Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคกระดูกพรุน

กระดูกของมนุษย์ จะเริ่มเสื่อมและบางลง เมื่อมนุษย์มีอายุสูงกว่า 45 ปีขึ้นไป กระดูกของสตรี จะเสื่อมและบางมากกว่าบุรุษ เนื่องจากสตรีโดยธรรมชาติ ขณะมีประจำเดือน รังไข่จะผลิตฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) ออกมา ขณะไข่สุก ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) นอกจากส่งผลต่อสรีระ ทางการสืบพันธุ์โดยตรงของสตรีหลายประการแล้ว ยังมีผลต่อการสะสมน้ำและเกลือแร่ (salts and water retention) เอาไว้ในร่างกายด้วย ทำให้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca&P) ซึ่งเป็นองค์ประกอบ อันสำคัญยิ่งของกระดูก ไม่ถูกขับออกจากร่างกายได้โดยง่าย เมื่อสตรีมีอายุประมาณอายุ 45-50 ปี ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ และอาจหมดไป ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เคยมี และถูกผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอหมดไป เกลือแร่ซึ่งมีแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca&P) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก และน้ำ จะถูกขับออกจากร่างกายของสตรีวัยทอง ได้มากกว่าในบุรุษวัยทอง เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคกระดูกพรุน ในระยะแรกๆ แพทย์ได้ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ร่างกายผลิตได้น้อยลง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนแก่สตรี ที่ย่างเข้าสู่วัยทอง แต่ภายหลังต่อมาพบว่า การใช้ฮอร์โมนนี้ติดต่อกันยาวนาน อาจทำให้เกิดมะเร็ง ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีได ้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งที่พบในเต้านม (breast cancer) ในปีปัจจุบัน (ค.ศ.2002) จึงพบฮอร์โมนอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถใช้ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ เพื่อการนี้อย่างปลอดภัยกว่า ฮอร์โมนดังกล่าวเรียกว่า ฮอร์โมนดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอร์โลน (Dehydroepiandrosterone, DHEA) ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าว ร่างกายของมนุษย์จะผลิตขึ้น โดยต่อมหมวกไต (adrenal gtand) มนุษย์ในวัยเจริญพันธุ์ ทั้งสตรีและบุรุษ จะมีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนชนิดนี้ ในกระแสเลือด ประมาณ 300 ug/dL และประมาณ 0.1% ของฮอร์โมนชนิดนี้ อยู่ในรูปอนุพันธุ์ซัลเฟต ในสตรีวัยทอง (หมดประจำเดือน) ฮอร์โมนนี้จะลดระดับลงเหลือเพียง 90 ug/dL

ฮอร์โมนนี้ เมื่ออยู่ในร่างกายมนุษย์ จะสามารถเปลี่ยนให้เป็นฮอร์โมนเพศชาย (tetosterone) และฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen) ได้ ซึ่งจะเป็นฮอร์โมนเพศที่จะถูกสร้างขึ้นมา ทดแทนฮอร์โมนเพศ ที่ร่างกายของสตรีและบุรุษวัยทองที่อวัยวะสืบพันธุ์ (รังไข่ และอัณฑะ) เสื่อมสภาพลงตามอายุขัยได้ด้วย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ความต้องการทางเพศ และกิจกรรมทางเพศในผู้สูงอายุที่ได้รับ ฮอร์โมนดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอร์โลน (DHEA) เสริมเข้าไปทดแทนฮอร์โมนชนิดนี้ที่ขาดหายไป จากระบบการหมุนเวียน ของโลหิต ตามปกติของคนในวัยหนุ่มสาว ทำให้ผู้สูงอายุสตรีและบุรุษวัยทอง อาจมีความต้องการทางเพศ และ กิจกรรมทางเพศฟื้นกลับคืนมา ได้อีกด้วย
โรคกระดูกพรุน และโรคอันเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางเพศ ของสตรีและบุรุษวัยทอง เช่นโรคเสื่อมสมรรนะทางเพศ จึงสามารถป้องกันได้ในผู้สูงอายุ โดยการรับประทานอาหาร ที่อุดมด้วยเกลือแร่ และไวตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีแร่ธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca, P) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมจากอาหาร และนำไปใช้ประโยชน์ได้ สำหรับเสริมสร้างเซลล์กระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ เช่น นมพร่องมันเนยเสริมด้วยไวตามินดี การออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ (เดินเร็ว วิ่ง ขี่จักรยาน ฯลฯ) วันละอย่างน้อยประมาณ 30 นาทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นคำแนะนำที่แพทย์ และนักโภชนาการ มักจะแนะนำให้ผู้สูงอายุ สตรีและบุรุษวัยทองต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ แต่มักจะช่วยให้ภาวะโรคกระดูกพรุน ชลอตัวลงได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

ท้ายสุด ผู้สูงอายุโดยทั่วไป จะมีอาการกระดูกพรุน จนต้องได้รับการบำบัด โดยการที่แพทย์จะแนะนำ ให้ใช้ฮอร์โมนดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอร์โลน (Dehydroepiandrosterone, DHEA) เสริมเข้าไปในร่างกาย เพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไปตามธรรมชาติ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ ภายหลังการตรวจวัด ระดับฮอร์โมน ดังกล่าวว่า ได้ลดลงมาก จนอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน และโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเมื่อเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ พบว่า อัตราเสี่ยงที่จะเกิดการแตกหักของกระดูก ในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีค่อนข้างสูงมาก โดยเฉพาะกระดูก บริเวณส่วนแขนท่อนระหว่างข้อศอกจนถึงข้อมือ (distal forearm) กระดูกสันหลังและกระดูกสโพก เมื่อเกิดการแตกหักของกระดูกบริเวณดังกล่าว จะต้องได้รับการรักษาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลอย่างมหาศาล และมีรายงานทางการแพทย์ว่า อัตราการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ของการแตกหักของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ มีสูงถึง 12-20% ของผู้ป่วย และประมาณ 50% ของผู้สูงอายุที่รอดตายจากการป่วยดังกล่าว ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมหาศาล ซึ่งจะต้องเป็นภาระทางการเงินแก่ตนเอง และครอบครัวที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ลักษณะอาการของผู้สูงอายุสตรี และบุรุษวัยทอง ที่แสดงออกว่ากำลังเกิด ภาวะโรคกระดูกพรุนในร่างกาย ที่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าผู้ป่วยที่ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดข้อมือทุกราย มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน

ถ้าปรากฏอาการดังกล่าว ต่อตัวท่าน ผู้เขียนขอแนะนำ ให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านกระดูกและฟัน (ทันตแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกระดูก) ณ คลีนิกวัยทอง ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ของรัฐบาล หรือเอกชน ก่อนที่อาการของโรคกระดูกพรุน จะลุกลามต่อไป จนเป็นปัญหาใหญ่หลวง ต่อสุขภาพของท่านดังได้กล่าวมา คือ การต้องสูญฟันของท่านไปอย่างถาวร และเกิดการแตกหักของกระดูก ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ท่านต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในเรื่องกระดูกพรุนของผู้สูงอายุเท่านั้น

เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร

คนที่มีข้อต่ออักเสบ อากาศเย็นอาจจะไปกระตุ้นให้มีอาการเจ็บและปวดมากขึ้นได้ อาการของข้ออักเสบ (Arthritis) ที่พบได้บ่อยในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกอ่อนบริเวณนั้นเสื่อมและถูกทำลายลง ทำให้ปวด เกิดการยึดติดของข้อต่อทำให้เคลื่อนไหวลำบาก และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า หรือที่ข้อมือก็ได้ ส่วนอีกกลุ่มเรียกว่า ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ซึ่งเป็นโรคที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ สามารถเป็นพร้อมๆ กันได้หลายข้อ และส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง แต่ที่สำคัญ คือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้ข้อต่อผิดรูปไปจากเดิม รวมถึงอาจมีการอักเสบและติดเชื้อไปที่อวัยวะที่สำคัญอื่นๆ เช่น ปอด และหัวใจ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้คนที่มีอาการของข้อเสื่อมและอักเสบจะได้รับคำแนะนำให้พักมากๆ ลดกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้น้อยลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวน้อย ขาดความยืดหยุ่น เกิดการยึดติดของข้อต่อและมีอาการปวดมากขึ้น กล้ามเนื้อก็แข็งแรงทนทานลดลง ในบางคนกล้ามเนื้อบริเวณนั้นถึงกับฝ่อลีบ และไม่มีแรงไปเลย รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของ ระบบหัวใจและปอดก็จะลดลง ทำให้เหนื่อยง่าย กังวลและเครียดตามมา แต่ในปัจจุบันนี้ จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่ความหนักตั้งแต่ระดับต่ำ (Low-intensity) ไปจนถึงระดับปานกลาง (moderate-intensity) จะช่วยให้อาการต่างๆ ของคนที่เป็นโรคข้ออักเสบดีขึ้น รวมถึงได้ความมั่นใจคืนกลับมามากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดและป้องกันปัจจัยเสี่ยง ต่อพยาธิสภาพของโรคที่ตามมาด้วย


ข้อแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic Training)

จุดประสงค์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เพื่อให้ระบบการทำงานของหัวใจ และปอดแข็งแรงขึ้น สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ โดยไม่เหนื่อยง่ายและปวดที่ข้อต่อ ช่วยลดความเครียด ความกังวล และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

• ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• เน้นการออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนักที่ขา (non-weight-bearing) เช่น
การปั่นจักรยาน กรรเชียงบก (rower machine) เครื่อง elliptical trainer ว่ายน้ำ
รวมถึงการเดินหรือออกกำลังกายในน้ำ (aquatic exercise) เป็นต้น
• ถ้าเป็นไปได้ควรออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์หลายๆ รูปแบบ
เพื่อป้องกันการเสื่อมหรืออักเสบของข้อต่อจากการใช้งานซ้ำๆ ตลอดเวลา
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทกสูง (high-impact) เช่น จ๊อกกิ้ง วิ่งขึ้น-ลงบันได และการเต้นแอโรบิค (บางรูปแบบ) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ข้อต่อเสื่อมหรืออักเสบมากขึ้น
• สามารถเริ่มออกกำลังกายได้ตั้งแต่ 5 นาทีไปจนถึง 30 นาที ขึ้นอยู่กับความฟิตสมบูรณ์ของร่างกาย และลักษณะอาการของโรค
• ความหนักของการออกกำลังกายควรอยู่ในช่วง 60% - 80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
• สามารถออกกำลังกายได้บ่อยประมาณ 3–5 ครั้ง ต่อสัปดาห์
• เมื่อกล้ามเนื้อต่างๆ แข็งแรงมากขึ้นแล้ว และต้องการเพิ่มความยากของการออกกำลังกาย ควรปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มระยะเวลา ก่อนที่จะเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายต่อไป
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่ข้อต่ออักเสบและปวดมาก

ข้อแนะนำการออกกำลังกายแบบยกน้ำหนัก (Resistance Training)

การออกกำลังกายในลักษณะนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อที่เสื่อมหรืออักเสบมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น ช่วยให้ข้อต่อสามารถรับน้ำหนักตัวหรือแรงกระแทกที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น

• ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• ควรทำการอบอุ่นร่างกายก่อนอย่างน้อย 5–10 นาที
• หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่จะทำให้เจ็บมากขึ้น และไม่ควรออกกำลังกายเกินกว่าหรือถึงจุดที่มีอาการเจ็บ
• เริ่มจากยกน้ำหนักประมาณ 2–3 ครั้ง (reps) ในแต่ละเซต แล้วค่อยๆ เพิ่มไปจนถึง 10–12 ครั้ง (reps) ในแต่ละเซต
• หลีกเลี่ยงการยกน้ำหนักซ้ำๆ มากครั้ง และน้ำหนักที่หนักมากเกิน เพราะจะทำให้ข้อต่อเกิดการอักเสบได้ง่าย
• สามารถออกกำลังกายได้บ่อย 2–3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แต่จะต้องมีระยะเวลาพักระหว่างการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มครั้งต่อไป
• การออกกำลังกายในลักษณะนี้สามารถใช้ได้ทั้ง weight-machine, free-weight, elastic bands หรือน้ำหนักตัว (body weight) ก็ได้ รวมถึงการออกแรงในลักษณะเกร็งกล้ามเนื้อค้างเอาไว้ ถ้ารู้สึกเจ็บข้อต่อจากการเคลื่อนไหว
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่ข้อต่อมีการอักเสบและมีอาการปวดมากๆ

ข้อแนะนำการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility)

• การยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และช่วยลดปัญหาการยึดติดของข้อต่อ ซึ่งรวมถึงช่วยลดอาการปวดที่จะเกิดขึ้นในขณะเคลื่อนไหว
• ควรอบอุ่นร่างกายแบบแอโรบิคก่อนอย่างน้อย 5 – 10 นาที ก่อนที่จะยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
• สามารถยืดกล้ามเนื้อได้ทุกวันโดยการยืดค้างไว้ อย่างน้อย 10 – 30 วินาที ในแต่ละครั้ง
• การยืดกล้ามเนื้อสามารถทำได้ 1 – 4 ครั้งในแต่ละท่า หรือกลุ่มของกล้ามเนื้อ
• กล้ามเนื้อมัดหลักๆ ที่มักจะยืดหยุ่นน้อยที่ควรเน้น ได้แก่ กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง (lower back) ต้นขาด้านหลัง (ham-strings) บริเวณข้อสะโพก (hip flexor) น่อง (calf) และหัวไหล่ (deltoid)

การออกกำลังกายให้ได้ผลดีและปลอดภัยนั้น ควรปรึกษาแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกกำลังกายก่อนเสมอ จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง

โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบที่รู้จักกันมานาน ถือได้ว่าเป็นโรคที่เก่าแก่ที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ และก็ยังพบว่าเป็นปัญหาโรคข้อที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์ที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรฐานความเป็นอยู่ อาหาร สภาวะทางโภชนาการที่ดีขึ้นในยุคปัจจุบัน

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์จะเป็นผู้ชายที่มีอายุเกิน 40 ปี แต่ก็อาจเกิดขึ้นในวัยใดก็ได้ และสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเก๊าท์ มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว

โรคเก๊าท์พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยโรคเก๊าท์ประมาณ 2.4 ล้านคน ทั่วโลกเฉลี่ยพบผู้ป่วยโรคเก๊าท์ 300 รายต่อประชากร 100,000 คน


ลักษณะของโรคเก๊าท์ จะเป็นการอักเสบของข้อที่เกิดขึ้นเฉียบพลันทันทีทันใด อาการเป็นอยู่ประมาณ 5-10 วัน แล้วก็หายไป ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรัง เกิดการอักเสบของข้อเป็นๆ หายๆ และโรคจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โรคเก๊าท์ - สาเหตุของโรค
1. ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า โรคเก๊าท์เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริกสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
2. กรดยูริคเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน
3. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทั้งหมด เกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือดกลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์
4. ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริคมากเกินไป พบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10
5. พบว่าร้อยละ 18 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์เช่นกัน และโรคพันธุกรรมที่พบน้อยบางชนิด ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคออกมาในปริมาณที่มากเกิน ได้แก่ hypoxanthine-guanine phosphoribosyl transferase deficiency (Lesch-Nyhan syndrome),glucose-6-phosphatase deficiency (von Gierke disease), fructose1-phosphate aldolase deficiency, และ PP-ribose-P synthetase variants
6. โรคเก๊าท์มักเป็นกับผู้ชายวัยสูงอายุ เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะมีผลทำให้กรดยูริคในเลือดไม่สูง
7. ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น ได้แก่ โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ,ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว, โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดชนิด sickle cell anemia, myeloproliferative disease
8. การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้มาก
9. ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเก๊าท์ ได้แก่ แอสไพริน aspirin, ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide, ยารักษาโรคพาร์กินสัน levodopa, ยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporine

ภาวะไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง :

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ การเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพาตได้อย่างมาก

การปฏิบัติตนเพื่อลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด

1. การควบคุมอาหาร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
• อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์
• ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันและหนังสัตว์
• กะทิ
• อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันและการทอดเจียว
• ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ และเครื่องดื่มประเภทเบียร์จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์

อาหารที่ควรรับประทาน
• เนื้อปลา
• น้ำมันของปลาทะเล
• ผักใบต่างๆ และผลไม้ที่ให้กาก เช่น คะน้า ฝรั่ง ผักกาด ส้ม เม็ดแมงลัก ฯลฯ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมันสู่ร่างกาย
• ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด

คำแนะนำสำหรับวิธีปรุงอาหาร

ควรปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม ยำ อบ ในกรณีที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันและการทอดเจียว ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน

2. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล แต่จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำต่อเนื่องครั้งละ 10-30 นาที วันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

การออกกำลังกายที่ดีที่สุด

กิจกรรมการออกกำลังกายที่จะเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ได้แก่ การเดิน จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค รำมวยจีน รำกระบอง


ถ้าท่านมีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 200 มก./100กรัม ควรรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มก./วัน
• สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันปกติ ควรทำการตรวจเลือดและวัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง

อาหารในแต่ละชนิด จะมีปริมาณโคเลสเตอรอลแตกต่างกันปริมาณโคเลสเตอรอล (มิลลิกรัม) ต่ออาหาร 100 กรัม

กุนเชียง 150 ตับไก่ 685-750
กุ้งเล็ก 125-150 เนื้อวัวเนื้อล้วน 60
กุ้งใหญ่ 250-300 ไตวัว 400
ไข่ขาว 0 กระเพาะวัว 150
ไข่ทั้งฟอง 550 ตับวัว 400
ไข่แดง (เป็ด) 1120 ลูกวัว 140
ไข่แดง (ไก่) 2000 ผ้าขี้ริ้ว 610
ไข่นกกระทา 3640 หัวใจวัว 145
ไข่ปลา 7300 ปลาแซลมอน 86
ครีม 300 ปลาจาระเม็ด 126
นกพิราบ 110 ปลาดุก 60
นมสด 24 ปลาทูน่า 186
เนยแข็ง 90-113 ปลาลิ้นหมา 87
เนยเหลว 250 ปลาไหลทะเล 186
มาการีน 0 ปลาหมึกเล็ก 384
น้ำมันตับปลา 500 ปลาหมึกใหญ่ 1170
เนื้อกระต่าย 60 ปลิงทะเล 0
เนื้อแพะ 60 เป็ด 70-90
เนื้อแกะล้วน 60 ปู 101-164
ตับแกะ 610 แมงกะพรุน 24
กระเพาะแกะ 41 หอยกาบ 180
เนื้อหมูเนื้อแดง 89 หอยแครง 50
เนื้อปนมัน 126 หอยนางรม 230-470
น้ำมันหมู 95 หอยอื่นๆ 150
ตับหมู 400 เบคอน 215
ไตหมู 350 สมองสัตว์ต่างๆ 3160
กระเพาะหมู 150 ไส้กรอก 100
หัวใจหมู 400 แฮม 100
ซี่โครงหมู 110 ไอศกรีม 40
เนื้อไก่เนื้อล้วน 60

กรดไขมันในอาหารมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

กรดไขมันในอาหารมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด มีการศึกษาวิจัยจำนวนมาก ในเรื่องผลของกรดไขมันในอาหาร ต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ปัจจุบันพบเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กรดไขมันอิ่มตัวในอาหาร จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด และเพิ่มระดับ LDL cholesterol ซึ่งถือว่าเป็น bad cholesterol ในขณะที่การเพิ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด polyunsaturated fatty acids (PUFA) ในอาหาร สามารถลดระดับของคอเลสเตอรอลรวมในเลือด และยังลดระดับของ LDL cholesterol ได้อีกด้วย ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของกรดไขมัน จึงเป็นประโยชน์ในการพิจารณาบริโภคอาหาร เพื่อลดความเสี่ยง และช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันได้เป็นอย่างดี

กรดไขมันเป็นการเรียงตัวของธาตุคาร์บ่อน โดยที่ปลายด้านหนึ่งเป็น methyl group อีกด้านหนึ่งเป็น carboxyl group ความยาวของคาร์บอนมีได้หลายตัว หากมีความยาวน้อยกว่า 6 เรียกว่า กรดไขมันสายสั้น หากมีคาร์บอนมากกว่า 12 เรียกว่ากรดไขมันสายยาว กรดไขมันเป็นสารอาหารสำคัญ ของกล้ามเนื้อหัวใจและอวัยวะภายในร่างกาย กรดไขมันส่วนที่เหลือใช้ จะถูกสะสมในรูปไตรกลีเซอไรด์ซึ่งจะสะสมเป็นไขมันในร่างกาย กรดไขมันอิ่มตัว หมายถึง กรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะเดี่ยวเท่านั้น การรับประทานอาหารไขมันชนิดอิ่มตัว จะทำให้ไขมันในเลือดสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดตีบ แหล่งอาหารของไขมันอิ่มตัวได้แก่ น้ำมันปาล์ม กะทิ เนย นม เนื้อแดง ช้อกโกแลต

กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เรียกว่า monounsaturated fatty acid (MUFA) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะคู่เพียงหนึ่งตำแหน่ง การรับประทานอาหารไขมันประเภทนี้ ทดแทนไขมันอิ่มตัวจะช่วยลดระดับ LDL Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ อาหารที่มีกรดไขมันชนิด MUFA ได้แก่ อะโวคาโด ถั่ว น้ำมันมะกอก ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เรียกว่า polyunsaturated fatty acid (PUFA) หมายถึง กรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะคู่อยู่หลายตำแหน่ง หากรับประทานแทนไขมันอิ่มตัว จะไม่เพิ่มระดับไขมันในร่างกาย อาหารที่มีไขมันชนิด PUFA ได้แก่ น้ำมันพืชทั้งหลาย เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง

อาหารประเภทไขมันมีส่วนสำคัญ ที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น อันจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มีผลทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาหารการกินที่พึงระวัง และปฏิบัติตามมีดังต่อไปนี้ ประเภทอาหารเนื้อสัตว์ ควรรับประทานปลาทุกชนิด เนื้อสัตว์ที่ควรรับประทานแต่น้อย ได้แก่ เนื้อวัว ลิ้นวัว ไข่เป็ด ไข่ไก่ หรือเนื้อไก่ และชนิดที่ไม่ควรรับประทาน ได้แก่ หมูติดมัน ไส้กรอกแฮม ห่าน เป็ด ไก่ เครื่องใน เช่น สมอง และตับ

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ควรรับประทาน ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี สปาเกตตี้ ขนมปัง อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่อาจรับประทานแต่น้อย ได้แก่ บะหมี่ แคร็กเก้อร์ ข้าวโพดคั่ว ประเภทถั่วและนม ควรรับประทาน ถั่วเขียว ถั่วดำ เต้าหูขาว เต้าหูเหลือง ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา นมถั่วเหลือง ลูกเดือย อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ควรรับประทานแต่น้อย ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสงต้ม นมวัว และนมแพะ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ควรรับประทาน ได้แก่ ถั่วลิสงคั่ว และมะม่วงหิมพานต์ ส่วนอาหารประเภทไขมัน รับประทานแต่น้อย ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันรา นมถั่วเหลือง ไม่ควรรับประทาน ได้แก่ น้ำมันหมู ไขมันสัตว์ น้ำกะทิ และเนยสด สำหรับพวกผักผลไม้ มีไขมันน้อยกว่าร้อยละหนึ่ง จึงรับประทานมากๆ ได้แต่ต้องระวังผลไม้ที่มีรสหวานจัด ส่วนวิธีการปรุงอาหาร สมควรที่จะเปลี่ยนเป็น อบ ย่าง หรือ นึ่ง เพื่อลดปริมาณของไขมันที่จะบริโภค

การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ดังนั้น ทุกท่านควรเข้าใจถึง แนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคร้ายต่างๆ ซึ่งมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญ เพื่อป้องกัน และลดระดับคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ประการแรกคือ รับประทานคอเลสเตอรอล ไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม คอเลสเตอรอลมีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น มีมากในอาหารบางชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ ในปริมาณมาก รับประทานอาหารในแต่ละวัน ซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอ ต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง

หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมากๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น การรับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันไลโนเลอิก (linoleic acid) โดยสม่ำเสมอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับ เช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิกประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ เพราะมีการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลที่ตับเพิ่มขึ้น

CHOLESTEROL –TRIGLYCERIDES AND HEALTHY HEART

Cholesterol คืออะไร ?

Cholesterol เป็นกลุ่มไขมันที่เป็นสาร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ละลายน้ำ

Cholesterol เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เนื่องจากร่างกายต้องใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของผนังเซลล์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ฮอร์โมน เช่น estrogen progesterone , testosterone , aldosterone และ cortisol นอกจากนั้น cholesterol ยังใช้ในการสร้างวิตามินดี และน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหาร เป็นต้น

ในระบบหมุนเวียนโลหิต cholesterol จะถูกหุ้มด้วยสาร lipoproteins ซึ่งจะทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปตามกระแสโลหิต เพื่อส่งไปยังเซลล์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้งาน lipoproteins ที่หุ้ม cholesterol มี 2 ชนิดคือ

1. Low-density lipoproteins (LDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปเก็บไว้ตามเซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปผลิตฮอร์โมน หรือไปสร้างผนังเซลล์ สำหรับ cholesterol ส่วนที่เกินความต้องการ LDLs จะนำไปเกาะไว้ตามผนังเส้นเลือดแดง และเมื่อมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เส้นเลือดแดงตีบลง ในที่สุดจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดง ทำให้เซลล์บริเวณนั้นขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ตาย จึงเรียก LDLs ว่า cholesterol ชนิด "ร้าย"

2. High-density lipoproteins (HDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปยังตับ และขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี เนื่องจาก HDLs ทำหน้าที่กำจัด cholesterol ส่วนเกิน จึงเรียกว่า cholesterol ชนิด " ดี"

Cholesterol มาจากไหน

เนื่องจาก cholesterol มีความสำคัญต่อร่างกายมากจนกระทั่งร่างกายจำเป็นต้องมีขบวนการสร้าง cholesterol ขึ้นเอง ทั้งนี้เพื่อประกันว่าจะมี cholesterol อยู่เสมอ ขณะที่ cholesterol อีกส่วนหนึ่ง ร่างกายจะได้จากอาหาร จำพวก นม เนย ไข่ และเนื้อสัตว์ แต่เนื่องจากพืชไม่สร้าง cholesterol ดังนั้นอาหารจำพวกพืชจึงปราศจาก cholesterol

ปกติร่างกายจะรักษาความสมดุลย์ของ cholesterol ให้คงที่เสมอ กล่าวคือ ถ้ากินอาหารพวกเนื้อสัตว์มาก ร่างกายก็จะลดการสร้าง cholesterol ลง ในทางตรงข้ามถ้ากินอาหารที่เป็นพืชมากร่างกายก็จะสร้าง cholesterol เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย โดย cholesterol ส่วนเกินจะถูกส่งไปที่ตับในน้ำดี และถูกกำจัดออกทางอุจจาระ

การสูงขึ้นของระดับ cholesterol ที่ผิดปกติ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ จากพันธุกรรม และพฤติกรรมการกินอาหารของแต่ละบุคคล และอาจรวมถึงสาเหตุอื่นด้วย เช่น การขาดการออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่เป็นต้น

Cholesterol มีผลต่อหัวใจอย่างไร

เซลล์ต่างๆ เมื่อได้รับ cholesterol เพียงพอแล้ว ก็จะหยุดการรับ cholesterol ทำให้ LDLs จึงต้องนำ cholesterol ส่วนที่เกินไปเกาะอยู่ตามผนังของเส้นเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงเรื่อยๆ ส่งผลให้การไหลของเลือดไปเลี้ยงเซลล์บริเวณนั้นลดลง และถ้าหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจตีบลง เหลือเพียง 30% ของขนาดหลอดเลือดปกติ ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเรียกว่า " angina" ซึ่งมักแสดงอาการเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย กรณีที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจบางส่วนถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตาย และอาการหัวใจล้มเหลว ( hart attack) อาจปรากฎขึ้น และถ้าเซลล์ของหัวใจถูกทำลายมาก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

การตรวจ Cholesterol จะทำอย่างไร

การตรวจหาระดับ cholesterol ในเลือดเป็นด่านแรกในการควบคุมระดับ cholesterol ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจหาระดับ cholesterol อย่างน้อยทุก 5 ปี เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับ cholesterol อย่างน้อยปีละครั้ง ระดับ cholesterol ที่วัดได้ จะรายงานเป็นจำนวนมิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ( mg/dl)

ระดับ total cholesterol

ต่ำกว่า 200 mg/dl = ระดับที่เหมาะสม
200-239 mg/dl = คาบเส้น
สูงกว่า 240 mg/dl = สูงผิดปกติ

ระดับ cholesterol ที่อยู่ในช่วงคาบเส้น ควรทำการตรวจซ้ำ 2-3 ครั้ง แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ถ้ายังคงอยู่ในระดับเดิมควรเริ่มต้นควบคุม โดยการลดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ลง ขณะที่ระดับ cholesterol ที่สูงกว่า 240 mg/dl ควรใช้วิธีควบคุมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ รวมทั้งอาจต้องใช้ยาร่วมด้วย

ระดับ HDL cholesterol

สูงกว่า 35 mg/dl = ระดับที่เหมาะสม
สูงกว่า 60 mg/dl = ไม่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ

ระดับ LDL cholesterol

ต่ำกว่า 130 mg/dl = ระดับที่เหมาะสม
130-159 mg/dl = คาบเส้น
สูงกว่า 160 mg/dl = มีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง

Cholesterol Ratios

การคำนวณ cholesterol ratios จะช่วยบอกภาวะของความเสี่ยงโรคหัวใจได้อีกอย่างหนึ่ง โดยมีหลักว่า total cholesterol / HDL ratio สูงกว่า 6 และ ratio ของ LDL / HDL สูงกว่า 4 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง

Cholesterol และความเสี่ยงโรคหัวใจ

จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับ cholesterol สูงกว่า 240 mg/dl จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

1. ชาย อายุ 45 และหญิง อายุ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะสตรีที่รอบเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี และไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน
2. ความดันโลหิตสูง (สูงกว่า 140/90)
3. สูบบุหรี่
4. HDL ต่ำกว่า 35 mg/dl
5. โรคเบาหวาน
6. ครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ
7. ความอ้วน

ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเหล่านี้ ควรควบคุม cholesterol ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยาช่วย

Triglycerides สำคัญอย่างไร

สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตรวมทั้งพืช สามารถสังเคราะห์กรดไขมันได้เอง และสามารถนำมาสร้างเป็นไขมันเพื่อสะสมไว้เป็นพลังงานสำรองได้ โดยทั่วไปสัตว์จะสังเคราะห์ไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) ขณะที่พืชส่วนใหญ่สังเคราะห์ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ยกเว้นน้ำมัน
จากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น จะมีไขมันชนิดอิ่มตัวอยู่มาก

อย่างไรก็ตามไขมันไม่อิ่มตัว อาจถูกเปลี่ยนเป็นไขมันอิ่มตัวได้ด้วยขบวนการทางเคมี เช่น เนยเทียมและน้ำมันพืชบางชนิด โดยทั่วไปเนื้อปลา และเนื้อไก่ จะมีไขมันไม่อิ่มตัวมาก แต่ไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแพะ เนื้อแกะ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ขณะที่เนื้อหอย กุ้ง ปู จะมี cholesterol สูง แต่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ

ข้อเสียของไขมันอิ่มตัว คือ มันจะเข้าไปขัดขวางการใช้ cholesterol ของเซลล์ ทำให้ cholesterol ไม่ถูกนำไปใช้ จึงคงอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง แต่ในทางตรงข้ามไขมันไม่อิ่มตัวจะช่วยเสริมให้เซลล์นำ cholesterol จากเลือดไปใช้ ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดลดลง ดังนั้น การบริโภคเนื้อแดง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดสูง การตรวจสุขภาพโดยการวิเคราะห์ระดับ triglycerides ร่วมกับ cholesterol และ HDL จึงช่วยในการวิเคราะห์ปริมาณไขมันในร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ระดับ triglycerides

ต่ำกว่า 150 mg/dl = เหมาะสม

แม้ว่าระดับ triglycerides ในเลือดจะไม่เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของโรคหัวใจ เนื่องจาก triglycerides ไม่ได้เป็นสาเหตุของการตีบของหลอดเลือดแดง แต่ระดับ triglycerides ที่สูงในเลือด อาจเป็นการแสดงว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะกรณีที่มีระดับ HDLs ในเลือดต่ำ หรือ LDLs ในเลือดสูงอยู่แล้ว

ยำสตรอเบอรี่กุ้งสด


ส่วนผสม
กุ้งกุลาดำ (แกะเปลือกเหลือส่วนหาง และผ่าหลัง) 16 ตัว
สตรอเบอรี่สด (ผ่า 4 ชิ้น / ลูก) 20 ลูก
ก้านคะน้า (ลอกเปลือก หั่นความยาวประมาณ 1 ซม.) 2 ขีด
กระเทียม (ซอยบาง) 2 ช้อนโต๊ะ
หัวหอมแดง (ซอยบาง) 1/2 ถ้วย
ใบคึ่นช่าย 30 กรัม
น้ำปลา 1/2 ถ้วย
น้ำมะนาว 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสวน (ตำหยาบ) 5 เม็ด


วิธีทำ
- ลวกก้านคะน้าให้พอสุกในน้ำเดือดจัด จากนั้นนำไปแช่ไว้ในน้ำเย็นทันทีแล้วจึงตักขึ้นพักไว้
- กุ้งกุลาดำลวกพอสุกในน้ำเดือดจัด แล้วทำเช่นเดียวกับก้านคะน้า คือนำไปแช่ในน้ำเย็นทันทีก่อนตักขึ้นพักไว้
- ทำน้ำยำ ด้วยการนำกระเทียม น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย พริกขี้หนู ผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามใจชอบ
- นำกุ้ง ก้านคะน้า สตรอเบอรี่ หัวหอมแดง และใบคึ่นช่าย ใส่ลงไปแล้วคลุกเคล้ากับน้ำยำให้เข้ากัน ชิมรสอีกครั้ง

เมนูสุขภาพ - สลัดผัก ราดครีมมัสตาร์ดน้ำผึ้ง


การปรุงสลัดผักให้อร่อยขึ้นอยู่กับ 2 ส่วน คือ การเลือกชนิดผักสดต่างๆ ที่เข้ากันได้ ซึ่งไม่ควรเลือกผักที่ใบหนาหรือกลิ่นรสฉุน
เกินไป ส่วนที่สองสำคัญไม่ยิ่งหย่อนคือ น้ำสลัด ฉบับนี้เรามีสูตรใหม่ๆ มานำเสนอชวนให้คุณทำชิมลิ้มลองดู รับรองอร่อยค่ะ


ส่วนผสม
ผงมัสตาร์ด 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชู 8 ช้อนโต๊ะ
ไข่ 4 ฟอง
น้ำผึ้ง 160 มล.
ช็อกโกแลตขาว 60 กรัม
เกลือและพริกไทยดำตามชอบ
ผักสดต่างๆ ตามชอบ




วิธีทำ
- ผสมผงมัสตาร์ดและน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ทิ้งไว้ข้ามคืนในตู้เย็น
- ใส่น้ำในหม้อนิดหน่อย ตั้งไฟเบา แล้วนำไข่และมัสตาร์ดใส่ชามสแตนเลสไปตั้งบนหม้อ
- ตีไปเรื่อยๆ จนไข่สุกแล้วใส่น้ำผึ้งและน้ำส้มสายชูที่เหลือ คนให้เข้ากัน
- จากนั้นยกลงจากเตาทิ้งไว้ให้พออุ่น ใส่ช็อกโกแลตขาว คนให้ละลายเข้กัน แล้วปรุงด้วยเกลือ พริกไทยตามชอบ





ขอขอบคุณ : สูตรโดยคุณพลัง นพทีปกังวาล ร้าน Chocoholic ชั้น 3 สยามเซ็นเตอร์ โทร. 0-2658-1164

กล้วย กล้วย


กล้วย เป็นผลไม้ราคาถูก ที่หากินได้ง่าย แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อย่างกล้วยหอมลูกโตสีเหลืองๆ นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่มีถึง 3 ชนิด คือ ซุคโคส ฟรุคโตส และ กลูโคส ที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย แถมยังมีเส้นใยและกากอาหาร ช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกให้ขับถ่ายได้สะดวก และยังมีวิตามินบีอยู่มาก ช่วยลดความเครียด และความอ่อนล้าได้ด้วย

