Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานเมนูอาหารที่

แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานเมนูอาหารเช่น  
          1. แกงเลียงกุ้งสด
          2. ผัดสะตอกะปิใส่เต้าหู้
          3. ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้
          4. ยำมะเขือเผา
          5. ส้มตำมะละกอ
          6. น้ำพริกกะปิปลาทู

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง
          • น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำตาลจากผลไม้
          • ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ลอดช่อง ฯลฯ
          • ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ฯลฯ
          • น้ำหวานต่าง ๆ น้ำผลไม้ ยกเว้น น้ำมะเขือเทศ นมรสหวานรวมทั้งน้ำอัดลมและ
          • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ (ถ้าดื่มกาแฟควรดื่มกาแฟดำไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม แต่สามารถใช้
น้ำตาลเทียมได้บ้าง)
          • ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำใย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย สับปะรด ผลไม้แช่อิ่ม หรือ เชื่อมน้ำตาล
          • ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย แขก ข้าวเม่าทอด

กลุ่มที่รับประทานได้..แต่จำกัดจำนวน
          • อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง มักกะโรนี
          • ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรือ อาหารทอดมันมากๆ ไขมัน มาก ๆ
          • ตลอดจนไขมันจากพืชบางชนิด เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมัน ข้าวโพด น้ำมันมะกอก
          • อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลเทียม น้ำตาล จากผลไม้
          • ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง กระเจี๊ยบ หัวปลี แครอท สะเดา ถั่วลันเตา หอม หัวใหญ่ ผลไม้บางชนิด เช่น ฝรั่ง กล้วย
เงาะ มะละกอ
          • อาหารจากโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ ให้รับประทาน ปกติ หลีกเลี่ยงเนื้อติดมัน ไก่ติดหนัง
          • นมจืดพร่องไขมัน ควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง


ผักที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ

มะระขี้นก หั่นชิ้นเล็กแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาชงกับน้ำเหมือนชงชา
          • ฟักทอง ใช้เมล็ดฟักทองต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 300 เมล็ด จะช่วยให้อาการเบาหวานดีขึ้น นอกจากนี้ผลฟักทองและน้ำฟักทอง ก็ช่วย
ลดอาหารเบาหวานได้
          • แตงกวา การคั้นน้ำแตงกวาพร้อมเมล็ดจะดีต่อสุขภาพเมื่อดื่มขณะท้องว่าง

ประเภทน้ำนม
          • ควรเลือกดื่มชนิดจืด ไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ ปรับปรุงแต่งรส
          • นมพร่องมันเนย คือมีไขมันประมาณ 1.9% รับประทานได้
          • นมเปรี้ยว ควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส
          • นมข้นหวาน ไม่ควรใช้นมชนิดนี้
          • นมถั่วเหลือง ชนิดหวาน ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย เบาหวาน ควรทำเองโดยใช้แป้งถั่วเหลืองผสมกับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้
ที่สลากหน้าถุง โดยใช้แช่น้ำให้พองและนำมาปั่นกับน้ำ ในอัตราส่วน ถั่วเหลืองดิบ 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน แล้วคั้นเอาแต่น้ำไปต้มให้เดือด
10 นาที ก็ใช้ได้
          • น้ำเต้าหู้ ผู้ป่วยเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ภาวการณ์ไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อเผาผลาญให้เกิด
เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ว่า ไม่สมดุล คือ มีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อยแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์
ได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับว่ามีอินซูลินน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่
เป็นพิษกับเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกาย

  คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักละเลยเรื่องของการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหาย
จากโรค เหมือนโรคทั่วไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด การใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุม
เบาหวานได้ ต้องรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกายด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน คือ


ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านการขัดสีน้อย
          • วุ้นเส้น ทำจากถั่ว สามารถบริโภคได้ประจำตามปริมาณที่กำหนด ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้น , แกงจืด, ยำวุ้นเส้น
เป็นต้น
          • ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก เป็นต้น
          • ผัก ผลไม้ การรับประทานผักให้หลากหลายทุกวันอย่างน้อย 2 มื้อ ต่อวัน จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นแน่นอน การผัดผักให้อร่อยแต่ใช้
น้ำมันน้อย ๆ ทำได้โดยใช้น้ำต้มกระดูกแทนปริมาณน้ำมันที่ต้องใช้บางส่วน เคล็ดลับของการเตรียมน้ำต้มกระดูก อยู่ที่ซี่โครงไก่ ที่ตัดมัน
และไส้ออกล้างให้สะอาด ต้มในน้ำเปล่า ใช้ซี่โครงไก่ 8 ขีด ต่อน้ำ 3 ลิตร ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวนาน 1- 1.5 ช.ม. เพื่อให้ได้น้ำที่ใสมีรสหวาน
หอม สำหรับใช้ผัดหรือต้มอาหารต่าง ๆ

