เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคนไม่มากก็น้อย ความเครียดอาจจะเกิดจากปฏิกิริยาในตัวเราเอง เช่น ปวดท้องอึขณะที่ขับรถติดในชั่วโมงเร่งด่วน หรือความเครียดที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น หุ้นตก สูญเสียเงิน ถูกโกงแชร์ เป็นนายกโดนปฎิวัติ ฯลฯ
ความเครียดขนาดน้อยๆ เป็นเรื่องปกติ ไม่มีปัญหา แต่อาจจะมีประโยชน์ ที่ทำให้เราพยายามเอาชนะมัน ทำให้เรามีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เช่น เครียดเพราะกลัวสอบเอ็นทรานซ์ไม่ได้ จึงทำให้ขยันเรียน แต่ความเครียดถ้ามีขนาดมาก ก็มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ความเครียดอาจจะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ทำให้เป็นหวัดง่าย เริมกำเริบ หรือในบางคนอาจจะเกิดโรคจู๋หมดน้ำยา หรือถึงขนาดฆ่าตัวตาย
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความเครียด แนะนำหลักการลดความเครียดไว้หลายอย่าง ขั้นแรกหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด เขาให้คำนิยามของสาเหตุความเครียดไว้ว่า มันคือภาวะที่บีบคั้น ที่เกินความสามารถของเราที่จะตอบสนองได้
ความสามารถในการตอบสนองต่อความเครียด ขึ้นกับพันธุกรรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ของชีวิตของเรา เช่น คนบางคนอาจจะเครียด เมื่อต้องขึ้นไปร้องเพลงบนเวที แต่บางคนชอบมาก เนื่องจากมีพันธุกรรม หรือบุคลิกของความไม่ขี้อายชอบแสดงออก บางคนเข้าใกล้หมาแล้วเครียดมาก เนื่องจากมีประสบการณ์โดนหมากัดตอนที่ยังเด็ก
สาเหตุของความเครียดหลายอย่าง มันเห็นได้เข้าใจได้เด่นชัด เช่น พ่อหรือแม่เสียชีวิต ลูกไม่สบาย แฟนเลิกร้าง กิ๊กเลิกรา หางานทำ ไม่ได้ ถูกไล่ออกจากงาน หาเงินไม่พอใช้ เป็นหนี้พนันบอล ฯลฯ แต่ความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันก็ไม่ควรมองข้าม เช่น ต้องขับรถฝ่าจราจรไปส่งหรือรับลูกที่โรงเรียนทุกวัน เพื่อนร่วมงานนิสัยไม่ดี คอมฯ มีปัญหาแฮงค์บ่อยทำให้ต้นฉบับหาย น้ำมันราคาแพง ความเครียด เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ถ้าเป็นอยู่นานๆ ก็สามารถสร้างความเสียหาย ให้กับชีวิตร่างกายหรือสุขภาพของเราได้มาก เพราะมันกระตุ้นร่างกายเรา ให้หลั่งฮอร์โมนความเครียดตลอดเวลา ทำให้เกิดโรคขึ้น เช่น ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แล้วตามมาด้วยอัมพาตอัมพฤกษ์
กลวิธีคลายเครียดที่ผู้รู้แนะนำไว้ และคุณสามารถเลือกเอาไปใช้ได้มีหลายอย่าง คือ
จดบันทึกประจำวัน
• จดบันทึกประจำวันสักหนึ่งสัปดาห์ ให้สังเกตดูว่าเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใด ที่เราตอบสนองทางกาย ใจ หรืออารมณ์ในทางลบ และให้จดวันเวลาของเหตุการณ์ไว้ด้วย เขียนบรรยายเหตุการณ์เอาไว้ย่อๆ เราอยู่ในเหตุการณ์ตรงไหน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง อะไรเป็นสาเหตุของความเครียด และบรรยายถึงการตอบสนองของเรา ต่อความเครียดนั้นด้วย อาการทางกายของเราเป็นอย่างไร เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อแตก ความรู้สึกของเราเป็นอย่างไร เราพูดอะไร หรือทำอะไรลงไปบ้าง เสร็จแล้วให้คะแนนความเครียดของเราจาก 1 ถึง 5 (น้อยไปมาก)