เห็นไหมว่าการกินกล้วยนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายมากเพียงไหน ดังนั้น เลยอยากจะชวนทุกคนไปกินกล้วยเพื่อสุขภาพที่ดีกัน โดยเราจะพาไปกินกล้วยกันที่ร้านขนมแห่งหนึ่ง ที่มีชื่อร้านเก๋ๆ ว่าร้าน กล้วย กล้วย (Banana Banana) ซึ่งเป็นร้านขายขนมที่ไม่เหมือนใคร เพราะเมนูขนมทั้งหมดของที่ร้านนี้ ล้วนมีแต่เมนูกล้วยๆ ที่ทำมาจากกล้วยหอมทองลูกโต ที่สั่งมาเป็นพิเศษจากเพชรบุรี อีกทั้งยังตั้งชื่อเมนูกล้วยซะเก๋ไก๋ ดึงดูดใจให้ชวนกินเสียเหลือเกิน

ว่าแล้วก็ตามมาดูกันดีกว่า ว่ามีเมนูกล้วยๆ อะไรที่ชวนกินกันบ้าง เริ่มจากเมนูนี้ที่มีชื่อเก๋ไก๋เสียไม่มีว่า กล้วยพองโต (40 บาท) ที่จริงแล้วก็คือกล้วยหอมทองทั้งลูก ที่ทางร้านนำไปชุบกับแป้งปรุงรส แล้วทอดจนกล้วยพองโตสุกกรอบ สีเหลืองทองน่ากิน แถมยังมีท็อปปิ้งอีก 4 อย่างให้เลือกราดหน้าตามใจชอบ คือ ช็อคโกแลต สตรอเบอร์รี่ นมข้น และน้ำผึ้ง กินคู่กันกับกล้วยหอมที่ทอดมาร้อนๆ กรอบนอกเนื้อในนุ่มได้รสชาติกล้วยที่หวานละมุนนุ่มปาก

ต่อด้วยอีกหนึ่งเมนูกล้วยทอดๆ อย่างกล้วยมัมมี่ (35 บาท) ที่เห็นชื่อแล้วอาจจะดูน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วกลับน่ากิน เป็นแผ่นแป้งปอเปี๊ยะที่ห่อด้วยไส้กล้วยหอมทอง ทอดมาจนเหลืองกรอบ โรยด้วยน้ำตาไอซิ่งชวนกิน ส่งชิ้นกล้วยเข้าปากเคี้ยวกรอบกรุบ ได้รสชาติหวานหอมของกล้วยที่สอดไส้อยู่ข้างใน หรือถ้าใครจะเพิ่มรสชาติด้วยการราดหน้าท็อปปิ้งก็ได้เหมือนกัน

ส่วนอีกเมนูกล้วยที่สาวๆ เห็นแล้วต้องแอบอมยิ้มกับเมนูที่มีชื่อว่า กล้วยสำอาง (35 บาท) เป็นกล้วยหอมทองที่ทางร้านนำไปอบกับเนย แล้วก็ราดมาด้วยนมสดจนท่วมชิ้นกล้วย (เหมือนกล้วยแช่น้ำนมเลย) กินแล้วสัมผัสได้ถึงรสชาติของกล้วยอบเนยที่หอมหวาน เนื้อเนียนนุ่มจนเหมือนจะละลายในปาก หวานมันเข้ากันกับนมสด

และถ้าใครเกิดรู้สึกฝืดคอขึ้นมา แนะนำว่าให้สั่งเมนูเครื่องดื่ม อย่างมิลค์เชคกล้วย (33 บาท) มาดื่มกัน ซึ่งดื่มแล้วจะรู้สึกหอมหวานสดชื่น ชุ่มชื่นคอเป็นอย่างมาก ได้รสชาติกล้วยหอมทองล้วนๆ ที่นำมาปั่นใส่นมสด ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็งจนละเอียด และยังมีกล้วยฝานเป็นชิ้นๆ ใส่มาให้ด้วย

นอกจากเมนูกล้วยๆ ที่เราได้ลองลิ้มจนติดใจแล้ว ขอบอกว่ายังมีเมนูกล้วยๆ ชื่อแปลกๆ อย่างอื่นอีกมากมาย ที่คนชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด อาทิ กล้วยสังข์ทอง (14 บาท) กล้วยห่อ (35 บาท) กล้วยกำแพง (35 บาท) กล้วยฮาวายเอี้ยน (25 บาท) กล้วยขั้วโลก (23 บาท) กล้วยดุ๊กดิ๊ก (23 บาท) มิลค์เชคโอริโอ้กล้วย (38 บาท) มิลค์เชคช็อคโกแลตกล้วย (38 บาท) มิลค์เชคน้ำผึ้งกล้วย (38 บาท) บอกได้คำเดียวเลยว่าที่ร้าน กล้วย กล้วย แห่งนี้มีแต่ของ (กิน) กล้วยๆ ที่ชวนลิ้มลองทั้งนั้นเลย

กล้วย เป็นผลไม้ราคาถูก ที่หากินได้ง่าย แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อย่างกล้วยหอมลูกโตสีเหลืองๆ นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่มีถึง 3 ชนิด คือ ซุคโคส ฟรุคโตส และ กลูโคส ที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย แถมยังมีเส้นใยและกากอาหาร ช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกให้ขับถ่ายได้สะดวก และยังมีวิตามินบีอยู่มาก ช่วยลดความเครียด และความอ่อนล้าได้ด้วย

เห็นไหมว่าการกินกล้วยนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายมากเพียงไหน ดังนั้น เลยอยากจะชวนทุกคนไปกินกล้วยเพื่อสุขภาพที่ดีกัน โดยเราจะพาไปกินกล้วยกันที่ร้านขนมแห่งหนึ่ง ที่มีชื่อร้านเก๋ๆ ว่าร้าน กล้วย กล้วย (Banana Banana) ซึ่งเป็นร้านขายขนมที่ไม่เหมือนใคร เพราะเมนูขนมทั้งหมดของที่ร้านนี้ ล้วนมีแต่เมนูกล้วยๆ ที่ทำมาจากกล้วยหอมทองลูกโต ที่สั่งมาเป็นพิเศษจากเพชรบุรี อีกทั้งยังตั้งชื่อเมนูกล้วยซะเก๋ไก๋ ดึงดูดใจให้ชวนกินเสียเหลือเกิน

ว่าแล้วก็ตามมาดูกันดีกว่า ว่ามีเมนูกล้วยๆ อะไรที่ชวนกินกันบ้าง เริ่มจากเมนูนี้ที่มีชื่อเก๋ไก๋เสียไม่มีว่า กล้วยพองโต (40 บาท) ที่จริงแล้วก็คือกล้วยหอมทองทั้งลูก ที่ทางร้านนำไปชุบกับแป้งปรุงรส แล้วทอดจนกล้วยพองโตสุกกรอบ สีเหลืองทองน่ากิน แถมยังมีท็อปปิ้งอีก 4 อย่างให้เลือกราดหน้าตามใจชอบ คือ ช็อคโกแลต สตรอเบอร์รี่ นมข้น และน้ำผึ้ง กินคู่กันกับกล้วยหอมที่ทอดมาร้อนๆ กรอบนอกเนื้อในนุ่มได้รสชาติกล้วยที่หวานละมุนนุ่มปาก

ต่อด้วยอีกหนึ่งเมนูกล้วยทอดๆ อย่างกล้วยมัมมี่ (35 บาท) ที่เห็นชื่อแล้วอาจจะดูน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วกลับน่ากิน เป็นแผ่นแป้งปอเปี๊ยะที่ห่อด้วยไส้กล้วยหอมทอง ทอดมาจนเหลืองกรอบ โรยด้วยน้ำตาไอซิ่งชวนกิน ส่งชิ้นกล้วยเข้าปากเคี้ยวกรอบกรุบ ได้รสชาติหวานหอมของกล้วยที่สอดไส้อยู่ข้างใน หรือถ้าใครจะเพิ่มรสชาติด้วยการราดหน้าท็อปปิ้งก็ได้เหมือนกัน

ส่วนอีกเมนูกล้วยที่สาวๆ เห็นแล้วต้องแอบอมยิ้มกับเมนูที่มีชื่อว่า กล้วยสำอาง (35 บาท) เป็นกล้วยหอมทองที่ทางร้านนำไปอบกับเนย แล้วก็ราดมาด้วยนมสดจนท่วมชิ้นกล้วย (เหมือนกล้วยแช่น้ำนมเลย) กินแล้วสัมผัสได้ถึงรสชาติของกล้วยอบเนยที่หอมหวาน เนื้อเนียนนุ่มจนเหมือนจะละลายในปาก หวานมันเข้ากันกับนมสด

และถ้าใครเกิดรู้สึกฝืดคอขึ้นมา แนะนำว่าให้สั่งเมนูเครื่องดื่ม อย่างมิลค์เชคกล้วย (33 บาท) มาดื่มกัน ซึ่งดื่มแล้วจะรู้สึกหอมหวานสดชื่น ชุ่มชื่นคอเป็นอย่างมาก ได้รสชาติกล้วยหอมทองล้วนๆ ที่นำมาปั่นใส่นมสด ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็งจนละเอียด และยังมีกล้วยฝานเป็นชิ้นๆ ใส่มาให้ด้วย

นอกจากเมนูกล้วยๆ ที่เราได้ลองลิ้มจนติดใจแล้ว ขอบอกว่ายังมีเมนูกล้วยๆ ชื่อแปลกๆ อย่างอื่นอีกมากมาย ที่คนชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด อาทิ กล้วยสังข์ทอง (14 บาท) กล้วยห่อ (35 บาท) กล้วยกำแพง (35 บาท) กล้วยฮาวายเอี้ยน (25 บาท) กล้วยขั้วโลก (23 บาท) กล้วยดุ๊กดิ๊ก (23 บาท) มิลค์เชคโอริโอ้กล้วย (38 บาท) มิลค์เชคช็อคโกแลตกล้วย (38 บาท) มิลค์เชคน้ำผึ้งกล้วย (38 บาท) บอกได้คำเดียวเลยว่าที่ร้าน กล้วย กล้วย แห่งนี้มีแต่ของ (กิน) กล้วยๆ ที่ชวนลิ้มลองทั้งนั้นเลย



รายละเอียดเกี่ยวกับร้านกล้วย กล้วย

ที่ตั้ง : 256 โรงหนังลิโด้ 3 ชั้น 2 สยามสแควร์ แขวงปทุมวัน เขตวังใหม่ กทม.
การเดินทาง : นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสยาม แล้วก็เดินมาที่โรงหนังลิโด้ ขึ้นมาที่ชั้น 2 ก็จะเห็นร้านกล้วย กล้วย ตั้งอยู่มีป้ายร้านให้เห็นชัดเจน
เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-20.30 น.
สอบถามที่โทร. 0-2658-1934
แผนที่ร้าน

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

กลวิธีคลายเครียด

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคนไม่มากก็น้อย ความเครียดอาจจะเกิดจากปฏิกิริยาในตัวเราเอง เช่น ปวดท้องอึขณะที่ขับรถติดในชั่วโมงเร่งด่วน หรือความเครียดที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น หุ้นตก สูญเสียเงิน ถูกโกงแชร์ เป็นนายกโดนปฎิวัติ ฯลฯ

ความเครียดขนาดน้อยๆ เป็นเรื่องปกติ ไม่มีปัญหา แต่อาจจะมีประโยชน์ ที่ทำให้เราพยายามเอาชนะมัน ทำให้เรามีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เช่น เครียดเพราะกลัวสอบเอ็นทรานซ์ไม่ได้ จึงทำให้ขยันเรียน แต่ความเครียดถ้ามีขนาดมาก ก็มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ความเครียดอาจจะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ทำให้เป็นหวัดง่าย เริมกำเริบ หรือในบางคนอาจจะเกิดโรคจู๋หมดน้ำยา หรือถึงขนาดฆ่าตัวตาย

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความเครียด แนะนำหลักการลดความเครียดไว้หลายอย่าง ขั้นแรกหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด เขาให้คำนิยามของสาเหตุความเครียดไว้ว่า มันคือภาวะที่บีบคั้น ที่เกินความสามารถของเราที่จะตอบสนองได้
ความสามารถในการตอบสนองต่อความเครียด ขึ้นกับพันธุกรรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ของชีวิตของเรา เช่น คนบางคนอาจจะเครียด เมื่อต้องขึ้นไปร้องเพลงบนเวที แต่บางคนชอบมาก เนื่องจากมีพันธุกรรม หรือบุคลิกของความไม่ขี้อายชอบแสดงออก บางคนเข้าใกล้หมาแล้วเครียดมาก เนื่องจากมีประสบการณ์โดนหมากัดตอนที่ยังเด็ก
สาเหตุของความเครียดหลายอย่าง มันเห็นได้เข้าใจได้เด่นชัด เช่น พ่อหรือแม่เสียชีวิต ลูกไม่สบาย แฟนเลิกร้าง กิ๊กเลิกรา หางานทำ ไม่ได้ ถูกไล่ออกจากงาน หาเงินไม่พอใช้ เป็นหนี้พนันบอล ฯลฯ แต่ความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันก็ไม่ควรมองข้าม เช่น ต้องขับรถฝ่าจราจรไปส่งหรือรับลูกที่โรงเรียนทุกวัน เพื่อนร่วมงานนิสัยไม่ดี คอมฯ มีปัญหาแฮงค์บ่อยทำให้ต้นฉบับหาย น้ำมันราคาแพง ความเครียด เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ถ้าเป็นอยู่นานๆ ก็สามารถสร้างความเสียหาย ให้กับชีวิตร่างกายหรือสุขภาพของเราได้มาก เพราะมันกระตุ้นร่างกายเรา ให้หลั่งฮอร์โมนความเครียดตลอดเวลา ทำให้เกิดโรคขึ้น เช่น ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แล้วตามมาด้วยอัมพาตอัมพฤกษ์

กลวิธีคลายเครียดที่ผู้รู้แนะนำไว้ และคุณสามารถเลือกเอาไปใช้ได้มีหลายอย่าง คือ

จดบันทึกประจำวัน

• จดบันทึกประจำวันสักหนึ่งสัปดาห์ ให้สังเกตดูว่าเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใด ที่เราตอบสนองทางกาย ใจ หรืออารมณ์ในทางลบ และให้จดวันเวลาของเหตุการณ์ไว้ด้วย เขียนบรรยายเหตุการณ์เอาไว้ย่อๆ เราอยู่ในเหตุการณ์ตรงไหน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง อะไรเป็นสาเหตุของความเครียด และบรรยายถึงการตอบสนองของเรา ต่อความเครียดนั้นด้วย อาการทางกายของเราเป็นอย่างไร เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อแตก ความรู้สึกของเราเป็นอย่างไร เราพูดอะไร หรือทำอะไรลงไปบ้าง เสร็จแล้วให้คะแนนความเครียดของเราจาก 1 ถึง 5 (น้อยไปมาก)
• จดบันทึกรายการของสิ่งหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่บีบคั้นเราให้ใช้เวลา และพลังงานกับมันในหนึ่งสัปดาห์ว่ามีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น การงานที่เราทำอยู่ งานอาสาสมัคร ขับรถพาลูกไปเรียนพิเศษ ดูแลพ่อหรือแม่ที่แก่เฒ่า เสร็จแล้วให้คะแนนความมากน้อยของความเครียดที่ เราประสบจาก 1 ถึง 5 เหมือนข้างบน

ี้หลังจากนั้น เราก็มานั่งพิจารณาสิ่งที่เราจดบันทึกไว้ พิจารณาสิ่งที่เราคิดว่าทำให้เราเครียดมากๆ แล้วเลือกขึ้นมาอย่างหนึ่ง เพื่อทำการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคที่ใช้แก้ปัญหาดังนี้

ปรับปรุงทักษะการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทักษะนี้สามารถทำให้คุณเก่ง ในการแยกแยะเป้าหมาย และให้ความสำคัญก่อนหลังของสิ่งที่เราต้องทำ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดในชีวิตได้ ให้ใช้ทักษะต่างๆ ดังต่อไปนี้ช่วยลด ความเครียด

• สร้างความคาดหมายที่เป็นไปได้จริง และขีดเส้นตายให้กับงานที่เราจะทำ และทำการตรวจสอบความก้าวหน้าเป็นประจำ
• จัดระเบียบบนโต๊ะทำงาน กำจัดกระดาษที่ไม่มีความสลักสำคัญ โดยการโยนมันทิ้งไป
• เขียนรายการแม่บทของสิ่งที่เราต้องทำก่อนหลังประจำวันแล้วทำตามนั้น
• ตลอดทั้งวันที่ทำงานหมั่นเช็ครายการ แม่บทที่เราทำไว้ ว่าเราได้ทำเสร็จไปตามลำดับก่อนหลังที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า
• หัดใช้สมุดนัดที่เขาเรียกว่าแพลนเนอร์ เพื่อจดบันทึกสิ่งที่เราวางแผนจะทำล่วงหน้า เป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี หรือเขียนรายการแม่บทตามที่กล่าวข้างบนนั้น เป็นรายการที่ต้องทำก่อน-หลังประจำวัน ลงบนแพลนเนอร์ด้วย แล้วทำไปตามนั้น และทำการประเมินผลประจำวัน จะเกิดผลดี ไม่เกิดความยุ่งยาก สับสน ผิดนัด ใช้แพลนเนอร์เก็บเบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของคนสำคัญหรือลูกค้า เพื่อความสะดวกใน การค้นหาติดต่อ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ผิดพลาดเสียเวลาน้อยลง มีเวลาทำงาน อย่างอื่นหรือรื่นเริงมากขึ้น
• สำหรับการทำงานหรือโครงการที่มีความสำคัญมาก ให้กันเวลาที่ห้ามใครมารบกวนไว้ต่างหาก เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องและเป็น ความลับ

หลีกเลี่ยงความเบื่อหน่ายหมดไฟในการทำงาน

ถ้าคุณมีความรู้สึกหมดไฟ ไม่อยากทำงาน หรือเครียดมากเป็นเวลานานเป็นสัปดาห์ ความรู้สึกนี้จะมีผลต่อความสัมพันธ์ในทางอาชีพ และในชีวิตส่วนตัวหรือในการทำมาหากินของคุณได้

ความอัดอั้นตันใจที่มากล้น ความรู้สึกเมินเฉยต่อการงาน ความหงุดหงิดรำคาญใจเป็นเวลายาวนาน ความขุนเคืองใจ และมีความโน้มเอียงที่จะโต้เถียงเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวชี้บ่งถึงอาการหมดไฟในการทำงาน ซึ่งจำเป็นต้อง ได้รับการจัดการเยียวยาให้มันดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเขาแนะนำกลยุทธในการต่อสู้ดังนี้

• ดูแลตัวเองให้สุขภาพดี กินอาหารให้ครบห้าหมู่ กินให้ครบทุกมื้อรวมทั้งอาหารเช้า กินในขนาดที่พอประมาณ (ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม) นอนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอให้พอเหมาะ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ร่างกายของท่านแข็งแรง สามารถสู้กับความเครียดทางกายและใจได้ดี
• สร้างสัมพันธไมตรีกับเพื่อนในที่ทำงานและนอกที่ทำงาน หาเพื่อนสนิทที่เราสามารถบ่นเรื่องคับข้องใจ ปรับทุกข์เรื่องการงานให้ฟังได้ ทำให้มีหนทางในการแก้ปัญหา ที่ก่อความเครียดของเราได้ หลีกเลี่ยงการคบค้ากับคนที่เรามีความรู้สึกไม่ดี คนไม่จริงใจ ไม่เป็นกัลยาณมิตร เพราะจะยิ่งจะตอกย้ำความรู้สึกย่ำแย่ให้มากขึ้น ในมงคลสูตรก็กล่าวไว้ให้คบคนดี หลีกหนีคนพาล มองหากัลยาณมิตร
• รู้จักลาพักผ่อน ลาพักร้อน วาเคชั่น บางคนอาจจะลาไปปฏิบัติธรรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน หรือปลีกวิเวก สำหรับคนที่ทำได้ มันจะทำให้คลายเครียดลงได้มาก แน่นอน และสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ลาได้ไม่มาก ก็อาจจะมีการเบรคพักคลายเครียดชั่วครู่ในเวลาทำงาน ก็จะช่วยได้บ้าง
• ในบางกรณีจำเป็นต้องฝึกการปฏิเสธ หัด “Say No” กับเพื่อนที่มาชวนไปทำโน่นทำนี้ ที่ทำให้เราเครียด เช่น เป็นสาวเป็นแส้เที่ยวแร่ไปตามที่อโคจร ไปนั่งตามผับตามบาร์ ดื่มเหล้าสูบยาซึ่งเป็นท่าทีเชิญชวนให้ หนุ่มเหน้าเข้ามาโอภาปราศรัยอยากได้ปลื้ม
• หัดยับยั้งชั่งใจไม่โต้เถียงกับใครๆ โดยไม่เลือก พยายามใจเย็น มีสติ สัมปชัญญะ เถียงเฉพาะเรื่องที่มีความสลักสำคัญจริง (ไม่ใช่เรื่องทักษิณออกไป) แต่ที่ดีที่สุดคือหุบปากไม่เถียงกับใครเลย ทุกครั้งที่เถียงกัน จะมีการหลั่งของฮอร์โมนความเครียด ความดันเลือดพุ่งขึ้นทุกที
• ทางออกของความเครียดที่ควรหัดมีไว้คือ การอ่านหนังสือที่เราชอบ ทำงานอดิเรกที่เรารัก ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่เราสนุก ทำให้รู้สึกชื่นมื่นเพราะเอนดอร์ฟิน (สารสร้างสุข) หลั่งออกมา

ถ้าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่มีผลดีต่อคุณ ก็จำเป็นต้องหาที่พึ่ง เช่น เข้าหาปรึกษาพระที่เราเคารพนับถือ เอาธรรมะเข้าข่ม หรือใช้มืออาชีพอย่างนักจิตวิทยา หรือให้จิตแพทย์ช่วยก็จะดีที่สุด อย่าลืมว่าความเครียดอาจจะทำให้ถึงตายได้ อย่าปล่อยให้มันเรื้อรังนะ

ข้าวกล้อง วิตามิน...เพียบ

ข้าวกล้องคืออะไร ?

คือข้าวที่สีเอาเปลือก (แกลบ) ออกโดยที่ยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) อยู่ ข้าวกล้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้มีคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์มาก

สำหรับข้าวขาวที่เรากินๆ กันอยู่นั้น เป็นข้าวที่เกิดจากการขัดสีหลายๆ ครั้ง จนเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวและจมูกข้าวหลุดออกไป จนเหลือแต่เนื้อในของข้าว

ข้าวกล้องบางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง

ข้าวกล้องมีโปรตีนประมาณ 7-12% (แล้วแต่พันธุ์ข้าว) นักค้นคว้าชื่อ โรสเดล ( Rosedale ) ได้วิเคราะห์ว่า การขัดสีข้าวกล้องจนมีสีขาว จะทำให้โปรตีนสูญหายไปประมาณ 30%

ประโยชน์มากมายของการกินข้าวกล้อง

• ได้วิตามินบีรวม ช่วยป้องกันและบรรเทาอาหารอ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนังบางชนิด บำรุงสมอง ทำให้เจริญอาหาร
• ได้วิตามินบี 1 ซึ่งถ้ากินเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้
• ได้วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก
• ได้ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
• ได้แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
• ได้ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน
• ได้ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
• ได้โปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
• ได้ไขมัน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันในข้าวกล้องเป็นไขมันที่ดี ไม่มีโคเรสเตอรอล
• ได้ไนอะซิน ช่วยระบบผิวหนังและเส้นประสาท และป้องกันโรคเพลลากรา
(โรคที่เกิดจากการขาดไนอะซิน จะมีอาการท้องเสีย ประสาทไหว โรคผิวหนัง)
• ได้คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย
• ได้กากอาหาร ข้าวกล้องมีกากอาหารมาก ซึ่งจะทำให้ท้องไม่ผูก และช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย
• วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในข้าวกล้องจะช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้าวกล้องมีอะไรดีกว่าข้าวขาว

ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่าช่วยป้องกันโลหิตจาง • ข้าวกล้องมีวิตามินบี 1 มากกว่าข้าวขาวประมาณ 4 เท่า ถ้ากินเป็นประจำ จะป้องกันโรคเหน็บชา
• วิตามินบี 2 มีมากจะป้องกันโรคปากนกกระจอก
• วิตามินบีรวม มีมากกว่าจะป้องกัน และบรรเทาอาการอ่อนเพลียและขาไม่มีแรง อาการปวดแสบและเสียวในขา ปวดน่อง ปวดกล้ามเนื้อ ลิ้นแตกหรือมีแผล ริมฝีปากเจ็บหรือมีแผล โรคผิวหนังบางชนิด โรคปลายประสาทอักเสบ และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทบางชนิด
• วิตามินบีรวม ยังบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้นและเจริญอาหาร
• ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่า ช่วยป้องกันโลหิตจาง
• แคลเซียม มีมากกว่า จะทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
• ไขมัน มีมากกว่าให้พลังงานแก่ร่างกาย
• กากอาหาร มีมากกว่าจะช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
• เกลือแร่และวิตามินต่างๆ ในข้าวกล้อง มีรวมกัน 20 กว่าชนิด มีหน้าที่ทำให้การทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
• โปรตีน มีมากกว่าช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
• แป้ง (คาร์โบไฮเดรต) มีน้อยกว่าข้าวขาว ช่วยลดความอ้วน ส่วนคนที่ผอมจะสมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากได้รับสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น
• ประหยัดเงินทอง เพราะเจ็บป่วยน้อยกว่า ข้าวกล้องจะมีราคาถูกกว่า เพราะต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า
• มีผลทำให้สุขภาพจิตและสติปัญญาดีขึ้น เพราะสุขภาพกายดีขึ้น

ปริมาณสารอาหารในข้าวขาวกับข้าวกล้อง

สารอาหาร
ข้าวขาว
ข้าวกล้อง

วิตามิน – บี 1
4 จานกว่า
1 จาน

วิตามิน – บี 2
2 จาน
1 จาน

วิตามิน – บี 6
5 จานกว่า
1 จาน

กากข้าว
2 จานกว่า
1 จาน


ผลเสียของการกินข้าวขาว

โรคและอาการต่างๆ ต่อไปนี้ จะลดลงมากหรือป้องกันได้ ถ้ากิน ข้าวกล้อง เป็นประจำ และกินอาหารเพียงพอและถูกหลัก

• โรคเหน็บชา เพราะขาดวิตามิน-บี 1 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 1 มากกว่าข้าวขาว 385% (พบมากในประเทศที่กินข้าวขาวเป็นอาหารหลัก)
• โรคปากนกกระจอก เพราะขาดวิตามิน-บี 2 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 2 มากกว่าข้าวขาว 66% (ตามชนบทมีเด็กเป็นโรคปากนกกระจอก 60%)
• โรคโลหิตจาง เพราะขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากข้าวกล้องมีธาตุเหล็กมากกว่าข้าวขาว 2 เท่า (ประชากรไทยเป็นโรคโลหิตจาง 40%)
• โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (พบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี) เกี่ยวเนื่องจากมาจากการขาดธาตุฟอสฟอรัส และอื่นๆ ซึ่งมีในข้าวกล้อง นอกจากนั้น ฟอสฟอรัสยังช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟันอีกด้วย
• โรคท้องผูก เพราะมีกากอาหารน้อย ข้าวกล้องมีกากอาหารมากกว่า 133% (ข้าวกล้องช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่)
• โรคทางระบบประสาทบางชนิด และโรคปลายประสาทอักเสบ เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง (วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้น และเจริญอาหาร)
• อารมณ์เสียง่ายกว่า หงุดหงิดเพราะชาดวิตามินบีรวม ซึ่งเป็นวิตามินที่เสริมสร้างระบบประสาทของร่างกาย และถ้าระบบประสาทของเราไม่ดี ทำให้เราควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก
• เบื่ออาหาร เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งข้าวกล้องมีมากกว่าข้าวขาว
• โรคขาดโปรตีน ข้าวกล้องมีโปรตีน ร้อยละ 7-12 (เด็กไทยประมาณร้อยละ 40-60 เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน) ข้าวกล้องมีโปรตีนมากกว่าข้าวขาว 20-30%
• โรคผิวหนังบางชนิด ขาดวิตามินบีบางตัว
• อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ ปวดเมื่อยตามตัวและขา เพราะขาดวิตามินบีรวม
• โรคชัก เนื่องจากขาดวิตามิน บี 6 ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง
• ข้าวขาวมีแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) พอๆ กับข้าวกล้อง แต่มีเกลือแร่และวิตามินต่างๆ น้อยกว่าข้าวกล้อง (ในข้าวกล้องจะมีวิตามินรวมกัน 20 กว่าชนิด) ที่ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างร่างกายให้สมบูรณ์

จะเห็นได้ว่า ผลเสียของการกินข้าวขาวมีมาก เพราะการขัดสีส่วนที่มีคุณค่าต่อร่างกายออกไป หลายท่านอาจจะกินข้าวขาว เพราะไม่รู้ว่ายังมีข้าวที่มีคุณค่ามากอย่างข้าวกล้องอยู่ จนบางคนไม่เคยรู้จักข้าวกล้องด้วยซ้ำ

คนสมัยโบราณแต่ละบ้านจะตำข้าวกินเอง ซึ่งเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ ซึ่งก็คือ ข้าวกล้อง คนสมัยก่อนจึงมีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคอย่างที่คนสมัยนี้เป็นกันเท่าไร เช่น โรคเบาหวาน, หัวใจวาย, มะเร็ง ฯลฯ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็เพราะการกินไม่เป็น

โคเลสเตอรอล ในผู้ป่วย โรคเบาหวาน

ไขมันในเลือด มีอยู่หลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) โคเลสเตอรอลในร่างกาย มาจากสองทางด้วยกัน คือ มาจากอาหาร อาหารที่มาจากพืช จะไม่มีโคเลสเตอรอล แต่อาหารที่มาจากสัตว์ จะมีโคเลสเตอรอลมากน้อยแตกต่างกันไป อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก ได้แก่ พวกเครื่องในต่างๆ ไข่แดง และสัตว์มีกระดอง

นอกจากนี้ ร่างกายยังสามารถสร้างโคเลสเตอรอลขึ้นเองได้ อวัยวะที่ทำหน้าที่ สร้างโคเลสเตอรอลที่สำคัญ คือ ตับและลำไส้ ไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย ก็มาจากอาหารที่รับประทาน และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายเช่นเดียวกัน อาหารที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นมาก นอกจากอาหารมันๆ แล้วยังเกิดจากอาหารที่มีน้ำตาล และแป้งปริมาณมากๆ นอกจากนี้ สุรายังเป็นตัวกระตุ้น ให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นด้วย

โคเลสเตอรอลในเลือดมีกี่ชนิด

เมื่อท่านไปรับการตรวจเลือด เพื่อดูระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ค่าโคเลสเตอรอลที่ตรวจวัดได้ จะเป็นผลรวมของโคเลสเตอรอลที่ได้มาจากแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล, เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลและ วี แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ หารด้วย 5)

ในคนที่มีระดับไขมันในเลือดปกติ ร้อยละ 70 ของโคเลสเตอรอลที่วัดได้ มาจาก แอล ดี แอล และร้อยละ 17 มาจาก เอช ดี แอล ดังนั้น ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูง จะเกิดจากการที่มี แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมาก ก็สามารถทำให้ ระดับโคเลสเตอรอลรวมสูงได้เช่นกัน
ดังนั้นค่าที่ได้สามารถนำมาคำนวนหา

แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง เป็นไขมันที่เป็นต้นเหตุ และเป็นตัวการที่สำคัญที่สุด ของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และหลอดเลือดสมองตีบตัน

ส่วน เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันที่มีหน้าที่ป้องกัน และต่อต้านการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลที่ต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

นอกจากนี้ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดแดงแข็งเช่นเดียวกัน

โรคเบาหวานมีผลต่อระดับไขมันในเลือดอย่างไรบ้าง

โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกาย สร้างฮอร์โมนอินสุลินลดลง หรือร่างกายตอบสนอง ต่อฤทธิ์ของฮอร์โมนอินสุลินลดลง ฮอร์โมนอินสุลินนอกจากจะมีผลต่อ ระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังมีผลต่อ การเผาผลาญไขมันในร่างกายด้วย โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการสลายไขมันในร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวาน จึงพบความผิดปกติของไขมันในเลือด ได้บ่อยกว่าคนทั่วไป กล่าวคือ ผู้ป่วยเบาหวาน มักจะพบความผิดปกติ ของระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้น และระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลที่ลดลง ส่วนระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล มักจะไม่แตกต่างจาก คนที่ไม่เป็นเบาหวาน

ไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากจะเกิดจากโรคเบาหวานเองแล้ว ยังอาจเกิดจากยาต่างๆ ที่ใช้ร่วมด้วย เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเอง ได้แก่ โรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน หรือโรคเบาหวานลงไต ซึ่งจะมีผลทำให้ระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น หรืออาจจะเกิดจากโรคไทรอยด์ ที่ทำงานผิดปกติเป็นต้น

ไขมันในเลือดผิดปกติมีผลอย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน

ไขมันที่ผิดปกติ จะทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการตีบตัน ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ป่วยที่เป็น และไม่เป็นเบาหวาน แต่ผู้ป่วยเบาหวาน จะมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากกว่าและ เกิดได้ในคนที่อายุน้อยกว่า

นอกจากนี้ ยังพบว่าระดับไขมันที่ผิดปกติ ยังสัมพันธ์กับการเกิด พยาธิสภาพของหลอดเลือดฝอย และมีผลต่อการควบคุม ระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย

ผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่

ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน เป็นผลให้อวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือ เสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้

ถ้าเกิดที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน จะทำให้เกิดโรคอัมพาต โดยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือ ชาครึ่งซีก นอกจากนี้ ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นขา หรือ น่องเวลาเดินไกลๆ และถ้าหลอดเลือดตีบมากๆ อาจจะทำให้เกิดแผลที่เท้าได้ และเป็นสาเหตุให้แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน หายได้ยากและช้ากว่าปกติ

ผลต่อหลอดเลือดแดงฝอย

ระดับไขมันในเลือดที่สูง จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่หลอดเลือดฝอยของตา และไตในผู้ป่วยเบาหวาน หรือที่เรียกกันว่า เบาหวานขึ้นตาและลงไต เป็นผลให้การมองเห็นของสายตาลดลง และการทำงานของไตเสื่อม หรือไตวาย

ผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูง จะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานสูงขึ้นได้ ซึ่งอธิบายได้จากกรดไขมันอิสระที่สูง กรดไขมันอิสระที่สูง จากภาวะที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง จะมีผลยับยั้งขบวนการเผาผลาญ น้ำตาลกลูโคสในเซลล์และ ยังทำให้มีการสร้าง และปล่อยน้ำตาลกลูโคสจากตับเพิ่มขึ้น และในทางกลับกัน ภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูง ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกาย มีฮอร์โมนอินสุลินไม่เพียงพอ หรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินสุลินลดลง ตับจึงสร้างไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้

ผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีระดับไขมันในเลือดเท่าไร


ระดับไขมันในเลือดเหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวานคือ
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล
ไตรกลีเซอไรด์
น้อยกว่า 100 มก./ดล.
มากกว่า 45 มก./ดล.
น้อยกว่า 150 มก./ดล.



การรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวานทำได้อย่างไรบ้าง

การรักษาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและ การใช้ยา

การควบคุมอาหาร มีหลักดังต่อไปนี้

1. รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อที่จะทำให้น้ำหนักตัว อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป
2. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่และ ใยอาหาร
3. หลีกเลี่ยง หรือ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัวจะพบในไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวและ กะทิ สำหรับโคเลสเตอรอลนั้นจะพบใน เนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง และนมเนยต่างๆ

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะและ สม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลและ ทำให้ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงขึ้นด้วย

การใช้ยา

ถ้าควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายแล้ว ไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือด ถึงระดับที่ต้องการแล้ว จำเป็นต้องพิจารณา การใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมัน แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงอย่างเดียว หรือมีไขมันแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง ร่วมกับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม statin เป็นยากลุ่มแรก ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างเดียว ยาที่เหมาะสมคือ ยาในกลุ่ม fibrate

ยาลดระดับไขมันในเลือด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพบว่ามีผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน และโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้

อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร


หากไม่อยากทุกข์ทรมาน จากการป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ก็ต้องแก้ที่การรับประทานอาหารเช่นกัน ซึ่งอาหารที่เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับป้องกันโรคกระเพาะมีดังต่อไปนี้

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แหล่งอุดมของเส้นใย

คือคาร์โบไฮเดรตที่เกิดขึ้นเองจากการสะสมตามธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุด หรือไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปใดเลย

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการแปรรูปนี้ อุดมไปด้วยเส้นใย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบย่อยอาหาร เพราะอาหารที่มีเส้นใยสูง ใช้เวลาในการย่อยในกระเพาะอาหารน้อยมาก (หากปรุงให้สุกและกินให้พอดี ถั่วและพืชชนิดต่างๆ จะใช้เวลาในการย่อยประมาณ 80-90 นาทีเท่านั้น) เมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆ

ยิ่งกินอาหารที่เป็นกากใยในแต่ละวันมากขึ้น อาหารก็จะถูกย่อยเร็วมากขึ้นเท่านั้น เพราะเส้นใยที่รับประทานเข้าไป จะช่วยดูดซับน้ำเอาไว้ และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยในการดูดซึมของผนังกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มกากใยในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ จึงทำให้การขับถ่ายดีขึ้น และนอกจากนั้น การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก ยังทำให้เรารู้สึกอิ่มนาน ไม่หิวบ่อย และไม่ต้องกินจุบจิบตลอดเวลา ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารได้พักการทำงาน

คารโบไฮเดรตเชิงซ้อน พบในข้าวกล้องทุกชนิด ข้าวสาลีแบบโฮลวีทหรือข้าวสาลีไม่ขัดขาว ข้าวไรย์ ข้าวโพด ข้าวบาร์เล ข้าวเจ้า ถั่วฝักอ่อน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เมล็ดพืชชนิดต่างๆ เช่น ทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา และผักใบเขียว ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถกินเป็นอาหารหลักได้ และช่วยบำรุงกระเพาะอาหารของเราไปในคราวเดียวกัน

ไขมันไม่อิ่มตัว เพิ่มประสิทธิภาพกระเพาะอาหาร

ไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับคือ ไขมันไม่อิ่มตัว เพราะร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ มักจะพบในธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวต่างๆ ถั่วฝักอ่อน เมล็ดพืช ถั่วเปลือกแข็งและน้ำมัน เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวที่ผลิตได้จากพืชเหล่านี้ มีความสำคัญต่อกระเพาะอาหารของ เราโดยตรง กล่าวคือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งรวมถึงระบบการเผาผลาญอาหารในกระเพาะอาหารด้วย ให้มีประสิทธิมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการกินอาหารทอดมากๆ เช่น มันฝรั่งทอด หอมทอด ปลาทอด ขนมโดนัท ถือว่าเป็นการทำร้ายกระเพาะของเราเช่นกัน เพราะอาหารเหล่านี้ หากนำไปทอดในน้ำมันความร้อนสูง จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี ทำให้เกิดกรดไขมันอิสระ ซึ่งฤทธิ์ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและเยื่อบุลำไส้ได้

โปรตีนจากปลา ช่วยในการดูดซึม

โปรตีนคุณภาพดีและมีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร คือ โปรตีนจากปลาครับ เพราะปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมาก เมื่อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผนังกระเพาะอาหารดูดซึมได้เร็วขึ้น แล้วในปลายังมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น

ส่วนอาหารโปรตีนสูงที่มาจาก เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น เป็นโปรตีนที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร เพราะใช้เวลาในการย่อย และการเผาผลาญนานมาก (ราว 48-72 ชั่วโมง) ทั้งนี้หากกระเพาะอาหารไม่สามารถย่อย และดูดซึมโปรตีนเหล่านี้ได้หมด อาจเกิดการตกค้างและนำไปสู่โรคอันตราย เช่นมะเร็งได้

ผักหลากชนิด วิตามินเกลือแร่

ผักใบเขียวจัด หลายชนิดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอีกด้วย ผักใบเขียวจัดเหล่านี้ได้แก่

• คะน้า อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยบำรุงสายตา ต้านทานการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร
• ผักโขม มีวิตามินเอ กรดอะมิโน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
• ปวยเล้ง โพแทสเซียมสูง ช่วยความคุมความดันให้เป็นปกติ ทั้งยังช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น

ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง การกินผักที่มีเบตาแคโรทีนสูง จะช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารสมานกันเร็วขึ้น ป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ผักและผลไม้ที่มีเบเต้าแคโรทีนสูง อาทิ

• ฟักทอง ในเนื้อของฟักทองอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส วิตามินซี และมีกากใยสูง
• มะเขือเทศ มีวิตามินอี วิตามินซี โพทัสเซียม ช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น
• มะละกอ วิตามินซีและเบต้าแคโรทีนสูง ที่ช่วยในการขับถ่าย และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

กลิ่นปาก

กลิ่นปาก คือ ลมหายใจที่ผ่านช่องปากมีกลิ่นเห็นเป็นครั้งคราว หรือมีกลิ่นตลอดเวลาก็ว่าได้ คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่ามีกลิ่นปาก อาจทดสอบด้วยตัวเองโดยการใช้มือบังบริเวณปากและจมูก แล้วหายใจออกทางปาก แล้วตามด้วยหายใจเข้าทางจมูกก็จะได้กลิ่นปาก

สาเหตุ

• อนามัยช่องปากไม่ดี มีเศษอาหารค้างในช่องปากเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากฟันผุ เหงือกอักเสบ การแปรงฟันไม่สะอาด ไม่ได้ใช้ไหมขัดฟันหลังกินอาหาร จึงมีเศษอาหารค้างอยู่ในช่องปาก ซอกฟัน นอกจากนี้ ยังเกิดจากคราบแบคทีเรียที่เกาะตามฟัน เหงือก ลิ้น ซอกฟันเก ฟันปลอม และอุปกรณ์ทางทันตกรรม เมื่อเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ เลือดออกตามไรฟันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปาก
• บุหรี่ คราบสารนิโคติน และทาร์ (tar) ในบุหรี่ที่เคลือบตามฟันและติดแน่นกับเหงือก ช่องปาก และปอด ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
• สุขภาพทั่วไป กลิ่นปากอาจเกิดจากโรคต่างๆ เช่น ทอนซิลอักเสบ ปอดอักเสบ แผลในช่องปาก ไซนัสอักเสบ ไข้หวัด โรคของกระเพาะอาหาร ยาบางชนิด
• อาหาร โดยเฉพาะเครื่องเทศ กระเทียม หอม สุรา ซึ่งจะมีกลิ่นติดปากประมาณ 1-2 วัน นมและเนยก็มีส่วนให้เกิดกลิ่นปากได้
• ปากแห้งอันมีสาเหตุมาจากน้ำลายน้อย เช่น ผู้มีอาชีพใช้เสียง หรือผู้ป่วยภูมิแพ้ที่นอนอ้าปากหายใจทางปากขณะหลับ การเคี้ยวอาหารช่วยให้น้ำลายออกมากขึ้น
• อายุ แม้ว่าจะดูแลอนามัยช่องปากเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม อายุที่สูงขึ้นมีส่วนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายน้อยลง

การดูแลตนเอง

กลิ่นปากสามารถหายได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยช่องปากให้ดี หากยังไม่ดีขึ้นควรพบทันตแพทย์

• ทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหากลิ่นปาก คือ การแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน อีกทั้งนัดพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
• หากมีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน หรือหลังใช้ไหมขัดฟันเป็นเวลาเกิน 3 สัปดาห์ อาจเกิดจากเหงือกอักเสบ ควรพบทันตแพทย์
• ควรแปรงลิ้นให้ถึงโคนลิ้นด้วยแปรงที่อ่อนนุ่มทุกวัน เพราะลิ้นเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียเช่นกัน พบว่าผู้ที่แปรงลิ้นมีกลิ่นปากน้อยกว่าผู้ที่แปรงฟันโดยไม่แปรงลิ้น
• ผู้ที่สูบบุหรี่ควรหยุดสูบบุหรี่ทันที กลิ่นปากจะหมดไปหลังหยุดสูบบุหรี่ 2 สัปดาห์
• ดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อป้องกันปากแห้ง
• กินผักสดและผลไม้ที่มีกากใยอาหาร เป็นการช่วยทำความสะอาดฟัน
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น หอม กระเทียม เครื่องเทศ
• น้ำยาบ้วนปาก ยาอม และสเปรย์ดับกลิ่นปาก ช่วยบดบังหรือระงับกลิ่นปากได้ชั่วคราว ไม่ควรอมยาอมที่มีรสหวาน เพราะเป็นเหตุให้แบคทีเรียเติบโตดี ส่งผลให้ฟันผุและเกิดกลิ่นปากมากขึ้น
• ทำความสะอาดฟันปลอมทุกคืนตามคำแนะนำของทันตแพทย์
• ไม่ควรงดอาหารบางมื้อ เพราะการเคี้ยวช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำลายการรักษา
• ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุ
• ส่งไปพบแพทย์ หากสาเหตุของกลิ่นปากไม่ได้เกิดจากปัญหาในช่องปาก

ลิ้นสะอาด - ช่วยลดกลิ่นปาก

หากท่านต้องการให้ลมปากสะอาด ก็ไม่ควรมองข้ามถึงการทำความสะอาดลิ้น!!

เนื่องจากลิ้นของเรามีผิวที่ไม่เรียบ แต่ขรุขระถ้าเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับพรมหนาๆ ที่ถักด้วยเส้นใยผ้า มีซอกเล็กซอกน้อยเต็มไปหมด ดังนั้นลิ้นจึงเป็นที่กักเศษอาหารอย่างดีที่สุด เหมาะที่สุดที่จะให้แบคทีเรียที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตอาศัยอยู่ แบคทีเรียเหล่านี้ปล่อยสารพิษที่ทำอันตรายต่อเหงือกและฟันแล้ว ยังก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์มีกลิ่นเหม็นเน่า

จากการวิจัยพบว่าแบคทีเรียที่มีผลต่อกลิ่นปากมากๆ มักจะอยู่ตามโคนลิ้นมากกว่าที่ฟันและเหงือก ก็เป็นคำตอบที่ดีสำหรับหลายท่านที่สงสัยว่า

- ฟันผุก็อุดแล้ว
- เหงือกก็ไม่อักเสบ ขูดหินปูนทุก 6 เดือนตามหมอนัด
- แปรงฟันหลังอาหารทุกวัน
- เสียเงินไปก็มากกับการใช้น้ำยาบ้วนปากหลากหลายชนิด

แต่ก็ยังไม่วาย รู้สึกมีกลิ่นปาก ลมหายใจที่ไม่สะอาด....

- ลองมาสังเกตลิ้นของท่านดูว่ามีคราบอาหารจับหรือไม่ ?
- ท่านเคยทำความสะอาดลิ้นหรือเปล่า ?

การทำความสะอาดลิ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาสุขภาพในช่องปาก นอกจากการแปรงฟัน และใช้ Dental Floss เพื่อทำความสะอาดซี่ฟัน

เราจะทำความสะอาดลิ้นอย่างไร ?

เดี๋ยวนี้มีอุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้นทำจาก plastic เป็นรูปตัว U วิธีใช้ให้แลบลิ้นออกมาให้สุด ใช้ไม้ขูดลิ้น ขูดจากโคนลิ้นมาด้านหน้า ทำสัก 3-4 ครั้ง จะเห็นคราบอาหารติดออกมา เราจะทำวันละ 2 ครั้งต่อวัน ตอนเช้าตื่นนอน และหลังอาหารเย็นก่อนนอน

การทำความสะอาดลิ้นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยลดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นแล้ว ยังมีผลทำให้ลิ้นสามารถรับรสได้ดีขึ้น (วารสารทันตแพทย์สมาคมสหรัฐอเมริกา ธันวาคม 1999) และก็มีข้อมูลที่น่าสนใจในวงการแพทย์ว่ามีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญว่า แบคทีเรียในช่องปากมีโอกาสทำให้ติดเชื้อและเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ และจากวารสารของสมาคมทันตแพทย์สหรัฐอเมริกาเดือนมีนาคม 2001 ก็ยืนยันว่าก๊าซที่เกิดจากแบคทีเรียในช่องปากมีโอกาสเกิดอันตรายต่อเยื่อหุ้มปอดเช่นกัน

การขจัดแบคทีเรียในช่องปากนอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาพในช่องปาก ทำให้ลดกลิ่นแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพร่างกายส่วนอื่นด้วย ไม่เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับการแปรงฟัน ใช้ Dental Floss หรือน้ำยาบ้วนปาก

กินอาหารเพื่อสุขภาพฟัน

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย แต่อีกด้านหนึ่งการกินไม่เลือก ไม่ระมัดระวังก็มีโทษสำหรับร่างกายเช่นกัน ตอนนี้เรารณรงค์ในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารที่รับประทานแล้วน้ำหนักไม่เพิ่ม ไม่อ้วน อาหารที่กินแล้วไม่ก่อให้เกิดโรค เช่น ไขมันอุดตันในเลือด โรคหัวใจ ทางทันตกรรมก็เช่นกัน เราให้ความสำคัญในเรื่องอาหารอย่างมากในการป้องกันโรคฟันผุ โรคเหงือก

เมื่อเรารับประทานอาหารผ่านเข้าไปในช่องปาก แบคทีเรีย ซึ่งอยู่ในรูปของแผ่นบางๆ เหนียว ที่เรียกว่า Plaque (แผ่นคราบ) จะเปลี่ยนอาหารเหล่านั้นให้เป็นกรดทำลายฟันและเหงือก แบคทีเรียเหล่านี้ชอบอาหารหวาน อาหารที่เป็นแป้งมาก
หลังรับประทานอาหารหากยังไม่แปรงฟันทันที แบคทีเรียเหล่านี้ก็ทำหน้าที่สร้างกรดไปเรื่อยๆ ดังนั้นยิ่งรับประทานอาหารบ่อยๆ 3 มื้อหลักแล้วยังมีแทรกระหว่างมื้อ อาหารก็สัมผัสกับฟันมากขึ้นโอกาสที่ฟันและเหงือกก็ถูกทำลายมากขึ้น

อะไรบ้างที่ ควร หรือ ไม่ควร ในการดูแลรักษาสุขภาพฟัน



• ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ให้เกิดความสมดุล
- ขนมปัง ข้าว ซีรีอัล อาหารที่มีกากใย
- ผลไม้
- ผัก
- เนื้อปลา ถั่ว
- นม ชีส โยเกิร์ต

• ถ้าหากจะรับประทานอาหารว่างลดอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ให้รับประทาน ผัก ผลไม้แทน
• แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
• ทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน Dental Floss
• พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

DON'Ts

• ไม่ควรให้น้ำตาลสัมผัสฟันนานๆ
- ลดการอมลูกอม
- ขนมกรอบๆ เหนียวๆ ติดฟัน

• น้ำอัดลม (Soft drink) มีน้ำตาลเยอะมาก 1 กระป๋อง บางยี่ห้อมีน้ำตาล 11 ช้อนกาแฟ ควรดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม
อย่าดื่มน้ำอัดลมทุกมื้ออาหาร
• ไม่สูบบุหรี่ เพราะมีผลต่อ
- ฟันเปลี่ยนสี
- เสี่ยงต่อโรคเหงือก
- เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในช่องปาก ลำคอ


กุญแจสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารอย่างชาญฉลาด ไม่ใช่จะไม่กินพวกแป้ง น้ำตาลเลย แต่ต้องระวังในการกินและคิดก่อนกินทุกครั้ง เพราะอาหารมีผลต่อสุขภาพของเรา ถ้าเราสามารถควบคุมการกินแป้งและน้ำตาล กินผักให้เป็นนิสัยก็จะส่งให้สุขภาพของเราดี ยิ้มได้อย่างสวยงาม

เมื่อมีฟันผุ

เราส่วนมากจะรู้ตัวว่ามีฟันผุก็เมื่อมีอาการแสดงออกมาอย่างชัดเจน เช่น เสียวฟัน ปวดฟัน ทำให้รู้สึกทุกข์ทรมาน อาการเหล่านี้ จะเป็นเครื่องเตือนว่าคุณมีอะไรผิดสังเกตบนตัวฟัน จึงเริ่มคิดถึงการไปพบทันตแพทย์ ส่วนใหญ่สาเหตุจะมาจากฟันผุ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการทำความสะอาดสุขภาพช่องปากไม่ดีเพียงพอ จึงอาจทำให้มี เศษอาหารหลงเหลืออยู่ในช่องปาก ประกอบกับแบคทีเรียย่อยเศษอาหารเหล่านั้นเป็นกรดมาทำลายฟัน

ถ้าคุณมีนิสัยเหล่านี้ จะทำให้ฟันผุง่าย

1. กินไม่เลือก อาหารที่ทำให้ฟันผุง่ายคือพวกแป้ง น้ำตาล อาหารเหล่านี้คนส่วนใหญ่ชอบ เพราะอร่อยหากไม่ระมัดระวัง นอกจากจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแล้ว ฟันยังเสียง่ายด้วย การเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ฟันก็จะเสียหายน้อยกว่า
2. กินไม่หยุด คนที่ชอบรับประทานอาหารระหว่างมื้อหรือกินจุบจิบ โอกาสฟันผุก็จะมากขึ้น หรือคนที่ชอบดื่มน้ำอัดลมแทนน้ำเปล่า ก็อันตรายต่อฟันมากเช่นกัน
3. กินไม่ดูแล ถ้าจะลดฟันผุต้องลดอาหารที่ค้างหรือติดตามตัวฟัน ดังนั้น ถ้ารับประทานแล้วไม่แปรงฟันและอมน้ำยาบ้วนปาก แน่นอนฟันย่อมผุเร็วขึ้น
4. ไม่พบทันตแพทย์ตรวจฟันเลย เพราะคิดว่าไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ไม่รู้สึกปวด เจ็บ แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าฟันผุเริ่มแรกนั้นมักไม่มีอาการ ดังนั้นหากตรวจพบฟันผุแต่เริ่มแรก แล้วรีบรักษา เช่น อุดเสียฟันก็จะเสียหายน้อยลง

DO's

วิธีป้องกันฟันผุ

1. รีบพบทันตแพทย์เมื่อมีฟันผ ุ โดยสังเกตเห็นเอง หรือเริ่มมีอาการ
2. ปรับนิสัยป้องกันฟันผ ุ เพื่อรักษาฟันให้รับใช้เราได้นานๆ ดังนี้
• ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน คู่ไปกับการแปรงฟัน และอมน้ำยาบ้วนปากหลังอาหารทุกมื้อ
• หลีกเลี่ยงอาหารหวาน แป้ง น้ำอัดลม ของเหนียวๆ ที่เคี้ยวแล้วติดฟันติดฟัน
• ใช้ฟลูโอไรด์ป้องกันฟันผุ ภายใต้การดูแลของทันแพทย์

3. ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เพราะเราใช้ฟันอยู่ทุกวัน ย่อมต้องสึกหรอไปตามสภาพ แม้ไม่ปวดก็ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน หากพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ รีบแก้ไขดีกว่าปล่อยให้ฟันเสียหายมาก ค่าใช้จ่ายจะมากตาม หรือปล่อยให้ฟันเสียจนไม่มีฟันเคี้ยวอาหารอร่อยๆ หรือเคี้ยวได้ไม่ละเอียด ก็ย่อมมีผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ระบบการย่อยอาหาร ปากมีกลิ่น เป็นต้น

