Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้

อาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับว่า ภูมิแพ้นั้นเกิดขึ้นที่ระบบใด สำหรับผู้ใหญ่สามารถที่จะให้ประวัติและบอกอาการได้ก็จะช่วยในการวินิจฉัยอาการของโรคภูมิแพ้ที่พบได้มีดังนี้

ผื่นที่ผิวหนัง เช่นผื่นแพ้ ลมพิษ คันตามผิวหนัง
คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
ไอแน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด โรคหอบหืด
เคืองตาและตาแดง เคืองจมูก
บวมรอบปาก อาเจียนและถ่ายเหลว
แสบคอ น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคภูมิแพ้

สำหรับผู้ใหญ่สามารถบอกอาการได้ แต่เด็กบอกอาการไม่ได้ ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการและอาการแสดงของเด็กโดยดูจากโครงร่างกาย ผิวหนัง และลักษณะหน้า เด็กที่เป็นภูมิแพ้มักจะมีขนาดตัวเล็กกว่าเด็กทั่วไป ลักษณะใบหน้าของเด็กที่เป็นภูมิแพ้มีดังนี้

Allergic Shiners เด็กจะมีขอบตาดำคล้ำเนื่องจากเส้นเลือดดำที่ขอบตาขยาย
Dennie-Morgan Lines เด็กที่เป็นภูมิแพ้จะมีรอยย่นที่ใต้หนังตาล่าง
Long Face S yndrome เด็กที่เป็นภูมิแพ้ คัดจมูก และมีโรคหอบหืดจะมี เพดานปากสูงขึ้น ฟันบนยื่นออกมา ต้องหายใจทางปากเนื่องจากคัดจมูกอยู่ตลอดเวลา เยื่อบุจมูกจะบวมและซีดเนื่องจากถูกภูมิแพ้กระตุ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้หายใจไม่ออก
Nasal Salute เด็กที่ภูมิแพ้จะมีอาการคันจมูกมักจะเอาฝ่ามือเช็ดจมูกอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดรอยย่นที่ดั่งจมูก
Facial Tics เด็กที่เป็นภูมิแพ้จะมีอาการคันจมูกทำให้ต้องย่นหน้าและจมูกเหมือนตัวตลก
Keratosis Pilaris ผิวหนังของเด็กที่เป็นภูมิแพ้จะแห้งและหยาบโดยเฉพาะผิวหนังบริเวณบริเวณแก้ม แขน หน้าอก
Atopic Ezema ผิวหนังบริเวณข้อพับจะมีรอยเกาเป็นผื่น บางรายมีน้ำเหลือง
Conjunctivitis เด็กจะเคืองตาและขยี้ตาอยู่ตลอดเวลา เยื่อบุตาจะบวม
Glue ear เด็กที่คัดจมูกอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ มีหนองไหลออกจากหู
Posterior nasal drip น้ำมูกจะไหลลงคอตลอดเวลาทำให้เด็กระคายคอ บางคนไอเรื้อรัง

โรคภูมิแพ้ Allergy

โรคทางเดินหายใจเป็นโรคที่พบมากของประเทศไทยโดยเฉพาะประชาชนในเขตเมืองเนื่องจากมลภาวะและภูมิแพ้ บทความนี้จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิแพ้ในหลายแง่มุมที่คุณควรจะรู้

โรคภูมิแพ้คืออะไร
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ที่จะจดจำสิ่งแปลกปลอมที่จะทำร้ายร่างกายเรา เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรค โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิของร่างกายมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ allergen จากสิ่งแวดล้อมซึ่งปกติจะไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่แพ้ ปฏิกิริยานี้เริ่มเมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดการสร้างภูมิที่เรียกว่า IgE antibody ตัว antibody นี้จะกระตุ้น Mast cell ให้มีการหลั่งสาร Histamin ขึ้นที่เนื้อเยื่อต่าง เช่น ผิวหนัง ปอด จมูก ลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการแสดงจะเกิดตามอวัยวะต่างๆ เช่นลมพิษที่ผิวหนัง คัดจมูก แน่นหน้าอกเนื่องจากหอบหืด บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ Anaphylaxis shock



ตัวอย่างโรคที่เกิดจากภูมิแพ้
สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่พบบ่อย

โรคหอบหืด
Anaphylaxis
Eczema,
contact dermatitis,
ลมพิษ urticaria
allergic conjuntivitis
แพ้ยา แพ้แมลง แพ้ยาง
แพ้อาหาร
โรคภูมิแพ้หรืออาการคัดจมูก
การรักษาโรคภูมิแพ้
ยาแก้แพ้

ไรฝุ่น
เรณูหรือเกสรดอกไม้ และหญ้า
สะเก็ดรังแคของสัตว์(แมว สุนัข ม้า)
แมลงสาบ
เชื้อรา
อาหาร(ไข่ขาว นม แป้งสาลี ถั่วเหลือง อาหารทะเล ถั่ว)
เหล็กไนของผึ้งและตัวต่อ
ยา
ยางพารา



คนเราเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร
เนื่องจากเกิดโรคภูมิแพ้เป็นจำนวนมากจึงได้มีการวิจัยหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้

กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่นพ่อแม่ พี่น้อง ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย เด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงหากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้เด็กจะเป็นภูมิแพ้ได้ร้อยละ 30 แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้เด็กจะมีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ 50-60
สิ่งแวดล้อมของเด็กในขวบปีแรกสำคัญมาก การสัมผัสควันบุหรี่ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สะเก็ดรังแคสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรับประทานอาหารสำเร็จรูป เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้
การติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก การที่มีเชื้อ lactobacillus ในลำไส้หรือการอาศัยใกล้ฟาร์มสัตว์จะลดอุบัติการณ์ของภูมิแพ้
การหลีกเลี่ยงหรือนำสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ออกจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะทำให้ลดอาการของโรคภูมิแพ้และลดปริมาณการใช้ยา

ทำไมคนในเมืองถึงเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น
พบว่าปัจจัยที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง

คนในเมืองอยู่บ้านมาก ติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
เด็กกินนมแม่น้อยลง คนรับประธานอาหารจานด่วนมาก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก เช่น สี สารกันบูด
คนนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านเพิ่ม
การตกแต่งบ้าน ติดตั้งพรมและติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อไรฝุ่นเจริญได้ดี
มลภาวะจากอุตสาหกรรม และการจราจร
การสูบบุหรี่
สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในบ้าน
สารก่อโรคภูมิแพ้ในบ้านจะพบได้ตลอดปีและเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรค ภูมิแพ้คัดจมูก โรคหอบหืด ผื่นแพ้ eczema สารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญได้แก่

ไรฝุ่นพบมากบนที่นอน โซฟา
สะเก็ดรังแคสัตว์ น้ำลาย และเหงื่อของสัตว์เลี้ยง
ขนนก ของเสียแมลงสาบ รา
วิธีป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน
เปิดหน้าต่างให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ โดยเฉพาะห้องครัว ห้องน้ำโดยเปิดหน้าต่างอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมงเปิดวันละสองครั้งหากแพ้เกสรควรปิดหน้าต่างโดยเฉพาะช่วงที่มีเกสรดอกไม้มาก
ไม่ควรตากผ้าในห้องนอนและห้องนั่งแล่น
ถ้าห้องมีความชื้นมากให้เปิดให้อาการถ่ายเทให้มาก
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน
ไม่ควรตกแต่งห้องนอนด้วยพรม หรือมีตุกตา มั่นเช็ดฝุ่นบ่อยๆ
ห้องนอนไม่ควรจะมีชั้น หรือหนังสือ
เครื่องนอนควรจะซักและต้มสัปดาห์ละครั้ง
งดบุหรี่ หรือทาสีในบ้าน
หมั่นทำความสะอาด และดูดฝุ่นบ้านและม่านกันแดด
กำจัดเศษอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)


โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคติดเชื้อไวรัสติดต่อโดยยุงลาย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงและมีอาการปวดข้อ แต่มักจะไม่เสียชีวิต แต่อาการปวดข้ออาจจะต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหาย มีอาการคล้ายไข้ เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก

ประวัติของโรคชิคุนกุนยา

ตัวเชื้อไวรัส
การติดต่อของเชื้อโรค
พบการระบาดโรคนี้ครั้งแรกในทวีปอัฟริกาที่ราบ Makonde Plateau ของประเทศ Tanzania. ซึ่งอยู่ระหว่างประเทศ Tanzania และ Mozambique และมีการระบาดที่ประเทศอินเดีย

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae เชื้อนี้เป็นชนิด single stranded RNA โดนทำลายโดยความร้อนที่อุณหภูมิ 58 องศา

พาหะนำโรค Vector

มียุงลาย Aedes aegypt เป็นพาหะนำโรคในเขตเมือง ส่วนชนิด Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรคในเขตชนบท ยุงนี้จะวางไข่ในน้ำที่อยู่ใน้าง เช่นแจกัน นำระบายเครื่องปรับอากาศ ตุมน้ำ ถังน้ำ หรือแอ่งน้ำรอบบ้าน เช่น กระป๋อง กะลา ยางเก่า

วิธีการติดต่อ

โรคชิคุณกุนย่าเกิดจากไวรัสติดต่อถึงคนโดยการกัดของยุงลายที่มีเชื้อโรค ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัด และดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่ม จำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะฟักตัว

โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคัน ร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis)อ่านที่นี่

การระบาดของโรคนี้

โรคชิคุนกุนยามักจะระบาดหลังฤดูมรสุมเนื่องจากจะมีพาหะชุกชุม มักจะระบาดในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีคน ลิง กระรอก นกเป็นแหล่งแพร่โรค reservoir เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่ประเทศอินเดียทำให้เกิดความพิการกับผู้คนจำนวนมาก

ข้อแตกต่างระหว่างไข้เลือดออกและโรคชิคุณกันย่า

จะมีไข้สูงเหมือนกันแต่ไข้ชิคุณกันย่าจะใช้เวลาน้อยกว่า และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า อ่านที่นี่ การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment)

การป้องกันโรค

เนื่องจากยังไม่มียาหรือวัคซีนเฉพาะ ดังนั้นการป้องกันจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงมิให้ยุงลายกัด อ่านที่นี่

การรักษา

เป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน 3

อวัยวะที่เกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่มีอาการ

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนานมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด หรือการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ หลอดเลือด ตา สมอง หัวใจ ไต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างช้าๆโดยที่ไม่มีอาการอะไร ดังนั้นในการเริ่มต้นให้การรักษาจะต้องนำผลการตรวจเหล่านี้มาพิจารณาด้วย การตรวจเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการตรวจเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม การตรวจดังกล่าวได้แก่