• จดบันทึกรายการของสิ่งหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่บีบคั้นเราให้ใช้เวลา และพลังงานกับมันในหนึ่งสัปดาห์ว่ามีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น การงานที่เราทำอยู่ งานอาสาสมัคร ขับรถพาลูกไปเรียนพิเศษ ดูแลพ่อหรือแม่ที่แก่เฒ่า เสร็จแล้วให้คะแนนความมากน้อยของความเครียดที่ เราประสบจาก 1 ถึง 5 เหมือนข้างบน
ี้หลังจากนั้น เราก็มานั่งพิจารณาสิ่งที่เราจดบันทึกไว้ พิจารณาสิ่งที่เราคิดว่าทำให้เราเครียดมากๆ แล้วเลือกขึ้นมาอย่างหนึ่ง เพื่อทำการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคที่ใช้แก้ปัญหาดังนี้
ปรับปรุงทักษะการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทักษะนี้สามารถทำให้คุณเก่ง ในการแยกแยะเป้าหมาย และให้ความสำคัญก่อนหลังของสิ่งที่เราต้องทำ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดในชีวิตได้ ให้ใช้ทักษะต่างๆ ดังต่อไปนี้ช่วยลด ความเครียด
• สร้างความคาดหมายที่เป็นไปได้จริง และขีดเส้นตายให้กับงานที่เราจะทำ และทำการตรวจสอบความก้าวหน้าเป็นประจำ
• จัดระเบียบบนโต๊ะทำงาน กำจัดกระดาษที่ไม่มีความสลักสำคัญ โดยการโยนมันทิ้งไป
• เขียนรายการแม่บทของสิ่งที่เราต้องทำก่อนหลังประจำวันแล้วทำตามนั้น
• ตลอดทั้งวันที่ทำงานหมั่นเช็ครายการ แม่บทที่เราทำไว้ ว่าเราได้ทำเสร็จไปตามลำดับก่อนหลังที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า
• หัดใช้สมุดนัดที่เขาเรียกว่าแพลนเนอร์ เพื่อจดบันทึกสิ่งที่เราวางแผนจะทำล่วงหน้า เป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี หรือเขียนรายการแม่บทตามที่กล่าวข้างบนนั้น เป็นรายการที่ต้องทำก่อน-หลังประจำวัน ลงบนแพลนเนอร์ด้วย แล้วทำไปตามนั้น และทำการประเมินผลประจำวัน จะเกิดผลดี ไม่เกิดความยุ่งยาก สับสน ผิดนัด ใช้แพลนเนอร์เก็บเบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของคนสำคัญหรือลูกค้า เพื่อความสะดวกใน การค้นหาติดต่อ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ผิดพลาดเสียเวลาน้อยลง มีเวลาทำงาน อย่างอื่นหรือรื่นเริงมากขึ้น
• สำหรับการทำงานหรือโครงการที่มีความสำคัญมาก ให้กันเวลาที่ห้ามใครมารบกวนไว้ต่างหาก เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องและเป็น ความลับ
หลีกเลี่ยงความเบื่อหน่ายหมดไฟในการทำงาน
ถ้าคุณมีความรู้สึกหมดไฟ ไม่อยากทำงาน หรือเครียดมากเป็นเวลานานเป็นสัปดาห์ ความรู้สึกนี้จะมีผลต่อความสัมพันธ์ในทางอาชีพ และในชีวิตส่วนตัวหรือในการทำมาหากินของคุณได้
