดันในทางเดินหายใจของท่าน และทำให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่ตลอดเวลา หรืออาจใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งสามารถใช้การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อน การผ่าตัดด้วยลำแสงเลเซอร์ การผ่าตัดด้วยคลื่นวิทยุเพื่อทำให้อาการนอนกรนดีขึ้น
8.ถ้ามีอาการนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย จะมีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้ สามควรอย่างยิ่งที่จะทำการรักษา เนื่องจากการปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา วิธีการรักษาจะคล้ายคลึงกับอาการนอนอกรนธรรมดา แตกต่างกันที่ควรจะให้การรักษาหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการใช้เครื่อง CPAP หรือการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมไปด้วยการรักษาด้วยการผ่าตัดอาจต้องทำมากกว่าการรักษาอาการนอนกรนธรรมดา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจที่มีอยู่
9.การรักษาด้วยการผ่าตัดได้ผลเป็นอย่างไร มีอันตรายหรือไม่ โดยทั่วไปการผ่าตัดจะได้ผลในระดับค่อนข้างดี (ประมาณ 75-80%) อัตราเสี่ยงสำหรับการผ่าตัดรักษาอาการนอนกรนไม่แตกต่างจากการผ่าตัดอื่น ๆ
10.เมื่อมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลจะได้รับการตรวจรักษาอย่างไร แพทย์จะทำการซักประวัติตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก โดยละเอียด รวมทั้งให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินอาการนอนกรน เพื่อใช้ในการติดตามผลการรักษา แพทย์จะทำการตรวจหาตำแหน่งการอุดกั้นของทางเดินหายใจด้วยการส่องกล้างตรวจรวมทั้งส่งการตรวจเอกซเรย์ด้านข้างของกระโหลกศีรษะ เพื่อประเมินช่องทางเดินหายใจของผู้ป่วย ถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (รพ. กรุงเทพมีบริการทำการทดสอบนี้ให้ถึงบ้านในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) เมื่อได้ผลแล้วจะให้คำแนะนำวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเลือกใช้การรักษาด้วยเครื่อง CPAP จะมีบริการให้ผู้ป่วยได้ทดลองใช้เครื่อง 1 อาทิตย์ฟรี และให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษาอีกครั้ง ถ้าเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลฯ สามารถบอกค่าใช้จ่ายที่แน่นอนในการรักษาด้วยโปรแกรมการผ่าตัดแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการนอนกรนที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ด้วย

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่หน้าต่อหลอดคอใต้ลูกกระเดือก มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคล้ายปีกผีเสื้ออยู่สองข้างทั้งซ้ายและขวา เชื่อมต่อด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสท์มัส (Isthmus) ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ตัวเรียกง่ายๆว่า T4 และ T3 ซึ่งมีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การเผาผลาญอาหารในร่างกาย, การควบคุมอุณหภูมิ, การใช้ออกซิเจน, การทำงานของระบบประสาท, การสังเคราะห์โปรทีน, การเจริญเติบโต, เป็นต้น

โรคต่อมไทรอยด์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย ในรายที่รุนแรงมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นโรคของต่อมไทรอยด์

1.มีก้อนที่คอ หรือคอโต หรือที่เรียกว่าคอพอก อาจจะโตทั่วๆทั้งต่อม หรือโตเป็นก้อนเดียวโดดๆ หรือโตเป็นก้อนหลายก้อน โตได้ทั้งซ้ายหรือขวา อาจไม่มีอาการอะไร มีแต่คอโตอย่างเดียว หรืออาจเจ็บที่ก้อนก็ได้

2.อาการผิดปกติจากหน้าที่ของต่อมผิดปกติ

◦สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ที่เรียกว่า ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีอาการหลายอย่าง เข่น ใจสั่น มือสั่น ตื่นเต้นตกใจง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย หุนหันพลันแล่น เปลี่ยนความสนใจเร็ว หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักลดลง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ อุจจาระบ่อยขึ้นแต่ไม่เป็นแบบท้องเสีย ประจำเดือนน้อยลงหรือขาดหายไป บางรายตาโปนขึ้น เป็นต้น
◦ฮอร์โมนต่ำเกินไป มีอาการตรงกันข้ามกับต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เช่น เฉื่อยชา เบื่อ ขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร ความสนใจลดลง ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ผมร่วง น้ำหนักขึ้น อ้วนแบบบวมฉุๆ เหนื่อยง่าย ทำอะไรไม่ค่อยไหว ท้องผูก บางรายประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นต้น

