Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหารกับอารมณ์

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ ที่รู้สึกว่าหลังตื่นนอนตอนเช้า อารมณ์ไม่แจ่มใสอย่างที่ควรเป็น (ไม่นับอาการเบื่อเรียนหรือเบื่องาน) ทั้งๆ ที่นอนหลับเต็มอิ่ม ไม่เครียดหรือมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ บางครั้งรับประทานอาหารเช้าแล้วกลับทำให้ยิ่งหิวเร็ว หนำซ้ำช่วงสายก่อนเที่ยงมีอาการมือสั่น อ่อนเพลีย หรือบ่ายๆ หลังรับประทานอาหารกลางวัน ยิ่งอ่อนเพลีย ง่วงนอน เฉื่อยชายิ่งกว่าเดิม อาการแบบนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานอาหาร ซึ่งอาหารกับอารมณ์นั้น เกี่ยวข้องกันชนิดที่คุณคาดไม่ถึงทีเดียว

ในต่างประเทศมีงานวิจัยและบทความทางวิชาการศึกษา เกี่ยวกับบทบาทสารอาหารกับอารมณ์อยู่มากมายหลายชิ้น แต่บทความที่ได้รับรองอย่างเป็นทางการยังมีเพียงเล็กน้อย แต่ที่แน่ๆ ปัจจัยในร่างกายที่มีผลต่ออารมณ์ มาจาก 2 แหล่ง คือ อาหารและสารเคมีในสมอง เริ่มจากอาหาร ที่ปกติเรารับประทาน 3 มื้อต่อวัน แต่ละมื้อประกอบด้วยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต คือ แป้งและน้ำตาลเป็นหลัก เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย หลังจากรับประทานแล้ว ร่างกายจะค่อยๆ ย่อย เปลี่ยนให้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เล็กลง และกลายเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และนำไปใช้ตามอวัยวะต่างๆ ทั้งนี้ปริมาณและชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่ต่างกัน ย่อมส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงต่างกัน เช่นเดียวกับระดับน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากอาหารแต่ละชนิด หรือที่เราเรียกว่า “ดัชนีน้ำตาล” ค่าดัชนีน้ำตาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คืออาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง และอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง

การรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมากเท่าไรคาร์โบไฮเดรตก็จะย่อยเป็นกลูโคส และถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ที่นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่างๆ เพื่อ
เผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หลังจากรับประทานไปได้ 2-4 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกาย
อ่อนแรง อารมณ์เซื่องซึม ตัวอย่างอาหารดัชนีน้ำตาลสูง ได้แก่ ไอศกรีม ข้าวขาว ข้าวเหนียว มันฝรั่งบด ฯลฯ นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือดอาจแปรปรวน ลดและเพิ่มอย่างรวดเร็วจากกรณีอื่นๆ อีก เช่น
 
รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารประเภททอด ขนมขบเคี้ยวต่างๆ น้ำอัดลม เป็นต้น เพราะหลังจากรับประทานร่างกายจะรู้สึกหนัก อ่อนเพลียและง่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอาหารเช้าและอาหารกลางวัน ที่คนทำงานหลายคนมีอาการตาหนัก ลืมไม่ขึ้นเป็นประจำ
 
เว้นระยะเวลาการรับประทานอาหารระหว่างมื้อนานเกินไป หรือออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดสัญญาณเตือน เช่น อาการปวดหัวหรือเหนื่อยล้า มือสั่น เหงื่อแตก
 
ไม่รับประทานอาหารเช้า หรือใช้วิธีลดความอ้วนด้วยการงดอาหารบางมื้อ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายต้องการพลังงานชดเชยมากขึ้นจากมื้อที่หายไป ส่งผลให้มื้อต่อๆ ไปรับประทานมากเกินได้ง่าย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออารมณ์

