หลังจากตื่นนอนตอนเช้าได้กาแฟหอมๆสักแก้วจะรู้สึกกระชุ่มกระชายตลอดทั้งเช้า บางท่านรับกาแฟและขนมบางอย่างเป็นอาหารเช้า หลังจากทำงานก็ยังมี coffee break บางท่านยังดื่มหลังอาหารเที่ยงและตอนสายๆ ยิ่งต้องเข้าประชุมกาแฟหอมๆสักแก้วจะทำให้สดชื่นหายง่วง ปัจจุบันการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมการอย่างแพร่หลายตามปั้มน้ำมัน ตามห้างสรรพสินค้ามีการขายอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งหรือบางคนอาจจะเป็นส่วนสองส่วนสามของชีวิตประจำวัน แต่จะมีใครกังวลหรือไม่ว่าที่เราดื่มทุกวันวันละหลายแก้วแล้วมันมีโทษ หรือคุณประโยชน์อะไรบ้าง หากคุณเป็นคอกาแฟคุณควรจะอ่านบทความนี้
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟ
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7-trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophylline
caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดคา เมล็ดกาแฟ ใบชา โคลา caffeineถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก
กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มกาแฟและจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการกระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ากาแฟจะทำให้มีการหลั่งสาร cortisone และ adrenaline ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
ปริมาณcaffeine ที่มีในเครื่องดื่มแต่ละชนิดขึ้นกับความเข้มข้น ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างปริมาณกาแฟ
Milligrams of Caffeine
ชนิดของเครื่องดื่ม ปริมาณ Range*
Coffee (150ml cup)
ต้ม, drip method
เครื่องต้มกาแฟ
กาแฟสำเร็จ
Decaffeinated
Espresso (30ml cup)
115
80
65
3
40
60-180
40-170
30-120
2-5
30-50
Teas (150ml cup)
ชาที่ต้ม
ชาเป็นซอง
ชาเย็น (240ml glass)
40
30
45
20-90
25-50
45-50
น้ำอัดลม (180ml) 18 15-30
Cocoa beverage (150ml) 4 2-20
นมรสChocolate (240ml) 5 2-7
Chocolateนม (30g) 6 1-15
Dark chocolate, semi-sweet (30g) 20 5-35
Cooking chocolate (30g) 26 26
นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าวันหนึ่งๆเราจะรับสาร caffeine ประมาณ 250-600 มก.ซึ่งไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย
ผลดีของกาแฟ
กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไขหวัด
ผลดีของกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอนโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ
กระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย ไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ
การดื่มกาแฟจะเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายหรือไม่
จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น แต่การศึกษาดังกล่าวศึกษาในผู้ชาย คำแนะนำอาจจะดื่มกาแฟสักแก้ประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย หากดื่มมากกาแฟจะออกฤทธิ์เสมือนยาขับปัสสาวะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ปริมาณกาแฟที่ขับออกมาทางปัสสาวะหากมากกว่า 12 micrograms/mlจะถูกห้าม(เท่ากับการดื่มกาแฟ 4 แก้ว)
ดื่มนานๆจะติดกาแฟหรือไม่
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆแล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย
ดื่มกาแฟแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามากไป
การดื่มกาแฟ 2-4 แก้วอาจจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากดื่มมากไปอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ หากดื่มกาแฟมากเกินไป 4-7แก้วอาจจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง
•นอนไม่หลับ
•หงุดหงิดง่าย
•สับสน
•อารมณ์แปรปวน
•คลื่นไส้อาเจียน และอาการทางเดินอาหาร
•ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว
•กล้ามเนื้อกระตุก
•ปวดสีรษะ
•วิตกกังวล
หากท่านเกิดอาการดังกล่าวแสดงว่าท่านดื่มกาแฟมากเกินไป
สำหรับท่านที่ดื่มกาแฟประจำเมื่อหยุดดื่มไป 12-24 ชม ก็จะเกิดอาการของการหยุดการแฟ อาการจะคงอยู่ประมาณ 24 ชม อาการดังกล่าวจะหายไป
ยาที่เรารับประทานจะมีผลต่อกาแฟหรือไม่
ยาหรือสมุรไพรบางชนิดอาจจะส่งผลต่อระดับกาแฟอินในร่างกาย
•ผู้ที่รับประทานยา Ciprofloxacin (Cipro)หรือ norfloxacin อาจจะทำให้ระดับกาแฟในเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดอาการข้างเคียง
•ผู้ที่ทานยาขยายหลอดลม เช่น Theophylline จะออกฤทธิ์เหมือนกาแฟ อาจจะทำให้เกิดอาการใจสั่น
•สำหรับผู้ที่รับประทานสมุนไพร Ephedra (ma-huang) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติหรือชัก หากรับร่วมกับกาแฟจะเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว
ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ
•โรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วจะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้วการทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น
•กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆมีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
•การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่
•กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล
•การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี
•มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว
กาแฟกันสุขภาพสตรี
•กาแฟกับการตั้งครรภ์ The Food Standards Agency ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว ประเทศอังกฤษได้แนะนำว่าการดื่มวันละ 3-4 แก้วขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย สำหรับผู้ที่ตั้งท้องหากงดได้ก็น่าจะงด
•การเป็นหมัน พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่า 1แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันเพิ่มขึ้น
•สมาคมสูติของอเมริกาแนะนำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ก็สามารถดื่มได้ไม่เกินวันละหนึ่งแก้วโดยไม่ทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดอาการแท้ง แต่หากดื่มมากกว่านี้มีรายงานว่าอาจจะเกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์
กาแฟกับโรคกระดูกพรุน
•ยังมีรายงานทั้งสนับสนุนว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน บางรายงานก็กล่าวว่าไม่เกิดโรค ผู้ที่เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่พอแนะนำว่าควรจะดื่มนมเริมสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป
กาแฟกับโรคมะเร็ง
•มีรายงานจากWorld Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง
•มีรายงานกล่าวว่าการดื่มกาแฟมีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย
•มีรายงานว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ๋
กาแฟกับโรคหัวใจ
•เท่ามีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ
กาแฟกับความดันโลหิตสูง
•การดื่มกาแฟ 2-3แก้วจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้ 3-14/4-13 แต่ยังไม่ทราบกลไกที่ทำให้ความโลหิตสูงขึ้น สำหรับผู้ที่ดื่มเป็นประจำความดันโลหิตอาจจะไม่สูง คำแนะนำ สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะลดปริมาณกาแฟลงไม่เกินสองแก้วต่อวัน และควรจะงดดื่มในกรณีที่ความดันจะสูง เช่น การออกกำลังกาย การทำงานหนัก ท่านอาจจะทดสอบว่ากาแฟมีผลต่อความดันหรือไม่โดยวัดความดันโหอต 30 นาทีหลังจากดื่มกาแฟ หากสูงขึ้นควรจะลดหรือเลิก
กาแฟกับโรคเบาหวาน
•จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15 % กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน epinephrineเพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน