Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รู้จักไตวาย ก่อนจะสายไป


แต่โอกาสที่แต่ละคน จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องรอไตจากผู้เสียชีวิต อันเนื่องมาจากสมองตายเท่านั้น และต้องรีบผ่าตัดภายในเวลาจำกัด ก่อนที่เซลล์ต่างๆ ของไตจะตายไป นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการขโมยไต

อาการแรกเริ่มไตวายเรื้อรัง

ไตเป็นอวัยวะที่มีขนาดกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ รูปร่างคล้ายถั่วแดงอยู่ด้านหลังทั้ง 2 ข้างของลำตัว ในแนวระดับของกระดูกซี่โครงล่าง หรือเหนือระดับสะดือ มีหน้าที่ ขับถ่ายของเสีย อันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน, ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ดังนั้นหากไตมีความบกพร่อง หน้าที่การขจัดของเสีย และดูแลความสมดุลก็จะบกพร่องไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยบางรายจะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายกว่าจะแสดงอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงแล้ว

โรคไตมีอยู่ 8 ชนิด แต่ที่รุนแรงก็คือไตวายเรื้อรัง โดยอาการแรกที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ซึ่งขณะนั้นผู้ป่วยยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นไตวาย คือ อาการอ่อนเพลีย ซึมๆ มึนงง นอนไม่หลับ คันตามร่างกาย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ความรู้สึกรับรสของลิ้นเปลี่ยนไป น้ำหนักลด ชาปลายมือปลายเท้า รู้สึกหนาวง่าย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ปวดศีรษะ เป็นต้น
แต่อาการเหล่านี้ยังไม่ใช่อาการเฉพาะของโรคไตเพราะอาจพบในโรคอื่นๆ ได้

อาการเตือนที่สำคัญ 6 อย่างที่ทำให้นึกถึงโรคไตคือ

• การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่นปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อยลง
• มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะสะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา
• ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อหรือปัสสาวะเป็นฟอง
• การบวมของใบหน้า เท้า และท้อง
• อาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)
• ความดันโลหิตสูง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีบางคนที่เป็นไตวาย แต่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม โรคไตวายเรื้อรัง มักเป็นผลแทรกซ้อนจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูงและเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบสาเหตุอื่นๆ อีก คือ เกาต์ เอสแอลอี ภาวะหัวใจวาย กรวยไตอักเสบเรื้อรัง รวมถึงการแพ้ยา

ควบคุมอาหารก่อนไตเสื่อมสภาพ

ในผู้ป่วยไตวายที่ยังสูญเสียสภาพไตไม่มาก จะต้องพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด ดังนี้

• จำกัดอาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่รสเค็ม ทั้งเกลือ น้ำปลา ซอส หรือพวกดองเค็ม ดองเปรี้ยว หรือที่มีรสหวานจัด และจำกัดอาหารที่มีโปรตีนและโปแตสเซียม ได้แก่ พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม พวกผัก หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่ว ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่นลูกเกด ลูกพรุน และกากน้ำตาล ช็อคโกแล็ต มะพร้าวขูด (คำว่าจำกัดหมายถึงให้กินแต่น้อย ประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน)

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไตวายขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน ให้เหมาะสมตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ
ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร

• รักษาด้วยยา เช่น ยาลดความดัน ยาจับฟอสฟอรัส หรือยารักษาความเป็นกรดในเลือด เป็นต้น
• ไม่ทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาหักโหม อาบน้ำทุกวันโดยใช้สบู่อ่อน ทาผิวหนังด้วยน้ำมันหรือครีม เพื่อลดอาการผิวแห้งและคัน ตัดเล็บให้สั้น ทำความสะอาดปากและฟันบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ

หากผู้ป่วยมีอาการถึงระยะสุดท้ายจะต้องล้างไต โดยการฟอกเลือดจากเครื่องไตเทียม หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต

กันดีกว่าแก้

การบริโภคอาหารตามแนวทางชีวจิต ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เราห่างไกลโรคร้ายนี้ได้ รวมทั้งยังได้ความอร่อย และทำให้ภูมิชีวิตเราทำงานได้ดีขึ้นด้วย

