Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

หนองใน (โกโนเรีย ก็เรียก)


หนองใน (โกโนเรีย ก็เรียก) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (กามโรค) ที่พบได้มากเป็น อันดับแรกสุด คือพบได้ประมาณ 40%-50% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบมากในหญิง โสเภณี และผู้ชายที่ชอบเที่ยวกลางคืน

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุ ท่อปัสสาวะในผู้ชาย ละทางปากมดลูกและท่อปัสสาวะของผู้หญิง ทำให้เกิดโรคโดย เชื้อแบคทีเรียเกาะจับเซลล์เยื่อบุชนิดที่ไม่มีขนโบก และสร้างสารพิษ lipopolysaccharide endotoxin รวมทั้งสร้างเอ็นไซม์ IgA proteases ทำให้ความสามารถในการก่อโรคเพิ่มมากขึ้น
ระยะฟักตัว 1 – 14 วัน แต่ที่พบบ่อยคือ 3 – 5 วัน โรคหนองในติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางปาก ช่องคลอดหรือทางทวาร การร่วมเพศทางปาก จะทำให้เชื้อ สามารถติดต่อจากปากไปอวัยวะเพศ หรือจากอวัยวะเพศไปยังปาก หากช่องคลอดหรืออวัยวะ ดังกล่าวปนเปื้อนหนองที่มีเชื้อก็สามารถติดเชื้อนี้ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการร่วมเพศ ถ้ามี คู่ขามาก ก็จะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น การจับมือหรือการนั่งฝาโถส้วม ไม่ทำให้เกิดการ ติดเชื้อ

อาการเมื่อเป็นหนองใน

ผู้ชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบและมีหนองไหล บางรายอาจมีอาการน้อย หรือถ้าเป็นมาก อาจจะมีอาการแทรกซ้อนได้ มักจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 2-5 วัน อาการเริ่มแรก จะรู้สึกระคายเคืองท่อปัสสาวะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ แล้วจึงตามด้วย มีหนองสีเหลืองไหลออกจากท่อปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด อัณฑะบวม หรือมีการอักเสบ
ผู้หญิง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น เป็นหนองหรือมูกปนหนอง ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย อาจมีอาการอักเสบที่ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ช่องทวารหนัก ถ้าเป็นมากจะมีอาการแทรกซ้อน เช่น เป็นฝีของต่อมบาร์โทลิน เชื้อโรคอาจลุกลามเข้าสู่โพรงมดลูก ปีกมดลูก ทำให้อุ้งเชิงกราน อักเสบ จนอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจเป็นหมันได้ ผู้หญิงที่ได้รับ เชื้อนี้จะมีอาการช้ากว่าผู้ชายโดยเฉลี่ยจะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อแล้ว 1-3 สัปดาห์


การตรวจหาเชื้อหนองใน

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoea เชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะที่บริเวณเยื่อเมือก เช่น เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ ทวารหนัก เยื่อบุตา เยื่อเมือกในลำคอ ปัจจุบันพบว่าความชุกของโรคหนองในลดลง เนื่องจากมีการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น จากการรณรงค์ให้ใช้เพื่อป้องกันการติด เชื้อเอชไอวี

สำหรับทารกแรกเกิด เชื้อหนองในอาจเข้าตาทำให้ตาอักเสบ ขณะคลอดผ่านช่องคลอด มารดาที่มีเชื้อหนองในอยู่ เมื่อเชื้อหนองในเข้าตาเด็กจะทำให้ตาอักเสบ ถ้าไม่รีบรักษาตาอาจ บอดได้ ดังนั้น ทารกเกิดใหม่ จะต้องได้รับการหยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะทุกราย เพื่อป้องกัน การติดเชื้อ ที่ดวงตา
ถ้ามีการกระจายของเชื้อในกระแสเลือด จะทำให้เกิดการอักเสบของข้อ ที่พบบ่อยคือ ข้อบริเวณข้อมือ หรือเท้า อาจพบที่ข้อศอก หรือหัวเข่าได้ รอยโรคที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากการ อักเสบที่เส้นเลือดของผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นตุ่มหนองอยู่บนฐานสีแดงกดเจ็บ มักพบที่บริเวณ มือ เท้า และแขนขาส่วนปลาย

