ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่าง เหมือนเกือกม้า ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีหน้าที่
สร้าง และหลั่ง ไทรอยด์ฮอร์โมน ออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ ต่อมไทรอยด์ สร้างเองโดยอาศัย ไอโอดีน จากอาหาร ที่กินเข้าไป เป็นวัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์
กระตุ้น ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็น ปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจ กับประสาท
ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด เป็นต่อมไร้ท่อที่เป็นโรคต่างๆบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับ ต่อมไร้ท่ออื่นๆ มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์
มากกว่าบุรุษ หลายเท่า ตัว โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยคือ โรคที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไปเรียกว่า โรคคอพอก ซึ่งจำแนกออก ได้เป็น คอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจาดนั้น ยัง
มีมะเร็ง ของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีส ของต่อม ไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น
สาเหตุสำคัญมากของคอพอกชนิดไม่เป็นพิษ คือขาดไอโอดีน ซึ่งพบมากในหมู่บ้านยากจน แถบภาคเหนือ ภาคอิสาน ที่อยู่ใกล้ภูเขาที่เป็นที่ราบสูง สาเหตุที่ขาดไอโอดีน ซึ่งมีมากในอาการทะเล
และผักผลไม้ต่างๆ ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกล ไม่มีอาหารทะเลกิน เกลือที่ใช้ ก็เป็นเกลือสินเธาว์ไม่มีไอโอดีน ดินที่เพาะปลูก ก็เป็นดินที่ขาดไอโอดีน พืชผักที่ปลูกไว้กิน จึงขาดไอโอดีนด้วย
โรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก บริเวณที่เป็นที่ราบสูง หรือบริเวณเทือกเขา เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่ต้องแก้ไขด่วน เพราะเด็กที่เกิดมา ในหมู่บ้านเหล่านี้จะกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน หูหนวกเป็น
ใบ้ ตัวเตี้ย แคระ ต่อไปได้ มีการสำรวจหมู่บ้านทางภาคเหนือแห่งหนึ่ง ซึ่งมีชาวบ้าน 800 คน พบว่ามีคอพอก ร้อยละ 84 มีเด็กปัญญาเสื่อม เฉื่อยชา ตัวเตี้ย แคระ หูหนวก เป็นใบ้ร้อยละ12เพราะขาด
ไอโอดีน ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ หรือมาขาดเอาตอนเด็กๆ คณะสำรวจลองให้เกลืออนามัยซึ่งมีไอโอดีนอยู่ ปรากฏว่า คอพอก ในเด็ก นักเรียน ลดลงครึ่งหนึ่งภายในเวลา 3 ปี เท่านั้น และอีก 3 ปีต่อมา
เด็กนักเรียนในหมู่บ้าน ที่กินเกลืออนามัย ไม่เป็น คอพอกอีกเลย
ส่วนเด็กที่เป็นแล้ว ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะสายเกินแก้ วิธีป้องกันก็คือ กินเกลือไอโอดีน หรือเกลืออนามัย กินอาหารทะเล เกลือทะเล ถ้าซื้อมาเก็บนานเกินไป ไอโอดีน จะระเหิดหายไปหมด
ส่วนเกลือสินเธาว์ ไม่มีไอโอดีน
ในผู้ใหญ่จะพบโรคคอพอกชนิดไม่เป็นพิษได้ที่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้นชัดเจน และชนิดที่ ต่อมไทรอยด์ ไม่โตขึ้นกว่าปกติ ทั้ง 2 ประเภท จะมีอาการแสดงออก ถึงการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ได้แก่การเป็นคนชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบ และร่วงง่าย ท้องผูก อ้วนขึ้น
ส่วนในเด็กนั้น อาจเกิดจากความผิดปกติ ของต่อมไทรอยด์มาแต่กำเนิด จึงสร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ไม่พอใช้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ( 3 เดือนแรกเกิด ) หรือทิ้งไว้นาน เด็กโตขึ้น
ตัวจะเตี้ยแคระ พุงป่อง สมองทึบ ปัญญาอ่อน แก้ไขไม่ได้ ปัญหาคือ เมื่อเด็กขาดฮอร์โมนระยะแรก อาการผิดปกติยังไม่มาก บิดา มารดาเด็ก อาจจะไม่ทราบ จึงละเลย อาการที่น่าสงสัยว่าเด็กขาด
ฮอร์โมน ได้แก่ เฉื่อยชา เลี้ยงง่าย ไม่กวน เคลื่อนไกวช้า ดูดนมน้อย ท้องอืด ท้องผูกเสมอ พุงป่อง สะดือจุ่น กระหม่อมหลังเปิดกว้าง ตัวเหลืองนานผิดปกติ ลิ้นโตคับปาก เมื่อโตขึ้น เริมมีผม-คิ้วบาง
ใบหน้าหยาบ หนังตาบวม ผิวหนังหนาซีดหยาบแห้ง เด็กหญิงเติบโตช้า แขนขาสั้น รูปร่างอ้วนเตี้ย ปัญญาอ่อน
โรคคอพอกชนิดเป็นพิษ
เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ สร้างและหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ ปัจจัย ที่เข้ามา เกี่ยวข้องคือ พันธุกรรม บางครอบครัว เป็นโรคนี้ สืบทอดต่อกันมา หลายชั่วคน พบมากในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย
7-8 เท่า สันนิษฐานว่า ร่างกาย สร้างสารผิดปกติบางอย่าง ไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ ทำงานมากขึ้นกว่าปกติ โดยที่ยังไม่สามารถ หาสาเหตุที่แท้จริง ถ้าแพทย์ใช้หูฟัง จะได้ยินเสียง ฟู่ๆ
เพราะมีเลือดไปหล่อเลี้ยงจำนวนมาก อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ก็เพราะฮอร์โมน จากต่อมไทรอยด์ ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น
หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานิดมามากเกินพอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้
มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อ
ออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย
ประสาทถูกกระตุ้น ทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อ คือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือน บางทีมาน้อย หรือ
ห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ
การรักษา
กินยาที่มีฤทธิ์ ไประงับการสร้างฮอร์โมน การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกินสารไอโอดีน ชนิดปล่อย กัมมันตภาพรังสีออกมา เพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่า การดื่มน้ำแร่ นั่นเอง แพทย์ผู้ดูแลผู้
ป่วย จะเป็นผู้พิจารณา เลือกใช้วิธีการรักษา ที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้
ส่วนโรคอื่นๆของต่อมไทรอยด์ ก็ได้แก่ ต่อมไทรอยด์อักเสบ มีอาการคล้ายต่อมทอนซิลอักเสบ เจ็บที่คอพอก อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส รับประทานยาแก้ปวดแก้
ไข้แล้วนอนพัก อาการก็จะดีขึ้น
มะเร็งของต่อมไทรอยด์
ส่วนใหญ่พบว่า เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์มากกว่าเพศหญิง และพบได้ใน 2 ช่วงอายุ คือช่วงที่อายุน้อยกว่า 20 ปี กับช่วงที่มีอายุ เลย 60 ปี
การตรวจร่างกกายที่สนับสนุนว่าเป็นมะเร็งคือ ก้อนในต่อมไทรอยด์ แข็งมาก โตเร็ว มีการกด หรือทำลายอวัยวะข้างเคียง ทำให้เสียงแหบ กดหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก กดหลอดอาหาร ทำให้กลืน
ลำบาก นอกจากนั้น การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ทางห้องปฎิบัติการ และการตรวจพิเศษ เช่น ไทรอยด์สแกนอัลตราซาวด์ การตรวจชิ้นเนื้อเป็นต้น
การวินิจฉัยโรคของต่อมไทรอยด์
มีหลายวิธี เช่น การตรวจทางห้องปฎิบัติการทั่วไป การเจาะเลือด ดูการทำงาน ของต่อมไทรอยด์ จากการหา ระดับไทรอยด์ฮอร์โมน การทำอัลตราซาวด์ไทรอยด์สแกน เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจชิ้นเนื้อ
การ ตรวจทางอิมมูน เป็นต้น
สรุปได้ว่า โรคของต่อมไทรอยด์มีมากมายหลายชนิด มีทั้งที่ทราบสาเหตุ และไม่ทราบสาเหตุ การรักษา จึงมีหลากหลายวิธีเช่นเดียวกัน ทั้งกินยา ทั้งผ่าตัด ดื่มน้ำแร่ การรักษาแต่ละวิธี มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
แพทย์ผู้รักษา จะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไป
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น