ส่วนหนึ่งมาจากสารเคมีในสมอง ยกตัวอย่างเช่น
 
เซอร์โรโทนิน (serotonin) ถ้าระดับเซอร์โรโทนินต่ำจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ และมีการศึกษาพบว่า หากได้รับอาหารที่ไม่มีกรดอะมิโนทริบโทเฟน (Tryptophan) โดยอาหารที่มีทริบโทเฟน เช่น นม กล้วย โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ เซอร์โรโทนินในสมอง จะทำให้การสร้างเซอร์โรโทนินลดลง ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ในบางคน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ข้าวเหนียว ข้าวโพด กรอย เผือกหรือมัน จะเพิ่มการสร้างเซอร์โรโทนินทำให้อารมณ์ดีขึ้น ซึ่งจะพบว่าคนบางคนเมื่อมีอาการซึมเศร้า จะอยากรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น (เศร้าแล้วก็เลยอ้วน)
 
การขาดกรดโฟลิก จากการศึกษาในหนูทดลอง เมื่อขาดกรดโฟลิก ทำให้ระดับเซอร์โรโทนินในสมองลดลง ซึ่งคาดว่าถ้ามนุษย์ขาดสารโฟลิกก็จะมีอารมณ์ซึมเศร้า ไม่กระตือรือร้น อาหารที่มีกรดโฟลิก ได้แก่ บร็อกโคลี ถั่วลิสง ข้าวซ้อมมือ
 
การขาดไทอะมิน (วิตามินบี1) ทำให้ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เนื่องจากวิตามินบี1 มีบทบาท สำคัญในการเผาผลาญกลูโคสให้เป็นพลังงาน และสมองจำเป็นต้องใช้พลังงานจากกลูโคส ถ้าขาดวิตามินบี1 ก็จะมีผลเหมือนการขาดคาร์โบไฮเดรต อาหารที่มีไทอะมิน ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ปีก
 
การขาดไนอะซิน ซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ก็มีผลต่ออารมณ์เช่นกัน คนที่ขาดวิตามินไนอะซินจะหงุดหงิด อารมณ์เสีย ถ้าขาดมากๆ ก็อาจจะถึงขั้นความจำเสื่อม ไนอะซินเป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกลูโคสเช่นกัน การขาดไนอะซินนี้จะพบมากในกลุ่มคนที่รับประทานข้าวโพดเป็นอาหารหลัก ซึ่งในประเทศไทย ยังไม่พบการขาดวิตามินชนิดนี้ อาหารที่มีไนอะซิน ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ปีก ปลา ธัญพืชที่ไม่ขัดสี นม

รับประทานอาหารอย่างไรจึงทำให้อารมณ์ดีขึ้น

การปรับเปลี่ยนประเภทของอาหารเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพียงแค่คุณ...
 
รับประทานอาหารให้ครบมื้อ ถ้าไม่มีเวลารับประทานอาหารเป็นมื้อแบบกิจลักษณะ ควรเลือกของว่างเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขนมปังโฮลวีทสักแผ่นหรือ ขนมปังกรอบธัญพืชสัก 2-3 แผ่น อย่าปล่อยให้ท้องว่างเด็ดขาด หรือว่าจะแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ แต่รับประทานบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดตก
 
รับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ผักและผลไม้ที่มีเส้นใยมาก และมีรสไม่หวาน เป็นต้น เพราะร่างกายจะค่อยๆ ย่อยและดูดซึมช้าๆ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ สม่ำเสมอ และหลังรับประทานอาหารได้ 4-6 ชั่วโมง ร่างกายจะหลั่งสารฮอร์โมนบางชนิดเพื่อสลายไกลโคเจน ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในร่างกาย และเพิ่มการสร้างกลูโคสจากแหล่งอาหารอื่น เช่น ไขมัน
 
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หันมาดื่มน้ำผลไม้คั้นสดหรือน้ำเปล่าธรรมดาแทน
 
หมั่นออกกำลังกาย เนื่องจากหลังออกกำลังกายต่อเนื่องสัก 20 นาที ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแอนโดรฟีนออกมาตามธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้ปกระเปร่าและมีความสุข ลดความกังวลและเครียดลงได้

สารบ่งชี้โรคมะเร็ง (Tumor markers)

โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายของประชากรไทยเป็นอันดับ 3 เนื่องจากโรคมะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สารก่อมะเร็งในอาหาร การสูบบุหรี่ การสัมผัสถูกกับสารก่อมะเร็ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะมลภาวะของสิ่งแวดล้อมซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนมากมักมาพบแพทย์ เมื่อปรากฏอาการชัดหรือมีการลุกลามของโรคมากแล้ว ทำให้การป้องกันรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากถ้าได้มีการตรวจพบโรคมะเร็ง ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจากการตรวจหาสารที่จะช่วยบ่งชี้หรือมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง (tumor markers) ในเลือด จะช่วยทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันการณ์ ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งได้มากยิ่งขึ้น

การตรวจหา Tumor markers เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก หรือช่วยในการติดตามผลของการรักษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยที่จะมีโอกาสหายจากมะเร็งได้มากขึ้น

Tumor markers คืออะไร ?


