Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานเมนูอาหารที่

แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานเมนูอาหารเช่น  
          1. แกงเลียงกุ้งสด
          2. ผัดสะตอกะปิใส่เต้าหู้
          3. ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้
          4. ยำมะเขือเผา
          5. ส้มตำมะละกอ
          6. น้ำพริกกะปิปลาทู

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง
          • น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำตาลจากผลไม้
          • ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ลอดช่อง ฯลฯ
          • ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ฯลฯ
          • น้ำหวานต่าง ๆ น้ำผลไม้ ยกเว้น น้ำมะเขือเทศ นมรสหวานรวมทั้งน้ำอัดลมและ
          • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ (ถ้าดื่มกาแฟควรดื่มกาแฟดำไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม แต่สามารถใช้
น้ำตาลเทียมได้บ้าง)
          • ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำใย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย สับปะรด ผลไม้แช่อิ่ม หรือ เชื่อมน้ำตาล
          • ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย แขก ข้าวเม่าทอด

กลุ่มที่รับประทานได้..แต่จำกัดจำนวน
          • อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง มักกะโรนี
          • ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรือ อาหารทอดมันมากๆ ไขมัน มาก ๆ
          • ตลอดจนไขมันจากพืชบางชนิด เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมัน ข้าวโพด น้ำมันมะกอก
          • อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลเทียม น้ำตาล จากผลไม้
          • ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง กระเจี๊ยบ หัวปลี แครอท สะเดา ถั่วลันเตา หอม หัวใหญ่ ผลไม้บางชนิด เช่น ฝรั่ง กล้วย
เงาะ มะละกอ
          • อาหารจากโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ ให้รับประทาน ปกติ หลีกเลี่ยงเนื้อติดมัน ไก่ติดหนัง
          • นมจืดพร่องไขมัน ควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง


ผักที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ

มะระขี้นก หั่นชิ้นเล็กแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาชงกับน้ำเหมือนชงชา
          • ฟักทอง ใช้เมล็ดฟักทองต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 300 เมล็ด จะช่วยให้อาการเบาหวานดีขึ้น นอกจากนี้ผลฟักทองและน้ำฟักทอง ก็ช่วย
ลดอาหารเบาหวานได้
          • แตงกวา การคั้นน้ำแตงกวาพร้อมเมล็ดจะดีต่อสุขภาพเมื่อดื่มขณะท้องว่าง

ประเภทน้ำนม
          • ควรเลือกดื่มชนิดจืด ไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ ปรับปรุงแต่งรส
          • นมพร่องมันเนย คือมีไขมันประมาณ 1.9% รับประทานได้
          • นมเปรี้ยว ควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส
          • นมข้นหวาน ไม่ควรใช้นมชนิดนี้
          • นมถั่วเหลือง ชนิดหวาน ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย เบาหวาน ควรทำเองโดยใช้แป้งถั่วเหลืองผสมกับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้
ที่สลากหน้าถุง โดยใช้แช่น้ำให้พองและนำมาปั่นกับน้ำ ในอัตราส่วน ถั่วเหลืองดิบ 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน แล้วคั้นเอาแต่น้ำไปต้มให้เดือด
10 นาที ก็ใช้ได้
          • น้ำเต้าหู้ ผู้ป่วยเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ภาวการณ์ไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อเผาผลาญให้เกิด
เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ว่า ไม่สมดุล คือ มีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อยแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์
ได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับว่ามีอินซูลินน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่
เป็นพิษกับเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกาย

  คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักละเลยเรื่องของการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหาย
จากโรค เหมือนโรคทั่วไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด การใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุม
เบาหวานได้ ต้องรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกายด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน คือ


ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านการขัดสีน้อย
          • วุ้นเส้น ทำจากถั่ว สามารถบริโภคได้ประจำตามปริมาณที่กำหนด ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้น , แกงจืด, ยำวุ้นเส้น
เป็นต้น
          • ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก เป็นต้น
          • ผัก ผลไม้ การรับประทานผักให้หลากหลายทุกวันอย่างน้อย 2 มื้อ ต่อวัน จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นแน่นอน การผัดผักให้อร่อยแต่ใช้
น้ำมันน้อย ๆ ทำได้โดยใช้น้ำต้มกระดูกแทนปริมาณน้ำมันที่ต้องใช้บางส่วน เคล็ดลับของการเตรียมน้ำต้มกระดูก อยู่ที่ซี่โครงไก่ ที่ตัดมัน
และไส้ออกล้างให้สะอาด ต้มในน้ำเปล่า ใช้ซี่โครงไก่ 8 ขีด ต่อน้ำ 3 ลิตร ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวนาน 1- 1.5 ช.ม. เพื่อให้ได้น้ำที่ใสมีรสหวาน
หอม สำหรับใช้ผัดหรือต้มอาหารต่าง ๆ

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร ?
    โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส (Rabies) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมว ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว ฯลฯ โรคนี้เมื่อเป็นแล้วจะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง และถ้าเป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ในปัจจุบันยังไม่มียาอะไรที่จะรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้

เชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies)
คนติดโรคพิษสุนัขบ้าจากทางใดได้บ้าง ?
      คนเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเนื่องจากได้รับเชื้อโรคพิษสุนัจบ้าจากสัตว์ที่เป็นโรค คนสามารถติดโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้ 2 ทางคือ
      1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูกกัด
      2. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย โดยปกติคนถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย จะไม่ติดโรคจากสัตว์เหล่านั้น นอกเสียจากว่าบริเวณที่ถูกเลียจะมีบาดแผลหรือรอยถลอกหรือรอยขีดข่วน โดยคนนั้นไม่ได้สังเกต ในกรณีนี้จะทำให้สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ รวมทั้งถูกเลียที่ริมฝีปากหรือนัยน์ตา
 