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหน้า หรือมีหัวใจโต หากมีกล้ามเนื้อหัวใจหนาแสดงว่าความดันโลหิตที่สูงมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยที่ยังไม่เกิดอาการ
การตรวจคลื่นเสียงหัวใจหรือที่เรียกว่า Echocardiographic พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือโต
ทำ ultrasound พบว่ามีความหนาตัวของผนังด้านในหลอดเลือดมากกว่า Carotid wall thickening (IMT>0.9 mm) หรือเกิดคราบ plaque
วัดความเร็วของหลอดเลือดแดงที่ ค อและขา Carotid-femoral pulse wave velocity >12 m/s
วัดความดันที่ข้อเท้าเทียบกับที่แขนได้น้อยกว่า Ankle/brachial BP index<0.9
ตรวจเลือดพบว่าการทำงานของไตเริ่มเสื่อม:
ผู้ชาย: 115–133 mmol/l (1.3–1.5 mg/dl);
ผู้หญิง: 107–124mmol/l (1.2–1.4 mg/dl)
การทำงานของไตลดลงโดยมีอัตราการกรองของไตลดลง (<60 ml/min/1.73m2)
ตรวจปัสสาวะพบไขขาวMicroalbuminuria 30–300 mg/24 h หรืออัตราส่วนของไขขาวต่อไต albumin-creatinine ratio: 22 (M); or 31(W) mg/g creatinine
การตรวจทั้งหมดดังกล่าวเบื้องต้นหากพบว่าผิดปกติแสดงว่าความดันโลหิตที่สูงมีผลต่ออวัยวะดังกล่าว จะถือว่าอวัยวะได้รับความเสียหายโดยที่ยังไม่เกิดอาการ

ความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

แม้ว่าความดันโลหิตสูงสามารถเป็นได้กับทุกคน แต่มีบางกลุ่มที่มีควมเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงกว่ากลุ่มอื่นประวัติครอบครัว ถ้าปู่ บิดา มารดาเป็นความดันโลหิตสูง โอกาสที่บุตรจะมีความดันโลหิตสูงมีมาก ดังนั้นคุณผู้อ่านที่มีคุณพ่อ แม่เป็นความดันโลหิตสูง ควรมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
อายุ และเพศ วัยก่อนหมดประจำเดือนผู้ชายจะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง เมื่อวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นความดันโลหิตมากกว่าผู้ชาย ส่านในคนแก่พบความดันโลหิตสูงพอๆกัน โดยมากมักพบความดันในช่วงอายุ 35-50 ปี
เชื้อชาติ พบความดันโลหิตสูงในผิวดำมากกว่าผิวขาว
ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ได้แก่

น้ำหนัก คนอ้วนพบความดันโลหิตสูงมากกว่าคนผอม โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 เมื่อลดน้ำหนักความดันจะลดลง
เกลือ ทานเค็มมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง
การขาดการออกกำลังกาย
ความเครียด
ความดันโลหิตสูง
การสูบบุหรี่
ไขมันในเลือดสูง
เบาหวาน

ความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ


เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้งความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่

เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย

ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำอะไร
ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี
ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertensionl 130-139 85-89 ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) 140-159 90-99 ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) >160 >100 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน
สาเหตุของความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้

Primary hypertension

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

Secondary hypertension

เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
ผู้ที่นอนป่วยนานไป
ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด
เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง

ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
รับประทานอาหารไขมันต่ำ
งดการสูบบุหรี่
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
ไปตามแพทย์นัด
ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต

โรคที่เกิดจากการเล่นคอมพิวเตอร์นาน ๆ มีดังต่อไปนี้

ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้คนยุคสมัยนี้ ถึงแม้จะให้คุณอนันต์ แต่ว่า
คอมพิวเตอร์ก็มีโทษเหมือนกัน
ล่าสุด ที่ทำให้ตกใจกันทั่วคือ เมื่อนักวิจัยชาวอังกฤษได้ทำการศึกษาและพบว่า คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์นั้น เป็น
แหล่งสะสมของแบคทีเรียอันตรายมากกว่าโถสุขภัณฑ์ถึง 5 เท่า!!! และทำให้ผู้ใช้ท้องเสียโดยไม่รู้ตัว ไม่เพียง
เท่านั้นยังมีอีกหลายโรคที่เกิดเพราะคอมพิวเตอร์
* ท้องร่วงเพราะคีย์บอร์ด
โรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ดว่า Qwerty Tummy อาจระบาดในที่ทำงานได้ หาก
ว่าแป้นคีย์บอร์ดมีแบคทีเรีย ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และผู้ใช้รับประทานอาหารไปพร้อมกับใช้งาน
คีย์บอร์ดเครื่องคอมพ์ด้วย
การศึกษาครั้งนี้แสดงว่าคีย์บอร์ดเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียที่น่ากลัวด้วยคนทำงาน 1 ใน 10 ไม่เคยทำความ
สะอาดคีย์บอร์ด และ 20% ไม่เคยทำความสะอาดเมาส์ ขณะที่ 50% ไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ด
ภายในเวลาหนึ่งเดือน
นอกจากนี้ด้วยรูปแบบการทำงานสมัยใหม่ ที่พนักงานต้องย้ายโต๊ะทำงานไปเรื่อยๆ ทำให้พวกเขาไม่มีทางรู้ว่า
ใครใช้คีย์บอร์ดที่กำลังใช้อยู่และใช้งานอย่างไรบ้าง
ทางแก้ไขคือ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรทำทั้งที่บ้านและที่ทำงานควรทำความสะอาดคีย์บอร์ดเป็นประจำ
ไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย วิธีการคือ ทำความสะอาดด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ ที่สำคัญคือ อย่า
ลืมถอดปลั๊กคอมพิวเตอร์ก่อน

โรคอื่นๆ อีกมากมาย
คอมพิวเตอร์จะไม่เป็นอันตราย หากว่าคุณไม่ใช้มันจนติดเป็นนิสัย ซึ่งหมายความว่า นั่งจมจ่อมอยู่หน้าเครื่อง
คอมพิวเตอร์เกือบจะตลอดวันและทุกวัน คนที่ใช้คอมพิวเตอร์บ้างเป็นบางครั้งคราวย่อมไม่ได้เจ็บป่วยเพราะ
คอมพิวเตอร์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละคนก็จะได้รับผลกระทบจากเครื่องใช้ไฮเทคนี้มาก-น้อยช้า-เร็วไม่เหมือนกัน
หลายๆ อาการเจ็บป่วยจากคอมพิวเตอร์นั้น อาจจะเป็นสิ่งที่เรารู้กันดี แต่บางครั้งก็หลงลืม ลองมาทบทวนกันดู

