Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคพยาธิตัวจี๊ด


เกิดจากพยาธิชื่อ Gnathostoma spirigerumพยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในโพรงของก้อนเนื้องอกที่กระเพาะอาหารของโอสท์ธรรมดาได้แก่
หมู แมว สุนัข สัตว์ป่า ไข่พยาธิจะออกมากับอุจาระสัตว์ ไข่จะเจริญเป็นตัวอ่อนในน้ำ กุ้งไรจะกินตัวอ่อนระยะนี้เข้าไป ตัวอ่อนนี้จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะที่สองในกุ้งไร ปลา กบ งู นก จะกินกุ้งไรแล้วตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่สาม ในสัตว์เหล่านั้น ตัวอ่อนระยะที่3(จะอาศัยในกล้ามเนื้อและมีซีสท์หุ้มเป็น)ระยะติดต่อ เมื่อโฮสท์รับประทานปลาหรือกบ ตัวอ่อนระยะที่3จะเจริญเป็นตัวแก่ในผนังกระเพาะอาหาร

นก งู กบเป็นsecond intermediate host เมื่อกินปลาหรือกบ ตัวอ่อนระยะที่3จะไม่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่
แต่จะยังเป็นระยะที่3 และยังคงเป็นระยะติดเชื้อ เมื่อคนกินก็จะติดเชื้อได้ คนจะไดรับเชื้อนี้โดยการรับประทานปลาหรือสัตว์น้ำดิบๆเช่น
ปลาย่าง ส้มฟัก ที่มีตัวอ่อนระยะที่3 หรือดื่มน้ำซึ่งมีกุ้งไร

อาการและอาการแสดงจะขึ้นกับว่าพยาธิไชไปที่ไหนก็เกิดอาการที่ตำแหน่งนั้น อาการอาจจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 24 ชั่วโมงอาการแรกจะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ คลื่นไส้ ลมพิษถ้าเกิดในอวัยวะที่สำคัญก็เกิดอาการได้มาก ถ้าไปในที่ไม่สำคัญอาจจะไม่เกิดอาการเลย

อาการทางผิวหนังที่สำคัญคืออาการบวมเคลื่อนที่ เช่นบวมที่มือแล้วไปที่แขน ไหล่ หน้า ศีรษะ จะบวมๆแดงๆ 3-10 วัน

อาการทางตา ถ้าพยาธิไชไปที่หนังตาจะทำให้หนังตาบวมจนตาปิด ถ้าเข้าไปในตาอาจจะทำให้ตาบอดได้

อาการในช่องท้องอาจจะทำให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ

อาการทางสมอง ถ้าพยาธิไชเข้าสมองหรือน้ำไขสันหลังผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ไข้ คอแข็ง ปวดเสียวอย่างมากตามเส้นประสาทซึม หมดสติ

การวินิจฉัย

ยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอน นอกจากจะได้ตัวพยาธิที่ไชออกจากผิวหนัง ในทางปฏิบัติจะอาศัย

•ประวัติการรับประทานอาหารดิบๆ หรือดิบๆสุกๆโดยเฉพาะปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก กบยำ ปลาดุกย่างไม่สุก
•ลักษณะคลินิกที่มีอาการบวมเคลื่อนที่
•ตรวจเลือดพบตัว eosinophil
•ตรวจน้ำไขสันหลังจะพบเซลล์ eosinophil
การรักษา

•Albendazole 400 มก.วันละ 2 ครั้งให้ 21 วัน
•Thiabendazole ให้ 50 มก/กก/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน

เชื้อรา Candidiasis (Thrush)


ผู้ป่วยโรคเอดส์มักจะติดเชื้อรา Candida albicansที่ปากมากที่สุดโดยมากมักจะเป็นในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ในระยะท้ายของโรค
อาการของโรค

อาการที่ผู้ป่วยนำมามีได้หลายรูปแบบ เช่นเป็นฝ้าขาว ( Thrush)ในปาก หรือผื่นแดง( Erythematous Candidiasis) มักจะเกิดที่เพดานปากและลิ้น ในปากบางคนมีลักษณะปากนกกระจอก อาการที่ผู้ป่วยมาอาจจะมีอาการ กลืนลำบาก เจ็บคอ ฝ้าขาวที่คอ ลิ้น