การทานอาหารชีวจิตง่ายๆ ก็คือ ไม่กินแป้งที่ขัดขาว งดเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ แล้วหันมาทานโปรตีนที่ได้จากพืช และทานผลไม้เป็นอาหารยามว่าง แทนที่จะเป็นขนมกรุบกรอบทั่วไป นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือ หมั่นออกกำลังกายและทำจิตใจให้สงบ แจ่มใส สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรจะตรวจปัสสาวะทุกปี เพื่อดูการทำงานของไตว่าปกติอยู่หรือไม่

ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ

อยู่ นั่งพัก และร้องเรียกขอความช่วยเหลือ
2. หากอาการไม่ดีขึ้น รีบให้ญาตินำส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจรักษา
3. กรณีที่ท่านเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว รีบอมยาใต้ลิ้น ครั้งละ 1 เม็ด จนกว่ายาจะละลายหมด โดยท่านสามารถอมยาใต้ลิ้นได้ 3 ครั้ง และห่างกันประมาณ 5 นาที หรืออมยาเมื่อยาเม็ดเก่าละลายหมด หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบมาโรงพยาบาล

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

1. ภาวะไขมันในเลือดสูง
2. ความดันโลหิตสูง
3. โรคเบาหวาน
4. สูบบุหรี่

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุส่งเสริม จากภาวะเครียด อายุ และ เพศ ร่วมด้วย

การรักษาเบื้องต้นที่ท่านจะได้รับ เมื่อมาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก

1. ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าแน่นหน้าอก ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
2. ออกซิเจน
3. ยาขยายหลอดเลือด ชนิดอมหรือพ่นใต้ลิ้น หรือชนิดหยอดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก
4. ยาแอสไพริน

การป้องกัน

1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้คงที่ ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่หักโหมอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที บ่อยเท่าที่สามารถทำได้
4. งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย
5. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นรับประทานผักและผลไม้ให้มาก หากไม่ขัดกับโรคประจำตัวอื่นๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม หวานจัด และมีไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไขมันจากสัตว์ กะทิ อาหารผัดทอดต่างๆ

กล้ามเนื้อหัวใจตาย

หัวใจของเรา เป็นอวัยวะหนึ่ง ที่ทำงานหนักที่สุดตลอดชีวิต โดยไม่คิดยื่นใบลาพักร้อน การปั๊มเลือดซึ่งมีสารอาหาร และ ออกซิเจนไป เลี้ยงสมอง และ อวัยวะสำคัญทั่วร่างกาย จำเป็นต้องอาศัยกล้ามเนื้อ และหลอดเลือดหัวใจที่แข็งแรง เมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เกิดการอุดตันขึ้น กล้ามเนื้อ หัวใจที่ ขาดเลือดส่วนหนึ่งจะหยุดทำงาน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตตั้งแต่แรก จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Ventricular fibrillation) ที่ไม่เกิดการบีบตัว หรือ อาจตาย จากภาวะหัวใจวายในเวลาต่อมา การรักษาที่ทันท่วงที รวมทั้งการ ปฏิบัติการกู้หัวใจ และการเปิดหลอดเลือดที่อุดตัน ให้เลือดไหลผ่านโดยเร็ว จะสามารถ ช่วยชีวิตผู้ป่วย และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดตามมาได้ บทความนี้ต้องการจะเน้นถึง ความเข้าใจอย่างง่ายๆ ในการเกิดโรค และความรู้ ในปัจจุบัน ที่ใช้รักษาโรคนี้ เพื่อเป็นแนวทาง ในการป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

