Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

สาเหตุไข้หวัด และลักษณะของโรค

เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงชนิดเดียว เมื่อเป็นแล้วคนเราก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดนั้น ในการเจ็บป่วยครั้งใหม่ก็จะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือหายใจรดกัน นอกจากนี้ เชื้อหวัดยังอาจติดต่อได้โดยการสัมผัสมือ กล่าวคือ เชื้อหวัดติดที่มือผู้ป่วยเมื่อสัมผัสถูกมือของคนอื่นเชื้อหวัดก็จะติดมือของคนๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายของคนๆ นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้
โรคหวัดอาจเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิดด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza viruses) ได้แก่ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ที่พบมากที่สุด เชื้อไวรัสยังรวมไปถึงเอคโคไวรัส (Echovirus), อะดิโนไวรัส (Adenovirus), พาราไมโซไวรัส (Paramixovirus), คอกซ์แซกคีไวรัส (Coxsackievirus) รวมถึงไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดอีกหลายร้อยประเภทที่ถูกค้นพบ จะทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยไวรัสเหล่านี้สามารถกลายพันธุ์เพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ (ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า วิธีการรักษาโรคนี้ยังไม่น่าจะถูกค้นพบในเร็ววัน) โดยที่บริเวณกล่องเสียง (คอหอย) จะเป็นเป็นศูนย์รวมของเชื้อไวรัส โดยสาเหตุที่เชื้อไวรัสชอบไปสะสมตัวกันที่กล่องเสียงก็เนื่องมาจากอุณหภูมิของกล่องเสียงที่ต่ำกว่าบริเวณลำคอ และเป็นส่วนที่มีเซลล์ตัวกระตุ้นมาก ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไวรัสชอบ

โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านทางละอองน้ำมูกและน้ำลายที่มาจากการไอหรือจามของผู้ป่วย โดยละอองเหล่านี้สามารถทำให้คนเป็นหวัดได้ผ่านจากการสูดละอองเหล่านี้เข้าไปโดยบังเอิญ หรือผ่านการสัมผัสจากมือต่อมือกับผู้ป่วย และจากการสัมผัสวัตถุที่ผู้ป่วยเคยสัมผัสมาก่อน ซึ่งจะติดต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคได้ผ่านทางส่วนตาและจมูก เมื่อมือที่เปื้อนเชื้ออยู่สัมผัสไปโดน
ไวรัสนี้อาศัยการไอและจามของผู้ป่วยเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยไปยังผู้อื่น ก่อนที่มันจะถูกระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยสกัดกั้นไว้ได้ โดยการจามจะขับไวรัสที่เกาะตัวกันอยู่หนาแน่นในละอองน้ำลายหรือน้ำมูกมากกว่าการไอ โดยละอองเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ ยกเว้นที่ร่มที่แสงแดดส่องถึง และมีอัตราการตกสู่พื้นที่ช้ามาก ซึ่งกินเวลาเป็นชั่วโมงๆ กว่าที่ละอองจะตกถึงพื้น รวมถึงการแพร่กระจายของเชื้อเมื่อนิวเคลียสของละอองระเหย และทิ้งเชื้อที่เล็กกว่ามากและไม่สามารถมองเห็นได้เลย นั่นก็คือนิวเคลียสของละอองเองไว้ในอากาศ กลุ่มละอองน้ำลายหรือน้ำมูกจากการจามหรือไออย่างรุนแรง หรือจากการสัมผัสมือที่เปื้อนเชื้อ เชื้อไวรัสจะเกาะตัวแน่นบนพื้นผิวใดๆ ที่มันอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ กระนั้น ไวรัสเกาะติดอยู่ได้น้อยกว่าบนพื้นผิวที่มีรูโปร่งเช่นแผ่นไม้หรือกระดาษชำระ ซึ่งต่างจากวัตถุทึบตันเช่นราวเหล็กที่เชื้อสามารถเกาะติดได้นานกว่า โดยผู้ป่วยนั้นจะมีโอกาสเป็นพาหะได้มากที่สุดในช่วงสามวันแรกของการเป็นโรค แต่การติดต่อของโรคนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากผู้ที่แสดงอาการ เนื่องจากมีไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดอยู่หลายชนิดเหมือนกัน ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ยังคงมีไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดอยู่ได้ในน้ำมูก อาจเป็นเพราะว่าไวรัสมีจำนวนน้อยเกินไปกว่าที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการได้

ไวรัสเชื้อหวัดสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยการเข้าไปในเซลล์ที่หุ้มกล่องเสียงอยู่ จากนั้นมันจะทำการแพร่พันธุ์ตนเองแบบทวีคูณ ทางเข้าหลักของไวรัสเหล่านี้คือผ่านทางตาและจมูก ผ่านทางท่อนาโซไครมัล (Nasocrymal duct) แล้วจึงเข้าไปในกล่องเสียง โดยปากนั้นไม่ใช่ทางเข้าหลักของเชื้อ และเชื้อมักจะไม่ติดต่อผ่านการจูบกัน...

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Business

Blog M