skip to main |
skip to sidebar
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในทุกกลุ่มผู้สูงอายุ อายุเฉลี่ยที่พบประมาณ 54 ปี และใน ผู้หญิงจะพบมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
ภายในบริเวณข้อมือจะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ โดยมี แผ่นเอ็นขวาง และ กระดูกข้อมือ เป็นผนังของอุโมงค์ ภายในอุโมงค์ประกอบด้วย เส้นเอ็นนิ้วมือ และ เส้นประสาท เมื่อมีการเพิ่มความกดดันภายในอุโมงค์นี้ เส้นประสาทก็จะถูกกด ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงต่าง ๆ ตามมา
สาเหตุ
1. การใช้งานของมือ และ ตำแหน่งของข้อมือ
ส่วนใหญ่เกิดจาก การใช้มือท่าเดียวนาน ๆ เช่น การกำมือ การบีบ การกด เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่กระดกขึ้นหรืองอลงมาก ๆ เช่น การพิมพ์ดีด ใช้มือเย็บผ้า เล่นเครื่องดนตรี การใส่เฝือกที่ข้อมือ ถือหนังสือ ถือพวงมาลัยรถยนต์ การจับแฮนของรถจักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น
2. ภาวะผิดปกติหรือโรคที่เป็นอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง รูมาตอยด์ เกาต์ กระดูกข้อมือหักหรือกระดูกข้อมือที่ติดผิดรูป เส้นเอ็นอักเสบ การติดเชื้อ
3. สภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น อ้วน ตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตรหรือ ได้รับยาคุมกำเนิด
อาการปวดส้นเท้าพบบ่อยในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีอาการปวดบวมที่ส้นเท้า และอาจลามขึ้นไปที่น่อง ทำให้ต้องเดินกะโผลกกะเผลก สำหรับผู้ที่มีอาการปวดส้นเท้าเรื้อรัง มักจะพบกระดูกงอกในส้นเท้าด้วย อาการปวดส้นเท้าจะเป็นหนักขึ้นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะพายุเข้าหรือฝนตก เวลาตื่นนอนหรือลุกจากที่นั่งใหม่ ๆ และอาการอาจทุเลาลงบ้าง เมื่อมีการเดินไปเดินมาสักพัก
สาเหตุของอาการปวดส้นเท้ามีด้วยกันหลายอย่าง เช่น น้ำหนักเกิน เดินมาก ๆ หรือยืนนาน ๆ เป็นประจำ ได้รับบาดเจ็บที่ส้นเท้า เบาหวานหรือเกิดจากความเสื่อมสภาพของร่างกายตามอายุ เป็นต้นอาการปวดส้นเท้าจัดเป็นการอักเสบเฉพาะที่ ซึ่งมิได้เกิดจากการติดเชื้อแต่อย่างใด หากแต่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดลมบริเวณส้นเท้า มีการติดขัดและสะดุด ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก จึงเกิดอาการปวดขึ้นมา ดังเช่นหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน "ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด"
การเดินในกิจวัตรประจำวันก็จะทำให้ส้นเท้าอักเสบมากขึ้น และเรื้อรังเป็นเวลานาน หากไม่มีการรักษาอย่างถูกวิธี อาการอักเสบนี้ก็จะไประคายข้อต่อและเยื่อหุ้มกระดูกในส้นเท้า ทำให้ส้นเท้าเกิดกระดูกงอกขึ้นมาได้ ดังนั้น กระดูกงอกในส้นเท้าจึงมิได้เป็นสาเหตุของอาการปวดส้นเท้า หากเป็นผลที่เกิดจากการอักเสบของส้นเท้าต่างหาก
สำหรับอาการปวดส้นเท้า การแพทย์จีนนิยมใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขจัดพิษร้อน ที่สะสมอยู่ในส้นเท้า ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้การไหลเวียนของเลือดลมในบริเวณนี้สะดุด และติดขัดจนเกิดอาการปวด เพื่อลดอาการอักเสบของส้นเท้า ส่วนสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการฟื้นฟู และกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า ก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาอาการปวดส้นเท้าเช่นกัน
แต่สำหรับผู้ที่ปวดส้นเท้าแบบจี๊ด ๆ พร้อมมีอาการหายใจไม่สะดวก ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย ขึ้นบันไดชั้นสองชั้นหรือทำอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็รู้สึกเหนื่อยหรือลิ้นสีม่วงแดงนั้น ผู้ป่วยควรตระหนักว่าเลือดลมในร่างกาย ไม่ได้ติดขัดและสะดุดเฉพาะที่บริเวณส้นเท้าเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลาย ๆ จุดเกิดการติดขัดและสะดุดจนเลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก โดยเฉพาะบริเวณหัวใจ จึงควรรักษาอาการปวดส้นเท้า ควบคู่กับการทำความสะอาดหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกาย
ส่วนผู้ป่วยปวดส้นเท้าที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ตาลาย แขนขาอ่อนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขี้หลงขี้ลืม ขี้หนาว ปัสสาวะบ่อย ฯลฯ แสดงว่าไตของผู้ป่วยนั้นอ่อนแอ ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร จึงควรทำการบำรุงไตไปพร้อม ๆ กัน
Business
-
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
-
แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
-
*Part One: Language Use and Usage (Items 1 – 40)*
*1. Oral Expression*
*Directions: Choose the best answer.*
*1.1 **Conversation*
Conversation 1: Kitti, a ...
7 ปีที่ผ่านมา
Blog M
-
ปู่วัย 92 ปีแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง
-
ปู่วัย 92 จากไนจีเรีย เคยแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง ยังเหลือภรรยาอีก 97 คน
ที่ยังอยู่กินอยู่ด้วยกัน เผย ยังหวังหาภรรยาเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ
ให้มากที่สุดเท่าที...
8 ปีที่ผ่านมา
-
เพื่อนแพง
-
พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง
อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ
(ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
9 ปีที่ผ่านมา