รอยโรคจากอดีตที่ยังเป็นปัญหาในปัจจุบัน

จากการตรวจมัมมี่พระศพของกษัตริย์ Merneptah ฟาโรห์องค์หนึ่งแห่ง Exodus ดินแดนในอียิปต์โบราณ เมื่อพันกว่าปีก่อน คริสตกาล ได้มีการพบหลักฐาน การเกิดผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) ซึ่งต่อมาเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุ เบื้องต้นของโรคนี้ แต่มนุษย์ยังต้องใช้เวลานับพันปีกว่า ที่จะเรียนรู้ถึงกลไก และสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคนี้ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็น สาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชากรในซีกโลกตะวันตก ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เองถึงแม้จะมีความก้าวหน้าทาง วิชาการสูง และมีแนวโน้มของอัตราตายจากโรคนี้ลดลง แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ไม่ต่ำกว่า 500,000 คนต่อปี และ มีผู้ป่วยจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ราว 1.2 ล้าน คนต่อปี สำหรับในประเทศไทยนั้น กลับตรงข้าม แม้เราจะไม่ทราบสถิติที่แน่นอน แต่การเกิดโรคนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกที และพบมากขึ้นในคนอายุน้อยลง แม้ในช่วงอายุเพียง 30-40 ปี

ไขมันตัวร้าย ผู้ก่อโรค

จากการศึกษาในปัจจุบันบ่งชัดว่า โรคนี้เริ่มเกิดที่ผนังของหลอดเลือดแดงเอง โดยมีการสะสมของไขมันโคเลสเตอรอลที่ผนังด้านใน ไขมันนี้ได้มาจากสัตว์เท่านั้น ร่างกายของเราได้รับโคเลสเตอรอลมาจาก 2 แหล่ง คือจากภายนอก ได้จากอาหารที่มีไขมันสูง (เช่น หมูหัน ขาหมู มันไก่ ไข่แดง สมอง หอย นางรม ฯลฯ) และจากภายในร่างกายเอง โดยการสร้างของตับ เราอาจแบ่งไขมัน โคเลสเตอรอลออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โคเลสเตอรอลที่มีขนาดใหญ่ แต่มีความหนาแน่นน้อยเรียกว่า แอล-ดี-แอล (Low Density Lipoprotein Cholesterol) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อม และโคเลสเตอรอล ชนิดที่มีขนาดเล็ก แต่มีความหนาแน่นสูง ที่เรียกว่า เอช--ดี-แอล (High Density Lipoprotein Cholesterol) เจ้าตัวหลังนี้จะกลับเป็นพระเอก ช่วยขนถ่าย แอล-ดี-แอล ที่ผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ เมื่อมาถึงตรงนี้ก็คงนึกภาพออกว่า ผู้ที่มีไขมันชนิด แอล-ดี-แอลสูง หรือ เอช-ดี-แอล ต่ำ ก็จะทำให้ เกิดการสะสมของไขมันในผนังมาก และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

กล่าวกันว่าในชายอเมริกันที่มีอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป ร้อยละ 90 จะมี แอล-ดี-แอลสะสมที่ผนังหลอดเลือด จากการศึกษาพบว่า การสะสมของไขมันนี้ เกิดตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น โดยมีลักษณะเป็นปื้นไขมันเล็กๆ สีเหลืองซึ่งอาจหายไปได้เอง หรือหายไปได้หลังจาก ได้รับการรักษา แต่ในรายที่มี แอล-ดี-แอลในเลือด สูงการสะสมจะเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นแอ่งในไขมันในผนัง โดยมีพังผืดหุ้มไว้บางๆ เมื่อเกิดเคราะห์หามยามร้าย พังผืด ซึ่งทำหน้าที่ เป็นเปลือกหุ้มไขมัน นี้เกิดปริแตกออก ก็จะทำให้ไขมันข้างใต้ ออกมาสัมผัสกับเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงจับกันเป็นกลุ่ม เกิดการอุดตันหลอดเลือดเส้นนั้นทันที เป็นผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ณ จุดนี้การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดก็ คือการขจัดก้อนเลือดที่อุดตันนี้โดยเร็ว ซึ่งอาจทำได้ด้วย การให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ การใช้ลูกโป่งขยายหลอดเลือด บางครั้งการปริแตกที่เกิดมีไม่มาก เป็นผลให้ก้อนเลือดที่เกิดมีขนาดไม่ใหญ่นัก ก็จะไม่เกิดการอุดตันของหลอดเลือด หากแต่จะมีการซ่อมแซม โดยอาศัยเนื้อเยื่อพังผืด และหินปูนในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้มีการหนาตัวเพิ่มขึ้น ของรอยโรคที่ผนังและจะเบียดรูหลอดเลือดให้ตีบแคบลงในที่สุด

แพทย์รักษาหลอดเลือดหัวใจอุดตันกันอย่างไร

การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน นับเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายยิ่ง เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตทันที ถึงครึ่งหนึ่ง ณ ที่เกิดเหตุ โดยมีสาเหตุจากการนำไฟฟ้าที่ผิดปกติ เป็นผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ การใช้ไฟฟ้าช็อคหัวใจ ให้กลับมาเต้นปกติร่วมไปกับการปั๊มหัวใจ และช่วยการหายใจ อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ในขั้นต้น

ขั้นต่อมาคือ จะต้องรีบเปิดเส้นเลือดที่อุดตันให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเวลาผ่านไป (เกิน 6 ชม.) ผนังกล้ามเนื้อที่ขาดเลือด ก็จะยิ่งถูกทำลาย และอาจทำให้เกิด ภาวะหัวใจวายในเวลาต่อมา

ยาละลายลิ่มเลือด เป็นสารพวกเอ็นไซม์ ที่จะละลายลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น แพทย์จะให้ยานี้ทางหลอดเลือดดำ ผลที่ตามมาคือผู้ป่วยจะมี ภาวะเลือดแข็งตัวช้า ดังนั้น ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติร่วมด้วย (เช่นในทางเดินอาหาร ในสมอง) ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใหม่ๆ หรือมีประวัติแพ้ยา ก็จะไม่สามารถให้ยากลุ่มนี้ได้ โดยทั่วไปยาในกลุ่มนี้จะสามารถเปิดเส้นเลือดได้ผลในราว ร้อยละ 50-70

ในโรงพยาบาลที่มีห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ และมีทีมงานที่พร้อม แพทย์ผู้ชำนาญ จะสามารถใช้ลวดเล็กๆ สอดผ่านหลอดเลือดที่ตัน และทำการขยายหลอดเลือดด้วยลูกโป่ง วิธีนี้พบว่า สามารถเปิดหลอดเลือดได้สำเร็จ ถึงกว่าร้อยละ90 และพบว่าได้ประโยชน์มาก ในรายที่ผู้ป่วยเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อย่างมากจนช็อค

โรคอันตรายที่คุณอาจป้องกันได้

ผลการศึกษาในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาจากหลายสถาบันยืนยันว่า ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ถ้าได้รับการลดไขมันลงมา ในระดับที่ปลอดภัย จะสามารถลดการสะสมของไขมัน ที่ผนังหลอดเลือดได้ ทำให้หลอดเลือดตีบน้อยลง หรืออย่างน้อยก็ไม่ตีบมากขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถลดอัตราตายจากโรคนี้ รวมทั้งอุบัติการณ์ในการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันลงราวร้อยละ 40-70

หลักปฏิบัติที่ควรทราบคือ 1. การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว เพื่อลดไขมันในเลือดนั้นได้ผลน้อย (สามารถลดไขมันได้ราว ร้อยละ 10) ดังนั้นหากไขมันในเลือดสูงมาก ควรควบคุมอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกาย และรับประทานยาลดไขมันในเลือดร่วมด้วย
2. การเจาะเลือดตรวจไขมัน หากไขมันโคเลสเตอรอลสูง ควรตรวจไขมันอย่างละเอียด คือ โคเลสเตอรอลรวม แอล-ดี-แอล เอช-ดี-แอล ไตรกลีเซอไรด
3. ในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ควรพยายามลดระดับ แอล-ดี-แอลให้ต่ำกว่า 100 มก./ดล. หรือ ระดับ โคเลสเตอรอล.รวมให้ต่ำกว่า 200 มก./ดล.
4. การควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ถ้ามี) ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย (น้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท) ร่วมกับ การหยุดสูบบุหรี่ เป็นสิ่งที่จำเป็น ที่ต้องทำควบคู่กันไป ในควันบุหรี่มีสารพิษหลายสิบชนิด ซึ่งทำให้ผนังหลอดเลือดถูกทำลายเพิ่มขึ้น
5. การออกกำลังกายชนิดแอโรบิค ร่วมกับการลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน จะช่วยทำให้ระดับ เอช-ดี-แอล ในเลือดสูงขึ้น แต่ท่านควรปรึกษาแพทย์ ประจำตัวของท่านให้แน่ใจถึงความปลอดภัยเสีย ก่อนจะเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย


โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราตายสูง และมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้าไม่ได้รับการแก้ไขรักษาให้ทันเวลา การป้องกันเสียก่อนที่โรคจะเกิดขึ้น จึงเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะการควบคุมไขมัน เบาหวาน ความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และงดสูบบุหรี่ เป็น สิ่งที่จำเป็นที่ท่านสามารถทำได้ หากมีความตั้งใจเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของชีวิตท่าน ซึ่งมีค่าประมาณมิได้ สำหรับบุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัวของท่าน

นิ้วล็อก


นิ้วล็อก หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

ชื่อภาษาไทย นิ้วล็อก, ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ
ชื่อภาษาอังกฤษ Trigger finger, Digital flexer tenosynvitis, Stenosing tenosynvits

สาเหตุ
เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น และติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้ม เวลาเหยียดนิ้วมือกลับไป ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยใน การเหยียด จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้

การอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือมักเกิดจากแรงกดหรือเสียดสีของเส้นเอ็นซ้ำซาก หรือใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่น การใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน เล่นกีฬา เล่นดนตรี เป็นต้น โรคนี้จึงพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา (เช่น กอล์ฟ เทนนิส) หรือเล่นดนตรี (เช่น ไวโอลิน) นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์

อาการ
ระยะแรกมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น บางคนจะสังเกตว่าเวลางอแล้วเหยียดนิ้วมือจะได้ยินเสียงดังกิ๊ก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน นิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง อาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้างก็ได้ อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า

การแยกโรค
อาการนิ้วงอ เหยียดขึ้นไม่ได้ อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เส้นเอ็นนิ้วมือฉีกขาดจากการบาดเจ็บ (ซึ่งมักเกิดขึ้นฉับพลันหลังได้รับบาดเจ็บ) การดึงรั้งของพังผืด (เช่น ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่นิ้วมือ) ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (เช่น Dupuytren's contracture) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข

การวินิจฉัย
แพทย์มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดงเป็นหลัก และการตรวจร่างกายอาจตรวจพบว่าเมื่อใช้มือกดตรงโคนนิ้วมือ ตรงปุ่มกระดูกจะรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจคลำได้ปุ่มเส้นเอ็นที่อักเสบ

การดูแลตนเอง
หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้

ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่น อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้
ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง

การรักษา
แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค ในระยะแรก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เพื่อบรรเทาปวดและลดการอักเสบ การทำกายภาพ- บำบัด หรือฉีดยาสตีรอยด์เข้าไปที่เส้นเอ็นที่อักเสบ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือสะกิดส่วนของพังผืดที่หนาตัวออกไป (โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด จะมีแผลเป็นรูเล็กๆ ตรงตำแหน่งที่เจาะ) ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไข

ภาวะแทรกซ้อน
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้มีอาการเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด

การดำเนินโรค
ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นเรื้อรัง และข้อฝืดมากขึ้น
ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะหายได้

การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการใช้มือทำงานที่มีลักษณะทำให้เกิดแรงกดหรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก

การหิ้วของหนักๆ เช่น ถุงหนักๆ ถังแก๊ส ถังน้ำ กระเป๋า (ควรใช้รถเข็นลาก หรือใส่ถุงมือ)
การซักผ้า บิดผ้า (ควรใช้เครื่องซักผ้าแทน)
เวลากำหรือจับอุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือลดแรงกดหรือเสียดสี เช่น ใส่ถุงมือเวลาจับไม้ตีกอล์ฟ กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีดตัดต้นไม่หรือดายหญ้า

ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งของหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่องนานๆ หรือใช้มือหิ้วของหนักๆ

Business

Blog M