ช่องคลอด ;ตกขาว คันช่องคลอดเป็นๆหายๆ
การวินิจฉัย

ตรวจพบฝ้าขาวที่คอ และหรือช่องคลอด ส่งตรวจทางจุลชีวะ
การรักษา

Fluconazole, Nystatin, Clotrimazole Troches or cream, Ketoconazole, Itraconazole การให้ยาควรใช้ยาเฉพาะที่ก่อน เช่น ยากรวกคอ ยาเหน็บ หรือยาทา ถ้าไม่หายจึงใช้ยารับประทาน การให้ยาควรให้ 7 วันอาการจะดีขึ้นใน 2-5 วันแต่อาจจะกลับเป็นซ้ำ
•ยาเฉพาะที่เช่น ยาอมที่มียา Clotrimazole (100 มก)อมวันละ 5 ครั้ง หรืออาจจะใช้ชนิดที่ใช้สอดช่องคลอดอมวันละครั้ง หรืออาจจะใช้ยาที่มีส่วนผสมของ Nystatin ถ้าเป็นชนิดที่เหน็บช่องคลอด(100000 ยูนิต)อมวันละ 3 ครั้ง ถ้าเป็นชนิดที่ใช้ในปาก (200000 ยูนิต)อมวันละ 5 ครั้ง หากเป็นชนิด ชนิดครีมจะใช้ทาเชื้อราที่มุมปาก หรือที่เรียกปากนกกระจอกซึ่งมีส่วนผสมของ nystatin,
ketoconazole, หรือ clotrimazole
•ยารับประทาน Ketoconazole(200 มก)วันละครั้ง หรือ Fluconazole (Diflucan) (100 มก)วันละครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์
การป้องกันการติดเชื้อ

จากหลักฐานพบว่าการให้ยาป้องกันเมื่อระดับเซลล์ CD4s น้อยกว่า <75 or 5%โดยให้ยา Fluconazole 100-200mg/dayสามารถลดการติดเชื้อ candida และ cryptococcus แต่ไม่แนะนำให้ยาป้องกันเนื่องจากการรักษาเชื้อราในปากได้ผลดี อัตราการตายของโรคต่ำ เสี่ยงต่อการที่เชื้อ candida ดื้อยาและเสี่ยงต่อการมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่น
การป้องกันการรับเชื้อ

เชื้อรา candida สามารถพบได้ที่เยื่อบุในปากและช่องคลอด ยังไม่มีวิธีป้องกันการรับเชื้อ
การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าไม่ควรให้ยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำของเชื้อราไม่ว่าจะเป็นที่ปาก หรือช่องคลอดเนื่องจากการให้ยาสามารถรักษาได้ผลดี แต่สำหรับผู้ที่กลับเป็นซ้ำบ่อยควรจะให้ Fluconazole 100-200mg/day
ผลข้างเคียงของยา

•Nystatin: ท้องร่วง เสียดท้องเมื่อได้ยาขนาดสูง.
•Fluconazole,Itraconazole: คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดท้อง
•Ketoconazole: มีพิษต่อตับ ปวดศีรษะ มึนงง
ปฏิกิริยาระหว่างยา

Fluconazole: ให้หลีกเลี่ยงยาเหล่านี้ Hismanal, Seldane, Warfarin, Rifampin, oral contraceptives,Cimetidine, Dilantin,Hydrochlorothiazide, and Sulfonylureas.

Itraconazole,Ketoconazole.ให้หลีกเลี่ยงยา Seldane,Hismanal, Antacids & ddI, take 2 hrs apart

โรคบาดทะยักคืออะไร

โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อที่อยู่ในดินชื่อ Clostridium tetani ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างสารพิษ toxin ที่เรียกว่า tetanospasmin สารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาททำให้การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ

เชื้อมักจะเข้าทางบาดแผลบางครั้งแผลอาจจะเล็กมากจนไม่เป็นที่สังเกต แผลที่ลึก หรือแผลที่มีเนื้อตายมากจะเกิดติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนั้นเชื้ออาจเกิดจากการทำแท้ง ฉีดยาเสพติด แผลไฟไหม้ แผลจากแมลงกัด

หลังรับเชื้อกี่วันจึงเกิดอาการ

ผู้ป่วยจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2 วันถึง 2 เดือนโดยเฉลี่ย 14 วัน

อาการของโรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยักมักเป็นกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผลหลังจากนั้น 1-7 วันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจะกระจายทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อกรามทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอ หลังเกร็ง และปวด หลังจากนั้นกล้ามเนื้อทั่วร่างกายก็จะเกร็งทั้งหมดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจทำให้หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตจากหายใจวาย
การรักษา

•ต้องนอนในโรงพยาบาลควรอยู่ใน ICU ห้องที่อยู่ควรเงียบ แสงสว่างไม่มาก

•ให้ยาปฏิชีวนะ นิยมให้ penicillin

•ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ

•ให้ยา tetanus antitoxin

•ทำความสะอาดแผล

ต้องรักษานานแค่ไหน

ถ้าเริ่มการรักษาเร็วส่วนใหญ่ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์

การป้องกัน

•โดยการฉีดวัคซีน TOXOID ตามกำหนด และซ้ำทุก 10 ปี

•ทำความสะอาดแผล และให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม

การติดเชื้อราVulvovaginal Candidiasis (VVC)

เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ C. albicans แต่ก็อาจจะเกิดจากเชื้ออื่นก็ได้เกิดจากการที่เชื้อราในช่องคลอดเจริญมากเนื่องจากความเป็นกรดเสียไป โรคนี้ไม่ติต่อทางเพศสัมพันธ์

•ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรา

◦ความเครียด
◦เบาหวาน
◦การตั้งครรภ์
◦การใช้ยาคุมกำเนิด
◦การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะยาในกลุ่ม tetracyclin
อาการและอาการแสดง