คือตัวบ่งชี้ ทางชีวเคมีที่จะบอกว่ามีมะเร็งหรือไม่ อาจเป็นสารที่ไม่พบในภาวะปกติ หรือเป็นสารปรกติในร่างกายเรา แต่มีปริมาณเพิ่มสูงมากผิดไปจากปกติ สามารถตรวจพบได้ทั้งในเลือด หรือสารคัดหลั่ง (biological fluid)
 
สารที่ไม่พบในภาวะปกติ และเป็นสารที่ผลิตมาจากเซ,มะเร็งโดยตรง เช่น CEA , AFP,PSA, CA 19-9 เป็นต้น
 
สารที่มีอยู่แล้วในร่างกายซึ่งผลิตโดยเซลปกติ แต่กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อ เซลนั้นกลายเป็นเซลมะเร็ง สารดังกล่าวได้แก่ฮอร์โมนต่างๆ เช่น HCG, Calcitonin, ACTH เป็นต้น หรือเอนไซม์เช่น PAP, ALP, LDH, GGT เป็นต้น

การจัดตารางเวลาสำหรับการตรวจ Tumor markers
สำหรับผู้ที่เริ่มตรวจพบแล้วหรือผู้ที่เริ่มต้นจะทำการรักษา ควรตรวจวัด tumor markers ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้
 
ก่อนการผ่าตัด หรือก่อนเริ่มต้นให้การรักษาใดๆ เพื่อเก็บเป็นค่าเริ่มต้นของผู้ป่วยแต่ละราย
 
ภายหลังการผ่าตัด

ปีที่ 1 และ 2
 ควรตรวจทุกเดือนในระยะต้น จนกระทั่งค่าลดลงมามากแล้ว จึงเปลี่ยนมาตรวจทุก 3 เดือน
ปีที่ 3 - 5   
 ควรตรวจปีละ 1 - 2 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป 
 ตรวจทุกปี ปีละครั้ง

ตารางเวลาข้างต้นเป็นเพียงข้อแนะนำทั่วๆ ไป เนื่องจากระยะเวลาของการเกิดโรคมะเร็งแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่การหมั่นตรวจเป็นระยะก็จะช่วยติดตามผลการรักษา และการตรวจพบการกลับมาเป็นใหม่ได้รวดเร็ว ช่วยให้การป้องกัน รักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
 
ซึ่งถ้าตรวจได้ค่าเริ่มต้นมีค่าสูง แล้วเริ่มมีระดับลดลงอย่างรวดเร็วหลังการรักษา จะช่วยในการบ่งชี้ว่าการผ่าตัดได้ผล
 
ถ้าค่าลดลงเพียงเล็กน้อยตามด้วยค่าที่กลับสูงขึ้นมาใหม่ในภายหลัง แสดงว่า การผ่าตัดรักษาไม่ได้ผลการที่มีค่า tumor markers สูงเพิ่มขึ้นใหม่หลังการให้เคมีบำบัดรอบแรกๆ เป็นสัญญาณบอกให้หยุดยา ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนวิธีการรักษา

เทคนิคการตรวจ tumor markers
ควรใช้วิธีการทดสอบที่มีความไวสูง ซึ่งจะช่วยสามารถตรวจปริมาณ tumor markers ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ ชุดทดสอบควรมีความจำเพาะต่อ tumor markers ให้มากที่สุด วิธีที่เหมาะสมในปัจจุบันจึงเป็น Immunoassay โดยอาจเป็นวิธี RIA / EIA /CICA

การรบกวนผลการทดสอบ ในปฏิกริยา immunoassay ตามทฤษฏีแล้วจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรบกวนของผลทดสอบได้ ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงคือ
 
