1. ความหมายของโรคข้อเสื่อม
ข้อเสื่อม หรือ ข้อกระดูกเสื่อม มีชื่อทางการแพทย์ว่า Osteoarthritis (OA) เป็นอาการ
ปวดข้อ โดยมีสาเหตุจากข้อเสื่อมตามอายุ และการใช้งาน เช่น ข้อรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อน และมีกระดูกงอก (หินปูนเกาะ) ขุรขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อแล้วจะทำให้เกิดอาการปวดขัดในข้อ นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ อายุมาก ความอ้วน (มีน้ำหนักมาก) อาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก (เช่น อาชีพที่ต้องยืนนานๆ)
เนื่องจากโรคข้อเสื่อมมีพบมากในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคปวดข้อในคนสูงอายุ
2. โรคข้อเสื่อมมักเป็นบริเวณไหนบ้าง และพบบ่อยที่ตำแหน่งไหน
ข้อเสื่อมที่เป็นได้บ่อย มักจะเป็นข้อที่รับน้ำหนักมากได้แก่ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูก
สันหลัง ข้อกระดูกคอ เป็นต้น นอกจากนี้บางรายอาจเป็นตามข้อนิ้วมือ
3. อาการของโรคข้อเสื่อม เป็นอย่างไร
การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมนั้น เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าโรคข้อนั้นมีอยู่หลายชนิดที่มีลักษณะ
ของอาการปวดข้อเหมือนกัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบจากเชื้อวัณโรค โรคเกาต์
สำหรับโรคข้อเสื่อมนั้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดขัดในข้อ ข้อฝืด มีอาการปวดหรือเจ็บข้อ
มากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน อาการจะเป็นเรื้อรังเป็นแรมเดือน แรมปี บางครั้งอาจจะมีเสียงดังกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว ผู้ป่วยที่ปวดที่ข้อเข่า มักจะปวดมากเวลาเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่ายืน หรืออยู่ในท่างอเข่า เช่น เวลานั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธินานๆ เดินขึ้นลงบันใด หรือยกของหนัก
ขัดที่ปวดมักจะไม่มีอาการบวมแดงร้อน แต่ถ้าเป็นมากอาจมีอาการบวม และมีน้ำขังอยู่
ในข้อนอกจากการซักประวัติตรวจร่างกายแล้ว ยังอาจจะต้อง X-ray ที่ข้อกระดูก อาจพบ
กระดูกงอก
4. ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม
- อายุ
- ความอ้วน
- เพศหญิง พบว่าเพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ขาดฮอร์โมน เอสโตเจน
- กีฬาเพื่อการแข่งขัน ถ้ากีฬาเพื่อความเพลิดเพลินไม่เพิ่มความเสื่อม
5. เป้าหมายของการรักษาโรคข้อเสื่อม
- ควบคุมอาการเจ็บปวด
- ลดหรือป้องกันการอักเสบ
- เพื่อการเคลื่อนไหวข้อ
6. วิธีการรักษาโรคข้อเสื่อม มีอย่างไรบ้าง
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- บริหารข้อและกล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงอิริยาบทที่ทำให้อาการปวดกำเริบ
- การลดน้ำหนัก
- ใช้ข้อให้ถูกวิธี
2. การใช้ยารักษา
3. การผ่าตัด
7. ยาที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อม มีอะไรบ้าง
1. ยาแก้ปวด เช่น Paracetamol , tramadol
2. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Diclofenae, Piroxicam, indomethacin เป็นต้น
3. ยาสเตียรอยด์ เช่น Prednisolone
4. กลุ่มยาที่ชะลอการดำเนินของโรค เช่น Glucosamin, Sodium hyaluronate
8. หลักการเลือกใช้ยารักษาโรคข้อเสื่อม
กลุ่มยาแก้ปวด และลดการอักเสบ
1. ถ้ามีอาการปวด ให้กินยา Paracetamol เป็นครั้งคราว ถ้าไม่หายอาจให้ยาแก้ปวดที่แรงขึ้นคือ tramadol และต้องพักข้อที่ปวด เช่น อย่าเดินมาก ยืนมาก หรือเดินขึ้นลงบันได และใช้น้ำร้อนประคบ
2. ถ้ามีอาการปวดมาก อาจใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง และต้องระมัดระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น เป็นมาก อาจฉีดสเตียรอยด์เข้าในข้อ
9. เนื่องจากยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย อยากทราบผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่
ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร อาจมีผลต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิด
แผลและมีเลือดออกได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้สูง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ มี
ประวัติเป็นโรคกระเพาะ ก็ควรจะใช้ยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงดังกล่าว เช่น ใช้ยาลดกรด
แนะนำให้กินยานี้หลังอาหารทันที
ผลข้างเคียงต่อไต อาจมีผลทำให้เลือดที่มาเลี้ยงที่ไตลดลง ค่า BUN, Serum
Creatinine สูงขึ้น อาจทำให้เกิดการดิ่งของน้ำและเกลือแร่ ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ
10. ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีอะไรบ้าง
- ผู้ป่วยที่สูงอายุ
- ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง
11. ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคข้อเสื่อม ที่พบมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยมักซื้อยามากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ป่วยที่สูงอายุและใช้ยานี้รับ
ประทานเป็นประจำแต่ไม่มีการตรวจดูการทำงานการไต เมื่อใช้ไปนานๆอาจมีผลต่อไตได้
ผู้ป่วยมักซื้อยาลูกกลอนมาทานเอง โดยคิดว่าเป็นยาสมุนไพรกินแล้วหายปวด ซึ่งโดย
ส่วนใหญ่แล้วยาลูกกลอนที่ใช้แก้ปวดข้อ มักจะใส่ยาสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาที่มีผลต่อร่างกาย
มาก ถ้ารับประทานประจำจะทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะ กดการทำงานของไขกระดูก
หน้าบวม
12. ข้อแนะนำการใช้ยาในการรักษาโรคข้อเสื่อม
ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร สำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุ
และใช้ยานี้รับประทานเป็นประจำ ควรจะต้องตรวจดูการทำงานการไต เพราะเมื่อใช้ไปนานๆอาจมีผลต่อไตได้