ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่หน้าต่อหลอดคอใต้ลูกกระเดือก มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคล้ายปีกผีเสื้ออยู่สองข้างทั้งซ้ายและขวา เชื่อมต่อด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสท์มัส (Isthmus) ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ตัวเรียกง่ายๆว่า T4 และ T3 ซึ่งมีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การเผาผลาญอาหารในร่างกาย, การควบคุมอุณหภูมิ, การใช้ออกซิเจน, การทำงานของระบบประสาท, การสังเคราะห์โปรทีน, การเจริญเติบโต, เป็นต้น
โรคต่อมไทรอยด์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย ในรายที่รุนแรงมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นโรคของต่อมไทรอยด์
1.มีก้อนที่คอ หรือคอโต หรือที่เรียกว่าคอพอก อาจจะโตทั่วๆทั้งต่อม หรือโตเป็นก้อนเดียวโดดๆ หรือโตเป็นก้อนหลายก้อน โตได้ทั้งซ้ายหรือขวา อาจไม่มีอาการอะไร มีแต่คอโตอย่างเดียว หรืออาจเจ็บที่ก้อนก็ได้
2.อาการผิดปกติจากหน้าที่ของต่อมผิดปกติ
◦สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ที่เรียกว่า ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีอาการหลายอย่าง เข่น ใจสั่น มือสั่น ตื่นเต้นตกใจง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย หุนหันพลันแล่น เปลี่ยนความสนใจเร็ว หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักลดลง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ อุจจาระบ่อยขึ้นแต่ไม่เป็นแบบท้องเสีย ประจำเดือนน้อยลงหรือขาดหายไป บางรายตาโปนขึ้น เป็นต้น
◦ฮอร์โมนต่ำเกินไป มีอาการตรงกันข้ามกับต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เช่น เฉื่อยชา เบื่อ ขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร ความสนใจลดลง ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ผมร่วง น้ำหนักขึ้น อ้วนแบบบวมฉุๆ เหนื่อยง่าย ทำอะไรไม่ค่อยไหว ท้องผูก บางรายประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นต้น
อันตรายของโรคต่อมไทรอยด์คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว, วิกฤตต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นภาวะเป็นพิษอย่างรุนแรง และภาวะโคม่าจากต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคต่อมไทรอยด์ ลองสังเกตดูว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ หรือมีก้อนที่คอหรือไม่ ท่านไม่จำเป็นต้องรอให้มีครบทุกอย่าง อาจมีอาการเด่นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือน้ำหนักลดลงผิดปกติ ถ้าสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ รีบมาตรวจ และเช็คเลือดหรือทำอุลตร้าซาวนด์ดูว่า ท่านมีความผิดปกติจริงหรือไม่
โรคต่อมไทรอยด์ อย่าปล่อยไว้รีบรักษา
ดีขึ้นได้ดุจก่อนมา เพิ่มคุณค่าให้สุขสบาย
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น