อันตรายของโรคต่อมไทรอยด์คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว, วิกฤตต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นภาวะเป็นพิษอย่างรุนแรง และภาวะโคม่าจากต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคต่อมไทรอยด์ ลองสังเกตดูว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ หรือมีก้อนที่คอหรือไม่ ท่านไม่จำเป็นต้องรอให้มีครบทุกอย่าง อาจมีอาการเด่นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือน้ำหนักลดลงผิดปกติ ถ้าสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ รีบมาตรวจ และเช็คเลือดหรือทำอุลตร้าซาวนด์ดูว่า ท่านมีความผิดปกติจริงหรือไม่

ไทรอยด์

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่าง เหมือนเกือกม้า ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีหน้าที่
สร้าง และหลั่ง ไทรอยด์ฮอร์โมน ออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ ต่อมไทรอยด์ สร้างเองโดยอาศัย ไอโอดีน จากอาหาร ที่กินเข้าไป เป็นวัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์
กระตุ้น ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็น ปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจ กับประสาท

ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด เป็นต่อมไร้ท่อที่เป็นโรคต่างๆบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับ ต่อมไร้ท่ออื่นๆ มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์
มากกว่าบุรุษ หลายเท่า ตัว โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยคือ โรคที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไปเรียกว่า โรคคอพอก ซึ่งจำแนกออก ได้เป็น คอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจาดนั้น ยัง
มีมะเร็ง ของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีส ของต่อม ไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น

สาเหตุสำคัญมากของคอพอกชนิดไม่เป็นพิษ คือขาดไอโอดีน ซึ่งพบมากในหมู่บ้านยากจน แถบภาคเหนือ ภาคอิสาน ที่อยู่ใกล้ภูเขาที่เป็นที่ราบสูง สาเหตุที่ขาดไอโอดีน ซึ่งมีมากในอาการทะเล
และผักผลไม้ต่างๆ ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกล ไม่มีอาหารทะเลกิน เกลือที่ใช้ ก็เป็นเกลือสินเธาว์ไม่มีไอโอดีน ดินที่เพาะปลูก ก็เป็นดินที่ขาดไอโอดีน พืชผักที่ปลูกไว้กิน จึงขาดไอโอดีนด้วย

โรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก บริเวณที่เป็นที่ราบสูง หรือบริเวณเทือกเขา เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่ต้องแก้ไขด่วน เพราะเด็กที่เกิดมา ในหมู่บ้านเหล่านี้จะกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน หูหนวกเป็น
ใบ้ ตัวเตี้ย แคระ ต่อไปได้ มีการสำรวจหมู่บ้านทางภาคเหนือแห่งหนึ่ง ซึ่งมีชาวบ้าน 800 คน พบว่ามีคอพอก ร้อยละ 84 มีเด็กปัญญาเสื่อม เฉื่อยชา ตัวเตี้ย แคระ หูหนวก เป็นใบ้ร้อยละ12เพราะขาด
ไอโอดีน ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ หรือมาขาดเอาตอนเด็กๆ คณะสำรวจลองให้เกลืออนามัยซึ่งมีไอโอดีนอยู่ ปรากฏว่า คอพอก ในเด็ก นักเรียน ลดลงครึ่งหนึ่งภายในเวลา 3 ปี เท่านั้น และอีก 3 ปีต่อมา
เด็กนักเรียนในหมู่บ้าน ที่กินเกลืออนามัย ไม่เป็น คอพอกอีกเลย

ส่วนเด็กที่เป็นแล้ว ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะสายเกินแก้ วิธีป้องกันก็คือ กินเกลือไอโอดีน หรือเกลืออนามัย กินอาหารทะเล เกลือทะเล ถ้าซื้อมาเก็บนานเกินไป ไอโอดีน จะระเหิดหายไปหมด
ส่วนเกลือสินเธาว์ ไม่มีไอโอดีน

ในผู้ใหญ่จะพบโรคคอพอกชนิดไม่เป็นพิษได้ที่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้นชัดเจน และชนิดที่ ต่อมไทรอยด์ ไม่โตขึ้นกว่าปกติ ทั้ง 2 ประเภท จะมีอาการแสดงออก ถึงการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ได้แก่การเป็นคนชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบ และร่วงง่าย ท้องผูก อ้วนขึ้น