◦ตกขาวมากขึ้น
◦ตกขาวเป็นเมือกขาว
◦คันและแสบบริเวณช่องคลอด
◦เจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
การแบ่งชนิดของโรคเชื้อราในช่องคลอด
จะแบ่งการติดเชื้อออกเป็นการติดเชื้อที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน Uncomplicated VVC และการติดเชื้อที่มีโรคแทรกซ้อน Complicated VVC โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

ไม่มีโรคแทรกซ้อน Uncomplicated VVC โรคแทรกซ้อน Complicated VVC
เป็นเชื้อราที่ช่องคลอดนานๆครั้ง เป็นเชื้อราในช่องคลอดบ่อย
มีการอักเสบไม่มาก มีการอักเสบมาก
เกิดเชื้อ C.albican เกิดจากเชื้ออื่น
ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยมีโรค เบาหวาน มะเร็ง ตั้งครรภ์ เอดส์

การวินิจฉัย

•จากประวัติที่มีตกขาวสีขาวและคันอวัยวะเพศ
•นำตกขาวมาละลายด้วยน้ำยา KOH จะพบใยเชื้อรา
•การเพาะเชื้อขึ้นเชื้อรา
•pH<4.5
การรักษา

ไม่มีโรคแทรกซ้อน Uncomplicated VVC

ใช้ยาเหน็บหรือยาทาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา สำหรับท่านที่เป็นครั้งแรกอาจจะไม่สามารถวินิจฉัย แต่หากเป็นครั้ง 2-3 ท่านพอจะทราบอาการและอาจจะหายาทาเองเป็นยาในกลุ่ม miconazole หรือ clotrimazole เป็นยาเหน็บหรือยาทาก็ได้

การดื่มและรับประทาน Cranberry juice และ yogurt จะช่วยป้องกันการติดเชื้อรา เนื่องจากจะเพิ่มความเป็นกรดและเพิ่มเชื้อ lactobacillus ในช่องคลอด ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่

Butoconazole 2% cream 5 gสอดช่องคลอดวันละครั้งเป็นเวลา 3 วัน
หรือ
Butoconazole 2% cream 5 g (Butaconazole1-sustained release),สอดช่องคลอดวันละครั้ง
หรือ
Clotrimazole 1% cream 5 gสอดช่องคลอดวันละครั้งเป็นเวลา 7--14 วัน
หรือ
Clotrimazole 100 mg สอดช่องคลอดวันละครั้งเป็นเวลา 7 วัน
หรือ
Clotrimazole 100 mg vaginal tablet, ใส่ช่องคลอดวันละ 2 เม็ดเป็นเวลา 3 วัน
หรือ
Clotrimazole 500 mg vaginal tablet, 1 เม็ดครั้งเดียว
หรือ
Miconazole 2% cream 5 gใส่ช่องคลอด 7 วัน
หรือ
Miconazole 100 mg vaginal suppository, สอดช่องคลอดวันละครั้ง 7 วัน
หรือ
Miconazole 200 mg vaginal suppository, สอดช่องคลอดวันละครั้ง 3 วัน
หรือ
Nystatin 100,000-unit vaginal tablet, วันละเม็ดเป็นเวลา 14 วัน
หรือ
Tioconazole 6.5% ointment 5 g ใส่ช่องคลอดครั้งเดียว
หรือ
Terconazole 0.4% cream 5 g ใส่ช่องคลอดเป็นเวลา 7 วัน
หรือ
Terconazole 0.8% cream 5 g ใส่ช่องคลอดเป็นเวลา 3 วัน
หรือ
Terconazole 80 mg vaginal suppository,ใส่ช่องคลอดเป็นเวลา 3 วัน

ยารับประทานใช้ Fluconazole 150 mg oral tablet, 1เม็ดครั้งเดียว

สำหรับคู่ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องรักษา

การรักษาเชื้อราในช่องคลอดที่มีโรคแทรกซ้อน Complicated VVC

1.เป็นเชื้อราในช่องคลอดบ่อย หมายถึงเป็นเชื้อราในช่องคลอดมากกว่า 4 ครั้งต่อปีผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ต้องมีการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เชื้ออาจจะเป็นเชื้อราชนิดอื่นเช่น Candida glabrata การรักษาเริ่มต้นอาจจะต้องรักษาให้นานกว่าปกติ ยาทาอาจจะต้องทานาน 7-14 วัน ส่วนยารับประทานอาจจะต้องรับประทานนาน 3 วัน สำหรับผู้ที่เป็นซ้ำบ่อยๆต้องให้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้แก่ ยาเหน็บช่องคลอด clotrimazole (500-mg dose vaginal suppositories อาทิตย์ละครั้ง)หรือยารับประทาน ketoconazole (100-mg dose วันละครั้ง), fluconazole (100--150-mg dose สัปดาห์ละครั้ง), หรือ itraconazole (400-mg doseเดือนละครั้ง หรือ 100-mg dose วันละครั้ง).
2.ในรายที่เป็นรุนแรง มีการอักเสบแคมใหญ่ มีบวม เกาจนเป็นรอยพวกนี้ต้องทายาหรือสอดยานาน 7-14 วัน ส่วนยารับประทานให้รับประทาน 2 ครั้งห่างกัน 3 วัน
3.ช่องคลอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่น ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
4.สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหากเป็นยาทาต้องใช้เวลา 7-14 วันและควรจะรับประทานยาร่วมด้วย

โรคปีกมดลูกอักเสบ Pelvic inflamatory disease

โรคปีกมดลูกอักเสบเป็นการติดเชื้อของมดลูก หรือรังไข่ หรือท่อรังไข่ เป็นการติดเชื้อที่รุนแรงหากรักษาอาจจะทำให้เสียชีวิต การติดเชื้อของโรคปีกมดลูกอักเสบอาจจะทำลายท่อรังไข่ รังไข่หรืออวัยวะใกล้เคียง หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นหมัน หรือเสียชีวิต เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ gonorrhea,chlamydia แต่ก็อาจจะเกิดเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของคนปกติ สาเหตุเป็นทั้งการติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือเกิดตามธรรมชาติก็ได้คนเป็นโรคนี้ได้อย่างไร

•โรคนี้เกิดจากเชื้อรุกรานจากช่องคลอดผ่าปากมดลูกไปยังมดลูกและท่อรังไข่และช่องท้อง
•มักจะเป็นในคนที่อายุต่ำกว่า 25 ปีเนื่องจากปากมดลูกยังไวต่อการติดเชื้อ
•ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายหลายคนมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง
•ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีแฟนหลายคนก็มีโอกาสเป็นโรคนี้สูง
>>>>>>เกิดจากเพศสัมพันธ์<<<<<

เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่ หนองใน และ chlamydia

>>>>>>ไม่ได้เกิดจากเพศสัมพันธ์<<<<<

•จากการใส่ห่วง
•การสวนล้างช่องคลอด

อาการของผู้ป่วยมีอะไรบ้าง

•ปวดแน่นท้องน้อย
•แสบร้อนในท่อปัสสาวะหรือปัสสาวะแล้วปวด
•คลื่นไส้อาเจียน
•เลือดออกผิดปกติ
•ตกขาวมากขึ้น
•ปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์
•ไข้สูงหนาวสั่น
การวินิจฉัย

•การวินิจฉัยทำได้ยากเนื่องจากบางคนไม่มีอาการแสดง หรือมีแต่น้อย นอกจากนั้นการตรวจร่างกายอาจจะไม่พบความผิดปกติ
•ยังไม่การตรวจพิเศษที่ชี้เฉพาะว่าเป็นโรคนี้
•การตรวจอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้น การตรวจที่สำคัญคือการตรวจภายในพบว่าเมื่อโยกปากมดลูกจะทำให้เกิดอาการปวด หรือเมื่อแตะบริเวณเชิงกรานจะทำให้ปวด
•อาจจะนำสารคัดหลั่งไปตรวจหาเชื้อ gonorrhea หรือ chlamydial infection
•เจาะเลือดตรวจเพื่อแสดงว่าเป็นโรคติดเชื้อ
•ตรวจ ultrasound ท้องน้อยเพื่อตรวจว่าท่อรังไข่บวมหรือไม่ มีหนองที่ท้องน้อยหรือไม่
•การส่องกล้อง laparoscope เพื่อให้เห็นบริเวณที่ติดเชื้อ
การรักษา

•เนื่องจากการตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นไปได้ยากจึงต้องให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุอย่างน้อยสองชนิด
•แม้ว่าอาการจะดีขึ้นหลังจากได้ยา ต้องรับประทานยาให้ครบ
•สำหรับคู่ครองต้องตรวจหาเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เมื่อไรต้องนอนโรงพยาบาล

•ไข้สูง คลื่นไส้อาเจียน
•ตั้งครรภ์
•ให้ยารับประทานแล้วอาการไม่ดีขึ้น
•มีหนองที่ท่อรังไข่หรือบริเวณรังไข่
การรักษาด้วยยา

•ยาที่แนะนำให้ใช้รักษาได้แก่ Cefoxitin 2 g ให้ทางเส้นเลือด ทุก 6ชั่วโมงร่วมกับ Doxycycline 100 mg รับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือดทุก 12 ชั่วโมง
•ยาที่ใช้แทนได้แก่ Clindamycin 900 mgให้ทางเส้นเลือดทุก 8 ชั่วโมงร่วมกับ Gentamicin
•สำหรับผู้ที่มีอาการไม่มากก็สามารถให้ยารับประทาน Ofloxacin 400 mg รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 14 วันหรือ Levofloxacin 500 mg รับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 14วันร่วมกับ
Metronidazole 500 mg วันละสองครั้งเป็นเวลา 14 วัน
•ยาที่เป็นทางเลือกสำหรับการรักษาผู้ป่วยนอกได้แก่ Ceftriaxone 250 mg ฉีดเข้ากล้ามครั้งเดียวร่วมกับ Doxycycline 100 mg รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน
•สำหรับคู่ครองที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย 60 วันก่อนเกิดอาการต้องไปตรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
โรคแทรกซ้อน

•ผู้ที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นจะลดโรคแทรกซ้อน
•โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือการเป็นหมันโดยพบว่าหนึ่งในห้าของผู้ที่เป็นโรคนี้จะเป็นหมัน
•ตั้งครรภ์นอกมดลูก
•ปวดประจำเดือน
การป้องกันโรคนี้ต้องทำอย่างไร

•หากเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องรักษาให้ครบ
•งดมีเพศสัมพันธ์
•มีสามีคนเดียว(สามีก็ควรจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาเท่านั้น)
•สวมถุงยางอนามัย
•ตรวจโรคประจำปีเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 25 หรืออายุมากกว่า 25 แต่มีคู่หลายคนหรือต้องการที่จะมีคู่คนใหม่
•สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแสบเมื่อถ่ายปัสสาวะ มีแผล ตกขาว ปวดท้องน้อย ให้ท่านนึกว่าท่านอาจจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ท่านต้องไปพบแพทย์ตรวจ

โรคหนองในแท้ Gonorrhea


เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoea เชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก mucous membrance เช่น

•เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก และเยื่อบุมดลูก •ท่อรังไข่
•ทวารหนัก
•เยื่อบุตา
•คอ
โรคนี้ติดต่ออย่างไร

•โรคนี้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางปาก ช่องคลอดหรือทางทวาร
•การร่วมเพศทางปากจะทำให้เชื้อสามารถติดต่อจากปากไปอวัยวะเพศ หรือจากอวัยวะเพศไปยังปาก
•หากช่องคลอดหรืออวัยวะดังกล่าวปนเปื้อนหนองที่มีเชื้อก็สามารถติดเชื้อนี้ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการร่วมเพศ
•หากคุณมีคู่ขามากเท่าใดคุณก็จะมีโอกาสติดเชื้อนี้เพิ่มขึ้น
•การจับมือหรือการนั่งฝาโถส้วมไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร

•ผู้ชายมักจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 2-5 วันอาการเริ่มจะมีอาการระคายเคืองท่อปัสสาวะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ แล้วจึงตามด้วยอาการมีหนองสีเหลืองไหลออกจากท่อปัสสาวะ
•ส่วนผู้หญิงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หากจะมีอาการมักจะเกิดใน 10 วัน
•อาการของโรคจะเหมือนกับการติดเชื้อ chlamydia
•การติดเชื้อที่คออาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการเจ็บคอ ไข้
•หากติดเชื้อทีตาจะมีหนองไหลและเคืองตา conjunctivitis

>>>>>>ผู้ชาย<<<<<

•อาจจะไม่มีอาการ
•มีหนองสีเหลืองไหลออกจากอวัยวะเพศ
•ปัสสาวะขัด
•อัณฑะบวม หรือมีการอักเสบ
>>>>>>ผู้หญิง<<<<<

•ผู้หญิงที่ได้รับเชื้อนี้จะมีอาการช้ากว่าผู้ชายโดยเฉลี่ยจะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อแล้ว 1-3 สัปดาห์ อาการที่พบไม่มากจนกระทั่งผู้ป่วยไม่ให้ความสนใจ
•จะสงสัยว่าเป็นโรคนี้เมื่อคนที่ร่วมเพศด้วยป่วยเป็นโรคนี้
•ตกขาว หรือเลือดผิดปกติ
•ปัสสาวะขัด

การวินิจฉัย
เราสามารถรู้ว่าเป็นโรคหนองในแท้หรือไม่โดยการตรวจ

•นำหนองหรือปัสสาวะมาตรวจ PCR
•นำหนองมาย้อมหาเชื้อ
•นำหนองไปเพาะเชื้อ
•ข้อสำคัญคือท่านอาจจะต้องตรวจหาโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นร่วมด้วย
การรักษา

เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคหนองในแท้มักจะมีหนองในเทียมร่วมด้วยเสมอดังนั้นจึงต้องรักษาพร้อมกันทั้งสองโรค

•ยาในกลุ่ม Cephalosporin ได้แก่ Cefixime 400 มิลิกรัมรับประทานครั้งเดียว หรือ Ceftriaxone 250 มิลิกรัมฉีดครั้งเดียว
•ยาในกลุ่ม Quinolone ได้แก่ยา Ciprofloxacin 500 mg รับประทานครั้งเดียว หรือ Ofloxacin 400 mg รับประทานครั้งเดียว หรือ Levofloxacin รับประทานครั้งเดียว
•หากแพ้ยาดังกล่าวอาจจะให้ spectinomycin
•การรักษาหนองในแท้มักจะรักษาหนองในเทียมร่วมด้วยโดยการให้ doxycycline 1 เม็ดเช้าเย็นเป็นเวลา 7 วัน
•คนท้องต้องปรึกษาแพทย์
•เนื่องจากเชื้อมีการดื้อยามากขึ้นท่านต้องรับประทานยาให้ครบ และตรวจซ้ำตามที่แพทย์แนะนำและต้องพาคู่ของท่านไปตรวจรักษาด้วย
การป้องกันติดโรคนี้

•การป้องกันที่ดีที่สุดคือการงดมีเพศสัมพันธ์
•มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
•สวมถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโรคติดต่อหรือไม่
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