High dose Hook Effect
  เมื่อใช้ตรวจหาแอนติเจนที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินไป จะเกิดผลต่ำปลอม ซึ่งกรณีนี้ปฏิกริยาการจับกันระหว่าง แอนติเจน-แอนติบอดีย์ถูกกีดขวาง โดยแอนติเจนที่มีปริมาณสูงมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ไขโดยการเจือจางตัวอย่างที่มีแอนติเจนสูง ก่อนทำการทดสอบ
 
Heterophile antibodies
  ในตัวอย่างทดสอบบางรายมี heterophile antibodies อยู่ในน้ำเหลือง โดยเฉพาะ human anti mouse antibodies ซึ่งวิธีการทดสอบส่วนใหญ่จะใช้ monoclonal antibodies จากหนูซึ่งจะทำให้เหมือนเกิดปฏิกริยาขึ้น ถึวแม้ จะไม่มีแอนติเจนในน้ำเหลืองเลย ทำให้ได้ค่าผลบวกปลอมได้

มะเร็ง...ตัวร้าย

มะเร็ง คือ เซลล์ทีเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อร้าย เติบโตและขยายตัวในหลอดเลือด และน้ำเหลือง กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งหากเป็นส่วนที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ สมอง ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วโดยมีสารเคมีที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้โครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ผิดปกติไปจนกลายเป็นมะเร็งที่มีการแบ่งตัวขยายออกไปเรื่อยๆ
อาการที่ส่อเค้า
 
1.
ก้อนเนื้อ ตุ่มบนหรือใต้ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
 
2.
หูด ปาน ที่ผิดปกติ
 
3.
แผลเรื้อรัง
 
4.
ตกขาว โลหิต หรือเมือกผิดปกติที่ออกทางช่องคลอดมาก
 
5.
ไอ เสียงแหบ โดยที่ไม่ได้เป็นหวัด และหาสาเหตุไม่ได้
 
6.
เบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ
 
7.
ระบบการขับถ่ายผิดปกติเป็นเวลานาน

การบำบัดรักษา
  • ระยะเริ่มแรก แพทย์อาจใช้การผ่าตัด ฉายแสง ใส่แร่เรเดียมซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้กว่า 30 %
  • ระยะที่เป็นมานานแล้ว มักใช้สารเคมีเข้าบำบัด (Chemotherapy) บางรายต้องใช้การฉายแสงรังสี เพื่อประคองชีวิต
มะเร็งสามารถเกิดได้ที่อวัยวะใดบ้าง เซลล์ร้ายตัวนี้ สามารถเกิดได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบมากได้แก
  • มะเร็งเต้านม พบมากที่สุดอันดับหนึ่งของผู้หญิง สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ความอ้วน อาหารที่รับประทานมีไขมันสูง การลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะอื่นมายังเต้านม ป้องกันได้ด้วยการตรวจเป็นประจำด้วยแพทย์หรือตนเอง
  • มะเร็งปากมดลูก เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Viruses) การตรวจหามะเร็งชนิดนี้ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์ และควรงดการมีพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ
  • มะเร็งผิวหนัง มักพบในผู้สูงอายุในวัย 40-50 ปีขึ้นไป ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด หรือแสงอุลตร้าไวโอเลต บริเวณของผิวหนังจะเกิดความผิดปกติ เช่น ก้อนตุ่มเล็ก ที่เริ่มขยายวงกว้างออกไป หรือโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหากเป็นแผลที่ผิวหนัง และไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาด
  • มะเร็งปอด เกิดจากความสกปรกของอากาศ รังสี สารเคมีที่ปนเปื้อนในบรรยากาศ การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน แผลเรื้อรังในปอด สังเกตได้จากอาการไอเป็นระยะเวลานาน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เจ็บคอเจ็บหน้าอก เสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนอาหารลำบาก เหล่านี้ล้วนส่ออาการเริ่มต้นของมะเร็งปอดทั้งสิ้น การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการเอ๊กซเรย์ปอด และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดได้ด้วยการงดสูบบุหรี่
  • มะเร็งช่องปาก เกิดได้กับกระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดานปาก พื้นปาก และริมฝีปาก สาเหตุจากอวัยวะดังกล่าวมีสิ่งมาทำให้ระคายเคืองซ้ำ ๆ นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในช่องปากเอง ฟันที่แหลมคม เหงือกอักเสบ หรืออาหารที่รับประทาน อาการที่สังเกตได้ เช่น มีแผลในช่องปากนานเกิน 3 สัปดาห์ มีฝ้าขาว ตุ่มนูน มีก้อนในช่องปาก และแตกเป็นแผล ลิ้นเป็นแผลเรื้อรัง เป็นต้น
  • มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ชาย ที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ไต อวัยวะเพศชาย แต่ก็สามารถเกิดได้กับลูกอัณฑะ ถุงอัณฑะ ได้เช่นกัน อาการที่บ่งบอกความเสี่ยง คือ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด กระปิดประปรอย แผลเรื้อรังที่มีเลือดออกร่วมกับกลิ่นเหม็นของอวัยวะเพศชาย อาการคันหรือเม็ดตุ่มต่าง ๆ ก้อนที่คลำได้บริเวณสีข้าง ท้องน้อย
  • มะเร็งตับ ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่ลุกลามขยายผลได้จากไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในรายที่เป็นพาหะในระยะเริ่มต้นของมะเร็งชนิดนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจนกระทั่งก้อนมะเร็งเริ่มโตจนผู้ป่วยเริ่มอึดอัด ท้องบวม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สามารถตรวจพบได้ด้วยการอุลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งจะพบได้ต่อเมื่อก้อนมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม.ขึ้นไป
ข้อแนะนำป้องกันมะเร็ง
 