ดังนั้นอย่าปล่อยให้มีฟันผุอยู่ในปากเลย ... ฟันดี สุขภาพดี ยิ้มอย่างมั่นใจ ไร้กลิ่นปากดีกว่าเป็น ไหนๆ

ขจัดขี้ฟันให้ถูกวิธี

มีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำความสะอาดในช่องปากที่คุณอาจมองข้ามไปหลายๆ อย่าง ส่วนใหญ่แล้วการขจัดคราบอาหารในช่องปาก เราะจะเข้าใจว่าแค่แปรงฟันก็พอ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ฟันและเหงือกเป็นอวัยวะที่กักเก็บเศษอาหารที่ต้องมีอุปกรณ์และวิธีการทำความสะอาดอย่างที่พิถีพิถันพอสมควรเลยครับ มาดูกันว่าอะไรควรหรือไม่ควรปฏิบัติกันเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดไป

• เลือกแปรงที่ขนนิ่มไม่แข็งเกินไป
• แปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
• แปรงให้ถูกวิธี ฟันบนปัดลงล่าง ฟันล่างปัดขึ้นบน แปรงทุกด้านของฟัน ด้านบดเคี้ยว ด้านนอก ด้านใน
• ใช้ไหมขัดฟันขจัดเศษอาหาร ตามซอกฟันและใต้เหงือก
• การใช้ Dental floss (ไหมขัดฟัน) ให้ใช้ทุกครั้งหลังจากการรับประทานอาหาร ทำทุกซี่
• ท่านที่มีฟันห่างมาก ใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น อาจจะต้องใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาดด้านข้างของฟัน และใต้ฐานฟันปลอม
• ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมฟลูออไรด์ (fluoride)
• อมน้ำยาบ้วนปากหลังการแปรงฟันทุกครั้ง

การขจัดคราบอาหาร (ขี้ฟัน) ออกให้หมดเกลี้ยงจะช่วยลดฟันผุ และเหงือกอักเสบได้อย่างตรงจุดที่สุด รู้อย่างนี้ก็อย่าปล่อยให้คราบอาหารค้างอยู่ในปากนานๆ ต้องพิถีพิถันขจัดออกเสีย สุขภาพเหงือกและฟันจะดีตลอดไป

Don'ts

มีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง เพราะถ้าทำผิดเข้าใจไม่ถูกต้อง แทนที่จะขจัดคราบอาหารได้เกลี้ยง กลับมีผลข้างเคียงต่อเหงือกและฟันอีก

• ไม่ใช้แปรงขนแข็งมาก (เพราะจะทำให้ฟันสึกได้ง่าย)
• เลือกแปรงด้ามตรงไม่โค้งงอ เพราะแปรงเหล่านี้จะแปรงทำความสะอาดได้ดีเฉพาะบางตำแหน่ง
• อย่าแปรงฟันแบบตามใจฉันที่ถนัด คือ แปรงขึ้นลงแรงๆ วิธีแบบนี้จะทำให้เหงือกร่นง่าย เพราะหลักการที่ถูกต้อง ฟันบนให้ปัดลงล่าง ฟันล่างให้ปัดขึ้นบน แต่ถ้าแปรงขึ้นลงเร็วๆ ฟันบนจะถูกแปรงกระแทกเหงือกให้ขึ้นไป ฟันล่างก็ถูกแปรงกระแทกให้เหงือกถอยลงล่าง จนเกิดอาการเหงือกร่น เป็นสิ่งที่แก้ไขให้กลับมาเหมือนเดิมยาก และทำให้มีอาการเสียวฟัน เวลาแปรงด้านข้างก็จะถูเข้าออกแรงๆ เหมือนเลื่อยแบบนี้ ก็ทำให้คอฟันสึกเหมือนการโค่นต้นไม้ รอยสึกจะทำให้มีอาการเสียวฟัน ถ้าสึกเข้าไปลึกมาก อาจต้องรักษารากฟัน
• อย่าใช้ไม้จิ้มฟันทำความสะอาดด้านซอกฟัน เพราะไม้จิ้มฟันมีผลต่อเหงือก ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันมากขึ้น ให้ใช้ dental floss แทน
• น้ำยาบ้วนปากช่วยทำความสะอาดช่องปาก โดยการลดจำนวนแบคทีเรียชั่วขณะ ดังนั้น ยังต้องแปรงฟันให้สะอาดด้วย

ฟันเหลือแต่ตอ (รากฟัน)

ลักษณะการเสื่อมสภาพของตัวฟันนั้น มีทั้งเกิดจากการใช้งาน เคี้ยวอาหาร หรือเกิดจากโรคที่คุกคามต่อตัวฟันโดยตรง ฟันผุ ดูเหมือนว่าจะเป็นโรคยอดฮิตที่เราคุ้นเคยกันดี เกิดได้ตั้งแต่วัยทารกจนชราภาพ หากเราปล่อยปละละเลยไม่หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาดฟันให้ดี

การเกิดฟันผุมีหลายระดับ ผุเป็นรูเล็กๆ เห็นเป็นจุดดำๆ อาจจะด้านเดียว หรือหลายด้าน ผุตื้นๆ แต่เปลือกฟัน หรือเนื้อฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน แต่ก็ยังเห็นรูปฟันอยู่แต่บางท่านมีประสบการณ์กับฟันผุมาอย่างโชกโชน ปล่อยให้เป็นรูจนเหลือแต่รากผ่านการเสียวฟัน เผชิญกับการปวดฟันมาหลายรอบคือพอทนได้ก็ทนกันไป แต่จริงๆ แล้วฟันผุนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ หากเราไม่อุดไว้ก็จะสึกกร่อนจนเหลือแต่ตอหรือรากฟัน จริงอยู่การทิ้งไว้อาจอยู่ได้โดยไม่มีอาการอะไรเป็นเวลานานๆ แต่ทราบหรือไม่ว่า กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทั้งในช่องปากและส่งผลไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ด้วย

เรามาลองดูรายละเอียดกัน

ขอบคมจากฟันเหลือแต่รากนั้นอันตรายมากเวลาเราพูดคุยหรือเวลาเคี้ยวอาหาร ลิ้นจะขยับอยู่ตลอดเวลา ขอบคมของฟันจะบาดลิ้นทำให้เป็นแผล การที่อวัยวะในช่องปากถูกกระทบเสียดสีจนเป็นแผลเป็นประจำ ทางการแพทย์ถือเป็นลักษณะที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะอาจเป็นสาเหตุชักนำให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้

• เราจะเคี้ยวอาหารให้ขาดได้ดั่งใจต้องมีระบบบดเคี้ยวที่ดี การที่มีรากฟันไม่มีตัวฟันก็เหมือนไม่มีฟัน มีช่องว่างทำให้ฟันสบเข้าหากับคู่สบก็จะย้อยตัวลงต่ำยื่นยาวลงมา ยอดฟันจะสบกันไม่ลงตัว แน่นอนจะเคี้ยวอาหารให้อร่อยย่อมเป็นไปไม่ได้
• ข้อนี้สำคัญมาก คนที่มีหน้าบวมบนใบหน้าถึงขนาดคางบวมคางโย้ มักมีสาเหตุมาจากฟันผุ และจำนวนมากที่ใจเย็นปล่อยให้ฟันเหลือแต่ราก ทิ้งไว้ในช่องปากหลายปีไม่รักษา ตรงนี้ก็เหมือนประตูเปิดเป็นทางผ่านของเชื้อแบคทีเรียไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

เมื่อมีอาการบวมบริเวณใบหน้า จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ล้อเล่น จะต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน บางรายต้องนอนโรงพยาบาลระบายหนอง และถอนฟันนั้นให้เร็วที่สุด การกระจายของเชื้อโรคบริเวณใบหน้านั้นจะไปเร็ว และมักมีผลต่อทางเดินหายใจ ซึ่งจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิตได้

รีบไปให้ทันตแพทย์ดูแลให้ดีกว่าครับ และคุณเองก็ต้องรักษาอนามัยฟันของตัวเองให้ดีที่สุดด้วย
โดยเฉพาะคนที่ฟันเหลือแต่ตอ แปรงฟันอาจจะไม่สะอาดพอ ต้องใช้ไหมขัดฟันและอมน้ำยาบ้วนปากด้วยจะช่วยได้มาก

จะเห็นได้ว่าการทิ้งฟันให้เหลือแต่รากฟันนั้นมีแต่ความเสี่ยง จริงอยู่วันนี้อาจจะยังไม่เป็นอะไร หรือปล่อยมานานแล้วยังไม่เป็นอะไร แต่อย่าไปล้อเล่นเลยครับ เพราะถ้าเป็นอะไรไปแล้วรากฟันซี่เดียวนี่ละมีผลที่จะทำให้คุณพูดว่า “ ไม่น่าเลย ”

เสียวฟัน

ถ้าหากคุณรับประทานไอศกรีม หรือจิบกาแฟแล้วมีอาการเสียวแปลบที่ตัวฟัน นี่เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า ฟันของคุณต้องมีอะไรผิดปกติแน่นอน ปกติแล้วโครงสร้างของฟันที่มีสุขภาพดีนั้น ตัวฟันจะมีเปลือกฟัน (Enamel) ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุดของร่างกายหุ้มอยู่ และรากฟันเองก็มีส่วนที่เป็นเปลือกรากฟัน (Cementum) หุ้มอยู่ ส่วนที่เป็นเนื้อฟัน (Dentine) จะประกอบไปด้วยท่อเล็กๆ หลายๆ ท่อ หากท่อเหล่านี้ไม่มีอะไรมาหุ้มจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็สามารถทำให้ความร้อน ความเย็น กรดจากอาหาร สามารถส่งต่อผ่านท่อนี้ไปที่ประสาทฟัน ทำให้เราสะดุ้งทุกทีไปเวลารับประทานอาหารต่างๆ

ถามว่าอาการเสียวฟัน อันตรายมากไหม ? จริงๆ แล้วมันคือสัญญาณเตือนคุณว่าถ้าไม่รีบแก้ไขก็จะมีเรื่องต่อเนื่องที่ทำอันตราย
กับฟันมากขึ้น อีกอย่างก็จะทำให้คุณหมดความสุขในการรับประทานอาหาร ทุกครั้งที่จะเอาอะไรใส่ปากก็ขยาดทุกที

อะไรบ้างที่ควร หรือไม่ควรในการป้องกันการอาการเสียวฟัน

DO'S

• การทำความสะอาดฟัน ควรเลือกแปรงที่ขนแปรงนิ่มไม่แข็งเกินไป เพราะทำให้คอฟันสึกง่าย
• แปรงให้ถูกวิธี แปรงผิดวิธีทำให้เหงือกร่น คอฟันสึก รากฟันโผล่ ทำให้เสียวฟันมาก
• พบทันตแพทย์ตรวจฟันทุก 6 เดือน หากมีฟันผุอุดเสีย มีโรคเหงือกอักเสบก็จัดการเลย อย่าปล่อยให้กระดูกถูกทำลายมีช่องว่างระหว่างเหงือกกับฟัน ซึ่งทั้งฟันผุและโรคเหงือกเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเสียวฟันมาก
• หากมีฟันสึกจากการบดเคี้ยวก็ควรให้ทันตแพทย์ครอบฟันด้วย

DON'TS

• อย่าใช้ฟันผิดประเภท จริงอยู่ธรรมชาติของฟันเป็นอวัยวะที่แข็ง แต่มีข้อจำกัดถ้าใช้อย่างไม่ทะนุถนอม หากฟันแตก หัก ฟันร้าว ก็ทำให้เกิดอาการเสียวฟันมาก
• การแปรงฟันเน้นแปรงถูกวิธี แต่ไม่ใช่แปรงแรงๆ แล้วฟันจะสะอาด ไม่ต้องแรงแต่แปรงถูกวิธี
• หากนอนกัดฟัน มีฟันสึกมากต้องแก้ไขหรือใส่เครื่องมือป้องกัน
• อย่าผัดวันประกันพรุ่ง หากมีสัญญาณอาการต่างๆ ที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับฟันเตือน ให้รีบพบทันตแพทย์ หรือพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุก 6 เดือน

ต้องหมั่นดูแลสุขภาพฟันเป็นสำคัญ แปรงฟันอย่างถูกวิธี และอมน้ำยาบ้วนปากช่วยกำจัดแบคทีเรียในส่วนที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง ขอให้คุณทุกคนมีความสุขกับการรับประทานอาหารอร่อยๆ นะครับ อย่าทนทุกข์ทรมานกับอาการเสียวฟันอยู่เลย

มดลูกอักเสบ

มดลูกอักเสบ (Endometritis) หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุภายในโพรงมดลูกโรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (15-45 ปี) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านช่องคลอดเข้าไปทางปากมดลูก ขึ้นไปในโพรงมดลูก (ทำให้มดลูกอักเสบ) และถ้าหากลุกลามต่อไปในท่อรังไข่ ก็ทำให้กลายเป็นปีกมดลูกอักเสบ มักจะเรียกรวมๆ กันว่า "อุ้งเชิงกรานอักเสบ" (Pelvic inflammatory disease/PID) ซึ่งครอบคลุมถึงการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องภายในอุ้งเชิงกราน โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงที่มีสามีชอบเที่ยว หรือมีเพศสัมพันธ์เสรี ภายหลังคลอดบุตร แท้งบุตร ขูดมดลูก ใส่ห่วงคุมกำเนิด หรือชอบสวนล้างช่องคลอด

สาเหตุ

1. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบบ่อยก็คือ หนองใน (208) ที่ติดจากสามี หรือผู้ชายที่มีประวัติชอบเที่ยว หรือมีเพศสัมพันธ์เสรี (สำส่อนทางเพศ) บางครั้งก็อาจเกิดจากเชื้อคลามีเดียทราโคมาติส(Chlamydia trachomatis)
2. การติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal infection) อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่เป็นปกติวิสัยในช่องคลอด (เช่น เชื้อสเตรปโตค็อกคัส, สแตฟฟีโลค็อกคัส) ระหว่างคลอดมีปัจจัย (เช่น ภาวะโลหิตจาง, ภาวะถุงน้ำแตกรั่วอยู่นาน, การคลอดยาก, การบาดเจ็บ, ภาวะตกเลือดหลังคลอด, เศษรกค้าง, ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น) กระตุ้นให้เชื้อเหล่านี้เจริญขึ้นจนเป็นโรค หรือไม่ก็อาจแปดเปื้อนเชื้อจากภายนอกช่องคลอด เข้าไปในช่องคลอดและมดลูก ทำให้เกิดมดลูกอักเสบได้ มักเกิดมีอาการหลังคลอด 24 ชั่วโมง
3. การทำแท้ง หากไม่สะอาดมักทำให้มีเชื้อโรคเข้าในมดลูก เกิดการอักเสบขึ้นได้ เรียกว่า “การแท้งติดเชื้อ” มักมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้องน้อย ตกขาวออกเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น อาจมีอาการปวดหลังคลื่นไส้ อาเจียน อาจมีประจำเดือนออกมาก และมีกลิ่นเหม็นในรายที่เกิดจากการติดเชื้อหนองใน อาจมีอาการขัดเบา ปัสสาวะปวดแสบขัดร่วมด้วย ถ้าเป็นการติดเชื้อหลังคลอด มักเกิดหลังคลอด 24 ชั่วโมง น้ำคาวปลาอาจออกน้อย หรืออาจออกมากและมีกลิ่นเหม็น ถ้าเกิดจากการทำแท้ง จะมีอาการแบบแท้งบุตรร่วมด้วย คือ ปวดบิดท้องเป็นพัก ๆ และมีเลือดออกจากช่องคลอดร่วมด้วย

สิ่งตรวจพบ

ไข้สูง กดเจ็บมากตรงบริเวณท้องน้อยทั้ง 2 ข้าง (บางรายอาจเจ็บข้างเดียว) อาจได้กลิ่นของตกขาว เลือดประจำเดือน หรือน้ำคาวปลา อาจพบอาการซีด หรือภาวะช็อก

อาการแทรกซ้อน

อาจทำให้เกิดเป็นฝีในรังไข่ หรือท่อรังไข่ ซึ่งจะทำให้เป็นแผลเป็นจนกลายเป็นหมันได้ และมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก มากกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง และเจ็บปวดเวลาร่วมเพศนอกจากนี้ในบางรายเชื้อโรคอาจลุกลาม จนทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจกลายเป็นโลหิตเป็นพิษ ถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดจากการทำแท้ง

การรักษา

ผู้หญิงที่มีไข้สูง ปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน เพื่อตรวจหาสาเหตุด้วยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ, นำหนองในช่องคลอดไปตรวจหาเชื้อ รวมทั้งอาจทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ(เช่น อัลตราซาวนด์) การรักษา ผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามอาการ (เช่นให้น้ำเกลือ ให้เลือดถ้าซีด) และให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่ก่อโรคในรายที่เป็นปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน จะให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถครอบคลุมเชื้อหนองใน และเชื้อคลามีเดีย

ข้อแนะนำ

1. ผู้ป่วยควรงดการร่วมเพศนาน 3-4 สัปดาห์
2. ผู้ป่วยที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรเอาห่วงออก และแนะนำให้คุมกำเนิดโดยวิธีอื่นแทน
3. ถ้าเกิดจากเชื้อหนองใน ต้องรักษาสามีพร้อมกันไปด้วย
4. โรคนี้อาจแสดงอาการภายหลังการมีประจำเดือน ซึ่งอาการมีไข้หลังมีประจำเดือน

ตกขาวที่ไม่ปกติ

ก็คือ ตกขาวที่ตรงข้ามกับตกขาวปกติ กล่าวคือ มีปริมาณมาก บางครั้งไหลโจ๊กยังกะมีรอบเดือนยังไงยังงั้น มีกลิ่นเหม็น ลักษณะอาจเป็นหนอง มูกปนหนอง ปนเลือด มีฟอง และมักมีอาการอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น คัน แสบ ออกร้อนที่บริเวณปากช่องคลอด หรือมีปวดท้องน้อยร่วมด้วยก็ได้

ต้นเหตุที่ทำให้ตกขาวผิดปกติ ที่พบบ่อย 3 อันดับแรกคือ

• จากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis) พบได้ร้อยละ 30-35
• จากเชื้อรา, ยีสต์ (vulvovaginal candidiasis) พบได้ร้อยละ 20-25
• จากเชื้อพยาธิ trichomoniasis พบได้ร้อยละ 10

ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่พบเชื้อสองชนิดหรือมากว่าสองชนิด อยู่ร้อยละ 15-20 เรียกว่า ได้หนึ่งแถมหนึ่งว่างั้นเถอะ
เชื้อ 3 ตัวนี้พบร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตกขาวผิดปกติ

สาเหตุของการตกขาวผิดปกติ แบ่งตามตำแหน่งที่เกิดคือ

1. ช่องคลอดอักเสบ ที่พบบ่อยคือ - แบคทีเรีย (bacterial vaginosis)
• เชื้อพยาธิ (trichomonas)
• เชื้อรา (candida)
• เชื้อไวรัส เช่น โรคเริม
• เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ

2. ปากมดลูกอักเสบ - การติดเชื้อหนองใน
• การติดเชื้อคลามิเดีย
• การติดเชื้อเริม

3. ปากมดลูกมีแผล, เป็นเนื้องอก
4. สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด เช่น เศษกระดาษทิชชู, สำสี, ผ้าก็อซ, เมล็ดผลไม้, ถุงยางอนามัย เป็นต้น
5. เนื้องอกและมะเร็งมดลูก, ปากมดลูก ซึ่งตกขาวจะมีกลิ่นเหม็นมาก
6. สตรีวัยหมดระดู ขาดฮอร์โมน ก็ทำให้เกิดช่องคลอดแห้งอักเสบ มีตกขาวได้ ในวัยเจริญพันธุ์ มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะช่องคลอดแห้ง

ปกติในช่องคลอดจะมีสารหล่อลื่นหลั่งตามธรรมชาติจากปากมดลูก ลักษณะเป็นมูกใสๆ หนืด เหนียว ซึ่งผลิตมาจากต่อมมูกที่ปากช่องคลอดหรือที่เรียกว่า ต่อมบาร์โธลิน ในช่วงตกไข่กึ่งกลางรอบเดือน ธรรมชาติได้สร้างให้มูกในช่องคลอดใส หนืด ยืดยาวมากขึ้น เพื่อเพิ่มความหล่อลื่นภายในช่องคลอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยให้เชื้ออสุจิวิ่งผ่านเข้าปากมดลูก ไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญลดการเสียดสี ที่จะทำให้เจ็บ และอาจมีการถลอกหรือฉีกขาด ของอวัยวะเพศทั้งสองฝ่าย แต่ในช่วงก่อนและหลังจากการตกไข่ มูกนี้จะน้อยลงจนรู้สึกแฉะเล็กน้อยเท่านั้น

อย่างไรก็ตามสำหรับช่องคลอดที่แห้งผาก ไม่มีมูกเปียกๆ บ่งบอกให้รู้ว่าฮอร์โมนแห่งความสาว (รู้จักกันในนามของ Estrogen) ที่จะทำให้มีลูกได้นั้นมีน้อยมาก อาการนี้แสดงว่าผู้หญิงคนนั้นยังไม่เป็นสาว ไม่มีประจำเดือนหรือไม่ก็อยู่ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว แต่หากเกิดภาวะช่องคลอดแห้งในวัยเจริญพันธุ์ แสดงว่าสุขภาพของช่องคลอดไม่ค่อยดีนัก

อาการช่องคลอดแห้งเป็นอย่างไร ?

หากจะเปรียบเทียบก็คล้ายๆ กับอาการผิวแห้ง ที่ไม่ได้ทาครีมตอนหน้าหนาว เมื่อช่องคลอดแห้งก็จะรู้สึกระคายเคือง คัน และแสบ แต่มักจะไม่มีตกขาวออกมาจากช่องคลอด เหมือนกับอาการแสบคัน จากการอักเสบติดเชื้อจากเชื้อรา พยาธิหรือแบคทีเรีย ในกรณีที่ช่องคลอดแห้งมากๆ อาจมีเลือดออก มีแผลติดเชื้อในช่องคลอดตามมา เนื่องจากเวลามีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดไม่มีการหล่อลื่น เกิดความฝืดและเสียดสีของการสอดใส่อวัยวะเพศ ทำให้รู้สึกเจ็บช่องคลอด อาจถลอกหรือฉีกขาดได้ง่าย การติดเชื้อก็จะเกิดตามมาได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเชื้อ HIV ที่ทำให้เป็นโรคเอดส์นั่นเอง

ช่องคลอดแห้งเฉพาะกิจเป็นอย่างไร ?

การเกิดช่องคลอดแห้งเฉพาะกิจ สามารถเกิดเป็นครั้งคราว เกิดจากน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดมีไม่พอเพียง ที่ชายหญิงจะร่วมรักได้โดยไม่ฝืดและเจ็บ หากคุณผู้ชายสังเกตว่า บริเวณปากช่องคลอดยังไม่มีน้ำหล่อลื่นมากพอ ก็อย่าเพิ่งฝืนสอดใส่ นั่นเป็นสิ่งที่ธรรมชาติจะบอกคุณว่าเธอยังไม่พร้อม การโลมเล้าให้ผู้หญิงมีความพร้อมทางอารมณ์มากขึ้น ตามธรรมชาติ ร่างกายจะกระตุ้นให้มี น้ำหล่อลื่นออกมามากพอ จึงค่อยร่วมรัก วิธีนี้จะให้ผลดีแก่ทั้งสองฝ่าย

สาเหตุของอาการช่องคลอดแห้ง : ช่องคลอดที่แห้งอาจเกิดได้จากสาเหตุมากมาย โดยมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้

• ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เซลล์ผนังช่องคลอดมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ยืดหยุ่น ชุ่มชื้นและคงความเป็นกรดอ่อนๆ ไว้ได้ ช่วยป้องกันการติดเชื้อ เมื่อระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็จะทำให้เซลล์ผนังช่องคลอดบาง ขาดการยืดหยุ่นและเปราะบาง ภาวะที่ทำให้เอสโตรเจนลดระดับลงมีหลายอย่างแต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การได้รับเคมีบำบัด หรือฉายรังสีที่บริเวณช่องเชิงกรานเพื่อการรักษามะเร็ง ก็จะมีผลทำให้ที่รังไข่ลดการทำงานลง หรือการตัดรังไข่ออกไปทั้ง 2 ข้างก่อนวัยหมดประจำเดือน ก็ทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยทันที หากมีความบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกัน เอสโตรเจนก็มักจะลดลง รวมถึงภาวะหลังคลอดและให้นมลูก ร่างกายยังไม่มีการตกไข่ตามธรรมชาติ และสุดท้ายการสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดีในทุกระบบ
• ยาบางชนิด ก็เป็นสาเหตุให้ช่องคลอดแห้ง เช่น ยาที่รักษาเรื่องของมะเร็ง อย่าง Tamoxifen ยาในเรื่องภูมิแพ้อย่าง Antihistamines ยารักษาโรคทางจิตเวชอย่าง Antidepressant และยาที่รักษาโรคความดันโลหิตสูงบางตัว
• โรค Sjogren's Syndrome เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อต้านตัวเอง จะทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสื่อมลงและเสียไป คนเหล่านี้มักมีอาการที่ตาแห้ง ปากแห้ง และช่องคลอดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่แห้งด้วยเช่นกัน
• การสวนล้างในช่องคลอด ไม่ว่าจะด้วยน้ำยาใดๆ และแม้แต่กรณีใดๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ช่องคลอดเสียความเป็นกรดและแห้ง
• การติดเชี้อในช่องคลอด เช่น เชื้อราหรือแบคทีเรีย แม้ว่าจะมีตกขาวออกมาแต่จริงๆ แล้วเซลล์เยื่อบุช่องคลอดมักจะแห้งและอักเสบ

วิธีการดูแลตนเองเมื่อช่องคลอดแห้ง อาจทำได้โดย

• ใช้สารหล่อลื่น ที่มีน้ำเป็นสารทำละลายพื้นฐาน ( water–base lubricants) เช่น K-Y jelly ใส่ในช่องคลอดสามารถอยู่ได้นานหลายชั่วโมง ดังนั้นก่อนการร่วมรักกัน ใช้สารหล่อลื่นทาที่ปากช่องคลอดหรืออวัยวะเพศชาย จะช่วยลดการเสียดสีที่อาจจะทำให้เจ็บได้ และสารหล่อลื่นนี้ไม่ทำลายประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย
• สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizers : polycarbophil-based vaginal moisturizer) เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นสำหรับช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้นขึ้นได้นานมากกว่า 1 วันต่อการใช้เพียงครั้งเดียว
• หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด ไม่ว่าจะด้วยโลชั่นทาตัวหรือทามือ สบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำส้ม vinegar โยเกิร์ต หรือสาร Feminine Hygiene ใดๆ เพราะช่องคลอดจะมีการดูแล ทำความสะอาดตัวเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้น การทำความสะอาดแต่ภายนอกก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องสวนล้างช่องคลอดไม่ว่าจะด้วยอะไรก็ตาม เพราะจะทำให้ความเป็นกรดสูญเสียไป ทำให้แห้งและระคายเคือง และอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียปกติที่มีอยู่ตายไป ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้ สำหรับบางคนที่สวนล้างช่องคลอด หลังการร่วมรัก ด้วยความเชื่อที่ว่าป้องกันการตั้งครรภ์ หรือการติดเชื้อนั้นไม่ได้ผล เพราะเมื่ออสุจิเข้าไปในช่องคลอดก็จะเดินหน้าเต็มตัว วิ่งผ่านปากมดลูกเข้าไปหาไข่ โดยไม่รอรีให้คุณมาล้างออกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ เช่นเดียวกับเชื้อโรค เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเริ่มขบวนการตั้งรกรากใหม่ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยป้องกันได้ทั้งการตั้งครรภ์และการติดเชื้อ
• เพิ่มสารอาหารจากธรรมชาติ ได้แก่ สาร Isoflavones ซึ่งเป็นสารเอสโตรเจนจากพืช ที่สามารถพบมากในถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทั้งหลาย ดั่งที่นิยมสุดก็คือ น้ำเต้าหู้ หรือ Black Cohosh เป็นพืชที่เชื่อว่า ช่วยลดอาการที่เกิดขึ้นในวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งความแห้งของช่องคลอดด้วย อย่างไรก็ตาม เอสโตรเจนที่ได้จากพืช จะมีศักยภาพอ่อนกว่าเอสโตรเจนในร่างกาย

หากดูแลตนเองด้วยวิธีเหล่านี้แล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรไปปรึกษาสูตินรีแพทย์ โดยอาจใช้เอสโตรเจนรักษา ซึ่งเป็นการรักษาที่ตรงจุดมากที่สุด แต่จำเป็นต้องดูแลเรื่องความเสี่ยงและอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เป็นเวลานาน เอสโตรเจนมีมากมายหลายแบบ ทั้งใช้ใส่ในช่องคลอด ทาหรือแปะที่ผิวหนัง รวมถึงแบบรับประทานก็มีหลากหลาย การพิจารณาเลือกใช้ฮอร์โมนว่า ควรใช้แบบใดและนานเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมกับอาการ ควรเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่ควรซื้อฮอร์โมนมาใช้เอง

สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหา แต่ไม่กล้าที่จะพบแพทย์ เพราะกลัวการตรวจภายในหรือเขินอาย ซึ่งควรมองข้ามจุดนี้ไปเสีย เพราะจุดประสงค์ของการตรวจ ก็เพื่อค้นหาสาเหตุความผิดปกติที่ถูกต้อง สามารถวางแนวทางการรักษาที่ดีและประเมินผล ในเรื่องความแห้งของช่องคลอด แพทย์จะดูว่าเซลล์ผนังช่องคลอดแห้งมากแค่ไหน มีการอักเสบติดเชื้อ มีเลือดออกหรือรอยแผลถลอกหรือไม่ ฯลฯ ส่วนการตรวจเลือดจะจำเป็นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประวัติและการตรวจร่างกายว่าใช้เพื่อช่วยค้นหาสาเหตุ สนับสนุนการวินิจฉัย หรือเพื่อวางแผนและติดตามผลการรักษาเป็นกรณีไป

คุณรู้หรือไม่ ?

หลายประเทศในแอฟริกา การทำให้ช่องคลอดแห้งผาก เป็นหนึ่งในกรรมวิธีทางเพศสัมพันธ์ ที่สืบสานต่อเนื่องกันมานานจนถึงปัจจุบัน เช่นที่ซิมบับเว (Zimbabwe) รสนิยมทางเพศที่ทำให้ผู้ชายรู้สึกว่า ผู้หญิงคนนั้นยังเป็นพรหมจารีอยู่คือ ช่องคลอดที่แห้งผาก ดังนั้นพวกผู้หญิงจะได้รับการสอนให้ใช้ กิ่งและใบของสมุนไพรที่ชื่อ Mugugudhu Tree นำมาบดผสมกับทรายสีและน้ำ แล้วบรรจุใส่ถุงไนล่อนเพื่อสอดใส่ในช่องคลอด 10-15 นาที ซึ่งจะทำให้ผนังในช่องคลอดบวม ร้อนและแห้ง สำหรับผู้ชาย ช่องคลอดที่บวมคับสร้างความรู้สึกว่า หญิงสาวยังบริสุทธิ์และความร้อนในช่องคลอด กระตุ้นความรู้สึกราคะมากขึ้น แต่สำหรับผู้หญิง...ความพยายามให้ผู้ชายชอบนั้น กลับเป็นสิ่งที่เจ็บปวด มักมีการถลอกหรือฉีกขาดที่ช่องคลอด แม้แต่อวัยวะเพศชายก็ตาม อาจมีแผลถลอกได้เช่นกัน และที่ซ้ำร้ายคือ โอกาสที่จะมีการติดเชื้อโรคจากเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อ HIV นั้นพุ่งสูงขึ้นได้จากสาเหตุนี้เอง

การปวดประจำเดือน

สำหรับผู้หญิงแล้ว ส่วนใหญ่มักหนีไม่พ้นกับปัญหา ปวดประจำเดือน ผู้หญิง 3 ใน 4 ราย มักมีปัญหาเรื่องอาการก่อนมีประจำเดือน และมาพบแพทย์ และมักมาขอยาแก้ปวดประจำเดือนไปรับประทาน หรือหาซื้อยา Ponstan มารับประทานเอง ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงทุกคนจะมีรอบเดือนที่แตกต่างกันและอาจมีอาการได้ทุกคน เช่น อาการปวดประจำเดือน

มารู้จักอาการปวดประจำเดือนกันก่อนว่าเป็นอย่างไร

อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) มักพบในเด็กสาวหรือผู้หญิงที่มีอายุยังน้อย มักมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง ในช่วงวันแรกๆ ของการมีประจำเดือน บางครั้งมีอาการปวดมากเหมือนไม่สบาย มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เต้านมคัด ตึง ปวดบริเวณบั้นเอว บางคนถึงกับเป็นลม ซึ่งอาการปวดนี้จะหายไปเองใน 1-2 วัน เพราะสาเหตุของการปวดประจำเดือนส่วนใหญ่มาจากกล้ามเนื้อปากมดลูกตึงเกินไป ในบางรายอาจพบว่า ก่อนหรือระหว่างการมีประจำเดือน อาจมีอาการของโรค ไมเกรน ปวดศีรษะ อารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย

อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual tension PMT) มีอาการเป็นสัญญาณเตือนก่อนประจำเดือนจะมา อาการที่พบ อาทิ บวมน้ำ น้ำหนักตัวเพิ่ม ข้อบวม รู้สึกอยากอาหาร มีสิวขึ้น อ่อนเพลีย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ

สาเหตุ การเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงระหว่างรอบเดือน บางครั้งเกิดจากการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือขาดกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) , ขาดวิตามินบี 5 ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมรอบประจำเดือน

การดูแลสุขภาพของสาวๆ วัยมีประจำเดือนตามแนวของแพทย์ทางเลือกสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

• การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ เช่น การเล่นโยคะ สามารถลดอาการปวดท้องน้อย และอาการปวดหลังได้
• การรับประทานอาหารให้เพียงพอ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง สารอาหารครบ 5 หมู่ และเน้นเสริมธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามิน บี1 ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ ผักและผลไม้สด
• พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
• การอาบน้ำร้อน หรือประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนที่บริเวณท้องน้อยจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
• การบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหย (Aromatherapy) สามารถนำน้ำมันกลิ่นลาเวนเดอร์ (Lavender), เจอเรเนียม (Geranium) ครั้งละ 6-8 หยดผสมน้ำอาบเช้า-เย็น ก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์
• การใช้น้ำมันกลั่น คาจูพุต (Cajuput), เสจ (Sage), แดนิซีด (Aniseed), ไซเปรส ( Cypress ) และมาร์จอแรม (Marjoram) ผสมทาที่หน้าท้องวันละ 2 ครั้ง ก่อนมีประจำเดือน 10 วัน จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
• การประคบด้วยน้ำร้อน-น้ำเย็น โดยประคบร้อน 2-3 นาที สลับด้วยการประคบเย็น 30 วินามี ทำซ้ำประมาณ 2-3 รอบ จะช่วยลดอาการปวดได้เหมือนกัน

ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยในการบำบัดอาการปวดประจำเดือน ตามศาสตร์ของแพทย์ทางเลือก และเป็นวิธีที่ง่ายต่อการบำบัด

โรคกระเพาะ

1. โรคกระเพาะ คืออะไร
พูดถึงโรคกระเพาะ บางคนนึกไปถึงการที่มีแผลในกระเพาะอาหาร แล้วก็เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ... นั่นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
คำ ว่าโรคกระเพาะ เป็นภาษารวมๆ หากจะเปรียบเทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะเขียนว่า Dyspepsia ซึ่งกินความอาการ จุก แน่น เสียด เจ็บ ปวดที่บริเวณลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน ... ดังนั้นคำว่าโรคกระเพาะจึงเป็นคำบอกอาการ ซึ่งทั้งนี้โรคกระเพาะสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มที่มีแผล(แผลใหญ่ๆ แผลจุดเลือดออกเล็กๆหรือแม้กระทั่งมะเร็ง) และกลุ่มที่ไม่มีแผล
อีก อย่างหนึ่ง อาการโรคกระเพาะ อาจจะทำให้นึกถึงว่าเป็นโรคของกระเพาะอาหาร แต่ความจริงแล้ว อาการโรคกระเพาะ เกิดได้จากความผิดปกติของโรคตั้งแต่ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่