>>>>>>ผู้ชาย<<<<<

•ต่อมลูกหมากอักเสบ
•อัณฑะอักเสบ
•ท่อปัสสาวะตีบ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก
•เป็นหมัน
>>>>>>ผู้หญิง<<<<<

•อุ้งเชิงกรานอักเสบ
•ปวดประจำเดือน
•แท้ง
•กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
•ปากมดลูกอักเสบ
•เด็กที่เกิดในขณะที่แม่เป็นโรคนี้อาจจะมีการอักเสบของตา ข้ออักเสบ เชื้อเข้ากระแสโลหิต

โรคหอบหืด


ถ้าหากท่านหรือญาติเป็นโรคหอบหืด ท่านไม่ได้เป็นหอบหืดคนเดียวเพราะเราพบโรคหอบหืดได้ทั่วโรค โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี
เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรครวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศและของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติ และนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง

โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory] เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้

1.Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
2.Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
3.Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
4.Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง
จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้
•หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
•แน่นหน้าอก
•ไอ
•หายใจเสียงดัง
โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ

•อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
•อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
•อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
•อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน
การวินิจฉัย

จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด
•ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
•ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
•ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
•สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
•ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
•ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
•สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
•หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
•ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
•ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
•ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
•สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ

โรคภูมิแพ้คืออะไร

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ที่จะจดจำสิ่งแปลกปลอมที่จะทำร้ายร่างกายเรา เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรค โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิของร่างกายมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ allergen จากสิ่งแวดล้อมซึ่งปกติจะไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่แพ้ ปฏิกิริยานี้เริ่มเมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดการสร้างภูมิที่เรียกว่า IgE antibody ตัว antibody นี้จะกระตุ้น Mast cell ให้มีการหลั่งสาร Histamin ขึ้นที่เนื้อเยื่อต่าง เช่น ผิวหนัง ปอด จมูก ลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการแสดงจะเกิดตามอวัยวะต่างๆ เช่นลมพิษที่ผิวหนัง คัดจมูก แน่นหน้าอกเนื่องจากหอบหืด บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ Anaphylaxis shockคนเราเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร
เนื่องจากเกิดโรคภูมิแพ้เป็นจำนวนมากจึงได้มีการวิจัยหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้

•กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่นพ่อแม่ พี่น้อง ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย เด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงหากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้เด็กจะเป็นภูมิแพ้ได้ร้อยละ 30 แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้เด็กจะมีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ 50-60
•สิ่งแวดล้อมของเด็กในขวบปีแรกสำคัญมาก การสัมผัสควันบุหรี่ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สะเก็ดรังแคสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรับประทานอาหารสำเร็จรูป เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้•การติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก การที่มีเชื้อ lactobacillus ในลำไส้หรือการอาศัยใกล้ฟาร์มสัตว์จะลดอุบัติการณ์ของภูมิแพ้การหลีกเลี่ยงหรือนำสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ออกจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะทำให้ลดอาการของโรคภูมิแพ้และลดปริมาณการใช้ยา
ทำไมคนในเมืองถึงเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น
พบว่าปัจจัยที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง

•คนในเมืองอยู่บ้านมาก ติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
•เด็กกินนมแม่น้อยลง คนรับประธานอาหารจานด่วนมาก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก เช่น สี สารกันบูด
•คนนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านเพิ่ม
•การตกแต่งบ้าน ติดตั้งพรมและติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อไรฝุ่นเจริญได้ดี
•มลภาวะจากอุตสาหกรรม และการจราจร
•การสูบบุหรี่
สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในบ้าน
สารก่อโรคภูมิแพ้ในบ้านจะพบได้ตลอดปีและเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรค ภูมิแพ้คัดจมูก โรคหอบหืด ผื่นแพ้ eczema สารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญได้แก่

•ไรฝุ่นพบมากบนที่นอน โซฟา
•สะเก็ดรังแคสัตว์ น้ำลาย และเหงื่อของสัตว์เลี้ยง•ขนนก ของเสียแมลงสาบ ราวิธีป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน
•เปิดหน้าต่างให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ โดยเฉพาะห้องครัว ห้องน้ำโดยเปิดหน้าต่างอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมงเปิดวันละสองครั้งหากแพ้เกสรควรปิดหน้าต่างโดยเฉพาะช่วงที่มีเกสรดอกไม้มาก•ไม่ควรตากผ้าในห้องนอนและห้องนั่งแล่น•ถ้าห้องมีความชื้นมากให้เปิดให้อาการถ่ายเทให้มากการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
•ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน
•ไม่ควรตกแต่งห้องนอนด้วยพรม หรือมีตุกตา มั่นเช็ดฝุ่นบ่อยๆ
•ห้องนอนไม่ควรจะมีชั้น หรือหนังสือ
•เครื่องนอนควรจะซักและต้มสัปดาห์ละครั้ง
•งดบุหรี่ หรือทาสีในบ้าน
•หมั่นทำความสะอาด และดูดฝุ่นบ้านและม่านกันแดด
•กำจัดเศษอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ

โรคไมเกรน

โรคไมเกรน คือ โรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัว ของหลอดเลือดแดงในสมอง มากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย

โรคไมเกรนนี้ รู้จักกันมานานตั้งแต่สมัย GALEN คือ ราวสองพันปีมาแล้ว คำว่าไมเกรน (Migraine) นี้มาจากคำสองคำคือ HEMI + CRANIUM คำ HEMI แปลว่า ครึ่งซีก ส่วน RANIUM แปลว่า ศีรษะหรือหัว เมื่อคำสองคำมาผสมกันเป็น HEMICRANIUM แต่ยาวเกินไป จึงตัด "HE" ส่วนหน้าออกและ "IUM" ส่วนหลังทิ้ง จึงเหลือ "MICRAN" ในภาษาลาติน

ภาษาอังกฤษมาแปลงใหม่เป็น MIGRANE ในภาษาไทยมีคำแปลว่า "โรคตะกัง" แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแต่อย่างใด, จึงมักเรียกทับศัพท์กันว่า "โรคไมเกรน (MIGRAINE)"

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อาการปวดหัวหรือปวดศีรษะนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในประชาชนทั่วๆ ไป จนเรียกได้ว่าไม่มีใครที่จะไม่เคยปวดหัวเลย อาการปวดหัวนั้นอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆมากมาย เช่น โรคที่พบบ่อยได้แก่ ตัวร้อนหรือเป็นไข้ เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดฟัน ตาแดง หูอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ตลอดจนโรคที่พบน้อยแต่มีอันตราย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมองและเลือดออกในสมอง เป็นต้น

ในทางการแพทย์แบ่งอาการปวดศีรษะออกเป็น ๒ ชนิดคือ :

๑.ปวดศีรษะชนิดเฉียบพลัน, ซึ่งมักจะมีสาเหตุจากการอักเสบ หรือติดเชื้อในบริเวณโพรงจมูก คอ ปาก หูและตาดังกล่าวแล้ว

๒.ปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งมักมีสาเหตุใหญ่ๆ เพียง ๒ ชนิดคือ

ก.โรคไมเกรน

ข.โรคปวดศีรษะจากความเครียด

ส่วนภาวะเนื้องอกในสมอง หรือการตกเลือดในสมองนั้น พบได้น้อยมากไม่ถึง ๐.๐๑ % ของผู้ที่มีอาการปวดหัวทั้งหมด ดังนั้น ถ้าใครปวดหัวและกังวลว่าตัวเองจะมีเนื้องอกในสมอง หรือมีเลือดออกในสมองนั้นมีโอกาสเป็นจริงน้อยมาก แต่มักจะปวดศีษะจากความเครียด หรือโรคไมเกรน มากกว่า

มีคนถามว่า โรคไมเกรน กับ โรคปวดศีรษะจากความเครียดนั้น อย่างไหนจะพบมากกว่ากัน

คำตอบคือ โรคไมเกรนจะพบราว ๗% ของประชากร, ส่วนโรคปวดศีรษะจากความเครียดนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐฐานะ และสภาพของสังคม ในเมืองหลวงจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่าในชนบท ปัจจุบันนี้คงยอมรับว่า เกือบทุกคนมีความเครียด แต่ใครจะปวดหัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบต่างๆ ของการแสดงออกของอาการเครียด เช่น ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ หงุดหงิด เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ ตลอดจนท้อแท้เบื่อหน่ายได้

โรคไมเกรน ความจริงไม่น่าจะจัดว่าเป็นโรคแต่อย่างใด, เพราะเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองบีบตัวและคลายตัวมากกว่าปรกติ ในคนปกติหลอดเลือดแดงเหล่านี้ซึ่งมีอยู่มากมายในสมอง ก็จะมีบีบตัวและคลายตัวอยู่เป็นประจำแต่ไม่มากจึงไม่ปวดหัว ในผู้ป่วยไมเกรนจะไม่พบพยาธิสภาพใดๆในหลอดเลือดแดงของสมอง จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการแต่อย่างใด

อาการของโรคไมเกรน ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้ :

๑.ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอย แต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกัน หรือเป็นสลับข้างกันได้

๒.ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากจะปวดตุ๊บๆ นานครั้งหนึ่งๆเกิน ๒๐ นาที (ยกเว้นจะได้รับประทานยา) แต่บางครั้งถ้าเป็นรุนแรงอาจปวดนานเป็นวันๆ หรือสัปดาห์ก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อๆสลับกับปวดตุ๊บๆในสมองก็ได้

๓.อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะมีคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะ ก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้ บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากจนรับประทานอะไรไม่ได้

๔.อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว ๑๐-๒๐ นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อนหรือเห็นภาพบิดเบี้ยวนำหน้ามาก่อน

โรคไมเกรนพบบ่อยในผู้หญิงวัยสาว ระหว่าง ๒๐-๔๐ ปี ในเด็ก และผู้สูงอายุพบน้อย ผู้ชายพบว่าเป็นไมเกรนน้อยกว่าผู้หญิง ๓-๔ เท่าตัว แต่ถ้าผู้ชายเป็นมักจะมีอาการรุนแรงกว่า โดยมีอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่ง น้ำตาไหล ตาแดง ปวดรุนแรงมากติดต่อกันเป็นเวลา ๖-๘ สัปดาห์ และอาจเป็นซ้ำบ่อยๆทุก ๖-๑๒ เดือน โรคไมเกรนมักพบบ่อยกับสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัวที่เป็นผู้หญิง เช่น แม่ น้องสาว น้า ป้า เป็นต้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า ตัวกระตุ้นหรือทำให้เกิดอาการของโรคไมเกรนมากขึ้นได้แก่

๑.ภาวะเครียด
๒.การอดนอน
๓.การขาดการพักผ่อน หรือทำงานมากเกินไป
๔.ขณะมีระดู หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
๕.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
๖.อาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไมเกรนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆ เหล่านี้ ผู้ป่วยทุกคนต้องสังเกตตัวเองว่า อะไรเป็นตัวกระตุ้นการเกิดโรคไมเกรนในตนเอง เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและแก้ไขได้ตรงจุด

เป็นที่ยอมรับกันว่า โรคไมเกรนก่อให้เกิดภาวะปวดศีรษะเรื้อรังนานเป็นปีๆ บางรายอาจนานเป็นสิบๆปี จึงมักทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลว่า ทำไมตัวเองจึงไม่ยอมหายจากภาวะปวดศีรษะนั้น และวิตกว่าจะมีความผิดปรกติในสมองต่างๆ เช่น เนื้องอกหรือเลือดคั่งในสมอง หรือเกรงว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการตามมาภายหลัง

ในกรณีนี้จะทำให้อาการปวดศีรษะเลวลง เพราะจะเกิดอาการปวดศีรษะจากภาวะเครียดเพิ่มขึ้นมาทับถมอีก การปวดศีรษะจากภาวะเครียดนั้นพูดโดยย่อ จะปวดแบบตื้อๆ หนักศีรษะทั่วทั้งศีรษะบางรายจะบอกว่า ปวดเหมือนมีอะไรมาบีบรัดโดยรอบหัว อาการนี้จะเป็นมากตอนบ่ายๆ หรือสายๆ ช่วงเช้าไม่ค่อยปวด หลังนอนพักอาการจะดีขึ้น ทั้งนี้เพราะเกิดจากการบีบเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบศีรษะและบริเวณคอ

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไมเกรนจะไม่มีอันตรายใดๆ ที่จะก่อให้เกิดการพิการหรือทุพพลภาพตามมาแต่อย่างใด โดยปรกติอาการปวดศีรษะชนิดไมเกรนนี้จะลดความรุนแรงลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเลยวัยหมดระดูไปแล้ว จะพบผู้ป่วยไมเกรนน้อยมาก

โรคไมเกรนเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด ไม่มีวิธีการวินิจฉัยทางอื่นใด ดังนั้น การเจาะเลือด เอกซเรย์ หรือการตรวจคอมพิวเตอร์สมองจึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด กลับจะเจ็บตัวและอาจเป็นอันตรายหรือเสียเงินทองโดยไม่จำเป็น
การปวดศีรษะจากโรคไมเกรน มักรักษาไม่หายด้วยยาแก้ปวดพาราเซตตามอลธรรมดา ยาที่ได้ผลดีคือยาแก้ปวดแอสไพริน ขนาด ๒ เม็ด ในขณะปวด แต่ข้อระวังห้ามรับประทานแอสไพรินในขณะท้องว่าง และผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารห้ามรับประทานแอสไพรินเด็ดขาด เพราะอาจเกิดเลือดออกในกระเพาะได้มากๆ และอาจทำให้ถึงแก่กรรมได้ ในผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่า จะมีโรคกระเพาะหรือไม่ ให้รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารหรือนมร่วมด้วย ก็จะป้องกันการระคายเคืองของแอสไพรินต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารได้
ในผู้ป่วยโรคไมเกรนที่นานๆ เป็นครั้ง เช่นปีละ ๒-๓ หนไม่จำเป็นต้องกินยาป้องกันแต่อย่างใด แต่ถ้าผู้ป่วยโรคไมเกรนที่เกิดอาการปวดศีรษะบ่อยๆ เช่นเกือบทุกสัปดาห์ หรือทุกวัน จำเป็นต้องให้การป้องกันโดยการหลีก เลี่ยงปัจจัยส่งเสริมให้เกิดดังกล่าวแล้ว ในกรณีที่ไม่มีปัจจัยส่งเสริมดังกล่าวอาจจำเป็นต้องให้ยาป้องกัน ซึ่งแบ่งได้หลายชนิด เช่น

ก. ERGOT ALKALOIDS เป็นยาป้องกันมิให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว
ข. BETA BLOCKER
ค. CALCIUM CHANNEL BLOCKER
ง. ANTIDEPRESSANT เป็นต้น
จ. SEROTONIN ANTAGONIST เป็นต้น

ยาในกลุ่มดังกล่าวเป็นยาอันตราย และมีผลข้างเคียงทุกชนิด จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้และรับประทานตามกำหนดในช่วงเวลาจำกัด การซื้อใช้เองอาจเกิดผลร้ายได้

Business

Blog M