1.
 หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และอย่าลืมบอกสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การวินิจฉัยที่จะบ่งชี้การเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น
 
2.
 หากบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง โอกาสเสี่ยงย่อมมากกว่าคนอื่น ดังนั้น ควรใส่ใจดูแลสุขภาพให้มาก หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เร่งการก่อมะเร็ง
 
3.
 เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี อี และเบต้าแคโรทีน พร้อมทั้งลดอาหารจำพวกหมัก ดองต่าง ๆ ลงด้วย
 
4.
 งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
 
5.
 กรณีที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็น
 
6.
 หยุดสูบบุหรี่ ตัวการของโรคหลายชนิด
 
7.
 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
8.
 หลีกเลี่ยงแสงแดด ถ้าจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดที่มีสาร SPF 25 ขึ้นไป
 
9.
 หลีกเลี่ยงมลภาวะเป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
 
10.
 สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดกับร่างกายหรือตุ่มเนื้อ สิว ไฝ ปาน ว่าลุกลาม ขยายขนาดอย่างต่อเนื่องหรือไม่

Osteoporosis โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กะดูกมีเนื้อกรดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย
ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกนหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1
ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน
กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเแพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ
  • ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
  • เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว
  • กระดูกพรุนคืออะไร
    โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้

    โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

    เป็นโรคทมักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ โรค HFMD ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 1-7 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirusA16 และ EV71 ผู้ป่วยจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยเล็กๆ ในลำคอบริเวณเพดาน ลิ้นไก่ ทอนซิล มีอาการเจ็บคอมากร่วมกับมีน้ำลายมาก ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต และอาจมีอาการกลืนลำบากปวดท้องและอาเจียน โรคจะเป็นอยู่ 3 - 6 วัน และมักจะหายเอง 
    โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
    สาเหตุของโรคมือเท้าปาก
    เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ encephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด
    อาการของโรคมือเท้าปาก
    ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น จะปรากฏอาการดังกล่าว 3-5 วัน แล้วหายได้เอง สำหรับผู้ที่มีอาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
    • ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน
    • เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร
    • พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน
    • ปวดศีรษะ
    •  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 
    • เบื่ออาหาร
    • เด็กจะหงุดหงิด
    • ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต 
    ระยะฝักตัวของโรคมือเท้าปาก
    หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
    การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
    โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจาก
    • จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
    • และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)
    ระยะที่แพร่เชื้อของโรคมือเท้าปาก
    ประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ 

    Business

    Blog M