อาการที่ส่อเค้า
1.
| ก้อนเนื้อ ตุ่มบนหรือใต้ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย | |
2.
| หูด ปาน ที่ผิดปกติ | |
3.
| แผลเรื้อรัง | |
4.
| ตกขาว โลหิต หรือเมือกผิดปกติที่ออกทางช่องคลอดมาก | |
5.
| ไอ เสียงแหบ โดยที่ไม่ได้เป็นหวัด และหาสาเหตุไม่ได้ | |
6.
| เบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ | |
7.
| ระบบการขับถ่ายผิดปกติเป็นเวลานาน |
การบำบัดรักษา
- ระยะเริ่มแรก แพทย์อาจใช้การผ่าตัด ฉายแสง ใส่แร่เรเดียมซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้กว่า 30 %
- ระยะที่เป็นมานานแล้ว มักใช้สารเคมีเข้าบำบัด (Chemotherapy) บางรายต้องใช้การฉายแสงรังสี เพื่อประคองชีวิต
มะเร็งสามารถเกิดได้ที่อวัยวะใดบ้าง เซลล์ร้ายตัวนี้ สามารถเกิดได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบมากได้แก่
- มะเร็งเต้านม พบมากที่สุดอันดับหนึ่งของผู้หญิง สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ความอ้วน อาหารที่รับประทานมีไขมันสูง การลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะอื่นมายังเต้านม ป้องกันได้ด้วยการตรวจเป็นประจำด้วยแพทย์หรือตนเอง
- มะเร็งปากมดลูก เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Viruses) การตรวจหามะเร็งชนิดนี้ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์ และควรงดการมีพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ
- มะเร็งผิวหนัง มักพบในผู้สูงอายุในวัย 40-50 ปีขึ้นไป ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด หรือแสงอุลตร้าไวโอเลต บริเวณของผิวหนังจะเกิดความผิดปกติ เช่น ก้อนตุ่มเล็ก ที่เริ่มขยายวงกว้างออกไป หรือโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหากเป็นแผลที่ผิวหนัง และไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาด
- มะเร็งปอด เกิดจากความสกปรกของอากาศ รังสี สารเคมีที่ปนเปื้อนในบรรยากาศ การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน แผลเรื้อรังในปอด สังเกตได้จากอาการไอเป็นระยะเวลานาน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เจ็บคอเจ็บหน้าอก เสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนอาหารลำบาก เหล่านี้ล้วนส่ออาการเริ่มต้นของมะเร็งปอดทั้งสิ้น การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการเอ๊กซเรย์ปอด และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดได้ด้วยการงดสูบบุหรี่
- มะเร็งช่องปาก เกิดได้กับกระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดานปาก พื้นปาก และริมฝีปาก สาเหตุจากอวัยวะดังกล่าวมีสิ่งมาทำให้ระคายเคืองซ้ำ ๆ นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในช่องปากเอง ฟันที่แหลมคม เหงือกอักเสบ หรืออาหารที่รับประทาน อาการที่สังเกตได้ เช่น มีแผลในช่องปากนานเกิน 3 สัปดาห์ มีฝ้าขาว ตุ่มนูน มีก้อนในช่องปาก และแตกเป็นแผล ลิ้นเป็นแผลเรื้อรัง เป็นต้น
- มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ชาย ที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ไต อวัยวะเพศชาย แต่ก็สามารถเกิดได้กับลูกอัณฑะ ถุงอัณฑะ ได้เช่นกัน อาการที่บ่งบอกความเสี่ยง คือ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด กระปิดประปรอย แผลเรื้อรังที่มีเลือดออกร่วมกับกลิ่นเหม็นของอวัยวะเพศชาย อาการคันหรือเม็ดตุ่มต่าง ๆ ก้อนที่คลำได้บริเวณสีข้าง ท้องน้อย
- มะเร็งตับ ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่ลุกลามขยายผลได้จากไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในรายที่เป็นพาหะในระยะเริ่มต้นของมะเร็งชนิดนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจนกระทั่งก้อนมะเร็งเริ่มโตจนผู้ป่วยเริ่มอึดอัด ท้องบวม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สามารถตรวจพบได้ด้วยการอุลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งจะพบได้ต่อเมื่อก้อนมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม.ขึ้นไป
ข้อแนะนำป้องกันมะเร็ง
1.
| หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และอย่าลืมบอกสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การวินิจฉัยที่จะบ่งชี้การเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น | ||
2.
| หากบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง โอกาสเสี่ยงย่อมมากกว่าคนอื่น ดังนั้น ควรใส่ใจดูแลสุขภาพให้มาก หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เร่งการก่อมะเร็ง | ||
3.
| เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี อี และเบต้าแคโรทีน พร้อมทั้งลดอาหารจำพวกหมัก ดองต่าง ๆ ลงด้วย | ||
4.
| งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ | ||
5.
| กรณีที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็น | ||
6.
| หยุดสูบบุหรี่ ตัวการของโรคหลายชนิด | ||
7.
| ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ | ||
8.
| หลีกเลี่ยงแสงแดด ถ้าจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดที่มีสาร SPF 25 ขึ้นไป | ||
9.
| หลีกเลี่ยงมลภาวะเป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม | ||
10.
| สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดกับร่างกายหรือตุ่มเนื้อ สิว ไฝ ปาน ว่าลุกลาม ขยายขนาดอย่างต่อเนื่องหรือไม่ |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น