2. เมื่อการแพทย์เชื่อกันผิดๆมากว่า100ปี
หาก เมื่อสัก30ปีก่อน มีแพทย์มาบอกคุณว่าจะรักษาโรคกระเพาะด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ คุณคงเปลี่ยนไปรักษากับแพทย์คนอื่นแน่ๆ แต่เรื่องนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
หลัง จากเมื่อปีที่ผ่านมานี้มีแพทย์ชาวออสเตรเลียสองท่านได้รับรางวัลโนเบลในสาขา สรีรศาสตร์หรือการแพทย์ก็คือ J. Robin Warren และ Barry J. Marshall ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบว่า โรคแผลในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ H. pyroli และได้หักล้างความเชื่อเดิมที่ว่าโรคกระเพาะทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นเกิดมาจาก ความเครียดและการกินอาหารไม่ตรงเวลาซึ่งเชื่อกันมากว่า100ปี
หลังจากการ ประกาศความรู้ใหม่นี้ตั้งแต่เมื่อ10กว่าปีก่อน การรักษาโรคกระเพาะได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่เคยมีมาก่อน ช่วงที่กระแสความรู้นี้ออกมาใหม่ๆ การรักษาโรคกระเพาะได้หันเหไปในทางการฆ่าเชื้อ H. Pylori ... และในที่สุด ปัจจุบันก็พบว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารที่พบมีทั้งที่เกิดจากเชื้อและที่ไม่ ได้เกิดจากการติดเชื้อ

3. สาเหตุของโรคกระเพาะ
ช่วง ที่มีข่าวเรื่องนี้ ผู้ป่วยบางคนถึงกับหลงคิดไปเลยว่าโรคกระเพาะทั้งหมดเกิดจากเชื้อโรค แต่ความจริงโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะ ต่างมีสาเหตุได้หลายอย่าง สาเหตุต่างๆก็ได้แก่
- ยาบางชนิด ยาหลายชนิดมีส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องโรคกระเพาะ แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาในบ้านเรามากที่สุด เห็นจะเป็นยากลุ่มแก้ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่พบว่าใช้กันบ่อยและใช้กันผิดๆจนก่อโรคกระเพาะ
- บุหรี่ การสูบบุหรี่จะลดการสร้างสารป้องกันกระเพาะ และส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ จึงทำให้เกิดอาการของโรคกระเพาะและเมื่อเกิดแผลในกระเพาะก็จะหายได้ยาก
- เหล้า กาแฟ ชา เป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ
- เชื้อโรค อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก็คือ เชื้อH pylori
- โรคของอวัยวะใกล้เคียงของช่องท้อง เช่นโรคของตับ โรคของถุงน้ำดี(นิ่ว) ตับอ่อน พวกนี้อาการเริ่มแรกอาจจะเป็นอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะได้
- โรคการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ผิดปกติ เป็นโรคที่เมื่อตรวจไปเสร็จแล้วไม่พบว่ามีแผลหรือลักษณะผิดปกติแต่อย่างใด แต่การทำงานของกระเพาะลำไส้ผิดปกติไปเองเช่นเคลื่อนไหวแรงหรือบีบตัวย้อนทาง จนก่ออาการปวด โรคในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่นกลุ่ม IBS GERD
- มะเร็ง เจอไม่มาก แต่เป็นสิ่งที่แพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกันในค้นหาเพื่อจะได้รักษากัน อย่างถูกต้องและไม่หลงทางไปรักษาอาการปวดแต่อย่างเดียว


บางคนอาจจะเถียง ว่า โรคในสามข้อล่างไม่ใช่โรคกระเพาะ แต่อย่าลืมนะครับว่าคนเราไปหาหมอ ไปหาด้วยอาการ ไม่ได้ไปหาด้วยชื่อโรค ดังนั้นก็ต้องคำนึงถึงโรคพวกนี้ไว้ด้วย


4. ส่องกล้อง จำเป็นหรือไม่ จะทำเมื่อไหร่
ถ้า ไปเปิดตำราต่างประเทศ จะพบว่ามีการแนะนำให้ส่องกล้องผ่านทางปากเพื่อจะได้เห็นว่ากระเพาะและลำไส้ เป็นอย่างไร และดูว่ามีอะไรที่สงสัยมะเร็งหรือไม่ แต่นั่นก็ต่อเมื่อได้ทำการรักษาไปแล้วในช่วง1-2เดือน
ในไทยยังนับว่าเป็น ปัญหาอยู่ ทั้งที่ประเทศไทยต่างมียาแปลกใหม่ราคาแพงโอฬารตระการตา แต่การรักษายังมีแง่มุมอื่นนอกจากการใช้ยา นั่นคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งการรักษาด้วยยาจะได้ผลน้อยมากหากผู้ป่วยเองไม่ได้หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น
การส่องกล้องที่ดี จะทำเมื่อรักษาอย่างถูกต้องแล้วเป็นเวลา1-2เดือน(ถ้ามีแผล รักษาก็น่าจะหายแล้ว)แล้วยังมีอาการอยู่ การส่องกล้องจะเข้าไปดูได้ว่ามีแผลหรือไม่ ถ้ามีแผลก็สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือมีเชื้อหรือไม่
อย่างไรก็ดีก็อาจจะส่องกล้องก่อนได้ หากมีอาการที่บ่งชี้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

5. สัญญาณอันตราย
สัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้ จะเป็นข้อมูลที่ทำให้แพทย์ส่งส่องกล้องดูกระเพาะอาหารโดยไม่รอการรักษาด้วยยากิน
น้ำหนัก ลดผิดปกติ(มากกว่า10%ใน3เดือน) เบื่ออาหารมาก กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระดำหรือมีเลือดปน ลักษณะการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม ซีดโลหิตจาง อาการรุนแรง มีประวัติโรคมะเร็งของทางเดินอาหารในครอบครัว
อาการเหล่านี้จะทำให้ต้องระวังว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งได้

6. กินยาโรคกระเพาะโดยไม่ต้องส่องกล้องดีหรือไม่
ปัญหา การรักษาอย่างหนึ่งก็คือผู้ป่วยหลายคนไม่อยากส่องกล้อง และคิดว่าแค่กินยาไปเรื่อยๆก็น่าจะพอ ซึ่งนั่นไม่เพียงพอ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าสาเหตุของโรคกระเพาะยังมีโรคจากการติดเชื้อและ มะเร็ง ซึ่งหากรักษาด้วยยาลดกรดเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีทางหาย
ข้อควรรู้คือ มะเร็งกระเพาะ กินยาลดกรดในกระเพาะ ก็หายปวดท้องได้....
ดังนั้นถ้าแพทย์บอกว่าควรส่องก็น่าจะไปส่องครับ

7. ประโยชน์ของการรักษาตามแนวทางการรักษา
ปกติแพทย์จะสั่งยาตามมาตรฐานการรักษาอยู่แล้ว หากแต่ว่าการรักษายังต้องการความร่วมมือในการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นจากผู้ป่วย
ถ้า ผู้ป่วยกินเหล้า สูบบุหรี่ กินยาแก้ปวดเป็นประจำและไม่ยอมหยุดยา ก็จะเกิดปัญหาตามมา ก็คือ ถึงเอาไปส่องกล้องก็จะมีโอกาสเจอแผลในกระเพาะสูง จนทำให้แพทย์หลายคนในรพ.รัฐเบื่อที่จะต้องส่องกล้องกระเพาะอาหาร เพราะผู้ป่วยบางคน ไม่ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ต้องการยาลดกรด นอกจากนี้บางคนยังมีความต้องการส่องกล้องหลายๆครั้ง กล่าวโทษผู้รักษา(ว่ารักษาไม่ดี) ต้องการยาเกินความจำเป็น ก่อความเครียดในทั้งผู้ป่วยและแพทย์
นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดความล่าช่าในการตรวจหามะเร็ง
อย่าง เช่นครั้งหนึ่งที่ผมเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารในผู้ป่วยซึ่งไม่ยอมหยุดการสูบ บุหรี่ดื่มเหล้าและใช้ยาแก้ปวด ส่องไปก็พบแผลขนาดครึ่งซม.เป็นสิบแผลกระจายกันตามตำแหน่งต่างๆ ครั้นจะตัดชิ้นเนื้อจากทุกแผล ก็ทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่ามีแผลมากมาย น่าจะหยุดปัจจัยเสี่ยงได้แล้ว.... (ครั้งสุดท้ายที่พบผู้ป่วยรายนี้ ก็ยังเลิกตัวกระตุ้นเหล่านี้ไม่ได้และยังปวดท้อง)
ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่ร่วมมือในการรักษาอย่างดี ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยงทุกตัว เมื่อนำมาส่องกล้องพบแผลไม่มาก ตัดไปตรวจพบว่ามีการติดเชื้อH pylori จากนั้นได้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาลดกรด (สุดท้ายน่าจะหาย แต่ผมก็ไม่ได้เจอผู้ป่วยคนนี้อีกเลย)
ดังนั้นประโยชน์หลักก็คือสามารถตรวจและรักษาได้อย่างดี หากรักษาตามแนวทาง
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์รองก็คือ "ประหยัด"
ยา เม็ดลดกรดranitidine หรือ cimetidine(ตั้งแต่จบมาผมไม่เคยใช้ตัวนี้เลย) ราคาประมาณ 50สต.ต่อหนึ่งเม็ด... เมื่อรักษาแล้วไม่หาย แพทย์หลายคนจะปรับเปลี่ยนเป็นยาในกลุ่มPPI เช่นOmeprazole เม็ดละ12บาท (รพ.เอกชนปัจจุบัน ก็จะมียากลุ่มนี้อีกหลายๆตัว) ซึ่งเมื่อปรับเป็นกลุ่มนี้ก็มักปรับเปลี่ยนยาได้ยาก
ผู้ป่วยหลายคน เมื่ออาการไม่ดีขึ้นก็ปรับการใช้ยาเอง จากวันละ1-2เม็ด เป็นกินวันละ4-5เม็ด เสียค่าใช้จ่าย(งบประมาณรัฐ)ไปกับยาเดือนละหลายพันบาท และเสียค่าใช้จ่าย(เงินส่วนตัวผู้ป่วย)ไปกับเหล้าบุหรี่ เดือนนึงๆก็เป็นพันๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกคือเสียเงินเพื่อทำร้ายตนเองแล้วไม่พอ ยังเบียดเบียนเงินที่จะไปช่วยเหลือผู้อื่นอีก

8. นิ่วในถุงน้ำดี กับโรคกระเพาะ
บาง ครั้งผู้ป่วยได้รับการตรวจพิเศษอย่างอื่นมาก่อนในอดีต แล้วได้พบว่ามีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี ... บางครั้งผู้ป่วยก็สงสัยว่าทำไมปวดท้อง มีนิ่วแต่ทำไมไม่ทำอะไรกับนิ่ว
ต้องบอกว่า หลายๆครั้งคนเรามีนิ่วในถุงน้ำดีโดยไม่มีอาการ ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดนี้เป็นปวดลักษณะที่เข้าได้กับ นิ่วหรือไม่ ,และได้หาสาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้หรือยัง
พบว่าบางคนการตัดถุงน้ำดีหรือนิ่วออกไปไม่ได้ทำให้หายปวดท้อง
ร้าย ไปกว่านั้น บางคนมีอาการปวดท้องที่เกิดจากการการย่อยไขมันที่ผิดปกติ เมื่อตัดถุงน้ำดีและนิ่วในนั้นไปแล้วปรากฏว่าแทนที่จะหายก็กลายเป็นปวดเสีย ยิ่งกว่าเดิม

9. อาหารของโรคกระเพาะ
ถึง แม้ว่าโรคแผลในกระเพาะจะมีเหตุจากเชื้อโรคได้ แต่ว่าโรคกระเพาะที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคก็ยังมีอีกมากโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ มีแผล การดูแลแบบเดิมๆที่ทุกคนรู้จักกันดีก็ยังมีประโยชน์อยู่ได้แก่
- กินอาหารให้ตรงเวลา
- ไม่กินอาหารรสจัด(เค็ม เผ็ด เปรี้ยว) อาหารหมักดอง อาหารมันๆ
- ไม่กินของที่มีแก็สหรือก่อแก็ส เช่น น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์จากถั่ว(เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง)
- กินผักผลไม้เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี

การกินอาหารที่ดี จะช่วยลดอาการของโรคกระเพาะได้ครับ

10. สมุนไพรสามารถรักษาโรคกระเพาะได้หรือไม่
เคย มีอยู่พักหนึ่งที่มีการพูดถึงเปล้าน้อยและสารเปลาโนทอลว่าสามารถเอาไปผลิต เป็นยารักษาโรคกระเพาะได้ ช่วงนั้นจำได้ว่าในตลาดค้ายาลูกกลอนมีสมุนไพรที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคกระเพาะ ที่อ้างว่าผลิตจากเปล้าน้อยออกมา....
ยาไทยๆหลายตัวรวมทั้งพืชผักในครัว หลายชนิดมีฤทธิ์สามารถลดอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อได้ดีมาก หาได้ง่าย ราคาถูกและปลอดภัย ดังนั้นถ้าถามว่าสมุนไพรรักษาอาการโรคกระเพาะได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า "ได้"
แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นก็คือ พวกยาที่อ้างว่าเป็นสมุนไพรที่วางขายในท้องตลาด หลายๆตัวผสมสารกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ากินอาหารได้ดีขึ้น อาการเหมือนดีขึ้น แต่ที่จริงแล้วการใช้สเตียรอยด์เป็นประจำจะทำให้กระเพาะเสี่ยงต่อการเกิดแผล และทะลุได้ง่าย
ดังนั้นการเลือกใช้สมุนไพร จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง หากเป็นไปได้ก็ควรทำเองหรือซื้อจากแหล่งที่ไว้ใจ

โรคฮิสทีเรีย

โรคฮิสทีเรีย ใครหลายคนเคยคิดว่านี่คือโรคของผู้หญิงที่ไม่รู้จักพอในเซ็กซ์ หรือผู้หญิงที่มากรักว่า และสามารถติดต่อกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันคือ (นิมโฟมาเนีย) Nymphomania โรคที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็น ฮิสทีเรีย

ก่อนอื่นต้องขอเท้าความไปถึงฮิสทีเรียว่าไม่ได้หมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูง แต่ความจริงแล้ว ฮิสทีเรียอาจจะเกิดในผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้

ฮิสทีเรียนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1. โรคประสาทฮิสทีเรีย จะแบ่งเป็น Conversion Reaction คือคนที่มีความเครียด กังวลใจ หรือเกิดความขัดแย้งในจิตใจอย่างรุนแรง พวกนี้จะเกิดการผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวหรือรับรู้ เช่น เป็นอัมพาต ชาตามแขนและขา และ Dissociative Type คือสูญเสียความจำในบางเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจจนไม่ต้องการรับรู้

2. บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย คนพวกนี้จะมีลักษณะการแสดงออกที่มากเกินความจริง เพื่อดึงดูดความสนใจ มีความเป็นเด็กสูง ชอบเรียกร้องความสนใจและแสดงออกทางอารมณ์ค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเกิดจากการขาดความรัก ความอบอุ่นในวัยเด็ก

คราวนี้ลองมาดู Nymphomania กันบ้าง Nymphomania เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งวงการแพทย์ในสมัยนั้นถือว่า Nymphomania เป็นโรคทางกายภาพ (แต่ในวงการแพทย์ปัจจุบันถือว่า Nymphomania เป็นอาการป่วยทางจิต) เพราะมีกรณีศึกษาของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวชาวนาในรัฐแมสซาชูเซตส์ เธอกล่าวคำพูดลามกอนาจารต่อหน้าสาธารณชนด้วยการเสนอร่างกายและแสดงความคิดเห็นในเรื่องเพศโดยปราศจากการควบคุมและมีอารมณ์ขุ่นหมอง

หลังจากการวินิจฉัยจากแพทย์ซึ่งตรวจสอบร่างกายของเธอปรากฏว่า มดลูกของเธอขยายใหญ่ขึ้น ช่องคลอดหลั่งสารหล่อลื่นมากผิดปกติ และคลิตอริสที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความต้องการทางเพศ

คำว่า Nymphomania มาจากคำว่า Nympho หมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงและ Mania ซึ่งหมายถึง ความคลั่งไคล้หรือความบ้าคลั่ง Nymphomania จึงหมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงเกินปกติ คลั่งไคล้ในเซ็กซ์เกินปกติ

จะว่าไปแล้ว Nymphomania ยังไม่เป็นที่รู้จักในสังคมบ้านเรามากนัก หรืออาจจะรู้จักอาการของโรค แต่เรียกชื่อไม่ตรงกับอาการ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเรียกอาการเหล่านี้ว่าฮิสทีเรีย

ลักษณะอาการของ Nymphomania คือการไร้ความสามารถที่จะระงับอารมณ์ในเรื่องเซ็กซ์ และมีความไม่สมบูรณ์ทางจิต จะต้องได้รับการตอบสนองทางเพศตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกับใครก็ได้ และโดยไม่สนใจผลที่จะเกิดตามมา ถึงแม้ว่าจะได้รับการตอบสนองทางเพศหลายครั้งแล้ว ก็จะเกิดความต้องการทางเพศขึ้นอีก ผู้หญิงที่เป็น Nymphomania จะเปลี่ยนคู่นอนบ่อยจนเรียกได้ว่าสำส่อนทางเพศ รวมไปจนถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหลายครั้งต่อวันด้วย

ผู้หญิงที่ป่วยเป็น Nymphomania อาจมีสาเหตุมาจากทางกายภาพ คือ ความผิดปกติของกลีบสมองในส่วนขมับซึ่งจะพบได้น้อยมาก หรืออาจจะมาจากการได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น แอมเฟตามีน หรือติดสารเสพติด

ส่วนสาเหตุที่มาจากสภาพจิตนั้น จะเกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ที่มีความต้องการทางเพศมากเกินไป อารมณ์ไม่คงที่ สภาวะซึมเศร้าที่ทำให้สารเคมีในสมองเปลี่ยนไป หรือการได้เห็นคนร่วมรักกันตั้งแต่เด็ก

โรคนี้ในผู้ชายก็เป็นได้ แต่เรียกว่า สไตเรียซิส (Satyriasis) ซึ่งมีอาการคล้ายกับผู้หญิง แต่ต่างกันตรงที่ว่ามดลูกไม่หดตัว

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการติดเซ็กซ์ถือว่าเป็นปัญหาสังคมเช่นเดียวกับติดเหล้า ติดยาเสพติด หรือติดการพนัน เพราะจะทำให้หมกมุ่นจนไม่เป็นอันทำอะไร

ฉะนั้นรู้อย่างนี้แล้วอย่าสับสนกันระหว่างผู้ที่เป็นโรคฮิสทีเรีย เป็นนิมโฟมาเนียนะ และโรคนี้ก็ไม่สามารถติดต้อกันได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ด้วย......

Business

Blog M