การติดเชื้อหนองในระหว่างตั้งครรภ์ จะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง ได้แก่ บริเวณ ท่อปัสสาวะ บริเวณด้านข้างของท่อปัสสาวะ ต่อมบาร์โทลิน บริเวณปากช่องคลอด หรือบริเวณปากมดลูก หญิงตั้งครรภ์อาจพบว่ามีการติดเชื้อหนองในบริเวณคอหอย และทวาร หนักเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผล มาจากการมีพฤติกรรมทางเพศที่เปลี่ยนไปในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ มีการร่วมเพศทางปาก และทางทวารหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้นในหญิงตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อการติดเชื้อหนองใน ควรทำการเพาะเชื้อหนองในตอนมาฝากครรภ์ครั้งแรก และอีกครั้งตอน อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์

ควรหลีกเลี่ยงการเที่ยว หรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่า เป็นหนองใน ควรใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100% (ส่วนโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ อาจได้ ผลไม่เต็มที่ และ มีโอกาสติดเชื้อได้บ้าง) การดื่มน้ำก่อนร่วมเพศ และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ หรือ การฟอกล้างสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลด การติด เชื้อลงได้บ้าง แต่ไม่ใช่จะได้ผลทุกราย ส่วนการกิน "ยาล้างลำกล้อง" ซึ่งเป็นยาระงับเชื้อ (Antiseptic) ไม่ใช่ทำลายเชื้อ ไม่ได้ผลในการป้องกัน ยานี้กินแล้ว ทำให้ ปัสสาวะเป็นสีแปลก ๆ เช่น สีแดง สีเขียว การกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคภายหลังร่วมเพศอาจได้ผลบ้าง แต่ต้องใช้ ยาชนิดและขนาดเดียวกับ ที่ใช้รักษา ซึ่งดูแล้วไม่คุ้ม สู้รอให้มีอาการแสดง ค่อยรักษาไม่ได้ นอกจากนี้ ก็ยังไม่อาจป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นได้
โรคหนองในสามารถให้การวินิจฉัยได้จากลักษณะประวัติอาการการตรวจหนอง ด้วยการ ย้อมหาเชื้อ การเพาะเชื้อต้นเหตุ เทคนิคใหม่ PCR สามารถตรวจได้ทั้งจากหนองและปัสสาวะ ทั้งนี้แพทย์จะตรวจหาโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย และมีแนวทางการรักษาได้ ดังนี้
โรคหนองในรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporin และ Quinolone อาจเป็น ชนิดรับประทาน หรือชนิดยาฉีด ยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Cefixime, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Ofloxacin, Levofloxacin เป็นต้น
เนื่องจากเชื้อมีการดื้อยามากขึ้น จึงต้องรับประทานยาให้ครบ และตรวจซ้ำตามที่แพทย์ แนะนำ
ผู้ป่วยโรคหนองในแท้มักจะมีหนองในเทียมร่วมด้วย จึงต้องรักษาพร้อมกันทั้งสองโรค
ต้องนำหรือแนะนำให้คู่สามี-ภรรยาไปตรวจรักษาด้วย

ในผู้ชาย ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีหนองไหลอยู่ 3-4 เดือน และเชื้อหนองใน อาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ ซึ่งอาจทำให้ท่อปัสสาวะตีบตันได้ อาจทำให้ต่อมลูกหมาก อักเสบหรือเป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ ในบางราย อาจทำให้อัณฑะ อักเสบ(อัณฑะปวดบวม และ เป็นหนอง) ซึ่งอาจ ทำให้กลายเป็นหมันได้

ในผู้หญิง เชื้ออาจลุกลามทำให้ต่อมบาร์โทลิน (Bartholin gland) ที่แคมใหญ่เกิด การอักเสบ หรือเป็นฝีบวมโต หรืออาจทำให้มดลูกอักเสบ หรือปีกมดลูกอักเสบ ซึ่งถ้าอักเสบ รุนแรงเมื่อหายแล้ว อาจทำให้ท่อรังไข่ตีบตันกลายเป็นหมัน หรือทำให้ตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ ทั้งสองเพศ เชื้ออาจเข้ากระแสเลือดไปที่ข้อ (หนองในเข้าข้อ) ทำให้ข้ออักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก ข้อที่พบได้บ่อย คือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ นอกจากนี้ ยังอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้น้อยมาก เช่น เยื่อหุ้ม สมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) ซึ่งอาจทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้หัวใจ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Business

Blog M