Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรคหอบหืด


ถ้าหากท่านหรือญาติเป็นโรคหอบหืด ท่านไม่ได้เป็นหอบหืดคนเดียวเพราะเราพบโรคหอบหืดได้ทั่วโรค โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี
เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรครวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศและของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติ และนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง
นิยาม
โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory] เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้

1.Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
2.Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
3.Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
4.Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง


จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้
•หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
•แน่นหน้าอก
•ไอ
•หายใจเสียงดัง
โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ

•อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
•อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
•อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
•อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน
การวินิจฉัย

จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด
•ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
•ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
•ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
•สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
•ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
•ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
•สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
•หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
•ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
•ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
•ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
•สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ
การรักษาให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยต้องประกอบด้วยแผนการรักษาดังนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหอบหืดติดตามทีละหน้า และพยายามทำความเข้าใจ จะทำให้นำไปปฏิบัติได้
•การวินิจฉัย
•การหลีกเลี่ยงหรือขจัดสิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ผู้ป่วยทุกคนควรทราบถึงปัจจัยที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น
•การจำแนกความรุนแรงของโรคหอบหืดเมื่อให้ผู้ป่วยทราบความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในขั้นไหนจะทำให้ทราบว่าควรจะได้รับยาอะไรบ้าง
•ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดผู้ป่วยควรทราบว่ายาที่ใช้อยู่เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการหรือเป็นยาที่ใช้รักษาโรคในระยะยาว
•แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรังเป็นแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในแต่ละขั้น
•แผนการรักษาหอบหืดฉับพลันสำหรับผู้ป่วยเป็นแผนการรักษาเมื่อเกิดหอบหืดเฉียบพลันเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้าน
•คุณต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนพบแพทย์เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้แพทย์ทราบอาการของโรค
•ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อให้ผู้ป่วยเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงความรุนแรงและเร่งด่วนของโรค
•ผู้ป่วยคนไหนที่ควรอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษา
•ผู้ป่วยคนไหนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหืด•โรคหอบหือในภาวะพิเศษ เช่นโรคหอบกลางคืน หอบขณะออกกำลังกาย หอบขณะตั้งท้อง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Business

  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
    7 ปีที่ผ่านมา

Blog M