ความอัดอั้นตันใจที่มากล้น ความรู้สึกเมินเฉยต่อการงาน ความหงุดหงิดรำคาญใจเป็นเวลายาวนาน ความขุนเคืองใจ และมีความโน้มเอียงที่จะโต้เถียงเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวชี้บ่งถึงอาการหมดไฟในการทำงาน ซึ่งจำเป็นต้อง ได้รับการจัดการเยียวยาให้มันดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเขาแนะนำกลยุทธในการต่อสู้ดังนี้
• ดูแลตัวเองให้สุขภาพดี กินอาหารให้ครบห้าหมู่ กินให้ครบทุกมื้อรวมทั้งอาหารเช้า กินในขนาดที่พอประมาณ (ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม) นอนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอให้พอเหมาะ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ร่างกายของท่านแข็งแรง สามารถสู้กับความเครียดทางกายและใจได้ดี
• สร้างสัมพันธไมตรีกับเพื่อนในที่ทำงานและนอกที่ทำงาน หาเพื่อนสนิทที่เราสามารถบ่นเรื่องคับข้องใจ ปรับทุกข์เรื่องการงานให้ฟังได้ ทำให้มีหนทางในการแก้ปัญหา ที่ก่อความเครียดของเราได้ หลีกเลี่ยงการคบค้ากับคนที่เรามีความรู้สึกไม่ดี คนไม่จริงใจ ไม่เป็นกัลยาณมิตร เพราะจะยิ่งจะตอกย้ำความรู้สึกย่ำแย่ให้มากขึ้น ในมงคลสูตรก็กล่าวไว้ให้คบคนดี หลีกหนีคนพาล มองหากัลยาณมิตร
• รู้จักลาพักผ่อน ลาพักร้อน วาเคชั่น บางคนอาจจะลาไปปฏิบัติธรรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน หรือปลีกวิเวก สำหรับคนที่ทำได้ มันจะทำให้คลายเครียดลงได้มาก แน่นอน และสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ลาได้ไม่มาก ก็อาจจะมีการเบรคพักคลายเครียดชั่วครู่ในเวลาทำงาน ก็จะช่วยได้บ้าง
• ในบางกรณีจำเป็นต้องฝึกการปฏิเสธ หัด “Say No” กับเพื่อนที่มาชวนไปทำโน่นทำนี้ ที่ทำให้เราเครียด เช่น เป็นสาวเป็นแส้เที่ยวแร่ไปตามที่อโคจร ไปนั่งตามผับตามบาร์ ดื่มเหล้าสูบยาซึ่งเป็นท่าทีเชิญชวนให้ หนุ่มเหน้าเข้ามาโอภาปราศรัยอยากได้ปลื้ม
• หัดยับยั้งชั่งใจไม่โต้เถียงกับใครๆ โดยไม่เลือก พยายามใจเย็น มีสติ สัมปชัญญะ เถียงเฉพาะเรื่องที่มีความสลักสำคัญจริง (ไม่ใช่เรื่องทักษิณออกไป) แต่ที่ดีที่สุดคือหุบปากไม่เถียงกับใครเลย ทุกครั้งที่เถียงกัน จะมีการหลั่งของฮอร์โมนความเครียด ความดันเลือดพุ่งขึ้นทุกที
• ทางออกของความเครียดที่ควรหัดมีไว้คือ การอ่านหนังสือที่เราชอบ ทำงานอดิเรกที่เรารัก ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่เราสนุก ทำให้รู้สึกชื่นมื่นเพราะเอนดอร์ฟิน (สารสร้างสุข) หลั่งออกมา
ถ้าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่มีผลดีต่อคุณ ก็จำเป็นต้องหาที่พึ่ง เช่น เข้าหาปรึกษาพระที่เราเคารพนับถือ เอาธรรมะเข้าข่ม หรือใช้มืออาชีพอย่างนักจิตวิทยา หรือให้จิตแพทย์ช่วยก็จะดีที่สุด อย่าลืมว่าความเครียดอาจจะทำให้ถึงตายได้ อย่าปล่อยให้มันเรื้อรังนะ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา