Holiday-Tourismthailand

การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะและลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมายแต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

เชื่อโรค Helicobacter pylori
เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี

สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
การกินอาหารไม่เป็นเวลา
ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามากจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง
Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร

เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

อาการของโรคกระเพาะ

1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ

ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบๆหรือร้อนๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้
2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน

3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่

อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
อาการของโรคกระเพาะอาหารจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพราะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้

อาการอื่นที่พบได้

น้ำหนักลด
เบื่ออาหาร
แน่นท้อง ท้องเฟ้อ
คลื่นไส้ อาเจียน
ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์

ปวดท้องทันที ปวดเหมือนถูกมีดบาด ขยับตัวหรือหายใจแรงๆจะทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และปวดไม่หาย ซึ่งอาจจะเกิดจากกระเพาะอาหารทะลุ
อุจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด เนื่องจากเลือดออกทางเดินอาหาร
แน่นท้องอาเจียนบ่อย เป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจจะเกิดจากลำไส้อุดตัน
การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร

หากอาการปวดท้องเหมือนกับโรคกระเพาะอาหารแพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยโรคกระเพาะดังนี้

จะตรวจกลืนแป้งแล้ว x-ray เป็นวิธีที่ทำง่าย ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องให้ยานอนหลับ ตรวจเสร็จแล้วกลับบ้านได้ ข้อเสียของการตรวจวิธีนี้คือไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง แลไม่สามารถนำเนื้อเยื่อไปตรวจ

endoscope เป็นวิธีการที่สำคัญในการตรวจและรักษา ข้อดีของการตรวจคือเห็นด้วยตา สามารถถ่ายรูป และนำเนื้อเยื่อไปตรวจ ข้อเสียต้องใส่ท่อเข้าในกระเพาะ อาจจะต้องใช้ยานอนหลับเพื่อดูว่ามีแผลหรือไม่

การวินิจฉัย H. pylori

หลังจากแพทย์พบว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหารแพทย์จะส่งตรวจว่าเป็น H. pylori ได้หลายวิธี

โดยการเจาะเลือดหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ H. pylori
Breath tests วิธีนี้โดยมากใช้ติดตามหลังการรักษา โดยการให้ผู้ป่วยดื่มสาร urea ซึ่งมี atom ของ carbon ที่อาบรังสี ถ้าผู้ป่วยมีเชื้อในกระเพาะจะตรวจพบ atom ของ carbon จากลมหายใจ
จากการตัดเนื้อเยื่อโดยการส่องกล้องซึ่งตรวจได้ 3 วิธี
นำเนื้อเยื่อทำปฏิกิริยา urease test ถ้ามีเชื้อจะให้ผลบวก
นำเนื้อเยื่อส่องกล้องหาตัวเชื้อ
นำเนื้อเยื่อไปเพาะเชื้อ
วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารทำอย่างไร

1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

ก. กินอาหารให้เป็นเวลา
ข. งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
ค. งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
ง. งดดื่มน้ำชา กาแฟ
จ. งดสูบบุหรี่
ฉ. งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
ช. พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด

2. การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้

3.การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่

ก. เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
ข. แผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
ค. กระเพาะอาหารมีการอุดตัน

ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

ยาลดกรด [ antacid] รับประทานครั้งละ 1-2 ชต.ควรรับประทานหลังอาหาร 1 ชม. หรือก่อนอาหาร 2 ชม. และมื้อสุดท้ายก่อนนอน แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้วในระยะแรก อาจจะให้ยาทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อดีขึ้นอาจให้ยาทุก 1-2 ชั่วโมง
ยาลดการหลั่งกรด acid-suppressing drugs มีสองชนิด คือ
Histamine-2 receptor antagonists [H2-blockers] เช่น cimetidine, ranitidine, famotidine, nizatidine.ช่วยลดอาการปวดหลังได้ยาไปประมาณ หนึ่งสัปดาห์ อาจจะรับประทานวันละครั้ง เช่นก่อนนอนได้แก่ famotidine, nizatidine วันละสองครั้งได้แก่ ranitidine วันละสี่ครั้งไก้แก่ cimetidine ชื่อยา
ขนาดยาที่ให้
ผลขางเคียง

cimetidine
400 mg วันละ 2 ครั้ง

800mg ก่อนนอนวันละครั้ง
คลื่นไส้อาเจียน เต้านมโต ตับอักเสบ เม็ดเลือดขาวต่ำ

ทำให้ยาบางชนิดถูกทำลายลดลงเกิดการคั่งของยา

Ranitidine
150 mg วันละ 2 ครั้ง

300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง
ผลข้างเคียงน้อย

Famotidine
20 mg วันละ 2 ครั้ง

40 mg ก่อนนอนวันละครั้ง
ผลข้างเคียงน้อย

Nizatidine
150 mg วันละ 2 ครั้ง

300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง
ผลข้างเคียงน้อย


Proton pump inhibitors เช่น omeprazole, lansoprazole.ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการปวดท้อง และช่วยให้แผลหายเร็วกว่ายากลุ่มอื่นมักจะรับประทานวันละครั้งหลังอาหาร
ยาปฏิชีวนะเช่น metronidazole, tetracycline, clarithromycin, amoxicillin ใช้รักษาโรคกระเพาะที่เกิดจาก H.pylori ขนาดยาที่ให้ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง, amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง, metronidazole 400 mg วันละ 2 ครั้ง, tetracyclin 500 mg วันละ 2 ครั้ง ยาที่นิยมรักษาแผลกระเพาะอาหารจากเชื้อโรคได้แก่การใช้ยา amoxicillin และ clarithromycin และomeprazole
ยาเคลือบกระเพาะ Stomach-lining protector เช่น bismuth subsalicylate.sucralfate ใช้เคลือบแผลกระเพาะ
ปัจจุบันการรักษา H.pylori ที่ดีที่สุดประกอบด้วยยา 3 ชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกับ ยาลดการหลั่งกรด หรือยาเคลือบกระเพาะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ90 เช่น omeprazole 20 mg วันละ 2 ครั้งร่วมกับ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง และ amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง

แนวทางการรับประทานอาหารในการรักษาแผล Peptic ulcer

หลังการรักษาแพทย์อาจนัดส่องกล้องดูกระเพาะอีกครั้งว่าแผลหายหรือยัง

เคล็ดลับโรคกระเพาะ
โรคกระเพาะเกิดจากมีแผลที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น
สาเหตุที่สำคัญเกิดจากเชื้อ H. pylori มิใช่เกิดจากอาหารเผ็ดหรือความเครียด
H. pylori สามารถติดต่อโดยผ่านทางอาหารและน้ำดื่ม
ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่สำคัญที่สุดในการรักษา H. pylori

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ

1. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู
3. งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
4. งดการสูบบุหรี่
5. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาsteroid ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ
6. ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย
7. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก
8. ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
9. อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

เลือดออกทางเดินอาหาร เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารกินลึกถึงหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดสด หรือสีดำเหมือนน้ำโค้ก อุจาระจะมีสีดำเหนียว บางคนหากออกมากจะมีสีแดงอิฐ หากเลือดออกมากผู้ป่วยอาจจะมีความดันโลหิตต่ำและช้อคหมดสติ

กระเพาะทะลุ เนื่องจากแผลจะกินลึกจนทะลุเข้าช่องท้อง ผู้ป่วยจะปวดท้องอย่างเฉียบพลันปวดมาก หน้าท้องแข็ง เป็นภาวะรีบด่วนต้องรีบพบแพทย์

ลำไส้อุดตัน เนื่องจากเป็นแผลเรื้อรังจะทำให้เกิดผังพืดทำให้รูของลำไส้เล็กลงอาหารไม่สามารถผ่านไปได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาเจียน ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจาระ อาเจียนเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป

อาการเตือนที่ทำให้ต้องระวังว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่

ปวดท้องจนต้องตื่นนอนตอนกลางคืน
น้ำหนักลดลงมากกว่า ร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
อายุมากกว่า 40 ปี
ถ่ายเป็นเลือด
อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
กลืนลำบาก
มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
ซีด
ตัวเหลืองตาเหลือง
ตับม้ามโต
มีก้อนในท้อง
ท้องโตขึ้น
มีการเปลี่ยนของระบบขับถ่าย
หากพบอาการเหล่านี้ควรส่องกล้อง หรือกลืนแป้งตรวจก่อน แต่หากไม่มีอาการอาจลองให้รักษาก่อน

อีสุกอีใส


อีสุกอีใส เป็นโรคที่เราทุกคนรู้จักกันดีค่ะ เพราะมีมานานและเกิดขึ้นได้ทุกวัยเกิดจากเชื้อ ไวรัส varicella zoster โดยมักเป็นตอนเด็ก ๆ ซึ่งอาการจะไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ที่ยิ่ง อายุเยอะ อาการก็ยิ่ง รุนแรงกว่าอาการของโรค จะมีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้นมักเริ่มขึ้นที่เยื่อบุอ่อนในกระพุ้ง แก้มและในลำคอทำให้ ระคายคอและไอ จากนั้นตุ่มจะเริ่มขึ้นตามใบหน้า หนังศรีษะ หน้าอก แผ่นหลัง ส่วนแขนขาก็อาจพบ ได้บ้าง และมีอาการคัน บางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย โรคอีสุกอีไสเมื่อเป็นแล้วจะมี ภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เด็ก ๆ เป็นจะหายเร็วค่ะ ในต่างประเทศถึงกับจัดปาร์ตี้อีสุกอีใส (chicken pox party) ในวัย 5 ขวบ กันเลย เพื่อให้เด็กได้เป็นโรคนี้กันก่อน

เกิดจากเชื้ออีสุกอีใส ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเชลลา (varicella virus) หรือ human erpes virus type 3 เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง หรือสัมผัสถูกของใช้ (เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ที่นอน เป็นต้น) ที่เปื้อนถูกตุ่มน้ำของผู้ที่เป็น อีสุกอีใส หรืองูสวัด หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำผ่านเข้าทางเยื่อเมือก


เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูงและปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน
ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อมๆกันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้น เป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใสๆ อยู่ข้างใน และมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็น หนองหลังจากนั้น 2-4วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง จะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน บางรายมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางรายอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเริมได้เนื่องจากผื่นตุ่ม ของโรคนี้จะค่อย ๆ ออกทีละระลอก (ชุด) ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่าบางที่ขึ้น เป็นผื่น แดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ชาวบ้านจึง เรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส)
การแยกโรค : อีสุกอีใสมักจะมีอาการเด่นชัด คือมีตุ่มน้ำพุขึ้นพร้อม ๆ กับมีไข้ (ตัวร้อน) ในวัน แรกของโรค ตุ่มจะขึ้นที่ศีรษะ คอ แล้วกระจายตามลำตัว ส่วนแขน ขา จะมีประปราย



แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ถ้าพบว่ามีภาวะผิดปกติ อื่น ๆ จะให้การดูแลดังนี้
ถ้าพบว่าตุ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน (กลายเป็นตุ่มหนอง ฝี แผลพุพอง) แพทย์ จะให้ยาปฏิชีวนะเพิ่มเติม ถ้าเป็นเพียงไม่กี่จุดก็อาจให้ชนิดทา แต่ถ้าเป็นมากก็จะให้ชนิดกิน
ถ้ามีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น ปอดอักเสบ(ไข้สูง หอบ) สมองอัก เสบ (ไข้สูง ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก ซึม ชัก ไม่ค่อยรู้ตัว) ตับอักเสบ (ดีซ่าน) หรือมีภาวะ เลือดออกง่าย เป็นต้นก็จะรับตัวไปไว้รักษาในโรงพยาบาล
ในรายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เช่น เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เอดส์ กินยาสตี รอยด์อยู่ นาน ๆ เป็นต้น) หรือเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคผื่นแพ้ประจำ โรคปอดเรื้อรัง สูดพ่นยาสตีรอยด์ (สำหรับคนที่เป็นหืด) หรือกินยาแอสไพรินอยู่ นอกจากให้การรักษาตาม อาการแล้ว แพทย์อาจให้ยา ต้านไวรัสที่มีชื่อว่า อะไซโคลเวียร์ (acyclovir) เพื่อฆ่าเชื้ออีสุกอีใส ป้องกัน มิให้โรคลุกลามรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น ควรให้ยานี้รักษาภายใน 24 ชั่วโมง หลังแสดงอาการ จะได้ผลดีกว่าให้ช่วง หลัง ๆ ของโรค



การป้องกันการเกิดโรค อีสุก อีใส

ปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งราคา ค่อนข้าง แพง (ประมาณเข็มละ 800 - 1,200 บาท)
ควรฉีดในเด็กอายุ 12 –18 เดือน ฉีดเพียง 1 เข็ม จะป้องกันโรค ได้ตลอดไป
ถ้าฉีดตอนโต หากอายุต่ำกว่า 13 ปี ก็ฉีดเพียง เข็มเดียว แต่ถ้าอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ควรฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 - 8 สัปดาห์ หลังฉีดวัคซีน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ยาแอสไพรินนาน 6 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคเรย์ซินโดรม
วัคซีนชนิดนี้ห้ามฉีดในหญิงตั้งครรภ์ คนที่มีภาวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ใช้ยาแอสไพริน อยู่ประจำ หรือใช้ยา สตีรอยด์ขนาดสูงมานาน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์(15-45ปี) หากไม่แน่ใจ ว่าเคยเป็นโรคนี้หรือยัง ควรปรึกษาแพทย์ตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้หรือยัง ถ้ายัง แพทย์อาจ แนะนำให้วัคซีนป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ และหลังฉีด วัคซีนนี้ควรคุมกำเนิดนาน 3 เดือน จึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ การฉีดวัคซีนอาจไม่ทันกาล ถ้าจำเป็นแพทย์ อาจแนะนำให้ฉีดเซรุ่ม ที่มีชื่อว่า varicella-zoster immune globulin (VZIG) เป็นการฉีดภูมิคุ้ม กันเข้าไปโดยตรง
มักจะฉีดให้กับผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว และทารกที่มีแม่เป็นอีสุกอีใสช่วง 5 วันก่อนคลอด ถึง 2 วัน หลังคลอด


ถ้าอาการชัดเจน ร่วมกับมีประวัติการระบาดของโรคนี้ ก็อาจให้การดูแลเบื้องต้น ดังนี้
ถ้ามีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น นอนพักให้มาก ๆ และให้ ยาพาราเซตามอล บรรเทาไข้ ไม่ควรให้ยาแอสไพรินลดไข้ เพราะยานี้อาจทำให้ เสี่ยงต่อการเกิดโรค เรย์ซินโดรม (Reye’s syndrome) ซึ่งจะมีภาวะสมองอักเสบ ร่วมกับ ตับอักเสบ จัดว่าเป็นโรคอันตราย ร้ายแรงชนิดหนึ่ง
ถ้ามีอาการคันให้ทาด้วยยาแก้ผดผื่นคัน (คาลาไมน์โลชั่น) ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ คลอเฟนิรามีนบรรเทา ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และพยายามอย่าแกะหรือเกาตุ่มคัน อาจทำให้เกิด การติดเชื้อ กลายเป็นตุ่มหนอง และเป็นแผลได้
ถ้าปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย ให้ใช้น้ำเกลือกลั้ว พยายามกินอาหารที่เป็นของเหลว หรือเป็นน้ำ แทน อาหารแข็ง
สำหรับอาหาร ไม่มีของแสลงต่อโรคนี้ ให้กินอาหารได้ตามปกติ โดยเฉพาะบำรุงด้วย อาหาร พวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ) ให้มากขึ้นเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
ควรหยุดเรียน หรือหยุดงาน พักผ่อนอยู่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้แพร่เชื้อให้คนอื่นระยะ แพร่เชื้อ ติดต่อให้คนอื่น คือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมง ก่อนมีตุ่มขึ้นจนกระทั่ง 6 วัน หลังตุ่มขึ้น
ควรเฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยทั่วไปอาการจะค่อยทุเลาได้เองภายใน 1 – 3 สัปดาห์ แต่ถ้าพบว่ามีอาการหายใจหอบ ซึม ชัก เดินเซ ตากระตุก ดีซ่าน (ตาเหลือง) มีเลือดออก ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก เจ็บหน้าอก หรือตุ่มกลายเป็นหนอง ฝีหรือพุพอง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

โรค มือ-เท้า-ปาก


โรค มือ-เท้า-ปาก เป็นไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ซึ่งติดต่อกันง่ายแต่มักไม่รุนแรงและหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

นับแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา มีข่าวการระบาดของโรคนี้ซึ่งมีความรุนแรงถึงเสียชีวิตในหมู่เด็กเล็กของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย จึงกลายเป็นโรคฮิตติดอันดับโรคหนึ่ง

โรคนี้เป็นคนละชนิดกับโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในโคกระบือ และไม่ติดจากสัตว์ที่ป่วย แต่จะติดจากเด็กป่วยที่เล่นคลุกคลีกัน

ชื่อภาษาไทย โรคมือ-เท้า-ปาก

ชื่อภาษาอังกฤษ Hand-foot-mouth disease terovirus) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ค็อกแซกกีเอ (cox-sackie A) ค็อกแซกกีบี ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อกลุ่มไวรัสเอนเทอโร (enterovirus) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ค็อกแซกกีเอ (coxsackie A) ค็อกแซกกีบี ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71

โรคนี้ส่วนใหญ่ติดต่อส่วนใหญ่จากการกินอาหาร น้ำดื่ม การดูดเลียนิ้วมือ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อออกมากับอุจจาระ น้ำเหลืองจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายที่ป่วยไอหรือจามรด

เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอชนิด 16 ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ไม่รุนแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่

ที่พบน้อยแต่รุนแรงคือ ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ซึ่งเป็นต้นเหตุการตายของเด็กเล็กในประเทศต่างๆ ดังกล่าว



อาการ หลังติดเชื้อ 3-7 วัน เด็กจะมีอาการไข้ และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย หลังจากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่ยอมดูดนม ไม่อยากกินอาหาร เด็กเล็กอาจร้องงอแง เมื่อตรวจดูในปากพบจุดนูนแดงๆ หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ ขึ้นตามเยื่อบุปากลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้นๆ เจ็บมาก

ในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะมีผื่นขึ้นที่มือและเท้า บางคนขึ้นในฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือแก้มก้น ตอนแรกขึ้นเป็นจุดแดงราบก่อน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำตามมา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 มิลลิเมตร มักไม่คันไม่เจ็บ ส่วนน้อยอาจมีอาการคัน

อาการไข้มักเป็นอยู่ 3-4 วันก็ทุเลาไปเอง ส่วนแผลในปากมักจะหายได้เองภายใน 7 วัน และตุ่มน้ำที่มือและเท้าจะหายได้เองภายใน 10 วัน

ในรายที่เป็นรุนแรง (ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย) อาจมีอาการปวดศรีษะมาก อาเจียนรุนแรง ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย



การแยกโรค ในระยะแรกที่มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูก อาจคิดว่าเป็นเพียงไข้หวัด ถ้าเป็นไข้หวัด ก็จะไม่มีอาการเป็นแผลในปาก และมีตุ่มน้ำตามมือและเท้าตามมา

ในระยะที่พบแผลในปาก อาจทำให้คิดว่าเป็น แผลแอฟทัส (aphthous ulcer) ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีไข้และตุ่มน้ำตามมือเท้า แผลในปากมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

นอกจากนี้ อาการขึ้นตุ่มน้ำใสบนผิวหนัง อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น

เริม จะมีตุ่มขึ้นเป็นหย่อมเล็กๆ เพียงหย่อมเดียวไม่กระจายอยู่หลายแห่ง และมักไม่มีไข้ มักจะแตกเป็นแผลตกสะเก็ด และหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์

อีสุกอีใส จะมีไข้และผื่นขึ้นพร้อมกันใน 1-2 วันแรก ผื่นมีลักษณะเป็นจุดแดง ตุ่มนูนและกลายเป็นตุ่มใสกระจายตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา บางครั้งอาจขึ้นในช่องปากร่วมด้วย



การวินิจฉัย แพทย์จะวินิจฉัยโรคมือ-เท้า-ปาก จากลักษณะอาการแสดงของโรค น้อยรายที่อาจต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคจากสิ่งคัดหลั่งในคอหอยอุจจาระ หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนัง



การดูแลตนเอง โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาจำเพาะ เพียงแต่ให้การดูแลตามอาการ และเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ดังนี้
1. ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล เป็นครั้งคราวเวลามีไข้สูง
2. ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำโดยสังเกตดูว่ามีปัสสาวะออกมาและใส จึงนับว่าได้น้ำพอเพียง
3. ในช่วงที่มีอาการเจ็บแผลในปาก ให้เด็กกินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม น้ำเต้าหู้ น้ำหวาน โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยาค่อยๆ หยอดเข้าปาก ไม่ควรให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) ดูดนมหรือน้ำจากขวด
เพื่อบรรเทาอาการเจ็บในปาก อาจใช้วิธีให้เด็กอมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ดื่มน้ำหรือนมเย็นๆ กินไอศกรีมหรือบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ผสมเกลือป่นครึ่งช้อนชาในน้ำอุ่น 1 แก้ว) วันละหลายๆ ครั้ง

ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ตุ่มน้ำ กลายเป็นตุ่มหนองหรือพุพองจากการเกา ให้แพทย์พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะรักษา
2. มีอาการเจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย
3. มีอาการปวดศรีษะมาก อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อยควรส่งโรคพยาบาลโดยด่วน
4. อาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์
5. มีความวิตกกังวล หรือมีความไม่มั่นใจที่จะดูแลรักษาตนเอง


การรักษา เมื่อแพทย์วินิจฉัยให้เป็นโรคนี้ และไม่พบว่ามีอาการแทรกซ้อน ก็จะให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาชาทาแผลในปาก (ถ้าเจ็บมาก)

ถ้าตุ่มกลายเป็นหนองหรือพุพองก็จะให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน อีริโทรไมซิน เป็นต้น

ถ้ามีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากกินและดื่มไม่ได้ ก็จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ก็จำเป็นต้องรับเด็กไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อไป



ภาวะแทรกซ้อน

ในรายที่มีอาการคัน อาจเกาจนติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง พุพอง

ในรายที่เจ็บแผลในปากจนกินอาหาร หรือดื่มน้ำไม่ได้อาจเกิดภาวะขาดน้ำ

บางรายอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งมักเป็นไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 10 วัน

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง ได้แก่ สมองอักเสบ (มีอาการปวดศรีษะ อาเจียน ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก) ภาวะปอดบวมน้ำหรือมีเลือดออกในปอด (มีอาการหายใจหอบเหนื่อย) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย) โรคเหล่านี้อาจรุนแรงถึงตายได้ มักเกิดในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71



การดำเนินโรค
ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน (เต็มที่ไม่เกิน 2 สัปดาห์) โดยจะมีไข้อยู่เพียง 3-4 วันแรก
ส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวตามมา ซึ่งหากรุนแรงมาก อาจทำให้เสียชีวิตได้



การป้องกัน ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ควรแนะนำวิธีป้องกันไม่ใช้เชื้อแพร่กระจายสู่คนหมู่มาก ดังนี้
1. ควรแยกเด็กที่ป่วย ไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่นประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าตุ่มแผลต่างๆ จะหายดี และเวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าปิดปาก อย่ารดใส่กัน

2. ล้างมือด้วยน้ำสบู่กับสบู่หลังถ่ายอุจจาระ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนเตรียมอาหารและก่อนเปิบอาหาร

3. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ขวดนม ช้อนชาม เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น เป็นต้น ร่วมกับคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของโรคนี้

4. ฝึกเด็กให้มีสุขนิสัยที่ดี รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใส่นิ้วมือหรือของเล่นเข้าปาก


ความชุก ในบ้านเรามีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณปีละ 1,500-3,000 ราย ส่วนใหญ่พบในเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ บางครั้งระบาดตามสถานรับเลี้ยงเด็กเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล.

โรคผิวหนังจากการทำงาน

ผู้ป่วยในเขตอุตสาหกรรมมักเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการทำงาน คือ อุบัติเหตุ พิษจากสารเคมี โรคระบบทางเดินหายใจและโรคผิวหนังจากอาชีพต่างๆ

นายแพทย์สุจินต์ ผลากรกุล อธิบดีกรมการแพทย์ และนายแพทย์เสกสม สุวรรณกร ผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ร่วมกันชี้แจงเกี่ยวกับโรคผิวหนังจากการทำงานว่า โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดที่มือ เพราะมือจะต้องใช้สัมผัสกับสารต่างๆ

การสัมผัสกับสารเคมีเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือการแพ้ของผิวหนัง สิ่งที่จะตามมา คือ การอักเสบของผิวหนัง อาการคัน ผื่นขึ้น ผิวแตกแห้ง ถ้ารุนแรงจะมีน้ำเหลืองไหล และสุดท้ายก็ต้องหยุดงานไปรักษาจนกว่าอาการจะทุเลา

วิธีป้องกันสารเคมีจากการทำงานที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับสารเคมี แต่ถ้าในกรณีหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรพยายามหาวิธีปกปิดผิวหนังให้สัมผัสกับสารเคมีน้อยที่สุด โดยการใส่เสื้อผ้า ถุงมือ และครีมทาผิวหนังบางชนิด

เมื่อสงสัยว่า ตนเองจะเป็นโรคผิวหนังไม่ควรเพิกเฉยละเลยต่อการรักษา เพราะอาจทำให้รุนแรงขึ้น ควรจะพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบหาสาเหตุให้แน่ชัด

http://www.doctor.or.th/node/4764

ตุ่มแดงคัน

ผู้ถาม วาสนา/นครศรีธรรมราช

บริเวณขาต้นขา โดยเฉพาะด้านในและต้นแขนด้านใน จะมีตุ่มแดงเล็กและขยายออกเรื่อยๆ ดิฉันหาหมอขูดเชื้อและรับการรักษาหายแล้วก็กลับมาเป็นอีก ตอนนี้จึงอยากจะลองรักษาทางสมุนไพร

ดิฉันอายุ ๓๘ ปี มีบุตร ๒ คน รับราชการเป็นครู อยู่ในชนบทของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีปัญหาอยากเรียนปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับโรคผิวหนังดังนี้ ที่บริเวณขาอ่อนต้นขาโดยเฉพาะด้านในและต้นแขนด้านใน จะเริ่มมีตุ่มแดงเล็กและขยายออกเรื่อยๆ หลายตุ่มๆ ถ้าไปลูบมัน จะคันและตกสะเก็ด กว่าจะหายแต่ละครั้งใช้เวลาเป็นเดือนๆ ดิฉันไปหาหมอขูดเชื้อ หมอบอกว่ามองไม่ชัด และคิดว่าดิฉันน่าจะแพ้อะไรสักอย่าง หรืออาจจะถูกแมลงเล็กๆ กัด และได้ให้ยามาทาอากากรดีขึ้น แต่พอไม่นานก็เป็นขึ้นมาอีก จะเป็นๆหายๆ จนอ่อนใจแล้วค่ะ และตอนนี้ก็เป็นที่ต้นแขนอีกดูน่าเกลียดมาก ช่วยแนะนำสมุนไพรที่ใช้รักษาด้วยนะคะ บ้านอยู่ในสวนยางพารา มีแมลงมาเล่นไฟเยอะ คุณหมอแนะนำสมุนไพรช่วยไล่แมลงให้บ้างได้ไหม หรือวิธีการอื่นๆก็ได้ค่ะ ดิฉันไม่อยากใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีอื่นๆ เพราะกลัวแพ้สารเคมีค่ะ


ผู้ตอบ อาจารย์กีชา วิมลเมธี

ปกติที่บริเวณเนื้ออ่อนๆ มักจะเกิดการแพ้ได้ง่ายมาก เช่น ในร่มผ้า ข้อพับ ขาหนีบ เข่า ศอก ด้านใน ซึ่งประสาทจะไวต่อการสัมผัส การที่บริเวณต้นขาอ่อนและต้นแขนด้านใน มีเม็ดตุ่มและคันจนตกสะเก็ด อาจจะแพ้อะไรสักอย่างหรือมดตัวเล็ก ๆกัด โดยที่เราไม่รู้สึกตัว พิษเหล่านี้อาจจะทำให้คันและเป็นตุ่มแดง ๆขึ้นได้ แต่ผมไม่ได้เห็นด้วยตนเอง เพียงแต่สันนิษฐานเท่านั้น จึงอยากแนะนำให้คุณสังเกตด้วยตนเองดังนี้

อาการคัน ถ้าพวกกลากหรือเกลื้อน จะมองเห็นเป็นดวงใหญ่ๆ หรือเป็นวงๆ มองเห็นขอบนูนๆ ชัดเจนและคัน เวลาเกามีสะเก็ดเล็กๆ

อาการคัน ถ้าพวกน้ำเหลืองเสีย มักจะพุพองบริเวณขาเช่นกัน แต่สังเกตได้ง่ายมาก
อาการคัน ผิวหนังอักเสบ มักจะเกิดบริเวณผิวหนังศีรษะ เช่น มีรังแค
อาการคัน พวกผิวหนังภูมิแพ้ เกิดจากลมพิษต่างๆ หรือคันเพราะ ไข้บางประการ
ที่คุณวาสนาถามมาผมไม่แน่ใจเพราะไม่ได้ทราบรายละเอียดด้วยการตรวจและเห็นอาการ เพียงแต่ให้คุณเฝ้าพิจารณาสังเกตด้วยตนเองตามข้อมูลที่ผมแนะนำให้ อนึ่งการใช้ยาสมุนไพรนั้น ถ้าเผื่อว่าเป็นอาการแพ้บางสิ่งบางประการหรือมดกัดเล็กๆ น้อยๆ ผมขอแนะนำว่าให้คุณลองใช้ใบรางจืดชนิดเถา ดอกสีม่วง เอาใบแก่พอดีประมาณ ๕-๖ ใบ และหัวหรือรากของสาคูวิลาส (ใบคล้ายๆต้นใบเร็ด) รากอ่อนสีขาวๆ มีแป้งในรากมาก นำมาตำรวมกบใบรางจืดจนละเอียดแล้วใช้น้ำซาวข้าวสารสีขุ่นขาวๆ ใส่ลงในภาชนะเอาตัวยาที่ตำรวมกันใส่ลงคั้นเอาแต่น้ำเหมือนคั้นกะทิ กรองให้สะอาดใส่ขวดไว้ นำพิมเสนเกล็ดประมาณ ๑๕ กรัม ใส่ลงในน้ำยาที่ได้ประมาณ ๒๐๐ มิลลิกรัม หรือ แก้ว ใช้ทาบริเวณที่มีอาการคัน โดยชุบสำลีทาวันละ ๓-๔ ครั้ง ถ้าทาประมาณ ๗ วันติดต่อกันแล้วยังไม่หาย ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ (หมอแผนโบราณ) เพื่อตรวจอาการจะได้แนะนำยาที่ถูกต้องกับโรค

สมุนไพรที่แขวนไว้เพื่อไล่แมลงมาเล่นไฟ ให้ทดลองหาพริกไทยและพริกชี้ฟ้าประมาณอย่างละ ๒๐-๓๐ เม็ด คั่วไฟพอเหลืองๆ รวมกันใส่ถุงผูกเชือกแขวนไว้ที่โปะไฟ แมลงอาจจะลดลงหรือหนีไปได้

http://www.doctor.or.th/node/2882

Dyshidrosis ตุ่มน้ำอักเสบที่มือและเท้า ที่มักเป็นๆ หายๆ


ภาวะมืออักเสบ แห้งแตก เป็นแผล เกิดจากได้หลายสาเหตุ

วันก่อนได้กล่าวถึงสาเหตุหนึ่งคือ ผิวหนังอักเสบที่พบได้ในฤดูหนาว สำหรับวันนี้มีสาเหตุที่พบได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งคือ จากภาวะที่เรียกว่า ตุ่มน้ำอักเสบ
ตุ่มน้ำอักเสบ หรือ dyshidrosis เป็นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ ที่ชั้นผิวหนังที่อยู่ในระดับลึก (deep-seated vesicles) พบได้ที่มือและเท้า

สามารถเป็นได้ที่มือทั้งสองข้าง หรือ เท้าทั้งสองข้าง

ผื่นนี้จัดอยู่ในกลุ่มผิวหนังอักเสบชนิดที่มีสาเหตุจากในตัวของผู้ที่เป็นผื่นชนิดนี้เอง (endogenous dermatitis) ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถยืนยันสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่พอทราบได้ว่า ผื่นนี้จะกำเริบในกรณีที่มีความเครียด กังวล หรือ ช่วงที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

ส่วนใหญ่ผู้เป็นภาวะนี้ มักจะทำการรักษาเองก่อน โดยใช้ยาทาชนิดต่างๆ ทำให้การรักษาล่าช้า มีผื่นที่หนามาก เหมือนในรูป

โดยทั่วไปตามธรรมชาติ ผู้ที่เป็นภาวะนี้มักมีผื่นนี้เป็นๆ หายๆ ไม่ค่อยหายสนิท
อย่างไรก็ดี ภาวะนี้ไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ผู้ที่เป็นโรคนี้ รวมทั้งญาติ จะมีความวิตกว่า จะแพร่โรคนี้ไปยังผู้อื่น ซึ่งแพทย์ และ ญาติ ต้องให้ความมั่นใจ โดยการให้คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ


การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดผื่น ตำแหน่ง และความรุนแรงของผื่นที่เกิดขึ้น โดยหลักการก็คือการให้ครีมสตีรอย์เพื่อลดการอักเสบ และ ให้ยาแก้คันครับ แต่ถ้ารักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โรคไต ภาวะไตวาย อาการและสัญญาณ

เมื่อพูดถึง โรคไต คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า คือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งหมายถึง การสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างถาวร และถ้าเข้าสู่ ระยะสุดท้าย ก็ต้องได้รับการฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ จริงๆ แล้ว โรคไต มีอยู่หลายชนิด แต่ก่อนที่เราจะรู้จักโรคไตนั้น ควรทำความรู้จักกับไตก่อน


ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว หน้าที่สำคัญของไต คือ

1. ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีนในอาหารออกจากร่างกาย
2. รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรอและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. ควบคุมความดันโลหิต
4. สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก

ไต เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA) ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมาก อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ

โรคไตและระบบปัสสาวะ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. โรคที่เกิดจากการอักเสบ ในส่วนของไตที่มีหน้าที่กรอง (โกสเมอรูรัส - GLOMERULUS) หรือเกิดจากภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ กลุ่มอาการเนฟโฟติค (NEPHROTIC) และไตอักเสบ (NEPHRITIS)
2. โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ที่เป็นท่อเล็กๆ (TUBULE) และเซลล์ที่ผยุงไตให้เป็นรูปร่าง (INTERSTIJIUM) ซึ่งเราเรียกรวมๆ ว่า โรคของ TUBULO INTERSTITIUM โรคที่พบบ่อย คือ การตายของเนื้อเยื่อที่ท่อไต (ACUTETUBULAR NECROSIS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ ไตวายเฉียบพลัน
3. โรคติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อจากบคทีเรีย ของทางเดินปัสสาวะ
4. โรคที่เกิดจากการอุดตันทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต, นิ่ว เป็ฯต้น
5. โรคไตที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต
6. เนื้องอกในไต
7. โรคทางด้านร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะทำให้ การทำงานของไตเสื่อมลง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

ภาวะไตวายคือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. ไตวายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวันทำให้เกิดการคั่งของ ของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และ การควบคุม ปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรัดษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติ ของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ช๊อกจากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมาก หรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึง ช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้
2. ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END STAGE OF RENAL FAILURE) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษา แบบทดแทน (เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไต) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

อาการและสัญญาณบอกเหตุ ของผู้ป่วยโรคไต

1. ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
2. มีโปรตีนหรือไขขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะที่ออกมามีฟองมาก และฟองไม่สลายตัวไปง่ายๆ (การมีฟองในปัสสาวะเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ)
3. อาการบวมรอบๆ ตาและข้อเท้า
4. อาการปวดหลัง จะปวดบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวที่ขาหนีบ และลูกอัณฑะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้น เหนือกระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และถ้าความเจ็บปวดเกิดขึ้น พร้อมกับอาการไข้และหนาวสั่น แสดงว่ามีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนบน คืแท่อไตและกรวยไต สิ่งที่ต้องคำนึงไว้ คือ อาการปวดหลัง ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับไตเสมอไป เนื่องจจากส่วนหลังของร่างกาย ยังมีกระดูกกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ความเป็นจริงที่พบคือ โรคไตส่วนใหญ่ที่พบ ก็ไม่ได้มีอาการปวดหลัง
5. ปัสสาวะลำบาก สาเตุจากนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต
6. อาการของไตวาย ผู้ป่วยที่ไตวายไม่มากนักจะไม่ปรากฎอาการให้เห็น แต่จะทราบโดยการเจาะเลือด ตรวจดูการทำงานของไต ที่สำคัญ คือ ระดับยูเรียไนโตรเจน (BLOOD UREA NITROGEN - BUN) และระดับเครียตินิน (SERUM CREATININE) เมื่อไตวายเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยมีอาการที่เราเรียกว่า "กลุ่มอาการยูรีเมีย" ซึ่งเกิดจากการที่มีของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติ ของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คันไปทั้งตัว บวมที่ส่วนหน้าและส่วนขา ปัสสาวะบ่อยครั้งในเวลากลางคืน และเกิดหัวใจล้มเหลว

การล้างไต

ที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ การล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เนื่องจากการล้างไต เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะฉะนั้น กรณีผู้ป่วยยังไม่มีอาการทางยูรีเมีย เช่น ยังรู้สึกสบายดี ไม่เพลีย ไม่คลื่นไส้ สมรรถภาพหัวใจ ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และไม่มี ภาวะทุโภชนาการ แพทย์จึงดูแลแบบประคับประคองไปก่อน บางครั้งแพทย์ที่ดูแลจะใช้ผลเลือด เป็นเกณฑ์ในการแนะนำ ให้ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมล้างไต คือ ค่าซีรัม BUN ควรจะเกิน 100 mg/d หรือค่าซีรัมเครียตินิน ควรเกิน 9 mg/d ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรมีกาอารยูรีเมียร่วมด้วย

ข้อบ่งชี้ที่แน่นอนและชัดเจนของผู้ป่วยที่ควรเริ่มทำการล้างไต

1. ผู้ป่วยที่มีการทำงานของสมองผิดปกติ ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว
2. มีการอักเสบของเยื้อหุ้มปอด และเยื้อหุ้มหัวใจจากยูรีเมีย
3. มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย เ่นมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า แขนขาอ่อนแรง
4. มีภาวะน้ำเกินหรือหัวใจล้มเหลวบ่อยๆ
5. มีโพแทสเซียมในเลือดสูงบ่อย ๆ และไมาสามารถควบคุมได้ โดยการใช้ยา
6. มีภาวะเป็นกรดในเลือด และไม่สามารถควบคุมโดยการให้ยารักษา

Business

  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม - 1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง....
    7 ปีที่ผ่านมา

Blog M