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร ?
    โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส (Rabies) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมว ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว ฯลฯ โรคนี้เมื่อเป็นแล้วจะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง และถ้าเป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ในปัจจุบันยังไม่มียาอะไรที่จะรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้

เชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies)
คนติดโรคพิษสุนัขบ้าจากทางใดได้บ้าง ?
      คนเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเนื่องจากได้รับเชื้อโรคพิษสุนัจบ้าจากสัตว์ที่เป็นโรค คนสามารถติดโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้ 2 ทางคือ
      1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูกกัด
      2. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย โดยปกติคนถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย จะไม่ติดโรคจากสัตว์เหล่านั้น นอกเสียจากว่าบริเวณที่ถูกเลียจะมีบาดแผลหรือรอยถลอกหรือรอยขีดข่วน โดยคนนั้นไม่ได้สังเกต ในกรณีนี้จะทำให้สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ รวมทั้งถูกเลียที่ริมฝีปากหรือนัยน์ตา
 
คนที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการอย่างไร ?
        ในระยะ 2-3 วันแรก อาจมีไข้ต่ำ ๆ ต่อไปจะมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อไปจะมีอาการตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ชอบลม และไม่ชอบเสียงดัง กลืนลำบาก แม้จะเป็นของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลากลืน เพราะการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน แต่ยังมีสติพูดจารู้เรื่อง ต่อไปจะเอะอะมากขึ้น และสุดท้ายอาจมีอาการชัก เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิต เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด
 
ข้อควรปฏิบัติภายหลังจากถูกสุนัขบ้าหรือสัตว์ที่สงสัยว่าบ้ากัด
      1. ล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาด ฟอกด้วยสบู่ 2-3 ครั้ง แล้วทาแผลด้วยน้ำยาพิวิดีน (เบตาดีน) หรือแอลกอฮอล์ หรือทิงเจอร์ ไอโอดีน แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
      2. ถ้าสุนัขตายให้นำซากมาตรวจ ถ้าหากสุนัขไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ 10 วัน ขณะเดียวกันให้รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนการรักษาทางสมุนไพรหรือแพทย์แผนโบราณไม่สามารถป้องกันโรคได้ ไม่ควรรอดูอาการสุนัข เพราะอาจสายเกินไปที่จะฉีดวัคซีน
      3. ในกรณีที่ติดตามสัตว์ที่กัดไม่ได้ เช่น เป็นสัตว์ป่า สัตว์จรจัด สัตว์กัดแล้วหนีไป หรือจำสัตว์ที่กัดไม่ได้ จำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีน
      4. ผู้ที่ต้องมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคือ มีบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นรอยช้ำเขียวหรือมีเลือดไหล แผลถลอกหรือแผลลึก รวมทั้งผู้ที่ถูกสุนัขเลียที่นัยน์ตา ริมฝีปาก และผิวหนังที่มีแผลถลอก ส่วนในกรณีที่ถูกเลียผิวหนังที่ไม่มีแผลหรือเพียงแต่อุ้มสุนัขไม่สามารถจะติดโรคได้
วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
      เนื่องจากในปัจจุบันเราใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ฉีด 5 ครั้งเท่านั้น) เพราะมีประสิทธิภาพสูง ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท และควรฉีดเซรุ่มร่วมด้วย ถ้าบาดแผลมีเลือดออก ถูกเลียที่ริมฝีปาก น้ำลายกระเด็นเข้าตา
      สถานเสาวภาใช้โปรแกรมการฉีดวัคซีน 2 แบบคือ แบบปกติฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบประหยัดฉีดเข้าชั้นผิวหนัง แต่ละแบบจะได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 5 ครั้ง
เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร ?
      เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเซรุ่มส่วนของน้ำใสของเลือดที่ได้จากบ้าหรือคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ในเซรุ่มจะมีโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มาก เซรุ่มจะไปทำลายเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด โดยการฉีดรอบ ๆ แผลก่อนที่จะก่อโรค และก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น ด้วยเหตุนี้การให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับการฉีดวัคซีนเข็มแรก จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ผลดีที่สุด แต่เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำมาจากเลือดคน ดังนั้นสถานเสาวภาจึงได้ดำเนินการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจาดเลือดม้า และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเลือดคน เพื่อใช้เองภายในประเทศ โดยขอรับบริจาคโลหิตจากคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครบแล้ว และต้องการเข้าโครงการเพื่อทำบุญ กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ทุกวันเวลาราชการ
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า
      สามารถฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า เป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้า โดยการฉีดเพียง 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งวัคซีนนี้สามารถฉีดได้ไม่จำกัดอายุ โดยเฉพาะเด็กที่มักเล่นกับสัตว์และมีโอกาสถูกสัตว์กัด มักมีบาดแผลที่รุนแรง บริเวณใบหน้า ศีรษะ หรือถูกเลียมือที่มีแผลหรือที่ปาก โดยไม่บอกให้ผู้ปกครองทราบ หรือควรฉีดป้องกันในบุคคลทั่วไปที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว เป็นต้น
ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า
      1. เมื่อถูกสัตว์กัด การฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1-2 เข็ม ร่างกายก็จะได้ภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคอย่างได้ผล
      2. ไม่เสี่ยงต่อการแพ้เซรุ่ม หรือเจ็บปวดจากการฉีดเซรุ่มรอบ ๆ แผล
สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการอย่างไร ?
      พบได้ 2 แบบคือ
      1. แบบดุร้าย มีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ๆ ถ้าผูกโซ่หรือกักขังไว้ในกรง จะกัดโซ่ กรง หรือสิ่งของที่อยู่ใกล้อย่างดุร้าย บางครั้งสุนัขจะกัดจนฟันหักหรือลิ้นเป็นแผล มีเลือดออก เมื่อแสดงอาการดุร้ายได้ 2-3 วัน ก็จะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด

      2. แบบเซื่องซึม มีอาการปากอ้าหุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ บางครั้งมีสิ่งสกปรกติดอยู่และลิ้นห้อยออกมานอกปาก มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ โดยเจ้าของมักจะเอามือล้วงแต่ไม่พบกระดูก สุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้มปากและคอบวม สุนัขจะลุกนั่ง ยืน และเดินไปมาบ่อย ๆ กินของแปลก ๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวจะกินปัสสาวะของตัวเอง ไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน สุนัขแบบหลังนี้จะสังเกตอาการยากมาก ดังนั้น หากสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรตัดหัวไปพิสูจน์ก่อน 

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การติดเชื้อราที่ผิวหนัง

เชื้อราสามารถทำให้เกิดโรคที่ผิวหนัง กลาก เกลื้อนสังคัง เชื้อราที่เล็บ เชื้อราที่ผม ฮ่องกงฟุต เชื้อราในปาก เชื้อราในช่องคลอด
การติดโรคเกิดจากการได้รับเชื้อจากการสัมผัส และมีปัจจัยเรื่องผิวหนังที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การรักษามีทั้งยาทา ยาอม ยากิน
ปรกติเราจะพบเชื้อราได้ตามสิ่งแวดล้อม หากมีปัจจัยการติดเชื้อพร้อมเช่น มีการได้รับเชื้อ และผิวหนังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงก็จะทำให้มีการติดเชื้อราขึ้น
การติดเชื้อราที่ผิวหนังแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆสองชนิดได้แก่
โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อ Dermatophyte infection
เชื้อราเหล่านี้ได้แก่
  • Trichophyton rubrum
  • Microsporum canis
  • Trichophyton mentagrophytes
เชื้อเหล่านี้มักจะทำให้เกิดโรคที่ผิวหนัง เล็บ ผม ขาหนีบ โรคที่พบได้แก่

การติดเชื้อราที่ผิวหนังเกิดจากเชื้อราลุกลามเข้าเซลล์ผิวโดยเฉพาะเซฃลล์ที่ตาย เช่น เล็บ หนังกำพร้า ผม เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Microsporum,Trichophyton,Epidermophyton
โรคเชื้อราจะพบได้ทั่วโลกขึ้นกับชนิดของเชื้อรา อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ สุขภาพ สุขอนามัย ผื่นจะมีลักษณะของการมีขุย ผื่นสีแดง ขอบอาจจะชัดหรือไม่ชัด กลมหรือรี ให้นึกถึงโรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคผื่นแพ้ eczema และเชื้อรา ดังนั้นควรจะขุดขุยเพื่อหาเชื้อรา เชื้อราสามารถเกิดที่ไหนก็ได้ของร่างกาย ที่พบบ่อยคือที่ขาหนีบหรือที่เรียกว่า สังคังTinea cruris เกิดที่เท้าเรียกว่า Tinea pedis เกิดที่หน้าเรียก Tinea facii เกิดที่ลำตัวเรียก Tinea coporis เชื้อราที่ศีรษะ Tinea capitis เชื้อราที่เล็บ Tinea ungium เกลื้อนผิวหนัง Tinea vesicolor
ตำแหน่งที่พบว่าติดเชื้อราได้ง่ายได้แก่ บริเวณที่มีเหงื่อออกมาก การระบายอากาศไม่ดี

