Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Herpes zoster งูสวัด


โรคงูสวัด

1.สาเหตุ เป็นโรคผิหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า Hepes Varicella Zoster เป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคไข้สุกใส ผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสนี้ที่ปมประสาทสันหลัง ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแปเชื้อสามารถสร้างเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ แต่จะเกิดเฉพาะแนวประสาท ไม่ลุกลามกระจายออกไปเพราะร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้ออยู่แล้ว แนวเส้นประสาทที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณเอว ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่นผู้สูงอายุ หรือจากโรคเช่น เอดส์ การรับประทานยา steroid จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัดสูง
2.ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการสำรวจพบว่าผู้ใหญ่ร้อยละ 90 จะมีภูมิต่อเชื้องูสวัด ดังนั้นกลุมคนเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดประมาณ 1.5-3 ต่อประชากร 1000 คน ผู้ที่อายุมาก มะเร็ง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิ ผู้ที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด


3.อาการจะมีอาการปวดตามตัว มักจะไม่มีไข้ ต่อมาจะมีอาการทางผิวหนัง อาจจะแค่คันผิวหนัง บางคนปวดแสบปวดร้อน บางคนเสียวที่ผิวหนัง สำหรับคนที่เป็นที่ใบหน้าจะมีอาการปวดศีรษะ เห็นแสงจ้าไม่ได้ ต่อมาอีก 1-5 วันจะมีผื่นแดงอยู่เป็นกลุ่ม ต่อมาเป็นตุมน้ำใส มักจะขึ้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายตามเส้นประสาทที่เป็นโรค ตุ่มน้ำใสจะคงอยู่ประมาณ5 ;วันต่อมาผื่นจะตกสะเก็ดและหายไปใน2-3สัปดาห์ และอาจจะทิ้งรอยแผลเป็น ผู้ป่วยที่มีภูมิอ่อนแรงเช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ผู้ที่ได้รับยากดภูมิ จะเป็นโรคนี้ได้บ่อย และเป็นรุนแรง

4.การวินิจฉัย การวินิจฉัยทำได้จากประวัติและลักษณะของผื่น แต่ผื่นของผู้ป่วยบางคนตำแหน่งที่เกิดและลักษณะผื่นไม่เหมือนงูสวัดจึงจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่ม ได้แก่การเพาะเชื้อไวรัสการย้อมด้วยวิธี Direct immunofluorescence assay
5.โรคนี้จะติดต่อหรือไม่ เชื้อไวรัสที่อยู่ในผื่นสามารถติดต่อโดยการสัมผัส สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นไขสุกใสมาก่อนก็อาจจะกลายเป็นไข้สุกใส สำหรับคนที่เป็นไข้สุกใสแล้วก็จะมีโอกาสเป็นงูสวัสเพิ่มมากขึ้น

มือชา-นิ้วล็อค

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้ามาปรึกษาแพทย์ทางกระดูกและข้อ เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดกับมือ และต้องเข้ารับการฟื้นฟู ทำกายภาพบำบัดจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหญิงและชาย ที่พบเป็นประจำได้แก่ อาการมือชาจนอ่อนแรงหยิบจับอะไรแทบไม่ได้ และอาการของนิ้วล็อค คือนิ้วบางนิ้วแข็งเกร็งขยับแทบไม่ได้ เมื่องอ หรือเหยียดนิ้วออกแล้วจะเจ็บปวดมาก



เมื่อสอบถามประวัติแต่ละคนก็ได้คำตอบคล้ายๆกันคือ ส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ บางคนมีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ พนักงานบัญชี นอกเหนือไปจากนั้นก็ได้แก่ หนุ่มๆ นักกอล์ฟ กลุ่มสาวๆ พนักงานนวด (แผนไทย) คนทำงานตามโรงงาน ที่ต้องใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ พ่อครัวที่ต้องสับเนื้อหั่นผักตลอดเวลา แม้กระทั่งแม่บ้านที่ทำงานซักผ้า ถูบ้านต้องออกแรงบิดผ้าเสมอๆ



เรามาดูกันดีกว่าครับว่าอาการผิดปกติเหล่านี้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร หากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทัน และไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้นนะครับ



โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ



โรคมือชานี้ เกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือ เพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือ โดยทอดผ่านบริเวณข้อมือ และลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการ ที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชา ร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรง หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลง เมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี



อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ...



สิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวม และการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทถูกกด เช่น เกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่นใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรู กำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน





ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ



- มีอาการชา และรู้สึกซ่าในบริเวณมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมักจะเกิดในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับท่าทางในการนอน และหลังจากการใช้มือข้างนั้นๆ

- การรับความรู้สึกที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนางลดลง ทำให้หยิบจับของไม่ถนัด

- มีอาการรู้สึกแปล๊บๆ หรือคล้ายกับไฟฟ้าช็อต เมื่อทำการเคาะลงตรงข้อมือ ในบริเวณที่มีเส้นประสาททอดผ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้น ในคนที่งอมือเข้าหาท้องแขนเป็นเวลา 1 นาที ถ้าเส้นประสาทนี้ถูกกดทับเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือแฟบลง



การรักษา



ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย อาจจะใช้วิธีการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้

- ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอน และช่วยให้เยื่อบุข้อมือ และเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ

- รับประทานยาลดการอักเสบ

- ถ้าอาการเป็นมากขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่าน ซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ และเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวม ทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทก็น้อยลง ปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดี ในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืด เส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลง อาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้ เวลาอีกสักระยะหนึ่ง

ปวดท้อง

ปวดท้อง เป็นอาการนำที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีสาเหตุได้หลากหลาย ความสำคัญอยู่ที่อาการปวดท้องเป็นเฉียบพลันหรือเรื้อรัง เพราะหากเป็นเฉียบพลัน บางโรคอาจเป็นสาเหตุที่อันตรายถึงชีวิตได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องรีบมาพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโรคทางศัลยกรรมและทางสูติ-นรี



สาเหตุของอาการปวดท้องเฉียบพลัน ตามตำแหน่งการปวดที่หน้าท้อง

โดยหาก ปวดบริเวณท้องด้านขวาบน อาจเป็นจากโรค ถุงน้ำดีอักเสบ, นิ่วถุงน้ำดี, ตับอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, งูสวัด, ปอดอักเสบ, ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น



หาก ปวดบริเวณท้องด้านขวาล่าง อาจเป็นจาก ไส้ติ่งอักเสบ, ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องอักเสบ, ท้องนอกมดลูก, ปีกมดลูกอักเสบ, เยื่อบุผนังมดลูกเจริญผิดที่, นิ่วในท่อไตและไต, กรวยไตอักเสบ, ไส้เลื่อน, กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ, ลำไส้ทะลุ, เส้นเลือดโป่งพองในช่องท้องมีการรั่วซืม

ถ้า ปวดบริเวณท้องด้านซ้ายบน อาจมีสาเหตุจาก กระเพาะอาหารอักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, ม้ามโต/ แตก, กรวยไตอักเสบ, นิ่วไต, งูสวัด, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, ปอดอักเสบ, ลำไส้อักเสบ



ปวดบริเวณท้องด้านซ้ายล่าง เป็นได้จาก กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ, ลำไส้อุด ตัน, ลำไส้อักเสบ, เส้นเลือดโป่งพองในช่องท้องมีการรั่วซึม, ท้องนอกมดลูก, ปีกมดลูกอักเสบ, เยื่อบุผนังมดลูกเจริญผิดที่, กรวยไตอักเสบ, นิ่วในท่อไตและไต

ปวดบริเวณลิ้นปี่ อาจเป็นเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร, กระเพาะอาหารอักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ, ไส้ติ่งอักเสบระยะแรก, เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง, ถุงน้ำดีอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจตาย

ปวดรอบสะดือ อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรก, กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, ลำไส้อุดตัน, เส้นเลือดในช่องท้องอุดตัน, เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง



ปวดบริเวณท้องน้อย สาเหตุที่พบได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ, ไส้ติ่งอักเสบ, โรคของต่อมลูกหมาก, ปีกมดลูกอักเสบ, ไส้เลื่อน, ช่องเชิงกรานอักเสบ( PID), ท้องนอกมดลูก, ลำไส้อักเสบ, ลำไส้อุดตัน

อาการปวดท้องอาจมีสาเหตุจากโรคนอกช่องท้องก็ได้ เช่น โรคของกระดูกสันหลัง, ปอดอักเสบ, งูสวัด, ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง, เบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็น DKA, ไตวายที่มีของเสียในเลือดคั่งมาก( uremia), โรคแอดดิสัน( Addison's disease), ไข้ไทฟอยด์, โรคพอร์ฟัยเรีย, พิษจากตะกั่ว, ต่อมหมวกไตบกพร่อง, โรคทางจิตเวช



สาเหตุของอาการปวดท้องเรื้อรัง ถ้าเป็น โรคที่มีสาเหตุชัดเจน ได้แก่ ลำไส้อักเสบชนิด Inflammatory bowel disease , ลำไส้ขาดเลือด, เบาหวานลงเส้นประสาท( Diabetic neuropathy), แผลในกระเพาะอาหาร, ผังผืดในช่องท้อง, เนื้องอกในช่องท้อง, ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, นิ่วในถุงน้ำดี, ไส้เลื่อน, ลำไส้อุดตัน, กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ, ช่องเชิงกรานอักเสบ

ถ้าเป็น โรคที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน ได้แก่ ลำไส้แปรปรวน



การตรวจหาสาเหตุ

แพทย์จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายของผู้ป่วยในการพิจารณาเลือกวิธีการตรวจเพิ่มเติม หรือในรายที่อาการปวดท้องไม่ชัดเจนหรือเป็นเรื้อรังโดยอาการไม่เปลี่ยนแปลงอาจให้การวินิจฉัยโดยให้การรักษาและติดตามอาการ หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี อาจให้การวินิจฉัยในขั้นต้นได้ แต่หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรืออาการมีการเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมนี้ขึ้นกับสาเหตุของอาการปวดท้องที่แพทย์สันนิษฐาน ได้แก่ การตรวจเลือด, ปัสสาวะ, อุจจาระ, การตรวจทางรังสี, การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร, การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นต้น



การรักษา

แพทย์จะให้การรักษาครอบคลุมสาเหตุที่สงสัยและรักษาตามอาการระหว่างรอผลตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจน

อาการของโรคเก๊าท์

อาการของโรคเก๊าท์

1.ระยะแรกมักมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทันใด มักพบอาการปวดที่หัวแม่เท้าก่อน อาการมักเกิดขึ้นภายหลังการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมาก ๆ การดื่มเหล้ามาก หรือการสวมรองเท้าที่คับ บริเวณผิวหนังตรงข้อที่อักเสบจะตึงร้อน เป็นมัน ผู้ป่วยมักจะมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีเม็ดเลือดขาวสูง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ใน 2-3 วัน และหายไปเองในระยะ 5-7 วัน

2.ระยะพัก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดง แต่กรดยูริคในเลือดมักสูง และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีกจนถึงขึ้นเรื้อรัง อาจมีอาการเป็นระยะ ๆ เนื่องจากผลึกยูเรตเป็นจำนวนมากสะสมอยู่ในข้อกระดูกเยื่ออ่อนของข้อต่อ และบริเวณเส้นเอ็น ทำให้เกิดโรคข้อกระดูกเสื่อม เมื่อเป็นมากจะมีการสะสมของผลึกนี้ที่เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อ และเกิดปุ่มขึ้นที่ใต้ผิวหนัง มักเริ่มที่หัวแม่เท้า และปลายใบหูก่อน ข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะอยู่ อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูป และเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้น ๆ

3.อาการแทรกซ้อน พบว่า ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์มักมีนิ่วในไตด้วย ผลึกยูเรตอาจสะสมอยู่ในส่วนหมวกไต ทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ ถ้ามีการสะสมในไตมาก ๆ จะขัดการทำงานของไต หรือทำลายเนื้อไต ทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว

การควบคุมอาหาร เนื่องจาก กรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

1.นมและผลิตภัณฑ์จากนม 2.ไข่ 3.ธัญญพืชต่าง ๆ 4.ผักต่าง ๆ 5.ผลไม้ต่าง ๆ 6.น้ำตาล
7.ผลไม้เปลือกแข็ง(ทุกชนิด) 8.ไขมัน

อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

1.เนื้อหมู 2.เนื้อวัว 3.ปลากระพงแดง 4.ปลาหมึก 5.ปู 6.ถั่วลิสง 7.ใบขี้เหล็ก
8.สะตอ 9.ข้าวโอ๊ต 10.ผักโขม 11.เมล็ดถั่วลันเตา 12.หน่อไม้

อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป) * อาหารที่ควรงด

1.หัวใจไก่ 2.ไข่ปลา 3.ตับไก่ 4.มันสมองวัว 5.กึ๋นไก่ 6.หอย 7.เซ่งจี้(หมู) 8.ห่าน 9.ตับหมู 10.น้ำต้มกระดูก 11.ปลาดุก 12.ยีสต์ 13.เนื้อไก่,เป็ด 14.ซุปก้อน 15.กุ้งชีแฮ้ 16.น้ำซุปต่าง ๆ 17.น้ำสกัดเนื้อ 18.ปลาไส้ตัน 19.ถั่วดำ 20.ปลาขนาดเล็ก 21.ถั่วแดง 22.เห็ด 23.ถั่วเขียว 24.กระถิน 25.ถั่วเหลือง 26.ตับอ่อน 27.ชะอม 28.ปลาอินทรีย์ 29.กะปิ 30.ปลาซาดีนกระป๋อง

การกำหนดอาหาร

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้ สารอาหารครบถ้วน และงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากดังกล่าวแล้ว

1.พลังงาน ผู้ป่วยที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานในอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลงทั้งนี้ เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการรุนแรง ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลายของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะทำให้สารยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และอาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และควรได้พลังงานประมาณวันละ 1,200-1,600 แคลอรี่

2.โปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก

3.ไขมัน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูนิคได้ไม่ดี และพบว่า ผู้ป่วยที่อ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย

4.คาร์โปไฮเดรท ควรได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่าง ๆ และผลไม้ ส่วนน้ำตาลไม่ควรกินมาก เพราะการกินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย

5.แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามาก ๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริคถูกขับถ่ายได้น้อยลง

การจัดอาหาร




ในการจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารพิวรีนอย่างเข้มงวด ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งในด้านโภชนาการ และรสชาติ ลักษณะอาหาร เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามที่กำหนด และได้รับสารอาหารเพียงพอ

1.ในระยะที่มีอาการรุนแรง ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก ในระหว่างมื้ออาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไตและป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่ว พวกยูเรตขึ้นได้ที่ไต
2.งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด และขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และไขมันมาก
3.จัดอาหารที่มีใยอาหารมาก แก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง
4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น
5.อาหารที่มีไขมันมาก จะทำให้ขับกรดยูริคน้อยลง ทำให้มีการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น

โรคเก๊าฑ์

โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอนสะสมอยู่ตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้าทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอน
ไปเรื่อย ๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริค ในเลือดสูงไปประมาณ 10-20 ปีแล้ว
ยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ผู้ป่วย โรคเก๊าท์งดอาหารใด ๆ ที่มียูริคสูงเลยและการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใดและเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วยที่มีอายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่า ๆ

อาการ

อาการของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใด ๆ ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้นหลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย

การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่

1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด

การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ว่าให้กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึก ที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4 เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้ น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบเป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้

2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้ การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมดผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ

- ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
- เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด

ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา

มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้

Business

  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
    7 ปีที่ผ่านมา

Blog M