ส่วนในเด็กนั้น อาจเกิดจากความผิดปกติ ของต่อมไทรอยด์มาแต่กำเนิด จึงสร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ไม่พอใช้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ( 3 เดือนแรกเกิด ) หรือทิ้งไว้นาน เด็กโตขึ้น
ตัวจะเตี้ยแคระ พุงป่อง สมองทึบ ปัญญาอ่อน แก้ไขไม่ได้ ปัญหาคือ เมื่อเด็กขาดฮอร์โมนระยะแรก อาการผิดปกติยังไม่มาก บิดา มารดาเด็ก อาจจะไม่ทราบ จึงละเลย อาการที่น่าสงสัยว่าเด็กขาด
ฮอร์โมน ได้แก่ เฉื่อยชา เลี้ยงง่าย ไม่กวน เคลื่อนไกวช้า ดูดนมน้อย ท้องอืด ท้องผูกเสมอ พุงป่อง สะดือจุ่น กระหม่อมหลังเปิดกว้าง ตัวเหลืองนานผิดปกติ ลิ้นโตคับปาก เมื่อโตขึ้น เริมมีผม-คิ้วบาง
ใบหน้าหยาบ หนังตาบวม ผิวหนังหนาซีดหยาบแห้ง เด็กหญิงเติบโตช้า แขนขาสั้น รูปร่างอ้วนเตี้ย ปัญญาอ่อน

โรคคอพอกชนิดเป็นพิษ

เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ สร้างและหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ ปัจจัย ที่เข้ามา เกี่ยวข้องคือ พันธุกรรม บางครอบครัว เป็นโรคนี้ สืบทอดต่อกันมา หลายชั่วคน พบมากในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย
7-8 เท่า สันนิษฐานว่า ร่างกาย สร้างสารผิดปกติบางอย่าง ไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ ทำงานมากขึ้นกว่าปกติ โดยที่ยังไม่สามารถ หาสาเหตุที่แท้จริง ถ้าแพทย์ใช้หูฟัง จะได้ยินเสียง ฟู่ๆ
เพราะมีเลือดไปหล่อเลี้ยงจำนวนมาก อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ก็เพราะฮอร์โมน จากต่อมไทรอยด์ ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น

หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานิดมามากเกินพอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้
มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อ
ออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย

ประสาทถูกกระตุ้น ทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อ คือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือน บางทีมาน้อย หรือ
ห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ

การรักษา
กินยาที่มีฤทธิ์ ไประงับการสร้างฮอร์โมน การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกินสารไอโอดีน ชนิดปล่อย กัมมันตภาพรังสีออกมา เพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่า การดื่มน้ำแร่ นั่นเอง แพทย์ผู้ดูแลผู้
ป่วย จะเป็นผู้พิจารณา เลือกใช้วิธีการรักษา ที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้

ส่วนโรคอื่นๆของต่อมไทรอยด์ ก็ได้แก่ ต่อมไทรอยด์อักเสบ มีอาการคล้ายต่อมทอนซิลอักเสบ เจ็บที่คอพอก อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส รับประทานยาแก้ปวดแก้
ไข้แล้วนอนพัก อาการก็จะดีขึ้น

มะเร็งของต่อมไทรอยด์

ส่วนใหญ่พบว่า เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์มากกว่าเพศหญิง และพบได้ใน 2 ช่วงอายุ คือช่วงที่อายุน้อยกว่า 20 ปี กับช่วงที่มีอายุ เลย 60 ปี


การตรวจร่างกกายที่สนับสนุนว่าเป็นมะเร็งคือ ก้อนในต่อมไทรอยด์ แข็งมาก โตเร็ว มีการกด หรือทำลายอวัยวะข้างเคียง ทำให้เสียงแหบ กดหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก กดหลอดอาหาร ทำให้กลืน
ลำบาก นอกจากนั้น การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ทางห้องปฎิบัติการ และการตรวจพิเศษ เช่น ไทรอยด์สแกนอัลตราซาวด์ การตรวจชิ้นเนื้อเป็นต้น

การวินิจฉัยโรคของต่อมไทรอยด์

มีหลายวิธี เช่น การตรวจทางห้องปฎิบัติการทั่วไป การเจาะเลือด ดูการทำงาน ของต่อมไทรอยด์ จากการหา ระดับไทรอยด์ฮอร์โมน การทำอัลตราซาวด์ไทรอยด์สแกน เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจชิ้นเนื้อ
การ ตรวจทางอิมมูน เป็นต้น


สรุปได้ว่า โรคของต่อมไทรอยด์มีมากมายหลายชนิด มีทั้งที่ทราบสาเหตุ และไม่ทราบสาเหตุ การรักษา จึงมีหลากหลายวิธีเช่นเดียวกัน ทั้งกินยา ทั้งผ่าตัด ดื่มน้ำแร่ การรักษาแต่ละวิธี มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
แพทย์ผู้รักษา จะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไป

Business

Blog M