คนที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการอย่างไร ?
        ในระยะ 2-3 วันแรก อาจมีไข้ต่ำ ๆ ต่อไปจะมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อไปจะมีอาการตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ชอบลม และไม่ชอบเสียงดัง กลืนลำบาก แม้จะเป็นของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลากลืน เพราะการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน แต่ยังมีสติพูดจารู้เรื่อง ต่อไปจะเอะอะมากขึ้น และสุดท้ายอาจมีอาการชัก เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิต เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด
 
ข้อควรปฏิบัติภายหลังจากถูกสุนัขบ้าหรือสัตว์ที่สงสัยว่าบ้ากัด
      1. ล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาด ฟอกด้วยสบู่ 2-3 ครั้ง แล้วทาแผลด้วยน้ำยาพิวิดีน (เบตาดีน) หรือแอลกอฮอล์ หรือทิงเจอร์ ไอโอดีน แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
      2. ถ้าสุนัขตายให้นำซากมาตรวจ ถ้าหากสุนัขไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ 10 วัน ขณะเดียวกันให้รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนการรักษาทางสมุนไพรหรือแพทย์แผนโบราณไม่สามารถป้องกันโรคได้ ไม่ควรรอดูอาการสุนัข เพราะอาจสายเกินไปที่จะฉีดวัคซีน
      3. ในกรณีที่ติดตามสัตว์ที่กัดไม่ได้ เช่น เป็นสัตว์ป่า สัตว์จรจัด สัตว์กัดแล้วหนีไป หรือจำสัตว์ที่กัดไม่ได้ จำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีน
      4. ผู้ที่ต้องมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคือ มีบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นรอยช้ำเขียวหรือมีเลือดไหล แผลถลอกหรือแผลลึก รวมทั้งผู้ที่ถูกสุนัขเลียที่นัยน์ตา ริมฝีปาก และผิวหนังที่มีแผลถลอก ส่วนในกรณีที่ถูกเลียผิวหนังที่ไม่มีแผลหรือเพียงแต่อุ้มสุนัขไม่สามารถจะติดโรคได้
วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
      เนื่องจากในปัจจุบันเราใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ฉีด 5 ครั้งเท่านั้น) เพราะมีประสิทธิภาพสูง ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท และควรฉีดเซรุ่มร่วมด้วย ถ้าบาดแผลมีเลือดออก ถูกเลียที่ริมฝีปาก น้ำลายกระเด็นเข้าตา
      สถานเสาวภาใช้โปรแกรมการฉีดวัคซีน 2 แบบคือ แบบปกติฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบประหยัดฉีดเข้าชั้นผิวหนัง แต่ละแบบจะได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 5 ครั้ง
เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร ?
      เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเซรุ่มส่วนของน้ำใสของเลือดที่ได้จากบ้าหรือคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ในเซรุ่มจะมีโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มาก เซรุ่มจะไปทำลายเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด โดยการฉีดรอบ ๆ แผลก่อนที่จะก่อโรค และก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น ด้วยเหตุนี้การให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับการฉีดวัคซีนเข็มแรก จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ผลดีที่สุด แต่เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำมาจากเลือดคน ดังนั้นสถานเสาวภาจึงได้ดำเนินการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจาดเลือดม้า และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเลือดคน เพื่อใช้เองภายในประเทศ โดยขอรับบริจาคโลหิตจากคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครบแล้ว และต้องการเข้าโครงการเพื่อทำบุญ กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ทุกวันเวลาราชการ
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า
      สามารถฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า เป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้า โดยการฉีดเพียง 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งวัคซีนนี้สามารถฉีดได้ไม่จำกัดอายุ โดยเฉพาะเด็กที่มักเล่นกับสัตว์และมีโอกาสถูกสัตว์กัด มักมีบาดแผลที่รุนแรง บริเวณใบหน้า ศีรษะ หรือถูกเลียมือที่มีแผลหรือที่ปาก โดยไม่บอกให้ผู้ปกครองทราบ หรือควรฉีดป้องกันในบุคคลทั่วไปที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว เป็นต้น
ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า
      1. เมื่อถูกสัตว์กัด การฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1-2 เข็ม ร่างกายก็จะได้ภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคอย่างได้ผล
      2. ไม่เสี่ยงต่อการแพ้เซรุ่ม หรือเจ็บปวดจากการฉีดเซรุ่มรอบ ๆ แผล
สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการอย่างไร ?
      พบได้ 2 แบบคือ
      1. แบบดุร้าย มีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ๆ ถ้าผูกโซ่หรือกักขังไว้ในกรง จะกัดโซ่ กรง หรือสิ่งของที่อยู่ใกล้อย่างดุร้าย บางครั้งสุนัขจะกัดจนฟันหักหรือลิ้นเป็นแผล มีเลือดออก เมื่อแสดงอาการดุร้ายได้ 2-3 วัน ก็จะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด

      2. แบบเซื่องซึม มีอาการปากอ้าหุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ บางครั้งมีสิ่งสกปรกติดอยู่และลิ้นห้อยออกมานอกปาก มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ โดยเจ้าของมักจะเอามือล้วงแต่ไม่พบกระดูก สุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้มปากและคอบวม สุนัขจะลุกนั่ง ยืน และเดินไปมาบ่อย ๆ กินของแปลก ๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวจะกินปัสสาวะของตัวเอง ไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน สุนัขแบบหลังนี้จะสังเกตอาการยากมาก ดังนั้น หากสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรตัดหัวไปพิสูจน์ก่อน 

Business

Blog M