โภชนาการบำบัดโรคท้องผูกเรื้อรัง

1. มันเทศต้ม
เอา มันเทศ 500 กรัม
ล้างน้ำให้สะอาดแล้ว หั่นให้เป็นชิ้น ใส่น้ำพอประมาณ ต้มให้สูก
แล้วปรุงรสด้วยน้ำตาลกรวด หรือเกลือ รับประทานก่อนเข้านอน
ทุกวันติดต่อกันประมาณ 15 วัน

2. น้ำหัวผักกาดขาว
เอา หัวผักกาดขาว 100 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ห่อผ้า
ขาวบางคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง 50 มิลลิลิตร รับประทานวันละครั้ง

3. ผงงาเมล็ดท้อ
เอา เมล็ดท้อ กับ งาดำ ปริมาณอย่างละเท่าๆกัน
เอาสองสิ่งคั่วให้สุกแล้วบดเป็นผงใส่ไว้ในภาชนะแก้ว
รับประทานกับน้ำผึ้งก่อนนอนทุกคืน ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ

4. น้ำเชื่อมมันฝรั่ง
เอา มันฝรั่ง 1 กิโลกรัม
ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆตำให้แหลกแล้วคั้นเอา
น้ำใส่หม้อต้มด้วยไฟอ่อนๆจนเหนียว เติมน้ำผึ้งลงไปเท่ากับปริมาณ
น้ำมันฝรั่ง แล้วต้มต่อด้วยไฟอ่อนๆจนเหนียวข้นเหมือนกับน้ำผึ้ง
เดิม ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ขวดเก็บไว้ รับประทานตอนท้องว่าง หรือ
ก่อนนอน วันละ 2 ครั้งๆละ 1 ช้อนโต๊ะ เป็นประจำทุกวัน

5. ขนมกระดึงช้างเผือก
เอา กระดึงช้างเผือก 250 กรัม
น้ำตาลทราย 100 กรัม
แป้งหมี่ 750 กรัม
ให้เอาไส้กระดึงช้างเผือกออกล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อ
ดินเติมน้ำพอประมาณ ใส่น้ำตาลทรายต้มด้วยไฟอ่อนๆ แล้วคนให้
เละ เอาแป้งหมี่เติมน้ำนวดให้เป็นก้อนเหนียว เมื่อฟูแล้วก็นำมาทำ
เป็นเปลือกขนมเปี๊ยะสำหรับเอากระดึงช้างเผือกที่ต้มเตรียมไว้ยัด
เป็นไส้ แล้วจะนำไปปิ้ง หรือนึ่งก็ได้ รับประทานต่างอาหารหลัก
รับประทานมากน้อยตามต้องการ

6. ผัดหอมใหญ่
เอา หัวหอมใหญ่ 1 หัว หนักประมาณ 100 กรัม
หัวผักกาดขาว 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด
มันฝรั่ง 100 กรัม
ให้เอาหอมใหญ่ซอยเป็นเส้น เอาหัวผักกาดขาว และ
มันฝรั่งมาหั่นเป็นเส้นเช่นกัน เอาทั้ง 3 อย่างใส่กระทะผัดให้สุก
รับประทานเป็นกับข้าว

ท้องผูกเรื้อรัง


ท้องผูกเรื้อรัง (Lisa)

ตามปกติอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในวันนี้ จะต้องมีกากของอาหารไปสุดที่ลำไส้ใหญ่ในเช้าวันรุ่งขึ้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้ากว่านี้ ภายใน 12-72 ชั่วโมง หลังจากรับประทานอาหาร

อย่างไรก็ดีชนิดของอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับเวลาของการขับถ่าย คืออาหารที่มีกากมากจะต้านทานการย่อยของน้ำย่อย หรือจะไปดูดน้ำภายในลำไส้ใหญ่ส่งผลให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายอุจจาระได้รวดเร็ว ตรงข้ามกับอาหารที่มีกากน้อยจะทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลง

นอกเหนือจากการเลือกกินอาหารที่ไม่ถูกต้องแล้ว อาการท้องผูกยังอาจเกิดความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน การนั่งรถนาน การเดินทางไกล ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ใช้ที่สวนทวารบ่อยครั้ง และดื่มน้ำน้อยในแต่ละวัน ซึ่งการใช้ชีวิตเช่นนี้จะทำให้คุณไม่อาจหลีกเลี่ยงอาการท้องผูกได้ แต่หากอาการท้องผูกของคุณยังเกิดขึ้นเรื้อรัง ทั้ง ๆ ที่คุณไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว อาจแสดงว่าระบบการขับถ่ายของลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ

อะไรเป็นสาเหตุให้ลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ

ความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการท้องผูก มีอยู่ด้วยกัน 3 กรณี คือ

1.กรณีลำไส้ไม่บีบตัว เป็นกรณีที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากผนังลำไส้ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือลดการเคลื่อนไหว ทำให้กากอาหารเคลื่อนที่ช้า ส่งผลทำให้เกิดการสะสมและหมักหมมตัวอยู่ในลำไส้นาน มักจะเป็นมากในผู้สูงอายุ คนอ้วนมาก ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่าตัดซึ่งต้องนอนอยู่เฉย ๆ เป็นเวลานาน และสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากอาการของท้องผูกของบุคคลในกลุ่มนี้แล้ว ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ลิ้นเป็นฝ้า ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และรู้สึกขมในปาก หรือบางรายอาจมีสิวขึ้นมาก แต่ถ้าได้ถ่ายออกไปแล้ว อาการเหล่านี้จะทุเลาเบาบางลง

2.กรณีลำไส้หดเกร็งมากบ้างน้อยมาก เกิดขึ้นเนื่องจากประสาทกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ทำงานสม่ำเสมอ บางครั้งมากจนเกินไปจนทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องเสีย แต่บางครั้งลำไส้ก็ไม่บีบตัวเลยทำให้ท้องผูกไปหลายวัน ผู้ป่วยในกลุ่มนี้โดยมากจะเคยป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือโรคทางประสาทมาก่อน

3.กรณีลำไส้ตีบหรืออุดตัน เป็นกรณีที่ร้ายแรงและอันตรายมาก เนื่องจากมีคราบเศษอาหารเกาะติดแน่นอยู่ที่ผนังของลำไส้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นเนื้องอก ซึ่งกีดขวางการเคลื่อนตัวของกากอาหาร หรืออาจถึงขั้นเป็นเนื้องอกของเซลล์มะเร็งก็เป็นได้ ผู้ป่วยในกรณีนี้จะมีอาการปวดท้องอย่างมากแต่ถ่ายไม่ค่อยจะออก นอกจากนี้ยังมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมอีกด้วย

อาการท้องผูกในแต่ละกรณี ควรได้รับการบำบัดอย่างไร

การบำบัดรักษาแต่ละกรณีจะแตกต่างกัน ซึ่งสำหรับอาหารท้องผูกในกรณีแรกแบบลำไส้ไม่บีบตัวหากอยู่ในขั้นไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจจะรักษาตัวเองได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์มากขึ้น อันได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชชนิดต่าง ๆ พร้อมกับดื่มน้ำหรือนมมาก ๆ และหมั่นนวดท้องเพื่อช่วยเร่งให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวมากขึ้น ของเสียก็จะถูกขับไปได้ง่ายและเป็นไปตามระบบปกติ แต่ถ้าหากยังไม่ได้ผลอาจต้องให้การสวนทวารด้วยน้ำ

ส่วนในกรณีที่ท้องผูกเนื่องจากลำไส้หดเกร็งเกินไป ผู้ป่วยจะต้องงดดื่มหรือเครื่องเสพสิ่งที่มีสารกระตุ้นอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น ชา น้ำอัดลม กาแฟ เหล้า เบียร์ หรือแม้กระทั่งน้ำผลไม้ก็ต้องจำกัดปริมาณการดื่ม เพราะอาจจะไปกระตุ้นการบีบของลำไส้มากขึ้นได้

ลักษณะอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะต้องป็นอาหารที่ครบทั้งห้าหมู่ มีเส้นใยกากอาหารน้อย และควรบดละเอียดหรือต้มให้เละ เพื่อไม่ให้ระคายเคืองต่อผนังลำไส้ ซึ่งอาหารลักษณะนี้จะเหมาะสมกับผู้ป่วยท้องผูกในกรณีที่ลำไส้ตีบหรืออุดตันด้วยเช่นกัน และถ้าหากการตีบตันของลำไส้เป็นมากจนกากอาหารไม่สามารถเดินทางผ่านได้เลย แพทย์อาจสั่งให้ทานอาหารเหลว หรือให้อาหารทางเส้นเลือด อีกทั้งยังต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การใช้ยาในโรคข้อเสื่อม

1. ความหมายของโรคข้อเสื่อม
ข้อเสื่อม หรือ ข้อกระดูกเสื่อม มีชื่อทางการแพทย์ว่า Osteoarthritis (OA) เป็นอาการ
ปวดข้อ โดยมีสาเหตุจากข้อเสื่อมตามอายุ และการใช้งาน เช่น ข้อรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อน และมีกระดูกงอก (หินปูนเกาะ) ขุรขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อแล้วจะทำให้เกิดอาการปวดขัดในข้อ นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ อายุมาก ความอ้วน (มีน้ำหนักมาก) อาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก (เช่น อาชีพที่ต้องยืนนานๆ)
เนื่องจากโรคข้อเสื่อมมีพบมากในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคปวดข้อในคนสูงอายุ

2. โรคข้อเสื่อมมักเป็นบริเวณไหนบ้าง และพบบ่อยที่ตำแหน่งไหน
ข้อเสื่อมที่เป็นได้บ่อย มักจะเป็นข้อที่รับน้ำหนักมากได้แก่ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูก
สันหลัง ข้อกระดูกคอ เป็นต้น นอกจากนี้บางรายอาจเป็นตามข้อนิ้วมือ

3. อาการของโรคข้อเสื่อม เป็นอย่างไร
การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมนั้น เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าโรคข้อนั้นมีอยู่หลายชนิดที่มีลักษณะ
ของอาการปวดข้อเหมือนกัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบจากเชื้อวัณโรค โรคเกาต์
สำหรับโรคข้อเสื่อมนั้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดขัดในข้อ ข้อฝืด มีอาการปวดหรือเจ็บข้อ
มากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน อาการจะเป็นเรื้อรังเป็นแรมเดือน แรมปี บางครั้งอาจจะมีเสียงดังกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว ผู้ป่วยที่ปวดที่ข้อเข่า มักจะปวดมากเวลาเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่ายืน หรืออยู่ในท่างอเข่า เช่น เวลานั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธินานๆ เดินขึ้นลงบันใด หรือยกของหนัก
ขัดที่ปวดมักจะไม่มีอาการบวมแดงร้อน แต่ถ้าเป็นมากอาจมีอาการบวม และมีน้ำขังอยู่
ในข้อนอกจากการซักประวัติตรวจร่างกายแล้ว ยังอาจจะต้อง X-ray ที่ข้อกระดูก อาจพบ
กระดูกงอก

4. ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม
- อายุ
- ความอ้วน
- เพศหญิง พบว่าเพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ขาดฮอร์โมน เอสโตเจน
- กีฬาเพื่อการแข่งขัน ถ้ากีฬาเพื่อความเพลิดเพลินไม่เพิ่มความเสื่อม

5. เป้าหมายของการรักษาโรคข้อเสื่อม
- ควบคุมอาการเจ็บปวด
- ลดหรือป้องกันการอักเสบ
- เพื่อการเคลื่อนไหวข้อ

6. วิธีการรักษาโรคข้อเสื่อม มีอย่างไรบ้าง
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- บริหารข้อและกล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงอิริยาบทที่ทำให้อาการปวดกำเริบ
- การลดน้ำหนัก
- ใช้ข้อให้ถูกวิธี
2. การใช้ยารักษา
3. การผ่าตัด

7. ยาที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อม มีอะไรบ้าง
1. ยาแก้ปวด เช่น Paracetamol , tramadol
2. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Diclofenae, Piroxicam, indomethacin เป็นต้น
3. ยาสเตียรอยด์ เช่น Prednisolone
4. กลุ่มยาที่ชะลอการดำเนินของโรค เช่น Glucosamin, Sodium hyaluronate

8. หลักการเลือกใช้ยารักษาโรคข้อเสื่อม
กลุ่มยาแก้ปวด และลดการอักเสบ
1. ถ้ามีอาการปวด ให้กินยา Paracetamol เป็นครั้งคราว ถ้าไม่หายอาจให้ยาแก้ปวดที่แรงขึ้นคือ tramadol และต้องพักข้อที่ปวด เช่น อย่าเดินมาก ยืนมาก หรือเดินขึ้นลงบันได และใช้น้ำร้อนประคบ
2. ถ้ามีอาการปวดมาก อาจใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง และต้องระมัดระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น เป็นมาก อาจฉีดสเตียรอยด์เข้าในข้อ

9. เนื่องจากยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย อยากทราบผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่
ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร อาจมีผลต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิด
แผลและมีเลือดออกได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้สูง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ มี
ประวัติเป็นโรคกระเพาะ ก็ควรจะใช้ยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงดังกล่าว เช่น ใช้ยาลดกรด
แนะนำให้กินยานี้หลังอาหารทันที
ผลข้างเคียงต่อไต อาจมีผลทำให้เลือดที่มาเลี้ยงที่ไตลดลง ค่า BUN, Serum
Creatinine สูงขึ้น อาจทำให้เกิดการดิ่งของน้ำและเกลือแร่ ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

10. ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีอะไรบ้าง
- ผู้ป่วยที่สูงอายุ
- ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง

11. ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคข้อเสื่อม ที่พบมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยมักซื้อยามากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ป่วยที่สูงอายุและใช้ยานี้รับ
ประทานเป็นประจำแต่ไม่มีการตรวจดูการทำงานการไต เมื่อใช้ไปนานๆอาจมีผลต่อไตได้
ผู้ป่วยมักซื้อยาลูกกลอนมาทานเอง โดยคิดว่าเป็นยาสมุนไพรกินแล้วหายปวด ซึ่งโดย
ส่วนใหญ่แล้วยาลูกกลอนที่ใช้แก้ปวดข้อ มักจะใส่ยาสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาที่มีผลต่อร่างกาย
มาก ถ้ารับประทานประจำจะทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะ กดการทำงานของไขกระดูก
หน้าบวม

12. ข้อแนะนำการใช้ยาในการรักษาโรคข้อเสื่อม
ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร สำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุ
และใช้ยานี้รับประทานเป็นประจำ ควรจะต้องตรวจดูการทำงานการไต เพราะเมื่อใช้ไปนานๆอาจมีผลต่อไตได้

โรคข้อเสื่อม


เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อกระดูกคอ ข้อกระดูกสันหลัง หรือแม้กระทั่งข้อนิ้วมือก็ตาม โรคนี้ พบมากในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดทรมาณมากอีกโรคหนึ่ง เลยทีเดียว ข้อต่อคือส่วนเชื่อมต่อของกระดูกสองท่อน ทำให้กระดูกนั้นเคลื่อนไหวได้ ผิวของข้อจะเรียบปกคลุมด้วยกระดูกอ่อนผิวข้อ และมีเนื้อเยื่อไขข้อสร้างน้ำไขข้อเพื่อหล่อลื่นข้อ ข้อเสื่อม ถือ เป็นภาวะข้ออักเสบอย่างนึง พบได้มากที่สุด มีการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ มีสารที่ทำให้เกิดการอักเสบออกมา ทำให้ข้อนั้นมีการอักเสบ ปวด บวม เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก
สถานการณ์ของคนไทยกับโรคข้อเสื่อมในปัจจุบัน : ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนสูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันคนเรามีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองไทยเองจะพบว่ามีอุบัติการณ์ของข้อเข่าเสื่อมมากกว่าทางตะวันตก เนื่องจากเราจะใช้ข้อเข่าในชีวิตประจำวันมากกว่า เช่น นั่งพับเพียบ หรือ คุกเข่าไหว้พร แบ่งเป็น ข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเอง และ ข้อเสื่อมที่เป็นภาวะต่อเนื่องมาจากโรคอื่น ข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเอง ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มักพบในคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่อาจจะไม่มีอาการ ส่วนข้อเสื่อมที่เป็นภาวะต่อเนื่องมาจากโรคอื่น เช่น เคยมีกระดูกหักที่บริเวณข้อ ทำให้ ข้อนั้นเมื่อหายแล้วไม่เรียบ เมื่อมีการเคลื่อนไหว ก็จะมีการสึกหรอ หรือ โรคข้ออักเสบบางชนิด เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะมีการทำลายกระดูกใต้ข้อ และผิวข้อ ทำให้ข้อวัยสูงอายุตั้งแต่ 40 ปี แต่จะไม่แปรผันโดยตรงตามอายุ และส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่า เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่จะกล่าวถึงต่อไปมากกว่าโรคข้อเสื่อมจะเกิดกับส่วนใดของร่างกายได้บ้าง จุดไหนเป็นมากที่สุด

กระดูกสองชิ้นประกอบกันเป็นข้อต่อ ดังนั้น เกิดได้เกือบทุกแห่ง ที่เราพบได้บ่อยๆ คือ ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ส่วนข้ออื่นๆพบได้น้อย

ปัจจัยอื่น ๆ นอกจากอายุ ที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับการเป็นโรคนี้ อย่างเรื่องน้ำหนักตัว การได้รับอุบัติเหตุ หรือการใช้ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ส่งผลกระทบบ้างหรือไม่
เรื่องอุบัติเหตุได้กล่าวไปบ้างแล้ว ส่วนเรื่องน้ำหนักตัวจะมีผลต่อข้อที่เป็นข้อที่ใช้รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และข้อเท้า น้ำหนักที่มากจะกดลงบนผิวข้อ ทำให้ข้อนั้นๆเสื่อมเร็วขึ้น
ยาหรือสารเคมีบางอย่าง อาจจะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ทำให้ความแข้งแรงของกระโกนั้นๆ ลดลง เป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดข้อเสื่อม เช่น ยาลูกกลอน บางอย่าง การดื่มแอลกอฮอล์มากๆจะมีผลต่อเส้นเลือดในข้อสะโพก ทำให้ข้อสะโพกขาดเลือด และเกิดการยุบตัวของข้อสะโพกทำให้เกิดข้อเสื่อมตามมาได้
อาการของโรค ในแต่ละขั้น ขั้นไหนถือว่าเป็นขั้นรุนแรงน่าเป็นห่วง

อาการจะค่อยๆเริ่มเป็นทีละน้อย มีอาการปวดเมื่อย เวลาใช้งานข้อ บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการข้อตึงหรือติดเวลาพักใช้ข้อนานๆ เมื่อเป็นมากขึ้น กระดูกผิวข้อสึกหรอมากขึ้น จะทำให้ปวดมากเวลาใช้งานข้อ อาจจะพบว่ามีการผิดรูปของข้อนั้นๆ มีการบวมอักเสบ มีน้าไขข้อมาก และไม่สามารถใช้งานข้อนั้นๆได้ ซึ่งถ้าตรวจด้วยการฉายเอ๊กซ์เรย์จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน

โรคนี้รักษาหายขาดได้หรือไม่

เนื่องจากเป็นภาวะจากความเสื่อมของกระดูกผิวข้อ เมื่อเป็นแล้ว เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น ก็จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้
วิธีการรักษา : การรักษาขึ้นกับอายุ และความรุนแรงของโรค การรักษาด้วยยา ต้านการอักเสบ ยาเสริมกระดูกอ่อน การฉีดน้ำไขข้อเทียม การทำกายภาพบำบัด การรักษาด้วยการผ่าตัด การส่องกล้องล้างผิวข้อ การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน การผ่าตัดแก้ไขแนวรับน้ำหนักข้อ การผ่าตัดใส่ข้อเทียม

การบริหารร่างกายและการปฏิบัติตัวหลังเข้ารับการรักษา ท่าทาง อาหารการกินและยาที่ต้องระวัง

ลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดน้ำหนักตัว ลดการใช้งานข้อที่มากเกินไป เลี่ยงการยกของหนัก เลี่ยงการคุกเข่า ขัดสมาธิ ขึ้นบันไดสูงๆ การงอข้อในมุมที่มากเกินไป มีอุปกรณ์ประคองข้อ เช่น สนับข้อเข่า ข้อเท้า หรือ เสื้อที่ช่วยรัดประคองบริเวณเอว ออกกำลังกายกล้ามเนื้อพยุงข้อ เช่น กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อ ต้นคอ กล้ามเนื้อข้อเข่า อาหารไม่ควรทานที่มีแคลอรี่มากเกินไปทำให้สะสมเป็นไขมัน การทานแคลเซี่ยมเสริมจะช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ส่วนยาที่ทานควรปรึกษากับคุณหมอที่จ่ายยาเสมอๆ ไม่ควรหาซื้อยามาทานเอง อาจจะมีปัญหากับระบบทางเดินอาหารได้

โรคข้อเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร

เนื่องจากเป็นแล้วจะไม่หายขาด เรามีจุดมุ่งหมายจะชะลอภาวะเสื่อม และทำให้สามารถใช้งานข้อนั้นได้พอสมควร ควรระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ ออกกำลังกายเช่นการขี่จักรยาน หรือ ว่ายน้ำจะทำให้กระดูกและข้อแข็งแรงขึ้น
มีวิธีการบริหารร่างกายเพื่อป้องกันโรคนี้ได้บ้างหรือไม่ : การออกกำลังกายกล้ามเนื้อพยุงข้อจะทำให้ข้อนั้นๆแข็งแรงขึ้น ขอยกตัวอย่าง การออกกำลังกายง่ายๆสำหรับข้อเข่าเสื่อม ทำโดยนั่งห้อยขาข้างเตียง เกร็งขาให้เข่าเหยียดตรง แล้วยกค้างไว้ จะทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกร็งตัว นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำสลับกับขาอีกข้างจะทำให้กล้ามเนื้อนั้นแข็งแรงขึ้น

ยาระบายหรือยาถ่าย


ยาระบายหรือยาถ่าย คือกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ช่วยระบาย ให้มีการขับถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย หรือถ่ายหนัก ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ในการบรรเทาอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แต่ก็มีการนำมาใช้เพื่อลดน้ำหนัก
ชนิดของยาระบาย แบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ดังนี้
1. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ (stimulant laxatives) เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทั้งใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก และใช้เพื่อลดความอ้วน เช่น ยาเม็ดเคลือบสีเหลืองเล็กๆ ที่มีชื่อสามัญทางยา ?บิสโคดิล? (bisacodyl) หรือ Dulcolax
2. ยาเพิ่มความเหลวของอุจจาระ (saline laxatives)
3. ยาเพิ่มกากใยไฟเบอร์ของอุจจาระ (bulk forming laxatives)
4. ยาสวนทหวารหนัก (fleet enema) ยาเหน็บทวารหนัก (suppositories)
ยาเหล่านี้ล้วนมีผลให้เกิดการระบายบรรเทาอาการท้องผูกได้ผลดี แต่แตกต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์ วิธีใช้ และระยะเวลาการออกฤทธิ์
ยาระบายช่วยลดความอ้วนได้จริงหรือไม่ ?
ปกติแล้วเราจะสามารถลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักหรือลดไขมันหน้าท้องได้ ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลัก คือ การลดการกินอาหาร และการเพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย เมื่อใดก็ตามถ้าการรับเข้าร่างกายมากกว่าการใช้ออกไป ร่างกายก็จะมีปริมาณสารอาหารหลงเหลือเกินการใช้ และถูกนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่เอวหรือหน้าท้อง ทำให้ท้องดูโป่งพองยื่นออกมาเป็นพุง ในทางกลับกันถ้ามีการใช้พลังงานมากกว่าการกินอาหารเข้าไป ร่างกายก็จะไปนำไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมาใช้เป็นพลังงานทดแทนการกิน ทำให้ความอ้วนลดลง ร่างกายก็จะดูผอมลง นอกจากนี้ อาหารที่เรากินเข้าไปส่วนใหญ่จะถูกย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กส่วนต้นแล้ว เหลือแต่กากใยอาหารส่งต่อมาสะสมที่ลำไส้ใหญ่ รอการระบายหรือถ่ายออกจากร่างกายไป ส่วนลำไส้ใหญ่นี้จะมีการดูดซึมน้ำออกจากกากอาหารจนเป็นก้อนอุจจาระ ดังนั้น ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ใหญ่บีบตัวไล่อุจจาระที่สะสมอยู่ออกทิ้งไป จึงมีฤทธิ์ช่วยการระบายอุจจาระเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลต่อการลดการดูดซึมอาหาร หรือลดความอ้วนหรือลดไขมันที่สะสมบริเวณท้องหรือพุงของเราเลย แต่อาจจะส่งผลบ้างเล็กน้อยต่อน้ำหนักตัวที่ลดลงตามน้ำหนักของอุจจาระที่ถ่ายทิ้งออกไปจากร่างกาย เราเท่านั้น
ข้อควรระวังในการใช้ยาระบาย
1. ควรใช้ในขนาดที่เหมาะสม แต่ละคนมีความต้องการขนาดของยาที่แตกต่างกัน ตามความรุนแรงของอาการท้องผูก โดยเริ่มด้วยขนาดต่ำ หรือครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอนก่อน ถ้ายังได้ผลไม่ดี จึงค่อยๆ เพิ่มขนาด แต่ก็ไม่ควรจะเกินวันละ 5 เม็ด เพราะถ้ามีการใช้ยานี้มากเกินไปหรือเกินขนาด ก็จะไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่มากเกินไป จนทำให้เกิดปวดมวนท้อง และอ่อนเพลีย เนื่องจากเสียน้ำและเกลือแร่ออกมากับอุจจาระมากเกินไปได้
2. ยาระบายจะมีระยะเวลาการออกฤทธิ์หลังจากกินไปแล้ว 8 ชั่วโมง ถ้ากินก่อนนอน ก็พอดีกับเวลาที่เราพักผ่อนตอนกลางคืน พอตื่นนอนขึ้นมา ยาก็เริ่มแสดงฤทธิ์ เริ่มปวดท้องถ่ายอุจจาระพอดี
3. ในการใช้ยาระบาย ?ห้ามเคี้ยว? ทั้งนี้เพราะยาบิสโคดิลเป็นยาเม็ดที่ถูกออกแบบให้ภายนอก เคลือบน้ำตาลเป็นเกราะป้องกันกรดของกระเพาะอาหาร ยาชนิดนี้จึงไม่แตกตัวและออกฤทธิ์ในลำไส้ส่วนต้น และจะเริ่มแตกตัวไปออกฤทธิ์ต่อลำไส้ส่วนปลายเท่านั้น
4. ควรใช้ยาระบายนี้เท่าที่จำเป็น เมื่อใช้ยากลุ่มนี้ติดต่อกันนานๆ ร่างกายของเราจะเริ่มทนต่อยา และจะทนต่อยามากขึ้นเรื่อยๆ ตามความถี่และปริมาณการใช้ยา การทนต่อยา คือการใช้ยาในขนาดเท่าเดิมแต่จะให้ผลในการรักษาลดน้อยลงกว่าเดิม ถ้าต้องการให้ยาออกฤทธิ์ให้ผลเช่นเดิม ต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้น
อนึ่งในทัศนะของผู้เขียน ควรใช้ยานี้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ใช้เมื่อมีข้อบ่งใช้หรือเมื่อท้องผูกและต้องการระบายอุจจาระจริงๆ และไม่ควรใช้ยาระบาย สำหรับการลดความอ้วน เพราะไม่มีผลต่อการลดความอ้วน หรือลดน้ำหนักเลย และถ้าใช้พร่ำเพรื่ออาจเกิดภาวะทนต่อยา ต้องเพิ่มขนาดของยา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียทั้งต่อสุขภาพและทรัพย์สินเงินทอง

เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ. จรัสพล รินทระ

Business

  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
    7 ปีที่ผ่านมา

Blog M