ชนิดของกลาก

  1. กลากตามบริเวณผิวหนังเช่น ใบหน้า ลำตัว แขน ขา ฝ่าเท้า และบริเวณขาหนีบ ผื่นจะเริ่มจากการเป็นตุ่มแดง และขยายวงกว้างขึ้น ขอบจะมีลักษณะนูนแดง มีขุยขาวๆที่ขอบของผื่น มักจะมีอาการคันมาก ผื่นที่ฝ่าเท้าและง่ามนิ้วเท้าเรียก ฮ่องกงฟุต ผิวหนังจะเป็นแผ่นขาวยุ่ยๆ ลอกออกได้ หรืออาจจะเป็นสะเก็ด มีกลิ่นและคันมาก
  2. กลากที่เล็บมักจะเป็นเรื้อรัง อาจจะไม่มีอาการคัน หรือเจ็บ มักจะเกิดที่ปลายเล็บ หรือด้านข้างของเล็บก่อน เล็บจะกลายเป็นสีน้ำตาล ขาวขุ่น มีลักษณะขรุขระ เปื่อยยุ่ย และตัวเล็บอาจจะแยกจากหนังใตเล็บ
  3. กลากที่ศรีษะ ส่วนมากเป็นในเด็ก ติดต่อกันได้ง่าย ลักษณะที่พบคือ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ เส้นผมหักเป็นจุดดำๆ หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงเป็นสะเก็ด ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีตุ่มหนองรอบรูขุมขน และลุกลามกลายเป็นก้อนนูนมีน้ำเหลืองแห้งกรังเรียกว่า ชันนะตุ

อาการของโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

อาการของโรคขึ้นกับตัวเชื้อโรค และตำแหน่งที่พบ โดยทั่วไปจะมีผื่น และอาการคัน ผื่นที่พบจะเป็นผื่นแดง มีขุย มีขอบนูนเล็กน้อย ส่วนเชื้อราที่ศีรษะ หรือนวดก็จะมีอาการผมร่วงด้วย

การติดต่อ

สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการสัมผัสโดยตรง หรือเครื่องใช้ เช่นเสื้อผ้า หรือการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว จากสระว่าน้ำ ห้องน้ำ ฝักบัว

ปัจจัยความเสี่ยงของการติดเชื้อราที่ผิวหนัง

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อราได้แก่
  • ได้รับยาปฏิชีวนะประจำ
  • รับประทานยา steroid
  • เป็นเบาหวาน
  • อ้วน
  • เคยติดเชื้อรามาก่อน
  • มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การป้องกัน

  • ห้ามใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น หวี หมวก รองเท้า ผ้าเช็ดตัว
  • รักษาความสะอาดบริเวณที่อับเช่น ซอกรักแร้ ซอกขาหนีบ ซอกนิ้ว อาบน้ำเสร็จซับให้แห้งและโรยแป้ง
  • หมั่นตรวจรองเท้าอย่าให้แคบเกินไป
  • เปลี่ยนรองเท้าทุก2-3 วันเพื่อให้รองเท้าแห้ง
  • หลังว่ายน้ำหรือออกกำลังกายต้องอาบน้ำและเปลี่ยนเป็นผ้าแห้ง
  • ใส่รองเท้าเมื่ออยู่ในที่สาธารณะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นสระว่ายน้ำ
  • รักษาความสะอาดของเครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์
  • หลีกเลี่ยงสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค
  • ให้รีบรักษาผู้ที่ป่วยด้วยยาที่เหมาะสม

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นกลากเกลื้อน

  1. รักษาความสะอาดของร่างกายให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำฟอกสบู่ และเช็ดตัวให้แห้งทุกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกรักแร้ ขาหนีบ ซอกนิ้ว
  2. ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้น หมั่นล้างมือให้สะอาด และอย่าเกาเพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
  3. ป้องกันการติดเชื้อ โดยการแยกเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ส่วนตัวไม่ใช้ปะปนกัน และควรซักทำความสะอาดตากแดดให้แห้งทุกครั้ง
  4. ผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคควรได้รับการตรวจจากแพทย์
  5. การรักษาด้วยยาทาเชื้อราที่ผิวหนัง โดยทั่วไปจะทาวันละ 2-3 ครั้ง ทาติดต่อกันจนกว่าผื่นจะหาย โดยทายาที่ผื่น และบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ หลังจากผื่นหายแล้วควรทายาต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ และอย่าใช้มือขยี้ตา สำหรับเชื้อราที่เล็บและหนังศีรษะจะยุ่งกว่าที่ผิวหนัง ต้องใช้ยารับประทาน

Business

Blog M