Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูงหมายถึงร่างกายเรามีไขมันในกระแสเลือดสูง ไขมันที่สูงอาจจะเป็น cholesterol หรือ Triglyceride ก็ได้ ไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต เนื่องจากไขมันสูงจะตกตะกอนที่ผิวของผนังหลอดเลือดที่เรียกว่าคราบไขมันหรือ Plaqueซึ่งจะทำให้หลอดเลือดตีบ หรือคราบอาจจะหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิิดโรค

ไขมันในเลือดมีหลายชนิดแต่ที่สำคัญได้แก่...
     1. โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองและอีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
          1.1  โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย (แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล / LDL) ถ้ามีในระดับสูงเกินไปจะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน
          1.2  โคเลสเตอรอลชนิดดี (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล / HDL) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลชนิดนี้สูงจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

2. ไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและได้รับจากอาหาร  ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้

ค่าปกติของไขมันอยู่ระหว่าง 140 and 200 mg/d ทางการแพทย์จะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับไขมัน Total Chloresterol และ LDL Choresterol และไขมัน HDL Cholesterol เนื่อวจากภาวะทั้งสองสามารถควบคุมโดยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่การเกิดหลอดเลือดแข็งจะดกิดเร็วหากมีภาวะไขมันผิดปกติดังนี้
  • มีระดับของ triglycerides (TG) สูง
  • ไขมัน low-density lipoprotein (LDL) สูง:ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี
  • ไขมัน highdensity lipoprotein-cholesterol (HDL-C)ต่ำ
อาการของไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ การที่จะทราบว่าไขมันในเลือดสูงรู้ได้จากการเจาะเลือดตรวจ
สาเหตุของไขมันในเลือดสูง
  • กรรมพันธ์ ร่างกายไม่สามารถกำจัดไขมันได้อย่างเพียงพอ
  • โรคเบาหวาน
  • พฤติกรรมในการดำรงชีพ ไม่ได้คุมอาหาร ไม่ได้ออกกำลังกาย
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันในเลือดสูง
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงได้แก่
  • อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก
  • ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • สูบบุหรี่เบาหวาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Business

Blog M